สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อมาประคองเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างเสรี จำยอมต้องดำเนินนโยบายการเงินและคลังตามเงื่อนไขที่เข้มงวดของไอเอ็มเอฟ แม้ทักษิณจะได้รับคำทัดทานว่าอาจจะทำให้ประเทศขาดสภาพคล่องแต่ทักษิณก็เร่งรัดให้มีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด ด้วยเหตุผลที่ว่า "...ผมมีประสบการณ์เป็นนักกู้เงินมาก่อน ถ้าเราเป็นหนี้แล้วใช้คืนได้เขาถึงว่าเราเป็นลูกค้าชั้นดีที่จะให้กู้มากขึ้นอีก" ในเวลา 20.30น. ของวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ทักษิณได้กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยความว่า:
วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ชำระหนี้ก้อนสุดท้าย เมื่อเย็นวันนี้ ได้ชำระก้อนสุดท้ายคืนไอเอ็มเอฟจำนวน 6 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งได้กู้ยืมมาในช่วงเกิดวิกฤตเมื่อปี 2540 โดยไอเอ็มเอฟอนุมัติวงเงินให้ไทย 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เบิกมาใช้จริงเพียง
12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.1 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลชุดที่แล้วได้ชำระไป 1 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลนี้ได้ชำระครบทั้ง
5 แสนล้านบาท ทำให้ไทยพ้นจากพันธกรณีกับไอเอ็มเอฟ ผมอยากจะบอกให้พี่น้องประชาชนให้มีความมั่นใจ และภูมิใจในความเป็นคนไทย ว่าวันนี้เราไม่มีพันธะใดๆ
— นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 31 กรกฎาคม 2546
การชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการชำระก่อนกำหนดถึงสองปี การพ้นพันธะจากไอเอ็มเอฟทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับและไม่ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้มีกระแสเงินเข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจของไทยมากขึ้นจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้รับการปรับระดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส จากระดับ BBB ขึ้นสู่ระดับ BBB+ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของประเทศต่ำลง อย่างไรก็ตาม
พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงต่อกรณีดังกล่าวว่า "..สิ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้หนี้ได้ก่อนกำหนด เนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วกู้เงินต่ำกว่าที่ไอเอ็มเอฟกำหนดถึง 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงไม่อยากให้รัฐบาลนำเรื่องนี้มาเป็นผลงานมากจนเกินไป"
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3
การปลดหนี้ IMF อีกหนึ่งผลงานของรัฐบาลอดีตนายกฯดร.ทักษิณ ชินวัตร ... /sao..เหลือ..noi
วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ชำระหนี้ก้อนสุดท้าย เมื่อเย็นวันนี้ ได้ชำระก้อนสุดท้ายคืนไอเอ็มเอฟจำนวน 6 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งได้กู้ยืมมาในช่วงเกิดวิกฤตเมื่อปี 2540 โดยไอเอ็มเอฟอนุมัติวงเงินให้ไทย 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เบิกมาใช้จริงเพียง
12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.1 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลชุดที่แล้วได้ชำระไป 1 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลนี้ได้ชำระครบทั้ง
5 แสนล้านบาท ทำให้ไทยพ้นจากพันธกรณีกับไอเอ็มเอฟ ผมอยากจะบอกให้พี่น้องประชาชนให้มีความมั่นใจ และภูมิใจในความเป็นคนไทย ว่าวันนี้เราไม่มีพันธะใดๆ
— นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 31 กรกฎาคม 2546
การชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการชำระก่อนกำหนดถึงสองปี การพ้นพันธะจากไอเอ็มเอฟทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับและไม่ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้มีกระแสเงินเข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจของไทยมากขึ้นจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้รับการปรับระดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส จากระดับ BBB ขึ้นสู่ระดับ BBB+ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของประเทศต่ำลง อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงต่อกรณีดังกล่าวว่า "..สิ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้หนี้ได้ก่อนกำหนด เนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วกู้เงินต่ำกว่าที่ไอเอ็มเอฟกำหนดถึง 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงไม่อยากให้รัฐบาลนำเรื่องนี้มาเป็นผลงานมากจนเกินไป"
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3