เพื่อนๆคิดเห็นยังไงกับข่าวนี้ครับ เห็นคนรอบตัวผมส่วนใหญ่บอกไม่อยากให้เก็บเพราะต้นทุนจะอยู่กับคนในประเทศเอง พร้อมสำทับด่า บอกโลกก้าวไปถึงไหนกันแล้ว ประเทศเรายังกะลาอยู่ คิดแต่จะเก็บภาษีเพิ่ม แต่ทำไมช่วงนี้ตปท.เค้าถึงเริ่มเก็บกันครับ ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดีเลยครับ
สมมติถ้าประเทศเราเก็บ คิดว่าจะมีเงินหมุนในระบบเพิ่มอีกเท่าไหร่ครับ เพิ่งรู้จากข่าวนี้ว่ารายได้พวกขายสติ้กเกอร์หรืออื่นๆในไลน์ก็ไม่ได้เก็บหรอครับ ผมว่าน่าจะเยอะอยู่นะครับ
กูเกิ้ลนี่ผมไม่ทราบนะครับว่าควรเก็บหรือไม่ แต่เฟสบุ้คคิดว่าเราน่าจะเก็บนะครับ
บริษัทยักษ์ใหญ่ Google และ facebook ยอมจ่ายภาษีเต็มอัตราให้ออสเตรเลียกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท
วันนี้(4 ก.ค.) รัฐบาลของออสเตรเลีย เผยว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ Google และ facebook ยอมจ่ายภาษีเต็มอัตราให้ออสเตรเลียแล้ว ซึ่งจ่ายตามรายได้ที่ทำในประเทศ แทนการขยับรายได้ต่างประเทศไปยังประเทศที่มีภาษีต่ำ โดยสำนักข่าว AP รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีจะช่วยทำกำไรได้กว่า 2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ 1.2 พันล้านปอนด์) ในปีภาษีนี้จาก บริษัท ข้ามชาติ Google และ facebook
กฎหมายที่เรียกว่า “ภาษีกูเกิล” กำหนดเป้าหมาย บริษัทระดับโลกที่มีรายได้ต่อปีสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยรัฐบาลได้มอบอำนาจให้สำนักงานภาษีออสเตรเลียทั้งทรัพยากรและบทลงโทษเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล ส่วนเฟซบุ๊กได้ตั้งค่าให้รายได้นำส่งรัฐแก่ออสเตรเลีย ไม่ใช่ไอร์แลนด์ โดยได้ละทิ้งโครงสร้างการจัดเก็บรายได้แบบเดิม และปรับโครงสร้างใหม่ ให้แสดงยอดขายในออสเตรเลีย เมื่อกฎหมายมีการเสนอในปี 2558 รัฐบาลกล่าวว่า บริษัททั่วโลกกว่า 30 แห่งที่จ่ายภาษีเพียงเล็กน้อย หรือไม่จ่ายเลย ในผลกำไรจากการดำเนินงานของออสเตรเลีย
ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของ Oxfam Ireland เปิดเผยว่า บริษัทระดับโลกกำลังเดินหน้าทำกำไรเป็นพันล้านยูโร ซึ่งนำรายได้เข้าประเทศไอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ได้แก่ Microsoft, Amazon, Facebook และ Google มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไอร์แลนด์ ซึ่งมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 12.5% ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ไปสู่ข้อตกลงระหว่างบริษัทข้ามชาติและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า สำหรับการเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายออกมาแต่อย่างใด จึงยังไม่รู้แนวทางที่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งพิจารณาให้เสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อเสนอรัฐมนตรีกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ปัญหาการจัดเก็บรายได้จากผู้ให้บริการประเภท OTT (Over the Top) เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยมีการมอบหมายให้ กสทช.เป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมระหว่างองค์กรกำกับดูแล และโอเปอเรเตอร์กว่า 50 รายในอาเซียน รวมถึงผู้ให้บริการ OTT ระหว่างวันที่ 12-13 ก.ย.นี้
เพื่อหาข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาการไหลออกของรายได้จากการให้บริการ OTT เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในอีกมุมจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการจ้างงาน แต่ก็ต้องหาแนวทางที่สร้างสมดุลทั้ง 2 ฝั่ง อย่างรายได้เฉพาะค่าโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กและไลน์ ที่ไหลออกนอกประเทศโดยไม่ได้เสียภาษีให้ไทยเลย มีเม็ดเงินเป็นหมื่นล้านบาท ยังไม่รวมรายได้จากการขายสติ๊กเกอร์ไลน์หรือบริการอื่น ๆ
ขณะที่ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า Facebook ครองแชมป์สื่อดิจิทัลยอดฮิต โดยครองส่วนแบ่งงบโฆษณาดิจิทัลสูงที่สุดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สอง คิดเป็นส่วนแบ่งสูงถึง 29% หรือเท่ากับงบโฆษณาดิจิทัล 2,711 ล้านบาท
อันดับสองคือ YouTube ที่ครองส่วนแบ่ง 16% คิดเป็นเม็ดเงิน 1,526 ล้านบาท ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ยังคงเห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของทั้ง Facebook และ YouTube
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก ประชาชาติธุรกิจ
‘Google-Facebook’ จ่ายภาษีให้รัฐบาลออสซี่กว่า 5.2 หมื่นล้านบาท
สมมติถ้าประเทศเราเก็บ คิดว่าจะมีเงินหมุนในระบบเพิ่มอีกเท่าไหร่ครับ เพิ่งรู้จากข่าวนี้ว่ารายได้พวกขายสติ้กเกอร์หรืออื่นๆในไลน์ก็ไม่ได้เก็บหรอครับ ผมว่าน่าจะเยอะอยู่นะครับ
กูเกิ้ลนี่ผมไม่ทราบนะครับว่าควรเก็บหรือไม่ แต่เฟสบุ้คคิดว่าเราน่าจะเก็บนะครับ
บริษัทยักษ์ใหญ่ Google และ facebook ยอมจ่ายภาษีเต็มอัตราให้ออสเตรเลียกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท
วันนี้(4 ก.ค.) รัฐบาลของออสเตรเลีย เผยว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ Google และ facebook ยอมจ่ายภาษีเต็มอัตราให้ออสเตรเลียแล้ว ซึ่งจ่ายตามรายได้ที่ทำในประเทศ แทนการขยับรายได้ต่างประเทศไปยังประเทศที่มีภาษีต่ำ โดยสำนักข่าว AP รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีจะช่วยทำกำไรได้กว่า 2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ 1.2 พันล้านปอนด์) ในปีภาษีนี้จาก บริษัท ข้ามชาติ Google และ facebook
กฎหมายที่เรียกว่า “ภาษีกูเกิล” กำหนดเป้าหมาย บริษัทระดับโลกที่มีรายได้ต่อปีสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยรัฐบาลได้มอบอำนาจให้สำนักงานภาษีออสเตรเลียทั้งทรัพยากรและบทลงโทษเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล ส่วนเฟซบุ๊กได้ตั้งค่าให้รายได้นำส่งรัฐแก่ออสเตรเลีย ไม่ใช่ไอร์แลนด์ โดยได้ละทิ้งโครงสร้างการจัดเก็บรายได้แบบเดิม และปรับโครงสร้างใหม่ ให้แสดงยอดขายในออสเตรเลีย เมื่อกฎหมายมีการเสนอในปี 2558 รัฐบาลกล่าวว่า บริษัททั่วโลกกว่า 30 แห่งที่จ่ายภาษีเพียงเล็กน้อย หรือไม่จ่ายเลย ในผลกำไรจากการดำเนินงานของออสเตรเลีย
ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของ Oxfam Ireland เปิดเผยว่า บริษัทระดับโลกกำลังเดินหน้าทำกำไรเป็นพันล้านยูโร ซึ่งนำรายได้เข้าประเทศไอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ได้แก่ Microsoft, Amazon, Facebook และ Google มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไอร์แลนด์ ซึ่งมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 12.5% ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ไปสู่ข้อตกลงระหว่างบริษัทข้ามชาติและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า สำหรับการเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายออกมาแต่อย่างใด จึงยังไม่รู้แนวทางที่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งพิจารณาให้เสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อเสนอรัฐมนตรีกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ปัญหาการจัดเก็บรายได้จากผู้ให้บริการประเภท OTT (Over the Top) เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยมีการมอบหมายให้ กสทช.เป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมระหว่างองค์กรกำกับดูแล และโอเปอเรเตอร์กว่า 50 รายในอาเซียน รวมถึงผู้ให้บริการ OTT ระหว่างวันที่ 12-13 ก.ย.นี้
เพื่อหาข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาการไหลออกของรายได้จากการให้บริการ OTT เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศ แม้ในอีกมุมจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการจ้างงาน แต่ก็ต้องหาแนวทางที่สร้างสมดุลทั้ง 2 ฝั่ง อย่างรายได้เฉพาะค่าโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กและไลน์ ที่ไหลออกนอกประเทศโดยไม่ได้เสียภาษีให้ไทยเลย มีเม็ดเงินเป็นหมื่นล้านบาท ยังไม่รวมรายได้จากการขายสติ๊กเกอร์ไลน์หรือบริการอื่น ๆ
ขณะที่ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า Facebook ครองแชมป์สื่อดิจิทัลยอดฮิต โดยครองส่วนแบ่งงบโฆษณาดิจิทัลสูงที่สุดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สอง คิดเป็นส่วนแบ่งสูงถึง 29% หรือเท่ากับงบโฆษณาดิจิทัล 2,711 ล้านบาท
อันดับสองคือ YouTube ที่ครองส่วนแบ่ง 16% คิดเป็นเม็ดเงิน 1,526 ล้านบาท ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ยังคงเห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของทั้ง Facebook และ YouTube
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก ประชาชาติธุรกิจ