เมื่อคืนและช่วงเช้าที่ผ่านมา ผมได้สนทนากับนักเขียนหนังสือธรรมะระดับประเทศถึงสามท่าน เพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการเขียนหนังสือ
ครูนักเขียนที่ผมคิดถึงเป็นท่านแรก คือคนที่ทักผมเมื่อสี่ปีก่อนในเฟสบุ๊ค ท่านเห็นผมโพสต์เรื่องธรรมะแล้วอยากมาให้กำลังใจ ให้เขียนเรื่องราวดีๆ แบบนี้เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นไปเรื่อยๆ พร้อมกับส่งหนังสือธรรมะเล่มใหม่พร้อมลายเซ็นมาให้..
“ผมชอบสิ่งต่างๆที่คุณเอ็ดดี้เขียน คิดว่าคุณเอ็ดดี้มีความเป็นนักเขียน นักคิด เป็นคนมีธรรมะอยู่ในตัว คุณเอ็ดดี้น่าจะลองเขียนหนังสือเพื่อแบ่งปันมุมมองต่างๆ ที่มีให้ผู้คนได้อ่านบ้างนะครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ”
ผมปิติยินดีอยู่หลายวัน.. ไม่ใช่สิ! จริงๆ แล้วหลายเดือนเลยทีเดียว เพราะผมเป็นแฟนหนังสือของท่าน ในชั้นหนังสือที่บ้านก็มีหนังสือของท่านเกือบครบทุกเล่ม
ผมเก็บเรื่องราวนี้ไว้ในใจคนเดียวไม่กล้าบอกใคร แม้นกระทั่งกับภรรยา (เพราะกลัวโดนหัวเราะเยาะ) โดยหวังลึกๆ ว่า ภายในชาตินี้ น่าจะมีหนังสือธรรมะสักเล่มที่เป็นผลงานของเราเอง!
------------------------------------
ผมรีบบอกท่านไปว่า.. อยากให้ท่านเป็นครูในด้านงานเขียนให้หน่อย.. ท่านไม่ตอบตรงๆ แต่แนะนำว่า.. ควรศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มากกว่านี้ เข้าหาครูบาอาจารย์เป็นระยะๆ เพื่อขัดเกลาจิตใจตัวเองให้พร้อมก่อน แล้วค่อยลงมือเขียน เพราะจิตใจที่ดี การเขียนธรรมะของเราจะไม่เป็นโทษภัยกับผู้อ่าน!
เป็นคำแนะนำที่ดีเหลือเกิน! แล้วผมก็ทำตาม.. ผมยังไม่เขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวอย่างจริงจังตลอดสี่ปีที่ผ่านมา.. เพราะรู้ตัวว่าภูมิธรรมยังไม่ถึง!
------------------------------------
ประเด็นนี้น่าสนใจนะครับ..
ผมอยากเรียนรู้เรื่องงานเขียนหนังสือ แต่ท่านไล่ให้ไปปฏิบัติธรรมให้ตัวเองดีพอก่อน แล้วค่อยเขียนเรื่องธรรมะ เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงคำสอนของหลวงปู่มั่นที่ว่า..
“การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น.. ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า!”
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผมก็มีหลักเกณฑ์ในการพูด-การเขียนเรื่องธรรมะของตัวเองคือ.. ผมจะไม่พูดไม่เขียนถึงธรรมที่ผมยังเข้าไม่ถึง และหากมีธรรมใดที่เกินไปกว่าภูมิธรรมของตนแล้ว ผมจะอ้างคำพระพุทธเจ้าหรือครูบาอาจารย์แทน
เมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี ที่ผมติดต่อไปหาท่านอีกครั้ง เพื่อขอคำแนะนำเรื่องงานเขียน ท่านบอกว่า..
“การเขียนหนังสือธรรมะไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีการอะไรที่มากจนเกินไป เพราะจะทำลายตัวตนของเรา แต่หลักสำคัญคือ.. ต้องเขียนออกมาจากใจ อย่าเขียนเพื่อเอาใจตลาด!”
แล้วแนะนำต่อว่า..
“การเขียนควรเป็นการทบทวนตัวเราไปด้วย แล้วหลอมรวมให้เข้ากับวิถีชีวิตของตัวเอง อย่ามุ่งเขียนอธิบายเพื่อความเข้าใจเพียงอย่างเดียว แต่เขียนให้ผู้อ่านรู้สึกเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะคนเราจะเปลี่ยนแปลงได้จากความรู้สึก ไม่ใช่ความเข้าใจ!”
ในคำสอนนี้ ตรงกับครูนักเขียนอีกท่านที่ผมได้มีโอกาสสนทนาด้วยเมื่อคืน
“เขียนด้วยจิตวิญญาณที่เป็นตัวตนเราจริงๆ ให้ผู้อ่านรู้สึก ให้เกิดอารมณ์ร่วม อย่าเขียนแบบตำรา”
ท่านอธิบายความต่ออีกว่า..
“ให้ไปหาวรรณกรรมดีๆ มาอ่าน.. เช่นการสอนคุณธรรมเรื่อง ‘เมตตา’ ที่จะมีสอดแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงคำว่าเมตตาออกมาตรงๆ เลย”
ลึกล้ำมากๆ ครับ!
------------------------------------
หลังจากที่ได้คุยกับนักเขียนสามท่านแล้ว.. ผมพอจะสรุปกับตัวเองได้ว่า ข้อแตกต่างของการเขียนหนังสือธรรมะกับนิยายทั่วๆไปก็คือ.. เน้นความเป็นจริง ต้องเชื่อในพลังแห่งความจริงใจ อันเกิดจากภูมิรู้-ภูมิธรรมแท้ๆ ของเราเอง จะไปลอกเลียนแบบใครไม่ได้! เพราะธรรมะเป็นของสูง หากจะเผยแผ่ก็ควรทำด้วยใจที่สูงพอ และต้องมีความระมัดระวังอย่างที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเป็นโทษกับตัวเอง สมดั่งที่หลวงปู่มั่นได้แสดงไว้ใน ‘มุตโตทัย’ข้อสองที่ว่า..
“.. ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ‘ปาปโกสทฺโท’ คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย!”
ผมขอน้อมกราบคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งทางโลก และทางธรรมทุกท่านครับ (-/|\-)
------------------------------------
ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้นะครับ
หัวใจสำคัญของการเขียนหนังสือธรรมะ
ครูนักเขียนที่ผมคิดถึงเป็นท่านแรก คือคนที่ทักผมเมื่อสี่ปีก่อนในเฟสบุ๊ค ท่านเห็นผมโพสต์เรื่องธรรมะแล้วอยากมาให้กำลังใจ ให้เขียนเรื่องราวดีๆ แบบนี้เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นไปเรื่อยๆ พร้อมกับส่งหนังสือธรรมะเล่มใหม่พร้อมลายเซ็นมาให้..
“ผมชอบสิ่งต่างๆที่คุณเอ็ดดี้เขียน คิดว่าคุณเอ็ดดี้มีความเป็นนักเขียน นักคิด เป็นคนมีธรรมะอยู่ในตัว คุณเอ็ดดี้น่าจะลองเขียนหนังสือเพื่อแบ่งปันมุมมองต่างๆ ที่มีให้ผู้คนได้อ่านบ้างนะครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ”
ผมปิติยินดีอยู่หลายวัน.. ไม่ใช่สิ! จริงๆ แล้วหลายเดือนเลยทีเดียว เพราะผมเป็นแฟนหนังสือของท่าน ในชั้นหนังสือที่บ้านก็มีหนังสือของท่านเกือบครบทุกเล่ม
ผมเก็บเรื่องราวนี้ไว้ในใจคนเดียวไม่กล้าบอกใคร แม้นกระทั่งกับภรรยา (เพราะกลัวโดนหัวเราะเยาะ) โดยหวังลึกๆ ว่า ภายในชาตินี้ น่าจะมีหนังสือธรรมะสักเล่มที่เป็นผลงานของเราเอง!
------------------------------------
ผมรีบบอกท่านไปว่า.. อยากให้ท่านเป็นครูในด้านงานเขียนให้หน่อย.. ท่านไม่ตอบตรงๆ แต่แนะนำว่า.. ควรศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มากกว่านี้ เข้าหาครูบาอาจารย์เป็นระยะๆ เพื่อขัดเกลาจิตใจตัวเองให้พร้อมก่อน แล้วค่อยลงมือเขียน เพราะจิตใจที่ดี การเขียนธรรมะของเราจะไม่เป็นโทษภัยกับผู้อ่าน!
เป็นคำแนะนำที่ดีเหลือเกิน! แล้วผมก็ทำตาม.. ผมยังไม่เขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวอย่างจริงจังตลอดสี่ปีที่ผ่านมา.. เพราะรู้ตัวว่าภูมิธรรมยังไม่ถึง!
------------------------------------
ประเด็นนี้น่าสนใจนะครับ..
ผมอยากเรียนรู้เรื่องงานเขียนหนังสือ แต่ท่านไล่ให้ไปปฏิบัติธรรมให้ตัวเองดีพอก่อน แล้วค่อยเขียนเรื่องธรรมะ เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงคำสอนของหลวงปู่มั่นที่ว่า..
“การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น.. ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า!”
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผมก็มีหลักเกณฑ์ในการพูด-การเขียนเรื่องธรรมะของตัวเองคือ.. ผมจะไม่พูดไม่เขียนถึงธรรมที่ผมยังเข้าไม่ถึง และหากมีธรรมใดที่เกินไปกว่าภูมิธรรมของตนแล้ว ผมจะอ้างคำพระพุทธเจ้าหรือครูบาอาจารย์แทน
เมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี ที่ผมติดต่อไปหาท่านอีกครั้ง เพื่อขอคำแนะนำเรื่องงานเขียน ท่านบอกว่า..
“การเขียนหนังสือธรรมะไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีการอะไรที่มากจนเกินไป เพราะจะทำลายตัวตนของเรา แต่หลักสำคัญคือ.. ต้องเขียนออกมาจากใจ อย่าเขียนเพื่อเอาใจตลาด!”
แล้วแนะนำต่อว่า..
“การเขียนควรเป็นการทบทวนตัวเราไปด้วย แล้วหลอมรวมให้เข้ากับวิถีชีวิตของตัวเอง อย่ามุ่งเขียนอธิบายเพื่อความเข้าใจเพียงอย่างเดียว แต่เขียนให้ผู้อ่านรู้สึกเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะคนเราจะเปลี่ยนแปลงได้จากความรู้สึก ไม่ใช่ความเข้าใจ!”
ในคำสอนนี้ ตรงกับครูนักเขียนอีกท่านที่ผมได้มีโอกาสสนทนาด้วยเมื่อคืน
“เขียนด้วยจิตวิญญาณที่เป็นตัวตนเราจริงๆ ให้ผู้อ่านรู้สึก ให้เกิดอารมณ์ร่วม อย่าเขียนแบบตำรา”
ท่านอธิบายความต่ออีกว่า..
“ให้ไปหาวรรณกรรมดีๆ มาอ่าน.. เช่นการสอนคุณธรรมเรื่อง ‘เมตตา’ ที่จะมีสอดแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงคำว่าเมตตาออกมาตรงๆ เลย”
ลึกล้ำมากๆ ครับ!
------------------------------------
หลังจากที่ได้คุยกับนักเขียนสามท่านแล้ว.. ผมพอจะสรุปกับตัวเองได้ว่า ข้อแตกต่างของการเขียนหนังสือธรรมะกับนิยายทั่วๆไปก็คือ.. เน้นความเป็นจริง ต้องเชื่อในพลังแห่งความจริงใจ อันเกิดจากภูมิรู้-ภูมิธรรมแท้ๆ ของเราเอง จะไปลอกเลียนแบบใครไม่ได้! เพราะธรรมะเป็นของสูง หากจะเผยแผ่ก็ควรทำด้วยใจที่สูงพอ และต้องมีความระมัดระวังอย่างที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเป็นโทษกับตัวเอง สมดั่งที่หลวงปู่มั่นได้แสดงไว้ใน ‘มุตโตทัย’ข้อสองที่ว่า..
“.. ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ‘ปาปโกสทฺโท’ คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย!”
ผมขอน้อมกราบคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งทางโลก และทางธรรมทุกท่านครับ (-/|\-)
------------------------------------
ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้นะครับ