กระแสหนัง Wonder Woman เรียกได้ว่ามาแรงทีเดียว เพียงแค่เข้าฉายในอาทิตย์แรกก็ทำรายได้แบบถล่มทลายในหลายประเทศ Wonder Woman ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์ที่มีตัวเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่ Wonder Woman ยังสะท้อนให้เห็นบทบาทของผู้หญิงใน Hollywood อีกด้วย โดยเฉพาะบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์
เรามักจะได้ยินนักสิทธิสตรีจากทั่วโลกพูดถึงบ่อยครั้งว่า เราต้องการให้ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม รวมไปถึงการได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการรับผู้ชายและผู้หญิงเข้าไปทำงาน โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งและความเท่าเทียมกันในการได้รับเงินเดือนจากงานที่ทำเหมือนกัน เป็นต้น
เรื่องการมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคมถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก และเป็นเรื่องหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญมานานแล้ว สหประชาชาติต้องการให้ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และพยายามแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้ทุกๆ คนในสังคมมีความเท่าเทียมกันและไม่เกิดความแตกแยกและแตกต่างกันในสังคมเพียงเพราะเพศ
ในปี 2000 ผู้นำจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศตกลงร่วมมือกันในการลดปัญหาความยากจนลงภายใต้โครงการ Millennium Development Goals หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า MDGs ซึ่งประกอบไปด้วยเป้าหมาย 8 ประการที่จะต้องทำให้บรรลุภายในปี 2015 ซึ่งข้อหนึ่งที่ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในแปดของเป้าหมายที่ทุกประเทศจะต้องทำให้สำเร็จคือ เรื่องการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทของสตรี ต่อมาในปี 2015 เป้าหมายนี้ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ผู้หญิงในหลายๆ ประเทศยังคงไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันกับผู้ชายในสังคม โดยเฉพาะในหลายประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ จะยังคงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบทบาทและสิทธิของผู้หญิงยังคงมีน้อยกว่าผู้ชายในสังคม
ในปี 2015 หลังจากที่ MDGs ไม่ประสบความสำเร็จในหลายข้อ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในปีนี้องค์การสหประชาชาติได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันเพื่อขจัดความยากจน ความหิวโหย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายใต้โครงการ Sustainable Development Goals หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า SDGs ซึ่งประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายที่จะต้องทำให้บรรลุในปี 2030 และใน 17 เป้าหมายนี้ก็ยังคงมีหนึ่งเป้าหมายที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศ
เวลาที่เราพูดถึงความเท่าเทียมกันทางเพศนั้น สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ สิทธิที่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย อย่างเช่นสิทธิในการเลือกตั้ง การศึกษา และการได้รับสวัสดิการต่างๆ ในสังคม เป็นต้น แต่ความเท่าเทียมกันทางเพศไม่ได้มีเพียงแค่สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่เท่ากันในสังคมเท่านั้น แต่ความเท่าเทียมกันทางเพศยังคงรวมถึงสิทธิต่างๆ ในที่ทำงานอีกด้วย
ทุกวันนี้ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น ผู้หญิงก็ควรจะได้รับสิทธิในที่ทำงานเหมือนกับผู้ชายด้วยเช่นกัน ปัญหาหลักๆ ที่เราจะเห็นได้บ่อยในที่ทำงานมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัญหาคือ หนึ่ง ปัญหาในการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานในระดับสูง และสอง ปัญหาเรื่องของการได้รับรายได้ที่ไม่เท่ากันถึงแม้ว่าจะทำงานที่เหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน สองปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องของสิทธิผู้หญิงในที่ทำงาน ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาของคนในประเทศกำลังพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น ก็พบเจอกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัญหาการเลื่อนตำแหน่งไปทำงานในระดับสูงของผู้หญิงในวงการ Hollywood อย่างที่เราทราบกันดีว่า Hollywood เป็นโรงถ่ายทำภาพยนตร์ในอดีต และในปัจจุบันถือว่าเป็นเขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์หลักของโลกเลยทีเดียว วงการ Hollywood ก็เป็นวงการหนึ่งที่มีการแข่งขันกันสูงมาก และแน่นอนว่าบทบาทของผู้หญิงในวงการนี้ก็ยังคงไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก โดยเฉพาะในบทบาทของผู้กำกับภาพยนตร์
ในวงการ Hollywood อาจจะไม่มีการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานในระดับสูง เหมือนกับคนที่ทำงานในสำนักงานทั่วไป แต่การทำงานในตำแหน่งของผู้กำกับภาพยนตร์ก็เปรียบได้เหมือนกับการทำงานในระดับผู้บริหารของบริษัททั่วไป ดังนั้นการให้ผู้หญิงทำงานในระดับผู้บริหารหรือการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับของคนในวงการนี้
การไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิงในฐานะของผู้กำกับภาพยนตร์นั้นดูได้จากการที่มีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องในช่วงหลายสิบปีมานี้ที่มีผู้หญิงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ในปี 2013 นิตยสาร Times ได้เปิดเผยว่า มีผู้หญิงเพียงแค่ 1.9% เท่านั้นที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีรายได้สูง 100 เรื่องของวงการภาพยนตร์ และในปี 2014 มีภาพยนตร์เพียง 3 เรื่องเท่านั้นที่กำกับโดยผู้หญิง ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ผลิตมาจาก 6 สตูดิโอใหญ่ใน Hollywood
จากการศึกษาของ The Hollywood Reporter พบว่า ในปี 2015 นั้น มีผู้หญิงเพียงแค่ 9% ที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด 250 เรื่อง และในปี 2016 ก็มีผู้หญิงเพียงแค่ 7% เท่านั้นที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ จากสถิตินี้จะเห็นได้ว่า ผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์เท่าที่ควรเมื่อเทียบกับผู้ชาย นักแสดงสาว Anjelica Huston เคยให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของ New York Times ว่า วงการ Hollywood ไม่ยอมรับผู้กำกับภาพยนตร์หญิงเหมือนกับโบสถ์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นพระสงฆ์ได้ พวกเขาต้องการให้ผู้หญิงเป็นเพียงนักบวชที่เชื่อฟังพระสงฆ์
ถึงแม้ว่าในบทบาทของผู้กำกับภาพยนตร์ผู้หญิงจะไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก แต่ว่าในหน้าที่อื่นๆ ผู้หญิงก็ยังคงได้รับการยอมรับอยู่ อย่างเช่นมีผู้หญิง 13% ที่เป็นนักเขียนบท 17% ที่เป็นผู้บริหารในการผลิตรายการ 24% เป็นผู้ผลิตรายการ 17% เป็นบรรณาธิการ และ 5% เป็นผู้กำกับภาพ โดยเฉลี่ยจะพบว่ามีผู้หญิง 17% ที่ทำงานในหน้าที่อื่นๆ ในวงการ Hollywood
หลังจากที่ Wonder Women เข้าฉายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา และเข้ามาฉายในเมืองไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเพียงแค่เข้าฉายได้ 3 วันเท่านั้นก็ทำรายได้เปิดตัวไปแล้วถึง 223 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในเงินจำนวนนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 3 วันในประเทศสหรัฐอเมริกาไปถึง 100.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการทำรายได้แบบถล่มทลายของ Wonder Woman ในครั้งนี้ก็ทำให้ Patty Jenkins ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงของเรื่องนี้ขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่ทำรายได้เปิดตัวได้สูงสุด ซึ่งสามารถเอาชนะการเปิดตัวของภาพยนตร์ Fifty Shades of Grey ในปี 2015 ซึ่งมีผู้กำกับภาพยนตร์เป็นผู้หญิงเช่นกันคือ Sam Taylor-Johnson
นอกจาก Wonder Woman จะทำให้ Patty Jenkins ขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่ทำรายได้ได้สูงสุดแล้ว Wonder Woman ยังเป็นภาพยนตร์ Superhero ที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงที่ทำรายได้ได้สูงสุดอีกด้วย ซึ่งเรื่องสุดท้ายที่ทำรายได้ได้สูงสุดคือเรื่อง Catwoman ในปี 2004 ซึ่งทำรายได้ทั้งหมดได้ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เพียงแค่หนัง Superhero ที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่ Wonder Woman สามารถทำรายได้ได้สูงกว่าไปแล้ว แต่ Wonder Woman ยังทำรายได้จากการเปิดตัวทั่วโลกได้ดีกว่าหนัง Superhero เรื่องอื่นๆ อย่างเช่น Iron man, Captain America และ Guardians of the Galaxy เป็นต้น
หลายคนค่อนข้างที่จะประหลาดใจที่ภาพยนตร์ Wonder Woman สามารถทำรายได้ได้ถล่มทลายขนาดนี้ในช่วงอาทิตย์แรกที่หนังเข้าฉาย เพราะหลายคนเชื่อว่า ภาพยนตร์ Superhero ที่มีผู้หญิงเป็นตัวหลัก ผู้ที่จะเสียเงินเข้าไปชมภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง แต่ The Hollywood Reporter กลับพบว่า ผู้ชมภาพยนตร์ Wonder Women นั้น 60% เป็นผู้ชาย
การที่ Wonder Woman ได้รับการตอบรับที่ดีขนาดนี้ ทำให้หลายคนเชื่อว่า นี่น่าจะถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของวงการ Hollywood แล้ว ด้วยการยอมรับบทบาทของผู้หญิงในบทบาทต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในบทบาทการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่ผู้หญิงเองก็ทำได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย และหลายคนยังคาดหวังว่า Wonder Woman จะทำให้ Patty Jenkins ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้บ้าง หลังจากที่ Sofia Coppola ซึ่งเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก Cannes Film Festival ในปี 1939 ที่ประเทศฝรั่งเศส
การประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ Wonder Woman น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของวงการ Hollywood ที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเก่าๆ ที่ผู้ชายเป็นผู้สร้างกฎและความเคยชินในการทำงาน Wonder Woman น่าจะทำให้ทุกคนในวงการนี้ได้เห็นว่า ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงก็มีความสามารถเหมือนกับผู้ชาย และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้ตรึงใจผู้ชมจากทั่วโลกได้เหมือนกับผู้กำกับภาพยนตร์ชาย นอกจากนี้ในอนาคตสตูดิโอและผู้ลงทุนรายใหญ่ๆ ในวงการ Hollywood ก็น่าจะให้โอกาสผู้หญิงมากขึ้นในการกำกับภาพยนตร์ ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นว่ามีผู้กำกับภาพยนตร์ผู้หญิงมากขึ้นในวงการนี้ และได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์เหมือนกับผู้ชายในทุกวันนี้
ชัยชนะของ Wonder Woman
Column: Women in Wonderland
http://gotomanager.com/content/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-wonder-woman/
กระแสหนัง Wonder Woman เรียกได้ว่ามาแรงทีเดียว เพียงแค่เข้าฉายในอาทิตย์แรกก็ทำรายได้แบบถล่มทลายในหลายประเทศ Wonder Woman ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์ที่มีตัวเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่ Wonder Woman ยังสะท้อนให้เห็นบทบาทของผู้หญิงใน Hollywood อีกด้วย โดยเฉพาะบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์
เรามักจะได้ยินนักสิทธิสตรีจากทั่วโลกพูดถึงบ่อยครั้งว่า เราต้องการให้ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม รวมไปถึงการได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการรับผู้ชายและผู้หญิงเข้าไปทำงาน โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งและความเท่าเทียมกันในการได้รับเงินเดือนจากงานที่ทำเหมือนกัน เป็นต้น
เรื่องการมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคมถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก และเป็นเรื่องหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญมานานแล้ว สหประชาชาติต้องการให้ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และพยายามแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้ทุกๆ คนในสังคมมีความเท่าเทียมกันและไม่เกิดความแตกแยกและแตกต่างกันในสังคมเพียงเพราะเพศ
ในปี 2000 ผู้นำจากประเทศต่างๆ ได้ประกาศตกลงร่วมมือกันในการลดปัญหาความยากจนลงภายใต้โครงการ Millennium Development Goals หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า MDGs ซึ่งประกอบไปด้วยเป้าหมาย 8 ประการที่จะต้องทำให้บรรลุภายในปี 2015 ซึ่งข้อหนึ่งที่ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในแปดของเป้าหมายที่ทุกประเทศจะต้องทำให้สำเร็จคือ เรื่องการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทของสตรี ต่อมาในปี 2015 เป้าหมายนี้ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ผู้หญิงในหลายๆ ประเทศยังคงไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันกับผู้ชายในสังคม โดยเฉพาะในหลายประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ จะยังคงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบทบาทและสิทธิของผู้หญิงยังคงมีน้อยกว่าผู้ชายในสังคม
ในปี 2015 หลังจากที่ MDGs ไม่ประสบความสำเร็จในหลายข้อ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในปีนี้องค์การสหประชาชาติได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันเพื่อขจัดความยากจน ความหิวโหย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายใต้โครงการ Sustainable Development Goals หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า SDGs ซึ่งประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายที่จะต้องทำให้บรรลุในปี 2030 และใน 17 เป้าหมายนี้ก็ยังคงมีหนึ่งเป้าหมายที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศ
เวลาที่เราพูดถึงความเท่าเทียมกันทางเพศนั้น สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ สิทธิที่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย อย่างเช่นสิทธิในการเลือกตั้ง การศึกษา และการได้รับสวัสดิการต่างๆ ในสังคม เป็นต้น แต่ความเท่าเทียมกันทางเพศไม่ได้มีเพียงแค่สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่เท่ากันในสังคมเท่านั้น แต่ความเท่าเทียมกันทางเพศยังคงรวมถึงสิทธิต่างๆ ในที่ทำงานอีกด้วย
ทุกวันนี้ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น ผู้หญิงก็ควรจะได้รับสิทธิในที่ทำงานเหมือนกับผู้ชายด้วยเช่นกัน ปัญหาหลักๆ ที่เราจะเห็นได้บ่อยในที่ทำงานมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัญหาคือ หนึ่ง ปัญหาในการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานในระดับสูง และสอง ปัญหาเรื่องของการได้รับรายได้ที่ไม่เท่ากันถึงแม้ว่าจะทำงานที่เหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน สองปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องของสิทธิผู้หญิงในที่ทำงาน ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาของคนในประเทศกำลังพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น ก็พบเจอกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัญหาการเลื่อนตำแหน่งไปทำงานในระดับสูงของผู้หญิงในวงการ Hollywood อย่างที่เราทราบกันดีว่า Hollywood เป็นโรงถ่ายทำภาพยนตร์ในอดีต และในปัจจุบันถือว่าเป็นเขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์หลักของโลกเลยทีเดียว วงการ Hollywood ก็เป็นวงการหนึ่งที่มีการแข่งขันกันสูงมาก และแน่นอนว่าบทบาทของผู้หญิงในวงการนี้ก็ยังคงไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก โดยเฉพาะในบทบาทของผู้กำกับภาพยนตร์
ในวงการ Hollywood อาจจะไม่มีการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานในระดับสูง เหมือนกับคนที่ทำงานในสำนักงานทั่วไป แต่การทำงานในตำแหน่งของผู้กำกับภาพยนตร์ก็เปรียบได้เหมือนกับการทำงานในระดับผู้บริหารของบริษัททั่วไป ดังนั้นการให้ผู้หญิงทำงานในระดับผู้บริหารหรือการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับของคนในวงการนี้
การไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิงในฐานะของผู้กำกับภาพยนตร์นั้นดูได้จากการที่มีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องในช่วงหลายสิบปีมานี้ที่มีผู้หญิงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ในปี 2013 นิตยสาร Times ได้เปิดเผยว่า มีผู้หญิงเพียงแค่ 1.9% เท่านั้นที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีรายได้สูง 100 เรื่องของวงการภาพยนตร์ และในปี 2014 มีภาพยนตร์เพียง 3 เรื่องเท่านั้นที่กำกับโดยผู้หญิง ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ผลิตมาจาก 6 สตูดิโอใหญ่ใน Hollywood
จากการศึกษาของ The Hollywood Reporter พบว่า ในปี 2015 นั้น มีผู้หญิงเพียงแค่ 9% ที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด 250 เรื่อง และในปี 2016 ก็มีผู้หญิงเพียงแค่ 7% เท่านั้นที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ จากสถิตินี้จะเห็นได้ว่า ผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์เท่าที่ควรเมื่อเทียบกับผู้ชาย นักแสดงสาว Anjelica Huston เคยให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของ New York Times ว่า วงการ Hollywood ไม่ยอมรับผู้กำกับภาพยนตร์หญิงเหมือนกับโบสถ์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นพระสงฆ์ได้ พวกเขาต้องการให้ผู้หญิงเป็นเพียงนักบวชที่เชื่อฟังพระสงฆ์
ถึงแม้ว่าในบทบาทของผู้กำกับภาพยนตร์ผู้หญิงจะไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก แต่ว่าในหน้าที่อื่นๆ ผู้หญิงก็ยังคงได้รับการยอมรับอยู่ อย่างเช่นมีผู้หญิง 13% ที่เป็นนักเขียนบท 17% ที่เป็นผู้บริหารในการผลิตรายการ 24% เป็นผู้ผลิตรายการ 17% เป็นบรรณาธิการ และ 5% เป็นผู้กำกับภาพ โดยเฉลี่ยจะพบว่ามีผู้หญิง 17% ที่ทำงานในหน้าที่อื่นๆ ในวงการ Hollywood
หลังจากที่ Wonder Women เข้าฉายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา และเข้ามาฉายในเมืองไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเพียงแค่เข้าฉายได้ 3 วันเท่านั้นก็ทำรายได้เปิดตัวไปแล้วถึง 223 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในเงินจำนวนนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 3 วันในประเทศสหรัฐอเมริกาไปถึง 100.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการทำรายได้แบบถล่มทลายของ Wonder Woman ในครั้งนี้ก็ทำให้ Patty Jenkins ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงของเรื่องนี้ขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่ทำรายได้เปิดตัวได้สูงสุด ซึ่งสามารถเอาชนะการเปิดตัวของภาพยนตร์ Fifty Shades of Grey ในปี 2015 ซึ่งมีผู้กำกับภาพยนตร์เป็นผู้หญิงเช่นกันคือ Sam Taylor-Johnson
นอกจาก Wonder Woman จะทำให้ Patty Jenkins ขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่ทำรายได้ได้สูงสุดแล้ว Wonder Woman ยังเป็นภาพยนตร์ Superhero ที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงที่ทำรายได้ได้สูงสุดอีกด้วย ซึ่งเรื่องสุดท้ายที่ทำรายได้ได้สูงสุดคือเรื่อง Catwoman ในปี 2004 ซึ่งทำรายได้ทั้งหมดได้ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เพียงแค่หนัง Superhero ที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่ Wonder Woman สามารถทำรายได้ได้สูงกว่าไปแล้ว แต่ Wonder Woman ยังทำรายได้จากการเปิดตัวทั่วโลกได้ดีกว่าหนัง Superhero เรื่องอื่นๆ อย่างเช่น Iron man, Captain America และ Guardians of the Galaxy เป็นต้น
หลายคนค่อนข้างที่จะประหลาดใจที่ภาพยนตร์ Wonder Woman สามารถทำรายได้ได้ถล่มทลายขนาดนี้ในช่วงอาทิตย์แรกที่หนังเข้าฉาย เพราะหลายคนเชื่อว่า ภาพยนตร์ Superhero ที่มีผู้หญิงเป็นตัวหลัก ผู้ที่จะเสียเงินเข้าไปชมภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิง แต่ The Hollywood Reporter กลับพบว่า ผู้ชมภาพยนตร์ Wonder Women นั้น 60% เป็นผู้ชาย
การที่ Wonder Woman ได้รับการตอบรับที่ดีขนาดนี้ ทำให้หลายคนเชื่อว่า นี่น่าจะถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของวงการ Hollywood แล้ว ด้วยการยอมรับบทบาทของผู้หญิงในบทบาทต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในบทบาทการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่ผู้หญิงเองก็ทำได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย และหลายคนยังคาดหวังว่า Wonder Woman จะทำให้ Patty Jenkins ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้บ้าง หลังจากที่ Sofia Coppola ซึ่งเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก Cannes Film Festival ในปี 1939 ที่ประเทศฝรั่งเศส
การประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ Wonder Woman น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของวงการ Hollywood ที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเก่าๆ ที่ผู้ชายเป็นผู้สร้างกฎและความเคยชินในการทำงาน Wonder Woman น่าจะทำให้ทุกคนในวงการนี้ได้เห็นว่า ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงก็มีความสามารถเหมือนกับผู้ชาย และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้ตรึงใจผู้ชมจากทั่วโลกได้เหมือนกับผู้กำกับภาพยนตร์ชาย นอกจากนี้ในอนาคตสตูดิโอและผู้ลงทุนรายใหญ่ๆ ในวงการ Hollywood ก็น่าจะให้โอกาสผู้หญิงมากขึ้นในการกำกับภาพยนตร์ ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นว่ามีผู้กำกับภาพยนตร์ผู้หญิงมากขึ้นในวงการนี้ และได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์เหมือนกับผู้ชายในทุกวันนี้