ดูแล้วหดหู่ใจและเศร้าใจ... ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ถูกพูดถึงใน Princes of Yen ธนาคารกลางหลายแห่งในโลกน่ากลัวมาก

เพื่อนผม share สารคดี Princes of Yen มาให้ดูครับ

เป็นสารคดีเกี่ยวกับ ความซับซ้อน...ใน...ซับซ้อนในนโยบายการเงิน (monetary policy) แบบ inception หลายชั้นเหลือเกิน

ของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan - BOJ) ยุค 1990's ช่วงวิกฤตฟองสบู่อสังหาญี่ปุ่นแตก จนเศรษฐกิจล้มทั้งประเทศ

สารคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจในการออกนโยบายการเงินของ BOJ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของญี่ปุ่น

สารคดี 1 ชั่วโมงแรก จะดูน่าเบื่อหน่อย แต่พอถึง เวลา 1 ชั่วโมง 10 นาที เริ่มพูดถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)

เริ่มเห็น "วังบางขุนพรหม" เริ่มเห็น บรรยากาศในกรุงเทพ

เริ่มที่ 1:12:16

https://youtu.be/p5Ac7ap_MAY?t=1h12m15s

Richard Werner ผู้เขียนหนังสือ Princes of Yen เล่าให้ฟังว่า

when I went to Thailand... I went straight to the Bank of Thailand

and I asked them... “were there any informal CREDIT GUIDANCE SCHEMES”

and they were surprised that I asked this question

because of my study in Japan... I thought perhaps there was something similar and they told me

it was a YOUNG STAFF (ในสารคดีไม่ได้บอกนะครับว่า เจ้าหน้าที่ในธนาคารแห่งประเทศไทยคนนั้นคือไคร)

who perhaps wasn’t aware of the politics involved

that THAI YOUNG STAFF said “yeah! yeah! we have this credit planning scheme”


===== ===== =====

Banks were ordered to increase lending

but they were faced with less loan demand from the productive sectors of the economy

because these firms had been given incentives to borrow from abroad instead

they therefore had to resort to increasing their lending to higher risk borrowers

imports began to shrink

because the central banks (Thailand’s, Korea’s, Indonesia’s) had agreed to peg their currencies to the US dollar

the economies became less competitive

but their “current account balance” was maintained due to the foreign issued loans

which count as exports in the “balance of payments statistics”

when speculators began to sell

the Thai Baht… the Korea Won… the Indonesia Rupiah

the respective central banks responded with futile attempts to maintain the peg

until they had squandered virtually all of their foreign exchange reserves

this gave foreign lenders ample opportunity

to withdraw their money at the “OVERVALUED EXCHANGE RATES”

the Central Banks knew that if the countries ran out of foreign exchange reserves,

they would have to call in the IMF to avoid DEFAULT

and once the IMF came in, the Central Banks knew what this Washington-based institution would demand

for its demands in such cases have been the same for the previous 3 decades

“THE CENTRAL BANKS WOULD BE MADE INDEPENDENT”

===== ===== =====

on the 16th of July, the THAI finance minister (รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสมัยนั้น) took a plane to Tokyo

to ask Japan for a bailout

at that time, Japan had 213 Billions USD in "Foreign Exchange Reserves"

= more than the total resources of the IMF =

They were willing to help

BUT WASHINGTON STOPPED JAPAN INITIATIVES

any solution to the emerging Asian Crisis had to come from Washington via the IMF

after 2 months of speculative attacks, the Thai Government FLOATED the THAI BAHT

=====

หลังจากดูสารคดี ธนาคารกลางมีอำนาจ มีหน้าที่ มีเป้าหมาย ที่ดูซับซ้อนกว่าชาวบ้านทั่วไปจะเข้าใจได้นะครับ

แต่ นโยบายการเงิน ของธนาคารกลางทั่วโลก จะส่งผลทางอ้อมและทางตรงถึงชาวบ้านทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ใน 3 ด้าน... เศรษฐกิจ + สังคม + การเมือง

เช่น ตอน BOJ แอบทำเรื่อง window guidance เรื่องกระหน่ำกระตุ้นให้เกิดการปล่อยกู้สินเชื่อ กู้บ้าน กันอย่างมโหฬารในญี่ปุ่น ยุค 1990 เพราะต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคม โครงสร้างเศรษฐกิจ โครงการการเมือง จนทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างน่ากลัว จนราคาที่ดิน ราคาบ้านพุ่งทยานติดจรวด แล้วล้มครืนลงมาแบบ ธุรกิจล้ม คนล้มละลาย คนฆ่าตัวตาย ราคาบ้านหล่นฮวบ แล้วยังพยายามยื้อ พยายามแตะถ่วงให้ ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยื้อออกไปให้นานๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน "เศรษฐกิจ + สังคม + การเมือง" ในประเทศ
(ญี่ปุ่นนี่ชอบทำอะไรสุดโต่งในหลายๆเรื่องนะครับ)


https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_asset_price_bubble

https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decade_(Japan)


ถ้าใครมีเงินลงทุนเยอะ รู้ข่าววงในจาก BOJ เรื่อง window guidance เพิ่มการปล่อยกู้สินเชื่อ รู้ว่าจะเริ่มและหยุดเมื่อไหร่ คนที่รู้เรื่องวงใน ก็เอาเงินเข้าไปลงทุนในหุ้นอสังหา ลงทุนในตลาดอสังหาตรงๆ และรู้จังหวะขายออกจากตลาด ไม่เจ็บตัวแถมได้เงินเยอะ

ธนาคารกลางทั่วโลกมีอำนาจ ในหลายๆเรื่อง เราเป็นคนตัวเล็กๆ ไม่ได้อยู่วงใน ต้องอยู่ให้เป็น อย่าเรียกร้อง ทำได้เพียงรอให้ไดโนเสาร์ตายไปเรื่อยๆ
ต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อสร้างสุขภาวะทางการเงินของตัวเอง
ต้องอ่านเกม inception นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง สภาพเศรษฐกิจ ให้ออก ชั่งใจให้ดีๆ และ ที่สำคัญต้อง มีโชคและมีดวง

===== ===== =====

ปล ข้อมูล และ เรื่องราวในสารคดี เราในฐานะคนที่เสพสื่อ ก็ต้องมีสติ อิ๊บในใจว่า มันเป็นสิ่งที่เค้าเล่า เค้าพูดมา เผื่อใจไว้ด้วยว่ามันเป็นการฟังความข้างเดียว มันเป็นความคิดเห็นไม่ใช่ข้อเท็จจริง เราควรต้องฟังความรอบด้าน หาข้อมูลรอบด้าน อย่าเชื่อโดยไม่มีเหตุไม่มีผลไม่มีข้อมูล ไม่ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน

การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์การแพทย์...
เราศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้นำมาปรับใช้กับปัจจุบันให้เกิดประโยชน์ และวางแผนอนาคตให้ดีขึ้น

ในวิชาประวัติศาสตร์ เราไม่ควรยึดติดกับ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เขียนประวัติศาสตร์ด้านเดียว แต่เราควรเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งที่มา แล้วมองให้เห็นภาพว่าเกิดอะไรขึ้น อันไหนเป็น FACTs=ข้อเท็จจริง อันไหนเป็น OPINIONs=ข้อคิดเห็น แล้วนำมาปรับใช้กับปัจจุบันให้เกิดประโยชน์

ตำรา บันทึก คำบอกเล่า หนังสือประวัติศาสตร์ ไม่มีเล่มไหนดีที่สุด มีเพียงแค่การฟังความรอบด้าน จากหลายแหล่งข้อมูล แล้วคิดวิเคราะห์ให้ดี ก่อนนำมาปรับใช้กับปัจจุบันให้เกิดประโยชน์

อีกเรื่องคือ ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนแบบที่ Switzerland ที่มีการทำประชามติ (Referendum) กันบ่อยมาก ฟังเสียงประชาชนจริงก่อนจะออกนโยบายสาธารณะอะไรก็ตาม เพราะนโยบายสาธารณะมันส่งผลหนักมากต่อคนในสังคม การเมือง การเงิน การปกครอง ของ Switzerland นี่ดีเรื่องการทำประชามติ ถ้าเอามาใช้กับ นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) และ นโยบายการเงิน (Monetary Policy) นี่น่าจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียนะครับ

https://en.wikipedia.org/wiki/Voting_in_Switzerland

ไปดูผลโหวต ประชามติ รัวๆ ของคนสวิสกันได้ ของปีที่แล้ว 2016 อยากฟังเสียงประชาชนจริงๆ เรื่องอะไร เค้าก็มาโหวตกันให้รู้ไปเลย

https://en.wikipedia.org/wiki/Swiss_referendums,_2016

ดอกเบี้ยต้นทางจากธนาคารกลาง
gap ดอกเบี้ยเงินฝากเงินกู้
micro nano pico FINANCE
เปิดเสรี Bank & Non-Bank sector
นโยบายการเงิน จากผู้ว่าการแบงค์ชาติ ไม่ต้องผ่านรัฐสภา
นโยบายการเงินแบบเข้มงวด หรือ ผ่อนคลาย
การแอบทำ window guidance

การทำประชามติ referendum ในประเด็นอื่นของกระทรวง คมนาคม สาสุข พม คอมฯ กลาโหม ศึกษา ฯลฯ นี่จะดีมากเลยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่