คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ความเห็นส่วนตัวนะ อย่าเชื่อมากจนเอาไปอ้างอิงละกัน คำว่าโลจิสติกส์มันกว้างมากกก (ก.ไก่ล้านตัว) คิดว่าจขกท.คงหมายถึงพวก 3PL ดังนั้นเราก็จะตัดพวกขนส่งขั้นต้นอย่าง สายเรือ รถบรรทุก แอร์คาร์โก้ ออกไปเลยละกันเนอะ
เมื่อซัก 15-20 ปีที่แล้วต้องเรียกว่า 3PL นี่เป็นธุรกิจนี้มีดีมานด์สูงมาก บริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติระดับทัอปๆของโลกอย่าง คูเน่ เชงเกอร์ พาลนาพิน่า ยูทีไอ ก็เข้ามาบ้านเราในช่วงที่อุตสาหกรรมเบากำลังบูม พวกเสื้อผ้า ของแต่งบ้าน ห้างสรรพสินค้า เช่น แก๊ป ไนกี้ อดิดาส วอลมาร์ท ทาร์เกต หรือแม้กระทั่งไอเกีย (ถึงจะพึ่งเปิดสาขาในไทย แต่ของไอเกียเมื่อก่อนหลายอย่างก็ผลิตในไทยเนี่ยแหล่ะ) เรียกว่าธุรกิจพวกนี้เป็นตัวพาโลจิสติกส์ต่างชาติมาบ้านเราดีๆเนี่ยแหล่ะ ช่วงบูมๆเห็นพวก document คีย์ b/l กันสองสามทุ่ม แต่เค้กก้อนใหญ่เนี่ย ถ้าดูข้างใน เค้าก็แบ่งๆกันโต บางบริษัทจับตลาดส่งออกทางเรือไปยุโรป บางที่ก็เน้นพวกลูกค้าทำชิ้นส่วน PCB ส่งทางแอร์เฟรท บางที่ก็จับลูกค้าผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง
ในยุคหลังมานี่ต้องเรียกว่าตลาดพวกนี้อิ่มตัวกันมากแล้ว บางทีพวกเซลส์เก่งๆที่เคยอยู่บริษัทต่างชาติ พอลูกค้าติดก็โดนซื้อตัว บางคนก็ลาออกมาเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง พวกบริษัทโลจิสติกส์ไทยก็โตผุดกันเป็นดอกเห็ดในช่วงนี้ แต่พอบริษัทตัวเองโตพวกเซลส์ที่เก่ง ก็แยกไปเปิดบริษัทอีกที เป็นวงจรกันแบบนี้มาซักพักแล้ว พอแข่งขันกันเยอะก็ต้องตัดราคาบ้างอะไรบ้าง ประกอบกับการย้ายฐานผลิตไปจีนและเวียดนามทำให้บริษัทโลจิสติกส์หลายแห่งที่ปรับตัวไม่ทันก็ล้มหายตายจากกันไปมากมาย
บริษัทต่างชาติยังอยู่ได้เพราะจับแต่ลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการบริการที่เชื่อถือได้ไปทั่วโลกซึ่งบริษัทพวกนี้มีสาขาหรือตัวแทนอยู่แทบทุกประเทศ หรือบางบริษัทก็หันไปจับงานยากที่ต้องมีการลงทุนสูงแต่ก็เซ็นต์สัญญากับหลายปี เช่นขนน้ำมัน สินค้าอันตราย สร้างโกดังสินค้า เป็นต้น หรือกลุ่มโรงงานญึ่ปุ่นก็จะใช้แต่บริษัทโลจิสติกส์ญึ่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น
ซักสองสามปีที่ผ่านมา ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกลุ่มทุนจีนเข้ามาในอาเซียนรวมทั้งบ้านเราเยอะขึ้น แต่ส่วนตัวก็ยังมอง strategy ไม่ค่อยออกว่าจะทำอะไรกันเพราะเค้าไม่ได้มาแพ็คกันเป็นกลุ่มก้อนเหมือนกับบริษัทยุโรปหรือญึ่ปุ่น แต่ที่น่าจะมาแรงแซงทางโค้งเราว่าน่าจะเป็นอาลีบาบา ซึ่งมีบริษัทลูกที่ทำโลจิสติกส์เอง บางบริษัทก็แตกไลน์อย่างเช่น Kerry, DHL แล้วหันมาเน้น e-commerce
เมื่อซัก 15-20 ปีที่แล้วต้องเรียกว่า 3PL นี่เป็นธุรกิจนี้มีดีมานด์สูงมาก บริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติระดับทัอปๆของโลกอย่าง คูเน่ เชงเกอร์ พาลนาพิน่า ยูทีไอ ก็เข้ามาบ้านเราในช่วงที่อุตสาหกรรมเบากำลังบูม พวกเสื้อผ้า ของแต่งบ้าน ห้างสรรพสินค้า เช่น แก๊ป ไนกี้ อดิดาส วอลมาร์ท ทาร์เกต หรือแม้กระทั่งไอเกีย (ถึงจะพึ่งเปิดสาขาในไทย แต่ของไอเกียเมื่อก่อนหลายอย่างก็ผลิตในไทยเนี่ยแหล่ะ) เรียกว่าธุรกิจพวกนี้เป็นตัวพาโลจิสติกส์ต่างชาติมาบ้านเราดีๆเนี่ยแหล่ะ ช่วงบูมๆเห็นพวก document คีย์ b/l กันสองสามทุ่ม แต่เค้กก้อนใหญ่เนี่ย ถ้าดูข้างใน เค้าก็แบ่งๆกันโต บางบริษัทจับตลาดส่งออกทางเรือไปยุโรป บางที่ก็เน้นพวกลูกค้าทำชิ้นส่วน PCB ส่งทางแอร์เฟรท บางที่ก็จับลูกค้าผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง
ในยุคหลังมานี่ต้องเรียกว่าตลาดพวกนี้อิ่มตัวกันมากแล้ว บางทีพวกเซลส์เก่งๆที่เคยอยู่บริษัทต่างชาติ พอลูกค้าติดก็โดนซื้อตัว บางคนก็ลาออกมาเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง พวกบริษัทโลจิสติกส์ไทยก็โตผุดกันเป็นดอกเห็ดในช่วงนี้ แต่พอบริษัทตัวเองโตพวกเซลส์ที่เก่ง ก็แยกไปเปิดบริษัทอีกที เป็นวงจรกันแบบนี้มาซักพักแล้ว พอแข่งขันกันเยอะก็ต้องตัดราคาบ้างอะไรบ้าง ประกอบกับการย้ายฐานผลิตไปจีนและเวียดนามทำให้บริษัทโลจิสติกส์หลายแห่งที่ปรับตัวไม่ทันก็ล้มหายตายจากกันไปมากมาย
บริษัทต่างชาติยังอยู่ได้เพราะจับแต่ลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการบริการที่เชื่อถือได้ไปทั่วโลกซึ่งบริษัทพวกนี้มีสาขาหรือตัวแทนอยู่แทบทุกประเทศ หรือบางบริษัทก็หันไปจับงานยากที่ต้องมีการลงทุนสูงแต่ก็เซ็นต์สัญญากับหลายปี เช่นขนน้ำมัน สินค้าอันตราย สร้างโกดังสินค้า เป็นต้น หรือกลุ่มโรงงานญึ่ปุ่นก็จะใช้แต่บริษัทโลจิสติกส์ญึ่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น
ซักสองสามปีที่ผ่านมา ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกลุ่มทุนจีนเข้ามาในอาเซียนรวมทั้งบ้านเราเยอะขึ้น แต่ส่วนตัวก็ยังมอง strategy ไม่ค่อยออกว่าจะทำอะไรกันเพราะเค้าไม่ได้มาแพ็คกันเป็นกลุ่มก้อนเหมือนกับบริษัทยุโรปหรือญึ่ปุ่น แต่ที่น่าจะมาแรงแซงทางโค้งเราว่าน่าจะเป็นอาลีบาบา ซึ่งมีบริษัทลูกที่ทำโลจิสติกส์เอง บางบริษัทก็แตกไลน์อย่างเช่น Kerry, DHL แล้วหันมาเน้น e-commerce
แสดงความคิดเห็น
แนวโน้มอนาคตของธุรกิจขนส่ง หรือโลจิสติกส์ในไทย เป็นอย่างไรบ้างครับ
หรือว่าเป็นธุรกิจตะวันตกดิน