7 พระองค์เท่านั้นที่ใช้ชุดขาวเข้าเฝ้าพระสันตปาปาได้


Princess Charlene



การได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปาเป็นการเฉพาะตัวนั้น
นับเป็นเกียรติยศอย่างสูงสุดของผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวนี้
เพราะพระสันตปาปาทรงเป็นประมุขศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค
จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับวาระพิเศษดังกล่าวคือ
การแสดงความเคารพที่ถูกต้องและถูกกาละเทศะ

นับเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว
ธรรมเนียมปฎิบัติของคริสตจักรโรมันคาทอลิค
สุภาพสตรีต้องแต่งชุดสีดำทั้งชุดตอนเข้าเฝ้าพระสันตปาปา
สีดำในอดีตแสดงถึงการนับถือและความอ่อนน้อมถ่อมตน
ระเบียบการสำหรับการเข้าเฝ้าพระสันตปาปาคือ

สุภาพสตรีต้องแต่งชุดยาวสีดำ ปกเสื้อ แขนเสื้อ
ผ้าคลุมหน้า ผ้าคลุมศีรษะ และผ้าคลุมไหล่ต้องเป็นสีดำ
แม้สุภาพสตรีที่เป็นสมาชิกของราชวงศ์
หรือพระราชินี แต่ถ้าไม่ใช่ชาวคาทอลิก
เช่น Queen of England ก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบนี้

Le privilège du blanc  สิทธิพิเศษสีขาว
เป็นคำอธิบายถึงประเพณีที่สุภาพสตรีบางท่าน
ได้รับอนุญาตให้สวมชุดสีขาว
และผ้าคลุมหน้า/ผ้าคลุมผมสีขาว
ระหว่างเข้าเฝ้าพระสันตะปาปา
แทนที่จะสวมชุดสีดำแบบดั้งเดิม
ทั้งนี้เป็นสิทธิพิเศษเฉพาะ
พระราชินี/เจ้าหญิงที่เป็นชาวคาทอลิค
จึงจะได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวนี้
ตามบัญชาของพระสันตะปาปา

ข้อกำหนดสำหรับสิทธิพิเศษ
คือ การเป็นชาวคาทอลิกที่ดี
และ/หรือสมรสกับกษัตริย์ที่เป็นชาวคาทอลิกด้วย
จึงจะได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวจากพระสันตะปาปา
อย่างไรก็ตามราชินีหรือเจ้าหญิงที่เป็นชาวคาทอลิก
ไม่จำเป็นต้องยึดมั่นกับ Le privilège du Blanc
อาจจะปฏิเสธสิทธิพิเศษดังกล่าวนี้เป็นการชั่วครั้งชั่วคราวได้
แต่สิทธิพิเศษดังกล่าวนี้จะคงอยู่ตลอดไปจะใช้เมื่อใดก็ได้

ทุกวันนี้มีเพียง 7 พระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิ์นี้
แม้ว่า Queen Maxima เนเธอร์แลนด์จะเป็นชาวคาทอลิก
แต่ King Willem-Alexander นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์
ทำให้พระองค์ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว

พระนามของพระราชินีและเจ้าหญิงที่ใช้ชุดขาวเข้าเฝ้าพระสันตปาปาได้

1. Queen Sofía of Spain – การขึ้นครองราชย์กษัตริย์สเปนในปี  1975

2. Queen Paola of the Belgians – การขึ้นครองราชย์กษัตริย์เบลเยี่ยมในปี  1993

3. Maria Teresa, The Grand Duchess of Luxembourg – การขึ้นครองราชย์เจ้าชายลักเซมเบิร์กในปี 2000

4. The Princess of Monaco – การอนุมัติจาก Pope Benedict XVI ตามมติของ House of Grimaldi ในปี 2013

5. Queen Mathilde of Belgium – การขึ้นครองราชย์กษัตริย์เบลเยี่ยมในปี 2013

6. Queen Letizia of Spain – การขึ้นครองราชย์กษัตริย์สเปนในปี 2014

7. The Princess of Naples – การอนุมัติจาก Pope Pius XI ตามมติของ House of Savoy ในปี 1929





Princess Charlene


Queen Elizabeth





เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2sNdN2C





หมายเหตุ


การขอเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชประมุขศาสนาพุทธไทย  
ไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติชุดหรือสีที่จะขอเข้าเฝ้าแต่ประการใด
ขอเพียงแต่เป็นชุดที่สุภาพเรียบร้อยเท่านั้น
ทั้งยังไม่มีกฎหมาย/พระบรมราชโองการฉบับใดระบุไว้อย่างชัดเจน
เพราะสมเด็จพระสังฆราชทรงมีเมตตากับทุกผู้ทุกคน


ข้อมูล/ที่มาของภาพ  http://bit.ly/2sXQ0eU





แต่เดิมจะแยกการเรียนการสอนศาสนาพุทธ
เป็นประเภท อรัญวาสี  กับ คามวาสี
ก่อนที่จะมีการยกเลิก/ยุบรวมเป็นหนึ่งเดียว

รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชที่มีในประวัติศาสตร์คือ

สมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถระคันฉ่อง)
พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่ขอชีวิตบรรดาทหารที่ติตตามพระนเรศไม่ทัน
ในการรบกับพม่าครั้งประวัติศาสตร์
แล้วขอให้ทหารเหล่านั้นไปแก้ตัวด้วยการรบชิงเมืองพม่าแทน

มีการสอบไล่เป็นครั้งแรกในสมัยพระนเรศ
คือ สอบประมวลความรอบรู้ทางศาสนาพุทธ
โดยให้พระภิกษุแต่ละรูปเลือกสอบด้านใดด้านหนึ่ง
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์กรรมการสอบจากพระภิกษุที่พระองค์ทรงแต่งตั้ง
พระภิกษุรูปนั้นต้องสึกออกมาเป็นฆราวาสและเป็นไพร่ต่อไป

ในสมัยพระนเรศมีพระบรมราชโองการสั่งให้
โกนคิ้วพระภิกษุทุกรูปในกรุงศรีอยุธยา
กับห้ามบิณฑบาตรหลังเวลาเที่ยงวัน
เพื่อเป็นการจับจราชนพม่าที่อาจแฝงตัวเข้ามา
ทำให้พระสงฆ์ไทยยึดถือสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

แต่พระสงฆ์/เณรชาติอื่นจะไม่โกนคิ้ว
เพราะไม่มีพุทธบัญญัติ/ไม่มีในพระวินัย
และพระสงฆ์/เณรสามารถบิณฑบาตรได้จนเย็นก่อนค่ำ
เพราะยามวิกาลคือ เวลาที่มองลายนิ้วมือไม่เห็นแล้ว
พระ/เณรในพม่ากับพระ/เณรมหานิกายในชาติอื่น
จะฉันได้เรื่อย ๆ ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
มีการแต่งตั้งพระสังฆราชดังปรากฎในพงสาวดาร คือ
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ดี) กับ
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
พระองค์ที่ 2 ในกรุงธนบุรี และเป็นพระองค์แรกใน
กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่