สวัสดีค่ะ จขกท.ขอเรียกแทนตัวเองว่า “แอน” ก็แล้วกันนะคะ แอนเพิ่งสมัครแอคเคาท์นี้ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ปกติแอนจะอ่านอย่างเดียวไม่เคยคิดสมัครสมาชิกเลยค่ะ แต่ครั้งนี้แอนอยากมาแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้พาคุณยายเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังค่ะ เพราะแอนคิดว่าหลายๆบ้าน ต้องมีผู้สูงอายุในครอบครัวเหมือนกับแอน และปัญหาสุขภาพคู่ซี้ของผู้สูงอายุก็คืออาการปวดหลัง ซึ่งส่วนใหญ่ การรักษานอกเหนือจากการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด ก็จะเป็นการผ่าตัด แต่ว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ มีความกังวลใจในการผ่าตัด ซึ่งแอนเข้าใจดีเพราะเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน แอนหวังว่าเรื่องราวของแอนและคุณยายจะพอเป็นข้อมูลและช่วยคลายความกังวลใจให้กับเพื่อน ๆ ได้บ้าง เริ่มเรื่องเลยแล้วกันนะคะ

(คุณยายของแอนเองค่ะ ท่านยังสดใสแข็งแรงในวัย 89 เนื่องจากภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาค่ะ)
คุณยายของแอน ปัจจุบันท่านอายุ 90 ปีแล้ว ท่านเป็นคนค่อนข้างละเอียด พิถีพิถัน และดูแลตัวเองอย่างดีมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยสาว ๆ จนถึงทุกวันนี้ ปกติแล้วคุณยายจะรักษาโรคประจำตัวทั้งหมด รวมถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่น ๆ อยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเป็นประจำตั้งแต่สมัยสาว ๆ ส่วนโรคทางกระดูกสันหลัง คุณยายจะมารักษาที่โรงพยาบาลเวชธานี สืบเนื่องมาจากคุณยายมีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนในงานเมื่อหลายปีที่แล้ว โดยเพื่อนของคุณยายได้แนะนำว่า ลูกเขยของเขาเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเวชธานี ชื่อคุณหมอพรเอนก ตาดทอง เมื่อได้คุยกับเพื่อนแล้วคุณยายก็รู้สึกมั่นใจในตัวคุณหมอพรเอนก จึงเข้ามาตรวจสุขภาพกระดูกสันหลัง ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก และได้ตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกพรุน จึงได้รับการดูแลรักษาเรื่องกระดูกและโรคเกี่ยวกับหลังที่เวชธานีมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ที่บ้านของคุณยายได้ติดตั้งลิฟต์บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ต้องสั่งนำเข้าเองจากประเทศอังกฤษ ลักษณะจะเป็นลิฟต์เก้าอี้ยึดติดกับราวบันไดสำหรับเลื่อนขึ้นลง เพื่อช่วยเซฟข้อเข่าของคุณยายและเพื่อให้ท่านสามารถขึ้นลงเองได้อย่างสะดวกค่ะ

(ลิฟต์เก้าอี้ที่บ้านคุณยาย ติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้นลงค่ะ)
แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2558 ลิฟต์ตัวดีเกิดเสียขึ้นมา จะซ่อมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องรออะไหล่และทีมช่างข้ามน้ำข้ามทะเลมา ระหว่างที่รอซ่อมลิฟต์อยู่นั้น คุณยายจึงขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง เพราะปกติแล้วท่านก็สามารถเดินเองได้คล่องแคล่วอยู่แล้ว แต่พอต้องก้าวขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง ก็เกิดอาการปวดหลังขึ้นมา เนื่องจากคุณยายอายุมากแล้ว อีกทั้งยังมีน้ำหนักตัวที่เยอะ และท่านยังมีโรคกระดูกพรุนอีก อาการปวดหลังจึงค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
คุณยายจึงมาตรวจกับคุณหมอพรเอนก ได้ทำ MRI กระดูกสันหลัง พบว่ากระดูกหลังเสื่อม และมีกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ระดับ L4-L5 และตรงบริเวณนั้นก็มีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง ดังนั้นคุณหมอพรเอนกจึงได้แนะนำให้ผ่าตัด แต่ด้วยคุณยายอายุมากแล้ว ซึ่งในตอนนั้นอายุของท่านก็ประมาณ 88 ปี ดังนั้นจะต้องมีการส่งปรึกษาแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลายสาขา เนื่องจากคุณยายมีโรคประจำตัวหลายโรค ในช่วงนั้นคุณหมอหลายๆท่านได้ประเมินว่าคุณยายมีความเสี่ยงในการผ่าตัดที่ระดับสูง (High Risk) โดยประเมินจากการตรวจเลือด และผลตรวจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้คุณยาย แอน และญาติต่างกังวลใจมากหากจะต้องผ่าตัด และเหมือนโชคช่วย เพราะระหว่างนั้นลิฟต์เก้าอี้ไฟฟ้าก็ซ่อมเสร็จพอดี จังหวะที่คุณยายได้กลับมาใช้ลิฟต์เก้าอี้ขึ้นลงตามเดิม อาการปวดหลังของคุณยายก็หายไปด้วย คุณยายจึงตัดสินใจพับโครงการที่จะผ่าตัดหลังไปก่อน
หลังหายจากอาการปวดหลังในครั้งนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาคุณยายสามารถเดินเองได้ปกติ เวลาไปไหนมาไหนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้เท้า แต่ถ้าต้องไปเดินที่ห้างสรรพสินค้านาน ๆ คุณยายจะใช้วีลแชร์คันเล็ก ๆ แทน เนื่องจากวีลแชร์ของคุณยาย ท่านจะเข็นเองเพื่อช่วยพยุงตัวให้คุณยายเดินได้สะดวก ไม่เมื่อย แต่ถ้าเมื่อยเมื่อไร ท่านก็จะนั่งแทน และให้น้องสาวคนสนิทที่ไปไหนมาไหนด้วยตลอดเป็นคนเข็นรถให้ท่าน กระทั่งช่วงเดือนมีนาคม ในปีนี้ ปี 2560 คุณยายเริ่มมีอาการปวดหลังกลับมากวนใจอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีอาการปวดหลังเป็นมากขึ้นกว่าเดิม และปวดร้าวลงขาซ้ายร่วมด้วย โดยจะเป็นมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือเวลาที่นั่งนาน ๆ ก็น่าจะเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังตามอายุการใช้งาน และจากการกดทับของเส้นประสาทด้วย
พอคุณยายมีอาการปวดหลังในครั้งนี้ คุณยายจึงกลับมาพบคุณหมอพรเอนกอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 ค่ะ หลังจากได้ตรวจวินิจฉัยอีกครั้งอย่างละเอียด ปรากฏว่าความเสื่อมของหลัง หรือแม้แต่การเคลื่อนของกระดูกระดับเอว รวมไปถึงการกดทับของเส้นประสาท เป็นรุนแรงมากขึ้นกว่าปี 2558 คุณหมอจึงแนะนำว่าคงต้องผ่าตัดแล้ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้ คงไม่สามารถที่จะผ่าตัดได้ เพราะอายุคุณยายมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ การผ่าตัดก็จะทำได้ยากขึ้น อีกทั้งโรคประจำตัวที่มีอยู่ ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการผ่าตัดมากขึ้น คุณยาย แอน และญาติ ๆ ในตอนนั้น บอกตรง ๆ ว่ามีความกังวลใจเป็นอย่างมากในการผ่าตัด แต่คุณหมอพรเอนกบอกว่าตอนนี้ทางโรงพยาบาลเวชธานี ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผ่าตัดหลังให้กับคุณยาย ซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ ชื่อว่า เรเนซองส์ (แอนก็แอบว้าวในใจ) ซึ่งนวัตกรรมนี้เรียกเป็นภาษาแพทย์ว่า Robotic Spinal Surgery การใช้หุ่นยนต์เรเนซองส์นี้เพื่อช่วยคุณหมอในการคำนวณทิศทางในการใส่สกรูเข้าไปในหลังของคนไข้ให้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งความแม่นยำนั้นมีมากถึง 99.7% และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี คุณยายได้ถามคุณหมอกลับไปว่า “คุณหมอหมายถึงหุ่นยนต์จะผ่าตัดให้คุณยายงั้นหรือ?” คุณหมอเลยบอกว่าหุ่นยนต์นี้ ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยศัลยแพทย์เท่านั้นเอง เข้ามาช่วยลดโอกาสเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด แต่ทั้งหมดจะยังคงอยู่ในการดูแลของแพทย์ และขั้นตอนการผ่าตัดก็ยังเป็นหน้าที่ของแพทย์อยู่
หลังจากที่ได้รับทราบขั้นตอนการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยนั้นจากคุณหมอแล้ว คุณยายก็ต้องกลับไปพบคุณหมออายุรกรรมเพื่อที่จะตรวจเลือด ตรวจหัวใจ และเข้าสู่กระบวนการเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่อีกครั้ง ซึ่งก็เป็นข่าวดีมาก ๆ คุณหมออายุรกรรมหลาย ๆ สาขา ได้ลงความเห็นว่าคุณยายสามารถผ่าตัดได้ เพราะหัวใจของคุณยายแข็งแรงดีมาก การบีบหัวใจของหัวใจทุกอย่างดีหมดเลย และทั้งระดับความดันโลหิต น้ำตาล ค่าไต หรืออื่น ๆ ช่างจะพร้อมเป็นใจและอำนวยความราบรื่นในการผ่าตัดให้กับคุณยายจริง ๆ ในที่สุดคุณยายก็ตัดสินใจที่จะผ่าตัดหลังโดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยกับคุณหมอพรเอนก เพราะคุณยายมีความเชื่อมั่นในตัวของคุณหมอพรเอนกอย่างมากของมากที่สุด แต่ในระหว่างนั้นแอนก็ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ่นยนต์เรเนซองส์เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ตามประสาของลูกหลานที่อยากให้คุณยายได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด เพราะคุณยายอายุมากถึง 90 ปีแล้ว
ซึ่งจากข้อมูลเท่าที่แอนได้ศึกษามาทราบว่า นวัตกรรมการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยนั้น ได้ผลเป็นอย่างดี ยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยรายใดต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำ การผ่าตัดหลังวิธีนี้ จะใช้ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกทรุด กระดูกเคลื่อน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุ การผ่าตัดกระดูกสันหลังจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของคุณหมอเป็นหลัก ซึ่งคุณหมอจะต้องวางแผนคำนวณทิศทางของสกรูจากภาพจำลองกระดูกหลังที่ได้สร้างขึ้นมาจากการทำ CT Scan หลังก่อน (คนละอย่างกับทำ MRI นะคะ) เพื่อเล็งทิศทาง องศาความลึกในการใส่สกรูลงไป เลือกขนาดและจำนวนสกรู เพื่อให้คุณหมอสามารถวางแผนการผ่าตัดได้อย่างดีที่สุด เพราะการผ่าตัดกระดูกสันหลังจะต้องยึดสกรู ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยความแม่นยำอย่างมาก ๆ เลยค่ะ เนื่องจากตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการปักสกรูลงไปมีพื้นที่ขนาดเล็กและแคบมาก ๆ หากเป็นการผ่าตัดด้วยมือแพทย์เพียงอย่างเดียว อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น สกรูผิดองศา ปลายสกรูอาจจะทะลุออกมาทิ่มปลายประสาทหรือไขสันหลังได้ หรือสกรูอาจจะยังเข้าไปไม่ถึงตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นปัญหาที่ทำให้คนไข้ปวดและต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำได้ อีกสิ่งหนึ่งคือหากปลายสกรูไปโดนเส้นเลือดใหญ่ จะทำให้มีโอกาสเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้นหุ่นยนต์ก็จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ทั้งหมดไป ผลที่ได้ ก็จะเพิ่มความแม่นยำ ลดความผิดพลาด ลดการบาดเจ็บ ลดการเสียเลือด และยังฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
ในประเทศไทย เท่าที่แอนทราบมา จะมีหุ่นยนต์ตัวนี้อยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งอยู่ที่รพ.รามาธิบดี ส่วนอีกตัวอยู่ที่รพ.เวชธานี แต่แอนไม่ขอเทียบนะคะว่าที่ไหนดีกว่ากัน ข้อแตกต่างทั่ว ๆ ไปก็คือแห่งหนึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐฯ ส่วนอีกแห่งเป็นเอกชนค่ะ
การใช้หุ่นยนต์ร่วมกับศัลยแพทย์ในการผ่าตัด อันที่จริงไม่ได้มีข้อเสียใด ๆ เลย ยกเว้นเรื่องราคาที่แอบสูงนิดนึงค่ะ แต่คุณยายอายุมากแล้ว การผ่าตัดแน่นอนย่อมมีความเสี่ยงมาก การใช้หุ่นยนต์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณยายเช่นกัน ถ้าต้องเพิ่มเงินจำนวนหนึ่งเพื่อแลกกับความปลอดภัยและความอุ่นใจของคุณยายและญาติ ๆ แอนก็คิดว่าคุ้มค่ะ
ก่อนที่จะถึงวันนัดมาผ่าตัด แอนและครอบครัวก็ได้มีการพูดคุยให้กำลังใจคุณยาย เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้ว คุณยายท่านค่อนข้างจะเป็นกังวลในการผ่าตัด ในการวางยาสลบ หรือการปวดแผลหลังผ่าตัด เพราะอายุท่านมากแล้ว หากถ้าปวดแผลมาก ด้วยโรคประจำตัวของท่าน ก็จะค่อนข้างต้องระวังการใช้ยาแก้ปวด และท่านเองก็มีประวัติแพ้ยาแก้ปวดหลายอย่างมาก เราทุกคนจึงต้องช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ท่านเยอะ ๆ แต่ท่านเองก็ใจสู้ด้วยส่วนหนึ่งค่ะ แอนได้สอบถามจากศูนย์กระดูกสันหลังของโรงพยาบาล ว่าเคสผู้ป่วยที่อายุมากสุดที่เคยมารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังอายุประมาณเท่าไหร่ ซึ่งทางศูนย์ก็บอกว่าเคสที่อายุมากที่สุดที่ผ่าตัดกระดูกสันหลัง อายุ 93 ปี แอนก็ไปเล่าให้คุณยายฟังว่ายังมีคนที่มีอายุมากกว่าท่านมาผ่าตัดที่โรงพยาบาลนี้แล้วผลการผ่าตัดก็ยังเป็นที่น่าพอใจด้วย พอแอนมาเล่า คุณยายก็สบายใจขึ้นค่ะ
แต่แล้วคนที่กังวลใจ ก็ไม่ได้มีแค่คุณยายคนเดียวหรอกค่ะ ตัวแอนเองและญาติ ๆ ก็เครียดไม่น้อย แอนก็ไม่อยากให้มีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นเลยจริง ๆ ค่ะ แต่ถึงอย่างไรแล้วแอนก็มีความมั่นใจในทีมแพทย์และโรงพยาบาล จึงพยายามปล่อยใจให้ผ่อนคลาย คิดบวก คิดแต่เรื่องดี ๆ และยกให้เป็นหน้าที่ของคุณหมอในการรักษาคุณยายอย่างเต็มความสามารถค่ะ
เดี๋ยวมาเล่าต่อนะคะ ^_^
เล่าสู่กันฟัง ตามรอยคุณยายวัย 90 ผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
(คุณยายของแอนเองค่ะ ท่านยังสดใสแข็งแรงในวัย 89 เนื่องจากภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาค่ะ)
คุณยายของแอน ปัจจุบันท่านอายุ 90 ปีแล้ว ท่านเป็นคนค่อนข้างละเอียด พิถีพิถัน และดูแลตัวเองอย่างดีมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยสาว ๆ จนถึงทุกวันนี้ ปกติแล้วคุณยายจะรักษาโรคประจำตัวทั้งหมด รวมถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่น ๆ อยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเป็นประจำตั้งแต่สมัยสาว ๆ ส่วนโรคทางกระดูกสันหลัง คุณยายจะมารักษาที่โรงพยาบาลเวชธานี สืบเนื่องมาจากคุณยายมีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนในงานเมื่อหลายปีที่แล้ว โดยเพื่อนของคุณยายได้แนะนำว่า ลูกเขยของเขาเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเวชธานี ชื่อคุณหมอพรเอนก ตาดทอง เมื่อได้คุยกับเพื่อนแล้วคุณยายก็รู้สึกมั่นใจในตัวคุณหมอพรเอนก จึงเข้ามาตรวจสุขภาพกระดูกสันหลัง ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก และได้ตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกพรุน จึงได้รับการดูแลรักษาเรื่องกระดูกและโรคเกี่ยวกับหลังที่เวชธานีมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ที่บ้านของคุณยายได้ติดตั้งลิฟต์บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ต้องสั่งนำเข้าเองจากประเทศอังกฤษ ลักษณะจะเป็นลิฟต์เก้าอี้ยึดติดกับราวบันไดสำหรับเลื่อนขึ้นลง เพื่อช่วยเซฟข้อเข่าของคุณยายและเพื่อให้ท่านสามารถขึ้นลงเองได้อย่างสะดวกค่ะ
(ลิฟต์เก้าอี้ที่บ้านคุณยาย ติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้นลงค่ะ)
แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2558 ลิฟต์ตัวดีเกิดเสียขึ้นมา จะซ่อมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องรออะไหล่และทีมช่างข้ามน้ำข้ามทะเลมา ระหว่างที่รอซ่อมลิฟต์อยู่นั้น คุณยายจึงขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง เพราะปกติแล้วท่านก็สามารถเดินเองได้คล่องแคล่วอยู่แล้ว แต่พอต้องก้าวขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง ก็เกิดอาการปวดหลังขึ้นมา เนื่องจากคุณยายอายุมากแล้ว อีกทั้งยังมีน้ำหนักตัวที่เยอะ และท่านยังมีโรคกระดูกพรุนอีก อาการปวดหลังจึงค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
คุณยายจึงมาตรวจกับคุณหมอพรเอนก ได้ทำ MRI กระดูกสันหลัง พบว่ากระดูกหลังเสื่อม และมีกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ระดับ L4-L5 และตรงบริเวณนั้นก็มีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง ดังนั้นคุณหมอพรเอนกจึงได้แนะนำให้ผ่าตัด แต่ด้วยคุณยายอายุมากแล้ว ซึ่งในตอนนั้นอายุของท่านก็ประมาณ 88 ปี ดังนั้นจะต้องมีการส่งปรึกษาแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลายสาขา เนื่องจากคุณยายมีโรคประจำตัวหลายโรค ในช่วงนั้นคุณหมอหลายๆท่านได้ประเมินว่าคุณยายมีความเสี่ยงในการผ่าตัดที่ระดับสูง (High Risk) โดยประเมินจากการตรวจเลือด และผลตรวจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้คุณยาย แอน และญาติต่างกังวลใจมากหากจะต้องผ่าตัด และเหมือนโชคช่วย เพราะระหว่างนั้นลิฟต์เก้าอี้ไฟฟ้าก็ซ่อมเสร็จพอดี จังหวะที่คุณยายได้กลับมาใช้ลิฟต์เก้าอี้ขึ้นลงตามเดิม อาการปวดหลังของคุณยายก็หายไปด้วย คุณยายจึงตัดสินใจพับโครงการที่จะผ่าตัดหลังไปก่อน
หลังหายจากอาการปวดหลังในครั้งนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาคุณยายสามารถเดินเองได้ปกติ เวลาไปไหนมาไหนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้เท้า แต่ถ้าต้องไปเดินที่ห้างสรรพสินค้านาน ๆ คุณยายจะใช้วีลแชร์คันเล็ก ๆ แทน เนื่องจากวีลแชร์ของคุณยาย ท่านจะเข็นเองเพื่อช่วยพยุงตัวให้คุณยายเดินได้สะดวก ไม่เมื่อย แต่ถ้าเมื่อยเมื่อไร ท่านก็จะนั่งแทน และให้น้องสาวคนสนิทที่ไปไหนมาไหนด้วยตลอดเป็นคนเข็นรถให้ท่าน กระทั่งช่วงเดือนมีนาคม ในปีนี้ ปี 2560 คุณยายเริ่มมีอาการปวดหลังกลับมากวนใจอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีอาการปวดหลังเป็นมากขึ้นกว่าเดิม และปวดร้าวลงขาซ้ายร่วมด้วย โดยจะเป็นมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือเวลาที่นั่งนาน ๆ ก็น่าจะเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังตามอายุการใช้งาน และจากการกดทับของเส้นประสาทด้วย
พอคุณยายมีอาการปวดหลังในครั้งนี้ คุณยายจึงกลับมาพบคุณหมอพรเอนกอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 ค่ะ หลังจากได้ตรวจวินิจฉัยอีกครั้งอย่างละเอียด ปรากฏว่าความเสื่อมของหลัง หรือแม้แต่การเคลื่อนของกระดูกระดับเอว รวมไปถึงการกดทับของเส้นประสาท เป็นรุนแรงมากขึ้นกว่าปี 2558 คุณหมอจึงแนะนำว่าคงต้องผ่าตัดแล้ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้ คงไม่สามารถที่จะผ่าตัดได้ เพราะอายุคุณยายมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ การผ่าตัดก็จะทำได้ยากขึ้น อีกทั้งโรคประจำตัวที่มีอยู่ ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการผ่าตัดมากขึ้น คุณยาย แอน และญาติ ๆ ในตอนนั้น บอกตรง ๆ ว่ามีความกังวลใจเป็นอย่างมากในการผ่าตัด แต่คุณหมอพรเอนกบอกว่าตอนนี้ทางโรงพยาบาลเวชธานี ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผ่าตัดหลังให้กับคุณยาย ซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ ชื่อว่า เรเนซองส์ (แอนก็แอบว้าวในใจ) ซึ่งนวัตกรรมนี้เรียกเป็นภาษาแพทย์ว่า Robotic Spinal Surgery การใช้หุ่นยนต์เรเนซองส์นี้เพื่อช่วยคุณหมอในการคำนวณทิศทางในการใส่สกรูเข้าไปในหลังของคนไข้ให้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งความแม่นยำนั้นมีมากถึง 99.7% และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี คุณยายได้ถามคุณหมอกลับไปว่า “คุณหมอหมายถึงหุ่นยนต์จะผ่าตัดให้คุณยายงั้นหรือ?” คุณหมอเลยบอกว่าหุ่นยนต์นี้ ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยศัลยแพทย์เท่านั้นเอง เข้ามาช่วยลดโอกาสเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด แต่ทั้งหมดจะยังคงอยู่ในการดูแลของแพทย์ และขั้นตอนการผ่าตัดก็ยังเป็นหน้าที่ของแพทย์อยู่
หลังจากที่ได้รับทราบขั้นตอนการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยนั้นจากคุณหมอแล้ว คุณยายก็ต้องกลับไปพบคุณหมออายุรกรรมเพื่อที่จะตรวจเลือด ตรวจหัวใจ และเข้าสู่กระบวนการเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่อีกครั้ง ซึ่งก็เป็นข่าวดีมาก ๆ คุณหมออายุรกรรมหลาย ๆ สาขา ได้ลงความเห็นว่าคุณยายสามารถผ่าตัดได้ เพราะหัวใจของคุณยายแข็งแรงดีมาก การบีบหัวใจของหัวใจทุกอย่างดีหมดเลย และทั้งระดับความดันโลหิต น้ำตาล ค่าไต หรืออื่น ๆ ช่างจะพร้อมเป็นใจและอำนวยความราบรื่นในการผ่าตัดให้กับคุณยายจริง ๆ ในที่สุดคุณยายก็ตัดสินใจที่จะผ่าตัดหลังโดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยกับคุณหมอพรเอนก เพราะคุณยายมีความเชื่อมั่นในตัวของคุณหมอพรเอนกอย่างมากของมากที่สุด แต่ในระหว่างนั้นแอนก็ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ่นยนต์เรเนซองส์เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ตามประสาของลูกหลานที่อยากให้คุณยายได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด เพราะคุณยายอายุมากถึง 90 ปีแล้ว
ซึ่งจากข้อมูลเท่าที่แอนได้ศึกษามาทราบว่า นวัตกรรมการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยนั้น ได้ผลเป็นอย่างดี ยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยรายใดต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำ การผ่าตัดหลังวิธีนี้ จะใช้ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกทรุด กระดูกเคลื่อน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุ การผ่าตัดกระดูกสันหลังจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของคุณหมอเป็นหลัก ซึ่งคุณหมอจะต้องวางแผนคำนวณทิศทางของสกรูจากภาพจำลองกระดูกหลังที่ได้สร้างขึ้นมาจากการทำ CT Scan หลังก่อน (คนละอย่างกับทำ MRI นะคะ) เพื่อเล็งทิศทาง องศาความลึกในการใส่สกรูลงไป เลือกขนาดและจำนวนสกรู เพื่อให้คุณหมอสามารถวางแผนการผ่าตัดได้อย่างดีที่สุด เพราะการผ่าตัดกระดูกสันหลังจะต้องยึดสกรู ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยความแม่นยำอย่างมาก ๆ เลยค่ะ เนื่องจากตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการปักสกรูลงไปมีพื้นที่ขนาดเล็กและแคบมาก ๆ หากเป็นการผ่าตัดด้วยมือแพทย์เพียงอย่างเดียว อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น สกรูผิดองศา ปลายสกรูอาจจะทะลุออกมาทิ่มปลายประสาทหรือไขสันหลังได้ หรือสกรูอาจจะยังเข้าไปไม่ถึงตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นปัญหาที่ทำให้คนไข้ปวดและต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำได้ อีกสิ่งหนึ่งคือหากปลายสกรูไปโดนเส้นเลือดใหญ่ จะทำให้มีโอกาสเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้นหุ่นยนต์ก็จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ทั้งหมดไป ผลที่ได้ ก็จะเพิ่มความแม่นยำ ลดความผิดพลาด ลดการบาดเจ็บ ลดการเสียเลือด และยังฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
ในประเทศไทย เท่าที่แอนทราบมา จะมีหุ่นยนต์ตัวนี้อยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งอยู่ที่รพ.รามาธิบดี ส่วนอีกตัวอยู่ที่รพ.เวชธานี แต่แอนไม่ขอเทียบนะคะว่าที่ไหนดีกว่ากัน ข้อแตกต่างทั่ว ๆ ไปก็คือแห่งหนึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐฯ ส่วนอีกแห่งเป็นเอกชนค่ะ
การใช้หุ่นยนต์ร่วมกับศัลยแพทย์ในการผ่าตัด อันที่จริงไม่ได้มีข้อเสียใด ๆ เลย ยกเว้นเรื่องราคาที่แอบสูงนิดนึงค่ะ แต่คุณยายอายุมากแล้ว การผ่าตัดแน่นอนย่อมมีความเสี่ยงมาก การใช้หุ่นยนต์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณยายเช่นกัน ถ้าต้องเพิ่มเงินจำนวนหนึ่งเพื่อแลกกับความปลอดภัยและความอุ่นใจของคุณยายและญาติ ๆ แอนก็คิดว่าคุ้มค่ะ
ก่อนที่จะถึงวันนัดมาผ่าตัด แอนและครอบครัวก็ได้มีการพูดคุยให้กำลังใจคุณยาย เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้ว คุณยายท่านค่อนข้างจะเป็นกังวลในการผ่าตัด ในการวางยาสลบ หรือการปวดแผลหลังผ่าตัด เพราะอายุท่านมากแล้ว หากถ้าปวดแผลมาก ด้วยโรคประจำตัวของท่าน ก็จะค่อนข้างต้องระวังการใช้ยาแก้ปวด และท่านเองก็มีประวัติแพ้ยาแก้ปวดหลายอย่างมาก เราทุกคนจึงต้องช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ท่านเยอะ ๆ แต่ท่านเองก็ใจสู้ด้วยส่วนหนึ่งค่ะ แอนได้สอบถามจากศูนย์กระดูกสันหลังของโรงพยาบาล ว่าเคสผู้ป่วยที่อายุมากสุดที่เคยมารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังอายุประมาณเท่าไหร่ ซึ่งทางศูนย์ก็บอกว่าเคสที่อายุมากที่สุดที่ผ่าตัดกระดูกสันหลัง อายุ 93 ปี แอนก็ไปเล่าให้คุณยายฟังว่ายังมีคนที่มีอายุมากกว่าท่านมาผ่าตัดที่โรงพยาบาลนี้แล้วผลการผ่าตัดก็ยังเป็นที่น่าพอใจด้วย พอแอนมาเล่า คุณยายก็สบายใจขึ้นค่ะ
แต่แล้วคนที่กังวลใจ ก็ไม่ได้มีแค่คุณยายคนเดียวหรอกค่ะ ตัวแอนเองและญาติ ๆ ก็เครียดไม่น้อย แอนก็ไม่อยากให้มีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นเลยจริง ๆ ค่ะ แต่ถึงอย่างไรแล้วแอนก็มีความมั่นใจในทีมแพทย์และโรงพยาบาล จึงพยายามปล่อยใจให้ผ่อนคลาย คิดบวก คิดแต่เรื่องดี ๆ และยกให้เป็นหน้าที่ของคุณหมอในการรักษาคุณยายอย่างเต็มความสามารถค่ะ
เดี๋ยวมาเล่าต่อนะคะ ^_^