จากข่าวนี้
และข่าว ผู้ว่าการ ธปท.ชี้ Fintech จะเปลี่ยนโฉมการเงินโลก แนะปรับตัวให้ทัน
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000060727
ตอนนี้รัฐบาลรับรู้ความเปลี่ยนแปลงรอบโลก และรู้ในประโยชน์ของกระแส Fintech ที่กำลังเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลกไปอีกขั้น
ซึ่งผู้ที่ปรับตัวและศึกษาสามารถจะได้รับประโยขน์จากเรื่องนี้ระยะยาว
แต่ติดอยู่ที่ตามระบบสายงานต้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กับกระทรวงการคลังเป็นผู้ศึกษาผลกระทบ และกำหนดนโยบาย
จึงจะออกกฏหมายรองรับเพื่อเปิดทาง
ซึ่งจุดมุ่งหมายของ Fintech และเงินดิจิตอลนั้นเกิดขึ้นมา พร้อมทางเลือกที่ดีกว่าโดยมองข้ามการหาประโยชน์ (จากค่าธรรมเนียม) ของระบบธนาคารเดิม จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ทำให้ระบบธนาคารเสียผลประโยชน์โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดช่องให้กับเงินดิจิตอล ก็เท่ากับเป็นการชี้ช่องทำลายตน
อาจทำให้ประชาชนถอนเงินออกจากระบบธนาคาร เพื่อไปลงทุนในเงินดิจิตอลที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ผลก็คือระบบธนาคารในประเทศจะขาดสภาพคล่อง ซึ่งธนาคารเป็นผู้อุปถัมภ์ทางการเงินแก่ธรุกิจต่างๆในด้านการลงทุน และหนี้สินต่างๆ
เมื่อธนาคารอ่อนแอ ธุรกิจกิจอื่นๆ(ในประเทศ)ที่ธนาคารพยุงไว้ก็จะล้มตามไปด้วย จนทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศพังได้
แล้วเพื่อนๆคิดว่า ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ในเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังถูกกดดันให้ชี้ช่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
และหากธนาคารไม่ปรับตัว ก็จะถูกมองข้าม และลดความสำคัญไปเรื่อยๆ จนอาจตายแบบตกยุคในที่สุด
ทั้งยังมีส่วนทำให้ประเทศเราล้าหลังกว่าหลายๆประเทศที่กำลังปรับตัวตามกระแส Fintech
**********
---------------
**********
ผมเคยคิด(แบบพื้นๆ)ว่า สิ่งที่ธนาคารกังวลที่สุดในเรื่องนี้คือ การที่ประชาชนตื่นตัวกับกระแส Fintech
และถอนเงินไปลงทุนกับเงินดิจิตอล(ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า)
ดังนั้นธนาคาร
อาจ หาทางรักษาจำนวนเงินในระบบ โดยนำเสนอ "รูปแบบการลงทุนจากเงินฝากเดิมที่มีอยู่"
โดยการออกเงินดิจิตอลของตนเอง ตย. เช่น K-coin (กสิกร คอย) ให้เจ้าของบัญชีเปลี่ยนเงินฝากเดิมไปสู่รูปแบบเงินดิจิตอลของธนาคารนั้นๆ โดยมีสิ่งจูงใจผู้ฝากคือ เงินที่ฝากไว้สามารถจะเพิ่มมูลค่าตามจำนวนผู้ลงทุน ตามกลไกของเงินดิจิตอล
ซึ่งอาจช่วยรักษาเม็ดเงินในระบบธนาคารได้จากฐานลูกค้าเดิม
แต่เชื่อว่าผู้ที่ศึกษาข่าวสารในระดับสากลคงเลือกลงทุนกับเงินดิจิตอล โดยเล็งผลไว้กับสกุลเงินดิจิตอล
ที่จะกลายเป็นสกุลหลักของโลก แบบมองข้ามนโยบายปรับตัวของธนาคารในประเทศ
ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกับเรื่องนี้
เพราะหากประเทศไทยคิดสร้างเงินดิจิตอลของตนเอง
ทุกคนจะมองไปที่ความน่าเชื่อถือในการลงทุน (ซึ่งเรามีต้นทุนในเรื่องนี้มากเพียงใด)
โดยเมื่อเกิดการเปรียบเทียบด้านความน่าเชื่อถือ คนส่วนใหญ่ย่อมเลือกสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด
ซึ่งมันจะไปตกอยู่ที่สกุลเงินดิจิตอลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ผู้จะกลายเป็นสกุลเงินดิจิตอลอันดับ 1 ของโลกในอนาคตโดยปริยาย
โดยทางทฤษฎี หากคนไทยส่วนใหญ่ได้ลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลอันดับ 1 แล้ว ผลประโยชน์มหาศาลก็จะกลับมาอยู่ในมือคนในชาติด้วยเช่นกัน (คือจะเกิดเม็ดเงินเพื่อใช้ในการลงทุนกลับมาอยู่ในมือผู้ประกอบการไทยรายย่อยเอง โดยไม่ต้องกู้ยืมแบงค์ )
แทนที่เราจะพยายามรักษาเงินในระบบไว้ในตอนต้น (โดยสร้างสิ่งที่ทุกคนจะนำเงินมาลงทุน) ซึ่งไม่สามารถจะดึงดูดเม็ดเงินการลงทุน
ให้เข้ามาในระบบเดิมเพิ่มขึ้นได้ และสุดท้ายมันอาจจะฟ่อ เพราะไม่สามารถจะเป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่ แต่เรากลับใช้เม็ดเงินนี้ไปลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนระดับโลก ด้วยโอกาสพิเศษจากกระแส Fintech ที่เกิดขึ้นแทนล่ะ
ผมมองไม่เห็นทางออกของการจะรักษาเม็ดเงินไว้ในระบบธนาคารรูปแบบเดิม และอยากเสนอให้เรา
ลองปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ทางการลงทุนให้มากขึ้น เพราะหลายๆประเทศกำลังปรับตัวโดยการเปลี่ยนถ่ายเม็ดเงินในระบบเดิมไปสู่
เรือลำใหม่ บ้างก็ด้วยการจะสร้างเงินดิจิตอลของตนเองตามศักยภาพทางเศรษฐกิจ หรือเลือกลงทุนกับเงินดิจิตอลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
แบบการเก็งกำไร ซึ่งหากในบ้านเรายังใช้วิธีปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชนส่วนใหญ่ แบบลากยาวกันต่อไป ในอนาคตอันใกล้เราจะล้าหลัง และเสียโอกาสในทางเศรษฐกิจแก่ชาติที่สนใจและกำลังตื่นตัวในเรื่องกระแส Fintech อย่างแน่นอน
บทบาทสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้คือ การเป็นผู้เสนอทางเลือก กับการสร้างผู้เลือก(การลงทุน)ที่มีประสิทธิภาพ
ผมอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนกับสกุลเงินดิจิตอล
ต่อประชาชนทุกชนชั้น โดยยุคของ Fintech ได้ทำให้คนทั่วโลกสามารถลงทุนเกงกำไรผ่านเงินดิจิตอล(ในระดับสากล)ด้วยตนเอง
ซึ่งเมื่อประชาชนสามารถเลือกลงทุนอย่างถูกต้อง ผลประโยชน์ใหญ่จึงจะกลับมาสู่ประเทศชาติโดยปริยาย
แทนที่เราจะพยายามเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งให้กับคนทั่วโลก แต่โดยการประเมินสถานภาพ และศักยภาพที่มีอยู่ของประเทศ
เราสามารถเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่ดีที่สุดให้กับประชาชนของตนเองได้
จขกท. ขอขอบคุณ(ล่วงหน้า)ในทุกความเห็นที่แสดงในกระทู้นี้นะครับ
และหาก จขกท. ได้ผิดพลาดประการใดต่อเนื้อหาที่ได้นำเสนอไป ต้องขออภัยต่อทุกท่านเช่นกันครับ
สถานการณ์เรื่อง "เงินดิจิตอลในประเทศไทย" กำลังเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ
และข่าว ผู้ว่าการ ธปท.ชี้ Fintech จะเปลี่ยนโฉมการเงินโลก แนะปรับตัวให้ทัน
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000060727
ตอนนี้รัฐบาลรับรู้ความเปลี่ยนแปลงรอบโลก และรู้ในประโยชน์ของกระแส Fintech ที่กำลังเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลกไปอีกขั้น
ซึ่งผู้ที่ปรับตัวและศึกษาสามารถจะได้รับประโยขน์จากเรื่องนี้ระยะยาว
แต่ติดอยู่ที่ตามระบบสายงานต้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กับกระทรวงการคลังเป็นผู้ศึกษาผลกระทบ และกำหนดนโยบาย
จึงจะออกกฏหมายรองรับเพื่อเปิดทาง
ซึ่งจุดมุ่งหมายของ Fintech และเงินดิจิตอลนั้นเกิดขึ้นมา พร้อมทางเลือกที่ดีกว่าโดยมองข้ามการหาประโยชน์ (จากค่าธรรมเนียม) ของระบบธนาคารเดิม จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ทำให้ระบบธนาคารเสียผลประโยชน์โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดช่องให้กับเงินดิจิตอล ก็เท่ากับเป็นการชี้ช่องทำลายตน
อาจทำให้ประชาชนถอนเงินออกจากระบบธนาคาร เพื่อไปลงทุนในเงินดิจิตอลที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ผลก็คือระบบธนาคารในประเทศจะขาดสภาพคล่อง ซึ่งธนาคารเป็นผู้อุปถัมภ์ทางการเงินแก่ธรุกิจต่างๆในด้านการลงทุน และหนี้สินต่างๆ
เมื่อธนาคารอ่อนแอ ธุรกิจกิจอื่นๆ(ในประเทศ)ที่ธนาคารพยุงไว้ก็จะล้มตามไปด้วย จนทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศพังได้
แล้วเพื่อนๆคิดว่า ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ในเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังถูกกดดันให้ชี้ช่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
และหากธนาคารไม่ปรับตัว ก็จะถูกมองข้าม และลดความสำคัญไปเรื่อยๆ จนอาจตายแบบตกยุคในที่สุด
ทั้งยังมีส่วนทำให้ประเทศเราล้าหลังกว่าหลายๆประเทศที่กำลังปรับตัวตามกระแส Fintech
**********
---------------
**********
ผมเคยคิด(แบบพื้นๆ)ว่า สิ่งที่ธนาคารกังวลที่สุดในเรื่องนี้คือ การที่ประชาชนตื่นตัวกับกระแส Fintech
และถอนเงินไปลงทุนกับเงินดิจิตอล(ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า)
ดังนั้นธนาคาร อาจ หาทางรักษาจำนวนเงินในระบบ โดยนำเสนอ "รูปแบบการลงทุนจากเงินฝากเดิมที่มีอยู่"
โดยการออกเงินดิจิตอลของตนเอง ตย. เช่น K-coin (กสิกร คอย) ให้เจ้าของบัญชีเปลี่ยนเงินฝากเดิมไปสู่รูปแบบเงินดิจิตอลของธนาคารนั้นๆ โดยมีสิ่งจูงใจผู้ฝากคือ เงินที่ฝากไว้สามารถจะเพิ่มมูลค่าตามจำนวนผู้ลงทุน ตามกลไกของเงินดิจิตอล
ซึ่งอาจช่วยรักษาเม็ดเงินในระบบธนาคารได้จากฐานลูกค้าเดิม
แต่เชื่อว่าผู้ที่ศึกษาข่าวสารในระดับสากลคงเลือกลงทุนกับเงินดิจิตอล โดยเล็งผลไว้กับสกุลเงินดิจิตอล
ที่จะกลายเป็นสกุลหลักของโลก แบบมองข้ามนโยบายปรับตัวของธนาคารในประเทศ
ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกับเรื่องนี้
เพราะหากประเทศไทยคิดสร้างเงินดิจิตอลของตนเอง
ทุกคนจะมองไปที่ความน่าเชื่อถือในการลงทุน (ซึ่งเรามีต้นทุนในเรื่องนี้มากเพียงใด)
โดยเมื่อเกิดการเปรียบเทียบด้านความน่าเชื่อถือ คนส่วนใหญ่ย่อมเลือกสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด
ซึ่งมันจะไปตกอยู่ที่สกุลเงินดิจิตอลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ผู้จะกลายเป็นสกุลเงินดิจิตอลอันดับ 1 ของโลกในอนาคตโดยปริยาย
โดยทางทฤษฎี หากคนไทยส่วนใหญ่ได้ลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลอันดับ 1 แล้ว ผลประโยชน์มหาศาลก็จะกลับมาอยู่ในมือคนในชาติด้วยเช่นกัน (คือจะเกิดเม็ดเงินเพื่อใช้ในการลงทุนกลับมาอยู่ในมือผู้ประกอบการไทยรายย่อยเอง โดยไม่ต้องกู้ยืมแบงค์ )
แทนที่เราจะพยายามรักษาเงินในระบบไว้ในตอนต้น (โดยสร้างสิ่งที่ทุกคนจะนำเงินมาลงทุน) ซึ่งไม่สามารถจะดึงดูดเม็ดเงินการลงทุน
ให้เข้ามาในระบบเดิมเพิ่มขึ้นได้ และสุดท้ายมันอาจจะฟ่อ เพราะไม่สามารถจะเป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่ แต่เรากลับใช้เม็ดเงินนี้ไปลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนระดับโลก ด้วยโอกาสพิเศษจากกระแส Fintech ที่เกิดขึ้นแทนล่ะ
ผมมองไม่เห็นทางออกของการจะรักษาเม็ดเงินไว้ในระบบธนาคารรูปแบบเดิม และอยากเสนอให้เรา
ลองปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ทางการลงทุนให้มากขึ้น เพราะหลายๆประเทศกำลังปรับตัวโดยการเปลี่ยนถ่ายเม็ดเงินในระบบเดิมไปสู่
เรือลำใหม่ บ้างก็ด้วยการจะสร้างเงินดิจิตอลของตนเองตามศักยภาพทางเศรษฐกิจ หรือเลือกลงทุนกับเงินดิจิตอลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
แบบการเก็งกำไร ซึ่งหากในบ้านเรายังใช้วิธีปิดกั้นข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชนส่วนใหญ่ แบบลากยาวกันต่อไป ในอนาคตอันใกล้เราจะล้าหลัง และเสียโอกาสในทางเศรษฐกิจแก่ชาติที่สนใจและกำลังตื่นตัวในเรื่องกระแส Fintech อย่างแน่นอน
บทบาทสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้คือ การเป็นผู้เสนอทางเลือก กับการสร้างผู้เลือก(การลงทุน)ที่มีประสิทธิภาพ
ผมอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนกับสกุลเงินดิจิตอล
ต่อประชาชนทุกชนชั้น โดยยุคของ Fintech ได้ทำให้คนทั่วโลกสามารถลงทุนเกงกำไรผ่านเงินดิจิตอล(ในระดับสากล)ด้วยตนเอง
ซึ่งเมื่อประชาชนสามารถเลือกลงทุนอย่างถูกต้อง ผลประโยชน์ใหญ่จึงจะกลับมาสู่ประเทศชาติโดยปริยาย
แทนที่เราจะพยายามเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งให้กับคนทั่วโลก แต่โดยการประเมินสถานภาพ และศักยภาพที่มีอยู่ของประเทศ
เราสามารถเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่ดีที่สุดให้กับประชาชนของตนเองได้
จขกท. ขอขอบคุณ(ล่วงหน้า)ในทุกความเห็นที่แสดงในกระทู้นี้นะครับ
และหาก จขกท. ได้ผิดพลาดประการใดต่อเนื้อหาที่ได้นำเสนอไป ต้องขออภัยต่อทุกท่านเช่นกันครับ