[Culture] Twice แสดงให้เห็นถึงความฆ่าไม่ตายของ K-POP ในญี่ปุ่น By JapanTimes



เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ KPOP ในญี่ปุ่นเลยขอนำมาให้อ่านค่ะ
Twice แสดงให้เห็นถึงความฆ่าไม่ตายของ K-POP ในญี่ปุ่น




               เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วงเคป๊อบ “Twice” ได้เดบิวท์ที่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยมีการปล่อยอัลบั้มรวมเพลงฮิตเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นของพวกเธอ และมีโชว์เคสที่ Tokyo Gymnasium ไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในระหว่างนั้น สมาชิกในวงก็ได้ไปออกรายการ “Music Station” และได้โพสท่า TT ที่หน้าโตเกียวทาวเวอร์ซึ่งกำลังแสดงชื่อหนึ่งในเพลงที่ฮิตที่สุดของพวกเธอบนนั้น


สื่อญี่ปุ่นมุ่งประเด็นไปยังข้อมูลที่ว่าสมาชิกถึง 3 คนของทไวซ์เป็นคนญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นความตั้งใจของต้นสังกัดของพวกเธอตั้งแต่ตอนฟอร์มวงขึ้นมาแล้ว ประเด็นอื่นที่สื่อมีการพูดถึงกันน้อยนิดก็คือเรื่องเกี่ยวกับเพลง การรายงานข่าวเป็นไปแบบปรากฏการณ์ไวรัล บวกกับความชาตินิยมผสมผสานกันไป


วงดนตรีเกาหลีพยายามที่จะบุกตลาดญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายยุค 90s แต่กลับไม่ได้ผลมากนักจนกระทั่งช่วงกลางของยุคปี 2000s เมื่อโบอาและTVXQ มาบุกเบิกเส้นทางไว้ได้ K-POP มาได้รับความนิยมอย่างจริงจังก็เมื่อปี 2010 เมื่อวงเกิร์ลกรุ๊ป Kara และ SNSD บุกตลาดด้วยเพลงฮิตติดหูและเปี่ยมด้วยความมั่นใจ



อย่างไรก็ตามการเติบโตของ K-POP มีปัจจัยด้านความขัดแย้งในอดีตของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มาขัดขวางเอาไว้ “ฮันรยู” หรือ Korean Wave ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวญี่ปุ่นบางส่วน จนนำไปสู่การประท้วงต่อสถานีโทรทัศน์ Fuji TV ที่ออกอากาศซีรีส์เกาหลีมากเกินไป และคนดังอย่าง Matsuko Deluxe ก็ออกมาแสดงท่าทีต่อต้าน K-POP ในที่สุดคนบันเทิงเกาหลีก็ค่อยๆหายหน้าหายตาไปจากวงการโทรทัศน์ญี่ปุ่น ที่เห็นได้ชัดคือการที่สถานีโทรทัศน์แห่งชาติอย่าง NHK ตัดสินใจไม่นำเอาวง K-POP มาขึ้นแสดงในงานปลายปี “Kohaku Uta Gassen” ในปี 2013 (หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดมาเป็นเวลา 2 ปี) ตามมาด้วยการประกาศยุติการออกอากาศของซีรีย์เกาหลีทั้งหมดในช่อง ในปี 2015 ในขณะที่ “Gangnam Style” ของ Psy เป็นปรากฎการณ์อันน่าภูมิใจของ K-POP คนญี่ปุ่นกลับเมินโดยสิ้นเชิง ชาวเน็ตจำนวนมากยังกล่าวว่าเกาหลีหลงใหลได้ปลื้มกับความนิยมมหาศาลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์



แม้จะห่างหายไปจากทีวี แต่ K-POP กลับเติบโตในญี่ปุ่น เห็นได้จากยอดขายที่มั่นคง และกลุ่มคนจำนวนมากที่เข้าชมในอีเว้นท์สำคัญๆอย่าง KCON ซึ่ง Twice ก็ได้ขึ้นแสดงด้วยในปี 2016 แต่สื่อญี่ปุ่นเชื่อมโยงความนิยมของทไวซ์ในญี่ปุ่นเข้ากับท่า TT ซึ่งเป็นการเอานิ้วชี้มาวางไว้ใต้ตาให้เหมือนว่ากำลังร้องไห้อยู่ (เหมือนกับรูป T_T) ท่าดังกล่าวกลายเป็นไวรัลในญี่ปุ่นช่วงปลายปี 2016 แต่จริงๆแล้วแฟนๆรู้จักทไวซ์มาก่อนหน้านี้แล้วจากชุมชน K-POP ที่มีอยู่อย่างแข็งแรงอยู่แล้ว



ยิ่งไปกว่านั้น การรายงานข่าวเกี่ยวกับทไวซ์เป็นไปในทางเกี่ยวกับเชื้อชาติเป็นส่วนใหญ่ NHK รายงานข่าวเกี่ยวกับทไวซ์มาหลายสัปดาห์ เกี่ยวกับการเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พิธีกรได้รายงานย้อนไปโดยคร่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นในศตวรรษใหม่นี้ ตั้งแต่ the 2002 World Cup ความนิยมของซีรีย์ “Winter Sonata” ไปจนถึงข้อพิพาทเหนือเกาะทาเคชิมะและการใช้ผู้หญิงเป็นนางบำเรอแก่ทหารญี่ปุ่นช่วงสงคราม ที่หายไปน่ะเหรอ วัฒนธรรมป๊อบในช่วง 2005 ถึง 2016 ไงล่ะ ช่วงที่ K-POP พีคสูงสุดในญี่ปุ่น



การบิดเบือนนี้มองข้ามความปรารถนาดีที่ K-POP มีแก่เด็กญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ซึ่งก็คล้ายคลึงกันกับสมาชิกส่วนใหญ่ในวงนี้ นอกจากนี้สมาชิกญี่ปุ่นในวงยังถูกนำเสนอในรูปแบบของยอดคนผู้มีอิทธิพลทางความคิดของสังคมและประชาชน ที่ช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นในเกาหลี ซึ่งก็เป็นความจริงอยู่บ้าง แต่ความพยายามในทางอื่นๆก็ไม่ควรถูกละเลยเช่นกัน



ในฐานะที่ตามแปลข่าวทไวซ์ในญี่ปุ่น เจอคอมเม้นคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เกือบทุกข่าวจะออกไปแนวเหยียด ประณาม ไม่เอาเกาหลีเยอะมากในบริบทของคนทั่วไป ที่ไม่ใช่แฟนเคป็อป แต่จะมีมาแบบไม่สนับสนุนเกาหลี แต่เราจะสนับสนุนทไวซ์ (อันนี้ไบโพล่ามาก 5555)
ตั้งแต่ NHK และช่องทีวีต่างๆ เอาข่าวทไวซ์ไปออก จะเริ่มจากอวยถึงเมมเบอร์ปุ่นรัวๆ ส่วนตัวก็ระแวงแล้ว มาเจอบทความนี้บอกเลยว่าเห็นด้วยมากๆ ว่าสื่อในประเทศนำเสนอเอียงไปทางเชื้อชาติมากเกินไป โดยลืมว่าจริงๆแล้วทไวซ์เป็นวงไอดอล สิ่งที่ควรนำเสนอควรจะเป็นเพลงเป็นหลัก หรือความพยายามของเด็กๆ มากกว่าเมมเบอร์ญี่ปุ่นซึ่งทุกข่าวจะกินเวลาเรื่องเมมเบอร์ประมาณครึ่งนึงตลอด ส่วนตัวก็มั่นหน้าดีใจที่ทำไมไทมส์เขียนถึงทไวซ์ บทความนี้ดีมากเลย ในการตีแผ่วงการเพลงเคป็อปในญี่ปุ่น ว่าไม่ได้สวยงาม ง่ายดายซักนิด กว่าจะก้าวมาเป็นที่ยอมรับได้ของแต่ละวง แต่ละคน
        ถ้ามองแบบการเมืองหน่อยๆ มันจะมีส่วนจดกระแสทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่คนญี่ปุ่นได้เช่นกัน ว่าสื่อยักษ์ใหญ่ของประเทศต้องการอะไร? การที่ไทมส์ลงบทความขนาดนี้ก็ต้องมองถึงความสำเร็จของทไวซ์ได้มาจากอะไรบ้าง ทำไมถึงกระแสฉุดไม่อยู่ ต้องขอบคุณสื่อบันเทิงในญี่ปุ่นที่สนับสนุน แต่กลัวมากว่าอนาคตทไวซ์จะกลายเป็นวงที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองอีกครั้ง
แต่ถึงอย่างนั้นกระแสความนิยมของทไวซ์ ไม่ได้มาจากสื่ออวยอย่างเดียว เราขอมอบผู้สร้างกระแสต่างๆให้กับดารา ไอดอล ต่างๆด้วย ที่ชอบทไวซ์ และสนับสนุน
      เช่นกระทู้นี้ค่ะ >>ทำไมทไวซ์ถึงดังมากในญี่ปุ่น? มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง<< ไม่ใช่แค่แฟนเคป็อปที่จุดกระแสความนิยมของทไวซ์ในญี่ปุ่น คนเหล่านี้มีผลไม่น้อยเลยต่อเรื่องนี้

ดังนั้น อยากให้ลองเปิดใจอ่าน เพื่อเป็นความรู้ต่อไอดอลวงต่อไปที่จะมีผลงานในญี่ปุ่น บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมวงฉันถึงไม่ได้ออกรายการนั้นนี้ จากบทความนี้เห็นได้ชัดว่า ญี่ปุ่นไม่เอาเกาหลีนานแล้ว ขอบคุณค่ะ


ตัวอย่างคอมเม้นในข่าวนี้

การประท้วงต่อต้าน Fuji TV เพราะออกอากาศซีรีส์เกาหลีมากเกินไป
พวกคุณไม่สามารถมี k-dramas มากเกินไปกว่านี้ 16-20 ชั่วโมง ที่จะเล่าเรื่องให้จบจะเต็มไปด้วยข้อโต้เถียง มันเต็มไปด้วยบิดเบือนเนื้อหา,ทำให้คุณปล่อยอารมณ์ราวกับทิ้งของลงพื้น K- drama อาจจะดีที่สุดในการเสพติดวัฒนธรรม
พวกชาตินิยมบางคนใน Ilbe ขู่จะสาดน้ำกรดใส่ Twice เมื่อเร็วๆนี้เพราะคิดว่าTwice จะเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เกาหลี-ญี่ปุ่น และนักชาตินิยมของทั้งสองประเทศก็ต่อต้านความสัมพันธ์เกาหลี-ญี่ปุ่นเหมือนกัน เนื่องด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการเมืองและระบบสังคม
จริงๆแล้วไม่ว่าทั้ง K-pop หรือ J-pop อดีตหรือปัจจุบันย่อมมีความสุขเสมอเมื่อได้ลองติดตาม. CD ของคู่ Young Turks ก็เพิ่งวางขายในโซล CD Kayoko Yoshizawa ที่มาจากญี่ปุ่นก็ด้วยเหมือนกัน. ดนตรีเพลง มันคือภาษาหนึ่งที่เชื่อมกันทั่วโลก ถ้ามีบางคนที่จะตั้งกำแพงมันละก็ จัดการมันเลย

ลิ้งค์ต้นฉบับ
japantimes
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่