ดามเหล็กจนหายดีแล้ว ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่นะ...?

ใครหลายคนที่ต้องผ่าตัดใส่เหล็กดามก็คงสงสัยว่า เอ๊ะ! จะเอาเหล็กออกเมื่อไร มันดูเป็นคำถามสั้นๆ และง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยแต่การจะเอาออกหรือไม่เอาออกนั้นก็อยู่ที่คุณหมอเจ้าของไข้จะวินิจฉัยด้วยเนี้ยสิ  ซึ่งไอ้การดามเหล็กเนี้ยก็พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักแล้วต้องผ่าตัดใส่เหล็กเอาไว้ ไม่ว่าจะทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ เรียกว่าครอบคลุมทุกเพศและทุกวัยจริงๆ แต่คำตอบของคำถามอาจยืดยาวและยุ่งยากกว่าที่คิด วันนี้คุณหมอหมู (เจ้าประจำของพวกเรา) จะมาไขข้อสงสัยให้ทราบกันจ้า

มาฟังคุณหมอกันดีว่าเนอะ

ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระดูกที่เราเห็นว่าแข็งแรง จริงๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่และทำลายกระดูกบางส่วน เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมกับการทำงาน เช่น รับน้ำหนักตัว หรือ รับแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนที่ต้องรับแรง รับน้ำหนักมาก ก็จะมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้แข็งแรงมากขึ้น กระดูกส่วนที่ไม่ต้องรับแรง ก็จะค่อยๆ บางลงไปเรื่อยๆ หรืออาจเปลี่ยนแปลงเลือนหายไปในที่สุด

เมื่อเกิดกระดูกหัก ในบางครั้งจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ซึ่งเหล็กที่ใช้จะเป็นเหล็กผสมหรือไททาเนียม ที่มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กทั่วไป แต่มีปฏิกิริยากับร่างกายน้อยมากไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งเหล็กดามกระดูกจะมีหลายรูปแบบ เช่น แผ่นเหล็ก แท่งเหล็ก เส้นลวด แท่งเหล็กดามกระดูกด้านนอก เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง แท่งเหล็กดามกระดูก กับ แผ่นเหล็กดามกระดูก



แผ่นเหล็กดามกระดูก
แผ่นเหล็กจะอยู่ขอบกระดูก แรงที่เกิดขึ้นจากน้ำหนักตัวหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อมาถึงตรงตำแหน่งแผ่นเหล็กแรงเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนแนวมาผ่านที่แผ่นเหล็ก กระดูกที่อยู่ไต้แผ่นเหล็กจะรับแรงน้อยลง (Load Bearing)



แท่งเหล็กดามกระดูก
แท่งเหล็กจะอยู่ในแกนกลางกระดูก แรงบางส่วนจะผ่านที่แท่งเหล็ก บางส่วนก็จะผ่านที่กระดูก ทำให้กระดูกยังต้องรับแรงอยู่ (Load Sharing)

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไปความแข็งแรงของกระดูกที่อยู่ไต้แผ่นเหล็กจะลดลง ทำให้บริเวณรอยต่อของกระดูกที่แข็งแรงปกติ (นอกแผ่นเหล็ก) กับ กระดูกที่ไม่แข็งแรง (ไต้แผ่นเหล็ก) เมื่อมีแรงบิดหรือกระแทก ก็จะทำให้เกิดกระดูกหักในบริเวณรอยต่อนี้ได้ (กระดูกจะหักบริเวณปลายแผ่นเหล็ก)

เมื่อไหร่ที่ต้องเอาเหล็กออก
• เหล็กที่มีบางส่วนโผล่ออกมานอกผิวหนัง เช่น ลวดดามกระดูก เหล็กดามกระดูกด้านนอก
• อยู่ในข้อ หรือ ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ กล้ามเนื้อเส้นเอ็น
• เกิดการติดเชื้อ แผลบวมแดง เป็นหนอง
• เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดบริเวณเหล็กเวลาอากาศเย็น ผิวหนังมีผื่นแดง เป็นต้น

สรุปเบื้องต้น
• ถ้าเป็นแผ่นเหล็กดามกระดูกในบางตำแหน่ง เช่น กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติก็ควรผ่าตัดเอาแผ่นเหล็กออก เนื่องจากถ้าใส่แผ่นเหล็กไว้นานเกินไป จะทำให้กระดูกที่อยู่ใต้แผ่นเหล็กไม่แข็งแรง จนเกิดกระดูกหักบริเวณรอยต่อของกระดูกปกติกับกระดูกใต้แผ่นเหล็ก ตำแหน่งที่กระดูกหักจึงจะอยู่ที่บริเวณปลายของแผ่นเหล็ก
• แต่ถ้าเป็นแท่งเหล็กดามกระดูก ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาแผ่นเหล็กออก
• ถ้าไม่แน่ใจหรือสงสัย ก็สามารถสอบถามแพทย์ที่ผ่าตัดใส่เหล็กได้ว่า จำเป็นต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ เมื่อไหร่ แพทย์ที่ผ่าตัดให้จะตอบได้ดีที่สุด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นายแพทย์พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
http://cmu2807.bloggang.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 3
แถม ...


กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=6&gblog=1
กระดูกหักเมื่อไรจะหาย     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-01-2008&group=6&gblog=4
กระดูกหัก ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=6&gblog=2
การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-02-2008&group=6&gblog=5

การดูแล หลังผ่าตัดกระดูก    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-01-2008&group=6&gblog=3
กระดูกหัก ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ ???     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2009&group=6&gblog=28
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่