พุกามเอาทรัพยากรจากไหนมาสร้างเจดีย์เยอะแยะ???

ขอถามแบบคนไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์มากนักนะครับ

จริงๆ ผมไปพุกามมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้วแล้วล่ะครับ พอดีวันนี้เพื่อนไปเที่ยวและโพสต์รูปขึ้นเฟซบุ๊คเลยทำให้นึกถึงคำถามคาใจตอนตัวเองไปเที่ยว

เรารู้ว่าพุกามมีเจดีย์ที่เหลือถึงวันนี้หลายพันองค์ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ สมัยโบราณมีเจดีย์และวัดมากกว่านี้อีก ผมเข้าใจว่าวัดและเจดีย์เหล่านี้ไม่ได้เริ่มสร้างพร้อมๆ กัน แต่น่าจะทยอยสร้างหลายๆ แห่งพร้อมๆ กันผ่านช่วงเวลานานหลายปี การสร้างวัดและเจดีย์มากมายขนาดนี้ ยังไม่นับเจดีย์ขนาดใหญ่โตตั้งหลายองค์ ต้องใช้ทรัพยากรมากมาย แต่ที่ผมเห็นคือพื้นดินของพุกามแห้งแล้งมาก ต้นไม้ใหญ่มีกระจัดกระจาย ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม ดินก็แห้งๆ มีแม่น้ำอิรวดีก็จริง แต่พื้นดินดูแห้งแล้งมาก และถ้าดินเป็นแบบนี้มาตั้งแต่โบราณ พวกเขาจะปลูกพืชผลอย่างไรให้พอเลี้ยงปากท้องของคนงานที่เกณฑ์มาสร้างเจดีย์เหล่านี้ ซึ่งผมเดาเอาว่าจะต้องมีมากมายหลายพัน หรืออาจจะเป็นหมื่นๆ คนก็ได้

ยังไม่นับเรื่องทรัพยากรต่างๆ ที่ต้องนำมาใช้ทำอิฐก่อเจดีย์ ขุดดินมาจากไหน? ต้องตัดไม้เท่าไหร่เพื่อมาเผาอิฐ?

สงสัยแบบคนไม่ค่อยมีความรู้นะครับ ก็ถามไปเรื่อย ใครพอตอบได้ช่วยวิเคราะห์เป็นวิทยาทานนะครับ ขอบคุณมากๆ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่