คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คุณจดทะเบียนกับภรรยามีลูกติดใช่ไหม
ถ้าใช่ ต้องแยกสินส่วนตัว ออกจากสินสมรสก่อน
สินส่วนตัว (ลองไปหาดูว่ามีอะไรบ้าง) และ สินสมรสครึ่งหนึ่ง
จะตกทอดแก่ทายาท ตามนี้
คร่าวๆ
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกจะตกเป็นของทายาท
ทายาทตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ
1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
- ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
2. ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
---------------------
ลำดับการได้มรดก มีตามลำดับ ดังนี้
1. ผู้รับพินัยกรรม
- ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ การแบ่งมรดกต้องกระทำตามพินัยกรรมเท่านั้น และถ้าทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครหมดแล้ว ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม
2. ผู้สืบสันดาน
- ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ เป็นต้น
**ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
3. บิดามารดา
**เฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จะมิได้รับมรดกเลย
5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน จะมิได้รับมรดกเลย
6. ปู่ ย่า ตา ยาย
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะมิได้รับมรดกเลย
7. ลุง ป้า น้า อา
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ ลุง ป้า น้า อา จะมิได้รับมรดกเลย
**ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
**คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีผู้สืบสันดาน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือ ลุง ป้า น้า อา และยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีปู่ ย่า ตา ยาย แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 (คือ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
คุณก็ไปลองไล่สายดูละกัน ว่าใครจะได้มรดกคุณบ้าง
แต่ก็จะเห็นได้ว่า ลูกติดภรรยา ซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคุณ จะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย
เว้นแต่คุณไปจดทะเบียนลูกติดเป็นบุตรบุญธรรมนะ ถ้าเช่นนี้ลูดติดจะมีสิทธิได้มรดกเทียบเท่าลูกคุณทันที
ถ้าใช่ ต้องแยกสินส่วนตัว ออกจากสินสมรสก่อน
สินส่วนตัว (ลองไปหาดูว่ามีอะไรบ้าง) และ สินสมรสครึ่งหนึ่ง
จะตกทอดแก่ทายาท ตามนี้
คร่าวๆ
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกจะตกเป็นของทายาท
ทายาทตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ
1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
- ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
2. ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
---------------------
ลำดับการได้มรดก มีตามลำดับ ดังนี้
1. ผู้รับพินัยกรรม
- ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ การแบ่งมรดกต้องกระทำตามพินัยกรรมเท่านั้น และถ้าทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครหมดแล้ว ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม
2. ผู้สืบสันดาน
- ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ เป็นต้น
**ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
3. บิดามารดา
**เฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จะมิได้รับมรดกเลย
5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน จะมิได้รับมรดกเลย
6. ปู่ ย่า ตา ยาย
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะมิได้รับมรดกเลย
7. ลุง ป้า น้า อา
**ถ้าทายาทลำดับก่อนหน้ายังมีชีวิตอยู่ ลุง ป้า น้า อา จะมิได้รับมรดกเลย
**ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
**คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีผู้สืบสันดาน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือ ลุง ป้า น้า อา และยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีปู่ ย่า ตา ยาย แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 (คือ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
คุณก็ไปลองไล่สายดูละกัน ว่าใครจะได้มรดกคุณบ้าง
แต่ก็จะเห็นได้ว่า ลูกติดภรรยา ซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคุณ จะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย
เว้นแต่คุณไปจดทะเบียนลูกติดเป็นบุตรบุญธรรมนะ ถ้าเช่นนี้ลูดติดจะมีสิทธิได้มรดกเทียบเท่าลูกคุณทันที
แสดงความคิดเห็น
การเบิกการศึกษา การรักษาพยาบาล ให้ลูกภรรยา
ข้าราชการ (ชาย) แต่งงานกับแม่หม้าย (มีการทะเบียน)
1.ภรรยาซึ่งเป็นแม่หม้าย มีบุตรกับสามีเก่า แต่ไม่เคยจดทะเบียนฯ กับสามีเก่า
สามีใหม่ (ซึ่งเป็นข้าราชการ) มีสิทธิในการขอสวัสดิการ ของลูกติด ของภรรยาได้หรือไม่
1.ค่ารักษาพยาบาล
2.ค่าศึกษาเล่าเรียน
3.ค่าเช่าที่พัก ของภรรยา
รบกวนความรู้เพื่อเป็นข้อมูลด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ....