สวัสดีครับท่านผู้อื่นทุกท่าน ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณนะครับ ที่ให้ความสนใจเข้ามาอ่านบทความจาก Mr.Millionaire เราตั้งใจทำเว็บนี้ขึ้นมาเพื่อแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับการทำธุรกิจในยุค Digital เราจะพยายามนำเสนอข้อมูลดีๆเรื่อยๆนะครับ
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า !!
ภาษีการค้าออนไลน์ หรือ e-Commerce ขณะนี้สรรพากรกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากเราๆท่านๆอยู่ เกี่ยวกับร่างกฎหมายการเก็บภาษี e-Commerce 15% ที่เว็บไซต์ของสรรพากร ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่จะเสนอภายในเดือน มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา
มาดูกันก่อนว่าแนวคิดร่างกฎหมายนี้มาจากอะไร…
แนวคิดนี้มาจากการที่ในปัจจุบันมีการใช้จ่ายทางการค้าในโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ ซึ่งเมื่อตีเป็นมูลค่าการค้าในโลกออนไลน์แล้วก็อาจสูงถึงล้านล้านบาทเลยทีเดียว!! ซึ่งภาครัฐเองก็ยังไม่สามารถที่จะเก็บภาษีตรงนี้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยนั่นเอง
รัฐเห็นว่าเงินภาษีนี้ควรอยู่ในไทย ไม่ใช่ไปต่างประเทศหมด จะต้องมีการเสียภาษีบ้าง
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ?
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ ธุรกรรมซื้อขายสินค้าและการโอนเงินที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ (อย่างเช่น Facebook, Google หรือ Uber) ไม่ได้มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ก็จะให้ถือว่ามีสถานประกอบการในประเทศไทย — เอาง่ายๆคือ ไม่ว่าผู้ประกอบการจะอยู่ประเทศไหนในโลก แต่ถ้ามีการทำธุรกรรมซื้อขายหรือการเงินในประเทศไทย ให้เสียภาษีเหมือนกับผู้ประกอบการอื่นๆในประเทศไทย
อัตราภาษี e-Commerce มีการปรับจากเดิมที่จะเก็บ 5% เป็น 15% ของเงินได้ หรือที่เราจ่ายไป เช่น ค่าโฆษณาบน Facebook
แต่อัตราภาษีที่ว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกรรมด้วย ซึ่งในร่างกฎหมายที่สรรพากรเสนอก็มีการแยกประเภทไว้เป็นประเภทต่างๆอย่างชัดเจน และมีข้อยกเว้นหรือมีการลดหย่อนภาษีให้ในบางกรณี
วิธีการเก็บภาษีที่ว่า?
การเก็บภาษี e-Commerce 15% นี้ กฎหมายจะมอบอำนาจให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เมื่อมีการโอนเงินจ่ายค่าสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์ ธนาคารมีอำนาจในการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย แทนสรรพากร และชำระให้สรรพากร โดยธนาคารจะต้องส่งรายการการหักภาษีดังกล่าวไปให้สรรพากรด้วย
จะมีแบบฟอร์มที่ทางสรรพากรให้ไว้กับธนาคารต่างๆ เวลาเรามีการโอนเงิน เราจะต้องแจ้งว่าเป็นการโอนปกติหรือเป็นการโอนเชิงการค้า ธนาคารก็จะส่งแบบฟอร์มนี้ให้สรรพากรและตรวจสอบ เหมือนกับการเสียภาษี ที่เวลาเราเสียภาษีเราจะยื่นแบบแสดงรายได้ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ สรรพากรก็จะเป็นผู้ตรวจสอบว่า เรามีรายได้จริงตามที่แสดงหรือเปล่า
— และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บภาษี e-Commerce 15% ที่ทาง Mr.Millionaire ได้นำมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ติดตามบทความอื่นๆจาก Mr.Millionaire ได้ที่
http://mrmillionaire.net
เป็นกำลังใจ <3 ให้เราได้โดยการ "Like" เพจของเรา
https://www.facebook.com/mrmillionaire.net/
เข้าใจภาษี 15% การค้าออนไลน์
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า !!
ภาษีการค้าออนไลน์ หรือ e-Commerce ขณะนี้สรรพากรกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากเราๆท่านๆอยู่ เกี่ยวกับร่างกฎหมายการเก็บภาษี e-Commerce 15% ที่เว็บไซต์ของสรรพากร ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่จะเสนอภายในเดือน มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา
มาดูกันก่อนว่าแนวคิดร่างกฎหมายนี้มาจากอะไร…
แนวคิดนี้มาจากการที่ในปัจจุบันมีการใช้จ่ายทางการค้าในโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ ซึ่งเมื่อตีเป็นมูลค่าการค้าในโลกออนไลน์แล้วก็อาจสูงถึงล้านล้านบาทเลยทีเดียว!! ซึ่งภาครัฐเองก็ยังไม่สามารถที่จะเก็บภาษีตรงนี้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยนั่นเอง
รัฐเห็นว่าเงินภาษีนี้ควรอยู่ในไทย ไม่ใช่ไปต่างประเทศหมด จะต้องมีการเสียภาษีบ้าง
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ?
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ ธุรกรรมซื้อขายสินค้าและการโอนเงินที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ (อย่างเช่น Facebook, Google หรือ Uber) ไม่ได้มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ก็จะให้ถือว่ามีสถานประกอบการในประเทศไทย — เอาง่ายๆคือ ไม่ว่าผู้ประกอบการจะอยู่ประเทศไหนในโลก แต่ถ้ามีการทำธุรกรรมซื้อขายหรือการเงินในประเทศไทย ให้เสียภาษีเหมือนกับผู้ประกอบการอื่นๆในประเทศไทย
อัตราภาษี e-Commerce มีการปรับจากเดิมที่จะเก็บ 5% เป็น 15% ของเงินได้ หรือที่เราจ่ายไป เช่น ค่าโฆษณาบน Facebook
แต่อัตราภาษีที่ว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกรรมด้วย ซึ่งในร่างกฎหมายที่สรรพากรเสนอก็มีการแยกประเภทไว้เป็นประเภทต่างๆอย่างชัดเจน และมีข้อยกเว้นหรือมีการลดหย่อนภาษีให้ในบางกรณี
วิธีการเก็บภาษีที่ว่า?
การเก็บภาษี e-Commerce 15% นี้ กฎหมายจะมอบอำนาจให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เมื่อมีการโอนเงินจ่ายค่าสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์ ธนาคารมีอำนาจในการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย แทนสรรพากร และชำระให้สรรพากร โดยธนาคารจะต้องส่งรายการการหักภาษีดังกล่าวไปให้สรรพากรด้วย
จะมีแบบฟอร์มที่ทางสรรพากรให้ไว้กับธนาคารต่างๆ เวลาเรามีการโอนเงิน เราจะต้องแจ้งว่าเป็นการโอนปกติหรือเป็นการโอนเชิงการค้า ธนาคารก็จะส่งแบบฟอร์มนี้ให้สรรพากรและตรวจสอบ เหมือนกับการเสียภาษี ที่เวลาเราเสียภาษีเราจะยื่นแบบแสดงรายได้ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ สรรพากรก็จะเป็นผู้ตรวจสอบว่า เรามีรายได้จริงตามที่แสดงหรือเปล่า
— และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บภาษี e-Commerce 15% ที่ทาง Mr.Millionaire ได้นำมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ติดตามบทความอื่นๆจาก Mr.Millionaire ได้ที่ http://mrmillionaire.net
เป็นกำลังใจ <3 ให้เราได้โดยการ "Like" เพจของเรา https://www.facebook.com/mrmillionaire.net/