ในที่สุดเราก็พบว่า ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เด็กหนุ่มมัธยมทำเนื้อทำตัวสมเป็นเด็กวัยรุ่นผู้ไม่ประสาโลกเสียที หลังจากที่โคตรคูลในเวอร์ชั่น 2002 (กับฉากในตำนานที่ โทบี แมกไกวร์ ห้อยหัวจูบ คริสเต็น ดันส์ต) และมาหล่อน่ารักในปี 2014 ซึ่งปีเตอร์ของทั้งสองเวอร์ชั่นเป็นเด็กเนิร์ด ขี้อายที่ถูกแมงมุมกัดแล้วจับพลัดจับผลูไปมีพลังพิเศษ
ปีเตอร์ใน Spider-Man: Homecoming ก็ไม่ต่าง เพียงแต่มันดูเหมือนเด็ก 14 (ย่าง 15) จริงๆ ตรงที่มันเกรียนมากๆ ครึ่งเรื่องนี่ดำเนินไปด้วยความไม่รู้เหนือรู้ใต้ของมันล้วนๆ หนังไม่ประคบประหงมความเป็นเด็กของปีเตอร์ด้วยการให้เขาต้องตัดสินใจเลือกทำภารกิจระหว่างตามคนร้ายหรือไปสอบภาษาสเปน
หนังทำให้รู้สึกตลอดว่าปีเตอร์ต่อสู้ไม่เก่ง เก้งก้าง แค่ไต่กำแพงก็ต้องลุ้นแล้วว่ามันจะหล่นลงมาไหม ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจมากเมื่อมองย้อนไปว่า หนังซูเปอร์ฮีโร่เรื่องไหนๆ พวกเขาก็ต้องต่อสู้เก่งเป็นพื้นฐานไม่ว่าจะเจอคนร้ายเก่งเพียงใดก็ตาม แต่ปีเตอร์ไม่ใช่แบบนั้น เขาคือเด็กวัยรุ่นที่ชีวิตไม่เคยผ่านการต่อยตีมาก่อนและบังเอิญมีพลังพิเศษ หนังจึงถ่ายเขาออกมาในฐานะคนที่เริ่มหัดรู้จักตัวเองเสียใหม่
หนังทำให้ท่าทีที่เรามีต่อหนังซูเปอร์ฮีโร่ สูตรธรรมะชนะอธรรม เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวง่ายๆ คือการนั่งเอนหลังบนเบาะนุ่มๆ ในโรงหนังคือการมาดูเหล่าฮีโร่ฟาดฟันกับคนร้ายเพื่อจบแบบหล่อๆ สวยๆ แต่อันนี้ไม่ใช่ ปีเตอร์เป็นเด็กเรียนเก่ง ร่างกายดี เนิร์ดและเกรียน (กากด้วย) เป็นเด็กแบบที่ครั้งหนึ่งคนเคยเป็นวัยรุ่นทุกคนก็เคยเป็น เรานิยามภาวะนั้นง่ายๆ ว่าความเสร่อ
กลับมานั่งนึกนานมากว่าทำไมชอบปีเตอร์กากๆ เวอร์ชั่นนี้ คงเพราะรู้สึกว่าตัวเองรีเลทกับมันประมาณหนึ่ง ชอบความไม่คูลเลยของมันแม้จะอยากคูลแค่ไหนก็ตาม เป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเวลาก็แพล่มพูดอะไรเลื่อนเปื้อน ใส่หูฟังตลอดเวลา เพ้อเจ้ออีกประมาณหนึ่ง ใช้เวลาว่างกับเพื่อนในการต่อเลโก้สตาร์วอร์ส
นอกจากนี้ ที่ชอบมากๆ คือการแคสต์ตัวละคร เนด เพื่อนรักของปีเตอร์ที่เราต้องเคยมีเขาอยู่ในชั้นเรียนสมัยยังเด็ก คนที่ไม่ป๊อป โดนล้อ แต่ก็เป็นมิตร กับลุง ไมเคิล คีตัน ในบทตัวร้ายที่ไม่โง่เลย และเล่นได้อย่างคุกคามมากๆ (แอบลิงค์ไมเคิลกับหนัง Bird Man ที่แกเคยแสดงเหมือนกัน ไม่รู้ทีมงานจงใจไหม)
มุกสอบสวนคนร้ายนี่ A+++ มากๆ ขำกันโรงสั่น แต่ที่ดีกว่าคือ end credit
เหนืออื่นใด เราชอบที่หนังทำให้เรารู้สึกรีเลทกับความกากของมนุษย์ด้วยกัน จนรู้สึกว่าเวลาอยากจะเล่าความเป็นมนุษย์ของซูเปอร์ฮีโร่เนี่ย ไม่จำเป็นต้องเล่าความเจ็บปวดอะไรของมันหรอก เล่าว่ามันกาก มันเสร่อ ก็แสนจะเป็นมนุษย์เหลือเกินแล้ว
ฝากบล็อก-เพจ สำหรับติดตามข่าวสาร-แลกเปลี่ยนกันเรื่องภาพยนตร์กันนะคะ
Page:
https://www.facebook.com/llkhimll
Blog:
http://llkhimll.wordpress.com/
(Review / No Spoil) Spider-Man: Homecoming ไม่ใช่หนังที่วัยรุ่นเป็นฮีโร่ แต่คือหนังที่มีฮีโร่-แล้วดันเป็นวัยรุ่น!
ปีเตอร์ใน Spider-Man: Homecoming ก็ไม่ต่าง เพียงแต่มันดูเหมือนเด็ก 14 (ย่าง 15) จริงๆ ตรงที่มันเกรียนมากๆ ครึ่งเรื่องนี่ดำเนินไปด้วยความไม่รู้เหนือรู้ใต้ของมันล้วนๆ หนังไม่ประคบประหงมความเป็นเด็กของปีเตอร์ด้วยการให้เขาต้องตัดสินใจเลือกทำภารกิจระหว่างตามคนร้ายหรือไปสอบภาษาสเปน
หนังทำให้รู้สึกตลอดว่าปีเตอร์ต่อสู้ไม่เก่ง เก้งก้าง แค่ไต่กำแพงก็ต้องลุ้นแล้วว่ามันจะหล่นลงมาไหม ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจมากเมื่อมองย้อนไปว่า หนังซูเปอร์ฮีโร่เรื่องไหนๆ พวกเขาก็ต้องต่อสู้เก่งเป็นพื้นฐานไม่ว่าจะเจอคนร้ายเก่งเพียงใดก็ตาม แต่ปีเตอร์ไม่ใช่แบบนั้น เขาคือเด็กวัยรุ่นที่ชีวิตไม่เคยผ่านการต่อยตีมาก่อนและบังเอิญมีพลังพิเศษ หนังจึงถ่ายเขาออกมาในฐานะคนที่เริ่มหัดรู้จักตัวเองเสียใหม่
หนังทำให้ท่าทีที่เรามีต่อหนังซูเปอร์ฮีโร่ สูตรธรรมะชนะอธรรม เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวง่ายๆ คือการนั่งเอนหลังบนเบาะนุ่มๆ ในโรงหนังคือการมาดูเหล่าฮีโร่ฟาดฟันกับคนร้ายเพื่อจบแบบหล่อๆ สวยๆ แต่อันนี้ไม่ใช่ ปีเตอร์เป็นเด็กเรียนเก่ง ร่างกายดี เนิร์ดและเกรียน (กากด้วย) เป็นเด็กแบบที่ครั้งหนึ่งคนเคยเป็นวัยรุ่นทุกคนก็เคยเป็น เรานิยามภาวะนั้นง่ายๆ ว่าความเสร่อ
กลับมานั่งนึกนานมากว่าทำไมชอบปีเตอร์กากๆ เวอร์ชั่นนี้ คงเพราะรู้สึกว่าตัวเองรีเลทกับมันประมาณหนึ่ง ชอบความไม่คูลเลยของมันแม้จะอยากคูลแค่ไหนก็ตาม เป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเวลาก็แพล่มพูดอะไรเลื่อนเปื้อน ใส่หูฟังตลอดเวลา เพ้อเจ้ออีกประมาณหนึ่ง ใช้เวลาว่างกับเพื่อนในการต่อเลโก้สตาร์วอร์ส
นอกจากนี้ ที่ชอบมากๆ คือการแคสต์ตัวละคร เนด เพื่อนรักของปีเตอร์ที่เราต้องเคยมีเขาอยู่ในชั้นเรียนสมัยยังเด็ก คนที่ไม่ป๊อป โดนล้อ แต่ก็เป็นมิตร กับลุง ไมเคิล คีตัน ในบทตัวร้ายที่ไม่โง่เลย และเล่นได้อย่างคุกคามมากๆ (แอบลิงค์ไมเคิลกับหนัง Bird Man ที่แกเคยแสดงเหมือนกัน ไม่รู้ทีมงานจงใจไหม)
มุกสอบสวนคนร้ายนี่ A+++ มากๆ ขำกันโรงสั่น แต่ที่ดีกว่าคือ end credit
เหนืออื่นใด เราชอบที่หนังทำให้เรารู้สึกรีเลทกับความกากของมนุษย์ด้วยกัน จนรู้สึกว่าเวลาอยากจะเล่าความเป็นมนุษย์ของซูเปอร์ฮีโร่เนี่ย ไม่จำเป็นต้องเล่าความเจ็บปวดอะไรของมันหรอก เล่าว่ามันกาก มันเสร่อ ก็แสนจะเป็นมนุษย์เหลือเกินแล้ว
ฝากบล็อก-เพจ สำหรับติดตามข่าวสาร-แลกเปลี่ยนกันเรื่องภาพยนตร์กันนะคะ
Page: https://www.facebook.com/llkhimll
Blog: http://llkhimll.wordpress.com/