สวัสดีครับทุกคน สืบเนื่องจากกระทู้ของผมเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วนู้นเลย ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://ppantip.com/topic/32230421 ผมได้นำเสนอเรื่อง RFA กับ UFA ไป ผลตอบรับดีมาก จนมี User หนึ่งบอกผมว่า อยากให้ทำกระทู้เกี่ยวกับสัญญา NBA เพื่อแบ่งปันความรู้แก่เพื่อนๆ ซึ่ง ณ ตอนนั้นผมก็รับปากกับเขาไว้ครับ ว่าขอเก็บข้อมูลก่อน แล้วจะทำให้ แต่ด้วยยุ่งๆเรื่องย้ายงานเอย เรียนต่อเอย ธุระส่วนตัวเอย ผมเลยไม่เคยได้มีโอกาสได้ทำซะที ซึ่งก็ต้องขอโทษไปยังท่าน ChalkKrittapas ด้วยนะครับ ที่รับปากไว้ดิบดีแต่ไม่ได้ทำให้
แต่วันนี้ผมนั่งอยู่ห้องเงียบๆแล้วนึกได้ว่าเออ นี่ก็ว่างๆนี่หว่า ทำตอนนี้เลยแล้วกัน ยังไงถ้าทุกท่านยังต้องการข้อมูลอยู่ ผมหวังว่า 3 ปีจะยังไม่สายให้ผมได้ทำกระทู้นี้ตอบแทนทุกคนในห้องนี้แล้วกันนะครับ ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่กูรูบาสขนาดนั้นนะครับผม ความรู้ที่ผมหามาคือเกิดมาจากการชอบดูบาส และต่อจากชอบดูบาส เลยชอบเกมบาส ถ้าทุกๆท่านเคยเล่น NBA 2K มาก่อนจะรู้ว่าในทุกๆภาคหลังจาก 2K11 เป็นต้นมานั้น การที่เราเล่นคุมทีมใดทีมหนึ่ง เราต้องเซ็นสัญญาผู้เล่นเองด้วย ซึ่งนั่นทำให้ผมอยากจะเข้าใจระบบสัญญาต่างๆใน NBA และเป็นที่มาที่ผมขวนขวายเข้าไปอ่าน Collective Bargaining Agreement (CBA) 2011 ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://www.nba.com/media/CBA101.pdf ซึ่งไอ้ CBA ที่ว่านี่ก็คือข้อตกลงที่ทางลีคทำไว้กับสหพันธ์ผู้เล่นนั่นเองครับ ฉะนั้นแล้ว กระทู้นี้จะเป็นข้อมูลในเรื่องสัญญาต่างๆ NBA ตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งอาจจะมีถูกผิดบ้าง ถ้าเกิดว่าตรงไหนมีผิดพลาดประการใดทักท้วงกันได้นะครับ ผมยินดีแก้ไขให้ถูกต้องครับ และขอเตือนว่ากระทู้ยาวมากนะครับ อ่านเวลานั่งส้วมจะดีที่สุดครับ 555
เริ่มกันที่ความรู้เบื้องต้น ก่อนแล้วกันครับ...Salary cap คืออะไร? NBA นั้นอย่างที่เราทราบดีว่าจะมีระบบ Salary cap ครับ ก็คือเพดานค่าจ้างนั่นเอง จุดประสงค์ของมันก็คือเพื่อให้ทุกทีมมีความเสมอภาคในการเซ็นสัญญาผู้เล่นนั่นเอง ไม่เช่นนั้น ทีมที่มาจากเมืองใหญ่ๆ การตลาดดีๆ อาจจะมีอำนาจการเงินมากกว่า จ่ายเงินให้ผู้เล่นได้มากกว่า เซ็นผู้เล่นดีๆไปหมด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ครับ
ซึ่งใน NBA Season 2017-2018 นั้น Soft cap จะอยู่ที่ประมาณ 99 ล้าน และ Tax level จะอยู่ที่ประมาณ 119 ล้านครับ ซึ่งผมขออนุญาตทุกท่านในที่นี้สมมุตเองว่า Soft cap คือ 100 ล้าน และ Tax level ที่ 120 ล้านนะครับ เนื่องจากเผื่อตอนหลังมีอะไรที่ต้องคิดเป็น % ตัวเลขกลมๆนี้จะง่ายกว่าในการคำนวณครับ ง่ายๆก็คือว่า ทีมใดๆก็ตามสามารถเซ็นผู้เล่น Free agent ได้ถึงแค่ 100 ล้านนั่นเองครับ ส่วนการจะเซ็นผู้เล่นเกิน Soft cap นั้น จะต้องใช้ Exception ต่างๆ (ซึ่งผมจะอธิบายในภายหลัง) และทีมที่ใช้จ่ายกับสัญญาผู้เล่นเกิน 120 ล้านต่อฤดูกาลก็จะต้องโดนจ่ายภาษีฟุ่มเฟือยเหมือนเป็นค่าปรับนั่นเองครับ
มาต่อกันที่คำว่า Maximum Contract คำว่า Maximum หลายคนอาจจะได้ยินมาบ่อยแล้วแต่ไม่รู้ว่ามันเท่าไหร่กันแน่ ผมสรุปให้ง่ายๆเลยครับ
1. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 0-6 ปี Max = 25% ของ Salary cap
2. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 7-9 ปี Max = 30% ของ Salary cap
3. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 10 ปีขึ้นไป Max = 35% ของ Salary cap
ซึ่งสมมุต Salary cap อยู่ที่ 100% Max contract ก็จะอยู่ที่ 25, 30, 35 ล้าน ตามลำดับครับ
และ NBA ยังมี Minimum contract อีกด้วยนะครับ ก็อารมณ์เหมือนค่าแรงขั้นต่ำแหละครับ ซึ่งอันนี้ผมเตรียมรูปประกอบมา เข้าใจง่ายมากเลยครับ
แล้วใครบ้างล่ะที่เป็น Free agent? ผู้เล่นที่จะเป็น Free agent นั้นก็คือพวกที่หมดสัญญากับต้นสังกัดแล้วนั่นเองครับ ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทได้แก่ RFA และ UFA (อันนี้ผมจะไม่พูดถึงนะครับ เพราะเคยพูดไว้ในกระทู้ที่แล้วไปแล้ว ยังไงถ้าอยากรู้ข้อมูล กลับไปอ่านกันได้นะครับ) ผู้เล่นพวกนี้คือพวกที่ไม่เซ็นสัญญากับต้นสังกัดเก่าก่อนวันที่ 1 July นั่นเองครับ
แล้วทำไมต้อง 1 July? เพราะว่าเมื่อเข้าวันที่ 1 July แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราเรียกว่า July Moratorium ครับ คือช่วงที่เปิดให้ทีม สามารถคุยกับ Free agent เพื่อเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมทีมได้ โดยในช่วงนี้ผู้เล่นห้ามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับทีมใดๆเด็ดขาดครับ จะเซ็นได้ต่อเมื่อหมดช่วง Moratorium แล้วเท่านั้น เมื่อปีก่อนๆช่วง Moratorium จะมีประมาณ 10 วันครับ แต่ว่าปีนี้ได้ลดลงเหลือ 7 วัน เนื่องจากว่า NBA ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนใจกะทันหันแบบกรณี Deandre Jordan เมื่อปีที่แล้วครับ
สัญญาใน NBA ก็จะมีหลายแบบครับ แต่หลักๆที่คนรู้จักกันก็คือแบบ Player option, Early termination option, Team option, แล้วก็แบบไม่มี Option ใดๆครับ แต่ละแบบก็จะต่างกันตามนี้ครับ
1. Player option - คือสัญญาที่ปีสุดท้าย ผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ต่อกับทีมหรือไม่ครับ
2. Early termination option (ETO)- ต่างกันกับอันบนแค่ว่า อันนี้ถ้าแจ้งใช้ จะเป็นการตัดสินใจไม่อยู่ต่อกับทีมครับ งงใช่มั้ยครับว่าต่างกับ Player option ยังไง ก็คือว่า Player option นั้นคือถ้าเราไม่แจ้งกับทีมว่าจะใช้ Player option หมายความว่าเราต้องการจะไปเป็น Free agent ครับ แต่ ETO ถ้าเราไม่แจ้งจะใช้ Option นี้ แปลว่าเราประสงค์จะอยู่กับทีมต่อครับ ก็คืออันนี้ใช้เพื่ออยู่ต่อ อีกอันใช้เพื่อแจ้งออก แค่นั้น
3. Team option - เป็นสัญญาที่ปีสุดท้ายของเราที่ทีมจะมีสิทธิขาดตัดสินใจว่าจะต่อหรือจะปล่อยเราทิ้งครับ เราไม่สิทธิใดๆครับ
ส่วนแบบธรรมดาผมคงไม่ต้องพูดถึงนะครับ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ทำ 2 ปีก็คือ 2 ปี หมดก็เป็น FA แค่นั้น
เรื่องการจ่ายเงินในสัญญา NBA ส่วนใหญ่จะจ่ายเป็น Back load ครับ ก็คือ ปีถัดๆไปจะได้รับสัญญามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีสัญญาที่เรียกว่า Flat อยู่ครับ ซึ่งก็คือทุกๆปีเท่ากันหมด เช่นสัญญา 3 ปี 45 ล้าน ผู้เล่นรับ 15 ล้านทั้ง 3 ปี แต่เพื่อนๆรู้มั้ยครับว่ายังมีสัญญาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Front load ซึ่งไม่นิยมใช้กันเราเลยไม่ได้เห็น ซึ่งก็คือสัญญาที่ปีแรกจะได้เยอะสุดเลย แล้วปีถัดๆไปเงินจะน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งไอ้สัญญานี้มันขัดๆกับอัตราการขึ้นเงินที่ NBA กำหนดไว้ครับ คนเลยไม่นิยมใช้กัน เรื่องนี้ก็จะโยงไปถึงการขึ้นเงินเดือนในแต่ละปีในสัญญาครับว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินที่เท่าไหร่ สำหรับพวกผู้เล่นที่ได้สิทธิ Bird และ Early Bird right นั้น จะสามารถรับค่าจ้างเพิ่มต่อปีได้ในอัตรา 8% ครับผม ส่วนผู้เล่นที่ไม่ได้ถือสิทธิทั้งสองสิทธิที่กล่าวมานั้น ค่าจ้างจะเพิ่มสูงสุดต่อปีได้แค่ 5% ครับ (เมื่อก่อนเป็น 7.5% และ 4.5% ตามลำดับ แต่ปีนี้ปรับขึ้นครับ)
มาถึงหัวข้อที่ชวนปวดหัวที่สุดดีกว่าครับ Contract Exception ที่ทุกคนรอคอยครับผม - Contract Exception ก็คือข้อยกเว้นต่างๆที่จะทำให้ทีมสามารถเซ็นผู้เล่นทะลุ Soft cap ได้นั่นเองครับ มาเริ่มกันที่อันแรกเลยดีกว่าครับ (ตัวเลขอาจจะไม่แม่นมากนะครับ เพราะใช้ Rate ปี 2014-2015 และคิดเพิ่มปีละ 3% ตามที่ CBA ระบุไว้ครับ)
1. Bird Exception - การที่จะใช้ Exception นี้ได้ ผู้เล่นคนนั้นจะต้องอยู่กับทีมมาแล้ว 3 ปี ไม่ว่าด้วยสัญญาแบบไหนก็ตาม (จะสัญญา 3 ปีรวด หรือเป็นแบบต่อทีละปี 3 ปีติดกันก็ยังได้ครับ) ซึ่ง Exception นี้จะทำให้ทีมสามารถมอบ Max Contract ให้ในปีแรกได้ และทำสัญญาได้ถึง 5 ปีด้วยกัน โดยปีแรกจะได้ Max และปีต่อๆไปเงินเดือนจะขึ้นปีละ 8% ครับ แต่จริงๆแล้วสมมุตว่าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งต่อสัญญาไว้กับทีมนึง 3 ปี แต่ระหว่างเล่นดันถูก Trade ไปอีกทีมนึง โดยไม่มีการยกเลิกสัญญา ผู้เล่นคนนั้นจะถือสิทธิ Bird right ติดมือไปด้วยครับ
2. Early Bird Exception - อันนี้ก็จะดร็อปจาก Bird ปกติมาหน่อยครับ คือผู้เล่นที่มีสิทธิ Early Bird จะต้องอยู่กับทีมมาแล้วสองปี โดยสัญญาจะได้แค่ 175% ของรายได้ปีล่าสุด และสัญญาเซ็นได้สูงสุดแค่ 4 ปีครับ โดยมีขั้นต่ำว่าสัญญาจะต้องไปต่ำกว่า 2 ปีด้วย
3. Non Bird Exception - จะอยู่ขั้นต่ำสุดของหมวด Bird ครับ คือผู้เล่นที่อยู่กับทีมไม่ถึง 2 ปี ไม่ได้ทั้งสิทธิ Bird และ Early bird ครับ ทีมสามารถเสนอสัญญาให้ได้ 120% ของรายได้ปีล่าสุดครับผม ระยะสัญญาคือ 1-4 ปีครับ
** พวกหมวก Bird นี่คือจะใช้ได้กับ Free agent ของทีมตัวเองเท่านั้นนะครับ ก็คือสังกัดเก่าก่อนที่ตัวผู้เล่นจะมาเป็น Free agent นั่นแหละ **
4. Bi annual Exception - อันนี้จะใช้ได้ต่อเมื่อ ทีมยังจ่ายค่าจ้างไม่ถึง Tax level เท่านั้นครับ โดย Exception นี้จะใช้ได้แค่ปีเว้นปีเท่านั้น ก็คือถ้าใช้ปีนี้ ปีหน้าห้ามใช้นั่นเอง โดยระยะเวลาของสัญญาจะลิมิตสูงสุดแค่ 2 ปี และค่าจ้างปีแรกจะอยู่ที่ประมาณ 2.34 ล้านครับ
5. Non-taxpayer Mid-level Exception - คล้ายๆอันแรกครับ คือทีมยังจ่ายค่าจ้างไม่ถึง Tax level แต่ Exception อันนี้ใช้ได้ทุกปี มีระยะเวลาสัญญาได้ถึง 4 ปี และค่าจ้างปีแรกจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านครับ
6. Taxpayer Mid-level Exception - อันนี้จะเป็น Exception ของทีมที่ค่าจ้างเกิน Tax level ไปแล้วครับ ใช้ได้ทุกปี ระยะเวลาสัญญาสูงสุดได้ 3 ปี โดยค่าจ้างปีแรกต้องจ่ายประมาณ 3.6 ล้านครับ
7. Room Exception - อันนี้เป็น Exception ของทีมที่ค่าจ้างไม่ถึง Soft cap ครับ และทีมจะต้องไม่เคยใช้ Bi annual หรือ Mid level ในปีนี้มาก่อนด้วย
โดยทำสัญญาได้สูงสุดแค่ 2 ปี ค่าจ้างปีแรกอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านครับ
8. Rookie Exception - ก็คือว่าทีมสามารถเซ็นสัญญากับ Rookie 1st round pick ได้แม้ Cap จะเกินไปแล้วนั่นเองครับ
9. Minimum Salary Exception - ทีมใดๆก็ตามสามารถเซ็นสัญญากับผู้เล่นด้วย Minimum contract ได้แม้จะเกินแค็ปไปแล้ว โดยสัญญาจะมีระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ปีครับ
10. Disable Player Exception - อันนี้คือการเซ็นสัญญากับผู้เล่นเพื่อมาแทนที่ผู้เล่นที่บาดเจ็บของเราครับ ซึ่งจ่ายได้สูงสุดคือครึ่งหนึ่งของค่าจ้างของผู้เล่นที่บาดเจ็บคนนั้นๆ เช่น ผมเจ็บรับเงินอยู่ 2 ล้าน ทีมไปจ้างเพื่อนผมมา บอกว่านี่คือคนที่จะมาแทนตำแหน่งผม รับที่ 1 ล้าน ประมาณนี้ครับ
11. Traded Player Exception - คือ Exception ที่สามารถทำให้ทีมสามารถเซ็นผู้เล่นมาแทนผู้เล่นที่เรา Trade ออกไปได้ครับ
ก็จบไปแล้วสำหรับรายละเอียดสัญญาแบบต่างๆ แต่จริงๆแล้วพวกนี้มีรายละเอียดยิบย่อยอีกเยอะมากครับ เพียงแต่ผมจับจุดใหญ่ๆมาให้เพื่อนๆเข้าใจได้โดยง่ายเท่านั้นเอง แล้วก็ยังมีอีกหลายเรื่องเลยที่ไม่ได้พูดถึงเช่น Sign and trade หรือ Extension and trade เอาไว้ถ้ามีโอกาสหน้า ถ้าผมมีเวลา ผมจะมาใหม่พร้อมเกล็ดความรู้ที่เหลือแล้วกันนะครับ
สุดท้ายก็อย่างที่บอกไปครับ เห็นตรงไหนผิดพลาดติเตียนกันได้นะครับ ผมจะได้รีบมาแก้ไขให้ถูกต้อง
ขอบคุณครับ
ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับสัญญาใน NBA
แต่วันนี้ผมนั่งอยู่ห้องเงียบๆแล้วนึกได้ว่าเออ นี่ก็ว่างๆนี่หว่า ทำตอนนี้เลยแล้วกัน ยังไงถ้าทุกท่านยังต้องการข้อมูลอยู่ ผมหวังว่า 3 ปีจะยังไม่สายให้ผมได้ทำกระทู้นี้ตอบแทนทุกคนในห้องนี้แล้วกันนะครับ ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่กูรูบาสขนาดนั้นนะครับผม ความรู้ที่ผมหามาคือเกิดมาจากการชอบดูบาส และต่อจากชอบดูบาส เลยชอบเกมบาส ถ้าทุกๆท่านเคยเล่น NBA 2K มาก่อนจะรู้ว่าในทุกๆภาคหลังจาก 2K11 เป็นต้นมานั้น การที่เราเล่นคุมทีมใดทีมหนึ่ง เราต้องเซ็นสัญญาผู้เล่นเองด้วย ซึ่งนั่นทำให้ผมอยากจะเข้าใจระบบสัญญาต่างๆใน NBA และเป็นที่มาที่ผมขวนขวายเข้าไปอ่าน Collective Bargaining Agreement (CBA) 2011 ตามลิ้งค์นี้ครับ http://www.nba.com/media/CBA101.pdf ซึ่งไอ้ CBA ที่ว่านี่ก็คือข้อตกลงที่ทางลีคทำไว้กับสหพันธ์ผู้เล่นนั่นเองครับ ฉะนั้นแล้ว กระทู้นี้จะเป็นข้อมูลในเรื่องสัญญาต่างๆ NBA ตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งอาจจะมีถูกผิดบ้าง ถ้าเกิดว่าตรงไหนมีผิดพลาดประการใดทักท้วงกันได้นะครับ ผมยินดีแก้ไขให้ถูกต้องครับ และขอเตือนว่ากระทู้ยาวมากนะครับ อ่านเวลานั่งส้วมจะดีที่สุดครับ 555
เริ่มกันที่ความรู้เบื้องต้น ก่อนแล้วกันครับ...Salary cap คืออะไร? NBA นั้นอย่างที่เราทราบดีว่าจะมีระบบ Salary cap ครับ ก็คือเพดานค่าจ้างนั่นเอง จุดประสงค์ของมันก็คือเพื่อให้ทุกทีมมีความเสมอภาคในการเซ็นสัญญาผู้เล่นนั่นเอง ไม่เช่นนั้น ทีมที่มาจากเมืองใหญ่ๆ การตลาดดีๆ อาจจะมีอำนาจการเงินมากกว่า จ่ายเงินให้ผู้เล่นได้มากกว่า เซ็นผู้เล่นดีๆไปหมด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ครับ
ซึ่งใน NBA Season 2017-2018 นั้น Soft cap จะอยู่ที่ประมาณ 99 ล้าน และ Tax level จะอยู่ที่ประมาณ 119 ล้านครับ ซึ่งผมขออนุญาตทุกท่านในที่นี้สมมุตเองว่า Soft cap คือ 100 ล้าน และ Tax level ที่ 120 ล้านนะครับ เนื่องจากเผื่อตอนหลังมีอะไรที่ต้องคิดเป็น % ตัวเลขกลมๆนี้จะง่ายกว่าในการคำนวณครับ ง่ายๆก็คือว่า ทีมใดๆก็ตามสามารถเซ็นผู้เล่น Free agent ได้ถึงแค่ 100 ล้านนั่นเองครับ ส่วนการจะเซ็นผู้เล่นเกิน Soft cap นั้น จะต้องใช้ Exception ต่างๆ (ซึ่งผมจะอธิบายในภายหลัง) และทีมที่ใช้จ่ายกับสัญญาผู้เล่นเกิน 120 ล้านต่อฤดูกาลก็จะต้องโดนจ่ายภาษีฟุ่มเฟือยเหมือนเป็นค่าปรับนั่นเองครับ
มาต่อกันที่คำว่า Maximum Contract คำว่า Maximum หลายคนอาจจะได้ยินมาบ่อยแล้วแต่ไม่รู้ว่ามันเท่าไหร่กันแน่ ผมสรุปให้ง่ายๆเลยครับ
1. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 0-6 ปี Max = 25% ของ Salary cap
2. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 7-9 ปี Max = 30% ของ Salary cap
3. ผู้เล่นที่มีประสบการณ์ใน NBA 10 ปีขึ้นไป Max = 35% ของ Salary cap
ซึ่งสมมุต Salary cap อยู่ที่ 100% Max contract ก็จะอยู่ที่ 25, 30, 35 ล้าน ตามลำดับครับ
และ NBA ยังมี Minimum contract อีกด้วยนะครับ ก็อารมณ์เหมือนค่าแรงขั้นต่ำแหละครับ ซึ่งอันนี้ผมเตรียมรูปประกอบมา เข้าใจง่ายมากเลยครับ
แล้วใครบ้างล่ะที่เป็น Free agent? ผู้เล่นที่จะเป็น Free agent นั้นก็คือพวกที่หมดสัญญากับต้นสังกัดแล้วนั่นเองครับ ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทได้แก่ RFA และ UFA (อันนี้ผมจะไม่พูดถึงนะครับ เพราะเคยพูดไว้ในกระทู้ที่แล้วไปแล้ว ยังไงถ้าอยากรู้ข้อมูล กลับไปอ่านกันได้นะครับ) ผู้เล่นพวกนี้คือพวกที่ไม่เซ็นสัญญากับต้นสังกัดเก่าก่อนวันที่ 1 July นั่นเองครับ
แล้วทำไมต้อง 1 July? เพราะว่าเมื่อเข้าวันที่ 1 July แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราเรียกว่า July Moratorium ครับ คือช่วงที่เปิดให้ทีม สามารถคุยกับ Free agent เพื่อเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมทีมได้ โดยในช่วงนี้ผู้เล่นห้ามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับทีมใดๆเด็ดขาดครับ จะเซ็นได้ต่อเมื่อหมดช่วง Moratorium แล้วเท่านั้น เมื่อปีก่อนๆช่วง Moratorium จะมีประมาณ 10 วันครับ แต่ว่าปีนี้ได้ลดลงเหลือ 7 วัน เนื่องจากว่า NBA ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนใจกะทันหันแบบกรณี Deandre Jordan เมื่อปีที่แล้วครับ
สัญญาใน NBA ก็จะมีหลายแบบครับ แต่หลักๆที่คนรู้จักกันก็คือแบบ Player option, Early termination option, Team option, แล้วก็แบบไม่มี Option ใดๆครับ แต่ละแบบก็จะต่างกันตามนี้ครับ
1. Player option - คือสัญญาที่ปีสุดท้าย ผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ต่อกับทีมหรือไม่ครับ
2. Early termination option (ETO)- ต่างกันกับอันบนแค่ว่า อันนี้ถ้าแจ้งใช้ จะเป็นการตัดสินใจไม่อยู่ต่อกับทีมครับ งงใช่มั้ยครับว่าต่างกับ Player option ยังไง ก็คือว่า Player option นั้นคือถ้าเราไม่แจ้งกับทีมว่าจะใช้ Player option หมายความว่าเราต้องการจะไปเป็น Free agent ครับ แต่ ETO ถ้าเราไม่แจ้งจะใช้ Option นี้ แปลว่าเราประสงค์จะอยู่กับทีมต่อครับ ก็คืออันนี้ใช้เพื่ออยู่ต่อ อีกอันใช้เพื่อแจ้งออก แค่นั้น
3. Team option - เป็นสัญญาที่ปีสุดท้ายของเราที่ทีมจะมีสิทธิขาดตัดสินใจว่าจะต่อหรือจะปล่อยเราทิ้งครับ เราไม่สิทธิใดๆครับ
ส่วนแบบธรรมดาผมคงไม่ต้องพูดถึงนะครับ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ทำ 2 ปีก็คือ 2 ปี หมดก็เป็น FA แค่นั้น
เรื่องการจ่ายเงินในสัญญา NBA ส่วนใหญ่จะจ่ายเป็น Back load ครับ ก็คือ ปีถัดๆไปจะได้รับสัญญามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีสัญญาที่เรียกว่า Flat อยู่ครับ ซึ่งก็คือทุกๆปีเท่ากันหมด เช่นสัญญา 3 ปี 45 ล้าน ผู้เล่นรับ 15 ล้านทั้ง 3 ปี แต่เพื่อนๆรู้มั้ยครับว่ายังมีสัญญาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Front load ซึ่งไม่นิยมใช้กันเราเลยไม่ได้เห็น ซึ่งก็คือสัญญาที่ปีแรกจะได้เยอะสุดเลย แล้วปีถัดๆไปเงินจะน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งไอ้สัญญานี้มันขัดๆกับอัตราการขึ้นเงินที่ NBA กำหนดไว้ครับ คนเลยไม่นิยมใช้กัน เรื่องนี้ก็จะโยงไปถึงการขึ้นเงินเดือนในแต่ละปีในสัญญาครับว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินที่เท่าไหร่ สำหรับพวกผู้เล่นที่ได้สิทธิ Bird และ Early Bird right นั้น จะสามารถรับค่าจ้างเพิ่มต่อปีได้ในอัตรา 8% ครับผม ส่วนผู้เล่นที่ไม่ได้ถือสิทธิทั้งสองสิทธิที่กล่าวมานั้น ค่าจ้างจะเพิ่มสูงสุดต่อปีได้แค่ 5% ครับ (เมื่อก่อนเป็น 7.5% และ 4.5% ตามลำดับ แต่ปีนี้ปรับขึ้นครับ)
มาถึงหัวข้อที่ชวนปวดหัวที่สุดดีกว่าครับ Contract Exception ที่ทุกคนรอคอยครับผม - Contract Exception ก็คือข้อยกเว้นต่างๆที่จะทำให้ทีมสามารถเซ็นผู้เล่นทะลุ Soft cap ได้นั่นเองครับ มาเริ่มกันที่อันแรกเลยดีกว่าครับ (ตัวเลขอาจจะไม่แม่นมากนะครับ เพราะใช้ Rate ปี 2014-2015 และคิดเพิ่มปีละ 3% ตามที่ CBA ระบุไว้ครับ)
1. Bird Exception - การที่จะใช้ Exception นี้ได้ ผู้เล่นคนนั้นจะต้องอยู่กับทีมมาแล้ว 3 ปี ไม่ว่าด้วยสัญญาแบบไหนก็ตาม (จะสัญญา 3 ปีรวด หรือเป็นแบบต่อทีละปี 3 ปีติดกันก็ยังได้ครับ) ซึ่ง Exception นี้จะทำให้ทีมสามารถมอบ Max Contract ให้ในปีแรกได้ และทำสัญญาได้ถึง 5 ปีด้วยกัน โดยปีแรกจะได้ Max และปีต่อๆไปเงินเดือนจะขึ้นปีละ 8% ครับ แต่จริงๆแล้วสมมุตว่าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งต่อสัญญาไว้กับทีมนึง 3 ปี แต่ระหว่างเล่นดันถูก Trade ไปอีกทีมนึง โดยไม่มีการยกเลิกสัญญา ผู้เล่นคนนั้นจะถือสิทธิ Bird right ติดมือไปด้วยครับ
2. Early Bird Exception - อันนี้ก็จะดร็อปจาก Bird ปกติมาหน่อยครับ คือผู้เล่นที่มีสิทธิ Early Bird จะต้องอยู่กับทีมมาแล้วสองปี โดยสัญญาจะได้แค่ 175% ของรายได้ปีล่าสุด และสัญญาเซ็นได้สูงสุดแค่ 4 ปีครับ โดยมีขั้นต่ำว่าสัญญาจะต้องไปต่ำกว่า 2 ปีด้วย
3. Non Bird Exception - จะอยู่ขั้นต่ำสุดของหมวด Bird ครับ คือผู้เล่นที่อยู่กับทีมไม่ถึง 2 ปี ไม่ได้ทั้งสิทธิ Bird และ Early bird ครับ ทีมสามารถเสนอสัญญาให้ได้ 120% ของรายได้ปีล่าสุดครับผม ระยะสัญญาคือ 1-4 ปีครับ
** พวกหมวก Bird นี่คือจะใช้ได้กับ Free agent ของทีมตัวเองเท่านั้นนะครับ ก็คือสังกัดเก่าก่อนที่ตัวผู้เล่นจะมาเป็น Free agent นั่นแหละ **
4. Bi annual Exception - อันนี้จะใช้ได้ต่อเมื่อ ทีมยังจ่ายค่าจ้างไม่ถึง Tax level เท่านั้นครับ โดย Exception นี้จะใช้ได้แค่ปีเว้นปีเท่านั้น ก็คือถ้าใช้ปีนี้ ปีหน้าห้ามใช้นั่นเอง โดยระยะเวลาของสัญญาจะลิมิตสูงสุดแค่ 2 ปี และค่าจ้างปีแรกจะอยู่ที่ประมาณ 2.34 ล้านครับ
5. Non-taxpayer Mid-level Exception - คล้ายๆอันแรกครับ คือทีมยังจ่ายค่าจ้างไม่ถึง Tax level แต่ Exception อันนี้ใช้ได้ทุกปี มีระยะเวลาสัญญาได้ถึง 4 ปี และค่าจ้างปีแรกจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านครับ
6. Taxpayer Mid-level Exception - อันนี้จะเป็น Exception ของทีมที่ค่าจ้างเกิน Tax level ไปแล้วครับ ใช้ได้ทุกปี ระยะเวลาสัญญาสูงสุดได้ 3 ปี โดยค่าจ้างปีแรกต้องจ่ายประมาณ 3.6 ล้านครับ
7. Room Exception - อันนี้เป็น Exception ของทีมที่ค่าจ้างไม่ถึง Soft cap ครับ และทีมจะต้องไม่เคยใช้ Bi annual หรือ Mid level ในปีนี้มาก่อนด้วย
โดยทำสัญญาได้สูงสุดแค่ 2 ปี ค่าจ้างปีแรกอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านครับ
8. Rookie Exception - ก็คือว่าทีมสามารถเซ็นสัญญากับ Rookie 1st round pick ได้แม้ Cap จะเกินไปแล้วนั่นเองครับ
9. Minimum Salary Exception - ทีมใดๆก็ตามสามารถเซ็นสัญญากับผู้เล่นด้วย Minimum contract ได้แม้จะเกินแค็ปไปแล้ว โดยสัญญาจะมีระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ปีครับ
10. Disable Player Exception - อันนี้คือการเซ็นสัญญากับผู้เล่นเพื่อมาแทนที่ผู้เล่นที่บาดเจ็บของเราครับ ซึ่งจ่ายได้สูงสุดคือครึ่งหนึ่งของค่าจ้างของผู้เล่นที่บาดเจ็บคนนั้นๆ เช่น ผมเจ็บรับเงินอยู่ 2 ล้าน ทีมไปจ้างเพื่อนผมมา บอกว่านี่คือคนที่จะมาแทนตำแหน่งผม รับที่ 1 ล้าน ประมาณนี้ครับ
11. Traded Player Exception - คือ Exception ที่สามารถทำให้ทีมสามารถเซ็นผู้เล่นมาแทนผู้เล่นที่เรา Trade ออกไปได้ครับ
ก็จบไปแล้วสำหรับรายละเอียดสัญญาแบบต่างๆ แต่จริงๆแล้วพวกนี้มีรายละเอียดยิบย่อยอีกเยอะมากครับ เพียงแต่ผมจับจุดใหญ่ๆมาให้เพื่อนๆเข้าใจได้โดยง่ายเท่านั้นเอง แล้วก็ยังมีอีกหลายเรื่องเลยที่ไม่ได้พูดถึงเช่น Sign and trade หรือ Extension and trade เอาไว้ถ้ามีโอกาสหน้า ถ้าผมมีเวลา ผมจะมาใหม่พร้อมเกล็ดความรู้ที่เหลือแล้วกันนะครับ
สุดท้ายก็อย่างที่บอกไปครับ เห็นตรงไหนผิดพลาดติเตียนกันได้นะครับ ผมจะได้รีบมาแก้ไขให้ถูกต้อง
ขอบคุณครับ