Bitcoin Blockchain ปลอดภัยจริงหรือ? หรือแค่ระเบิดเวลา?

ช่วงนี้เห็นมีกระทู้เกี่ยวกับ bitcoin ถี่เหลือเกิน หลายๆ ท่านก็วิเคราะไว้อย่างละเอียดดีครับ (ในด้านบวกนะ)
แต่ว่ามันดีจริงขนาดนั้นมั้ย? ผมจะมาพูดถึงด้านลบของมันบ้าง
คือที่มาเขียนเนี่ย ผมก็เป็นคนหนึ่งที่มีแท่นขุดเหรียญนะครับ ไม่ได้แอนตี้ bitcoin แต่อย่างใด ผมว่ามันยังไปได้อีกแสนไกล

แต่

ถ้าเราย้อนมาดูพื้นฐานของตัวระบบเอง จะมีข้อเสียเล็กๆ อยู่ข้อนึงครับ คือแค่ มันเหมือนจะแฮกได้ครับ เท่านั้นเองครับ 555
ในภาษาอังกฤษ เค้าเรียกว่า 51% attack ครับ ลองไป google กันดูสำหรับท่านที่คล่องภาษาฝรั่ง

คือในการ ทำธุรกรรมการโอนเงิน ในระบบ Blockchain มันคล้ายๆ จะมีการโหวตกันครับ ว่า ธุรกรรมการโอนเงินที่เกิดขึ้นนั้น ถูกต้องหรือไม่ จริงหรือปล่าว
ต้นทางนั้นมีเงินให้โอนจริงหรือไม่ ซึ่งวิธีก็คือ ตรวจสอบกันเอง กับคอมพิวเตอรที่เชื่อมต่อในระบบ BlockChain นั้นๆ ครับ

ซึ่งจะเหมือนระบประชาธิปไตที่ว่าถ้าคอมพิวเตอรที่เชื่อมกับระบบส่วนใหญ่ (เกิน 51%)ยืนยันข้อมูลมาว่า ok ธุรกรรมนีโอเคนะต้นทางเค้ามีเงินโอนได้ ระบบ Blockchain ก็จะยอมรับการทำธรุกรรมครั้งนั้นครับ และทำการโอนเงินไป (มันจะมีคอมพิวเตอร์บางส่วนที่ปฏิเสธการทำธุรกรรมนี้ครับ แต่เป็นส่วนน้อย ) หรือในทางกลับกันถ้าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ปฏิเสธการโอนเงินครั้งนี้ (เกิน 51%) เงินก็จะโอนไม่ผ่านครับ คือส่วนใหญ่ว่าไงก็ว่าตามกันงั้นแหละ

ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า ถ้ามีคนๆหนึ่ง หรือกลุ่มคน สามารถเข้าควบคุม คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ Blockchain นั้นได้เกิน 51%  เค้าคนนั้นจะสามารถ แก้ไขการโอนเงินได้บ้างครับ

เช่นผมเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ ของเหรียญ BATHCOIN ได้เกิน 51% (เพราะเหรียญไม่ได้รับความนิยมมากนัก คนเชื่อมต่อน้อย ผมมีแท่นขุดมากหน่อยก็สามารถเป็น 51% ของทั้งระบบได้แล้ว) ผมสามารถ สั่งขายเหรียญ BATHCOIN 1,000,000 เหรียญในตลาด แล้วไปซื้อ BITCOIN เพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยของเส้นทางการเงินผม จากนั้นผมใช้กำลัง 51% ที่ผมมี สั่งเขียน Block ลงไปในระบบ Blockchain ว่าผมยังมีเงิน 1,000,000 นั้นอยู่นะ

ในระบบก็จะยกมือถามกันว่า ธุรกรรมนี้ถูกต้องหรือไม่? ซึ่งแน่นอนว่า 51% (ที่ผมควบคุมอยู่) จะต้องยืนยันตามที่ผมสั่ง เพราะผมยกมือให้ตัวเอง
ที่นี้เงิน 1,000,000 BathCoin ที่ผมขายไปก็จะกลับมาโชวในระบบผมอีกครั้ง พร้อมกับ Bitcoin ที่ผมซื้อมาด้วย

ในกรณีของ Bathcoin อาจจะฟังดูง่ายเพราะคนไม่ให้นิยม คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมีน้อย ใครที่มีคอมเยอะๆ เชื่อมเข้าไป ก็เป็นสัดส่วนใหญ่ในระบบได้เลย แล้วในกรณีของ Bitcoin ละ? คนทั่วโลกเชื่อมต่อกันเต็มไปหมด การที่คุณจะเป็น 51% นั้น "แทบเป็นไปไม่ได้เลย" คุณคิด

เรามาลองพิจารณาถึงกรณีที่จะเกิด 51% attack ใน Bitcoin (หรือเหรียญอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมกันดู)
1. ชิปคอมพิวเตอรที่ใช้เชื่อมต่อนี้ผลิตโดยเทคโนโลยีทั่วไป ไม่ได้ใช้เทคขั้นสูงแต่อย่างใด ถ้าคุณวางแผนมาดีพอ สะสมคอมให้ได้มากพอ  ก็เป็นไปได้ในทางเทนิคแต่ต้องใช้เงินโดยประมาณ 1000-2000 ล้านเหรีนญมั้ง (สำหรับคนรวยมาก เงินขนาดนี้ผมว่าไม่มากจนเกินไป)
2. หากเหรียญ Bitcoin หมดไปในอีก  ใน 120 ปีคนอาจจะหันไปขุดเหรียญอื่นกัน หรือไม่? เพราะรางวัลจาก transaction ไม่น่าสนใจพอ? ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้จำนวนคอมพิวเตอรที่เชื่อมต่อ bitcoin ลดลงอย่างมากและการทำให้การถือครอง 51% อาจจะไม่ยากเย็นอีกต่อไปหรือไม่?
3. คนที่ถือครองการดจอ หรือ ASIC จำนวนมากคือผู้ผลิตเครื่องเอง ถ้าใครคนนึงจะมีคอมพิวเตอร์มหาศาลที่จะเชื่อมต่อเข้าสู้ bitcoin ได้ก็คือกลุ่มคนเหล่านี้นั่นเอง นั่นเท่ากับว่า อนาคตความปลอดภัยของ bitcoin อยู่ในมือของผู้ผลิต hardware หรือไม่?
4. ถ้ามีคนวางแผนดันเหรียญ Bathcoin ให้มูลค่าสูงๆ ให้คนหันมาเชื่อมต่อและขุด Bathcoin เท่านี้จำนวนคนที่เชื่อมต่อ bitcoin หรือเหรียญตัวอื่นๆ ก็จะน้อยลงหรือไม่ ทำให้การเข้าครอบครอง 51% ทำได้ง่ายขึ้น



ผมเชื่อว่าหากมีผลตอบแทนที่ดีในการทำลาย หรือ โกง Bitcoin (เพราะในอนาคต bitcoin จะมีมูลค่าสูงกว่านี้มาก หรืออาจะเป้นผลตอบแทนทางการเมือง) มันจะต้องมีคนคิดวิธีออกมาได้แน่ๆ และก็น่าจะต้องทำสำเร็จจนได้
ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ระบบ Blockchain ที่กำลังจะเป็นอานคตรากฐานของ ธุรกรรมของโลกใบนี้จะสั่นคลอนอย่างมากทันที เพราะคน "จะขาดความเชื่อถือ" ใน Blockchain ไป ถึงตอนนั้นโลกที่เราเคยรู้จัก เงิน crypto ที่เราใช้อยู่ทุกวัน หมดความน่าเชื่อถือไปจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้?

หรือว่ามันคือระเบิดปรมาณูที่เราสร้างขึ้นมาเอง?

ปล 1 เรื่อง 51% attack นี่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว เหรียญชื่อ krypton ฉะนั้นจะบอกว่าปลอดภัย 100% อย่างที่คิดก็บอกเลยว่าไม่ใช่หละครับ
ลอง google คำว่า krypton 51 attack
ปล 2 Etherium เป้น blockchain ที่เหมาะแก่การแฮกมาก เค้าว่ากันนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่