สวัสดีครับเพื่อนๆชาวพันทิป
ปกติผมชอบติดตามอ่านกระทู้ในพันทิปเป็นประจำ อ่านไปอ่านมาเลยอยากจะแชร์ประสบการณ์ให้ผู้ที่สนใจไว้เป็นแนวทางในการหรือตัดสินใจศึกษาต่อที่สวีเดน ว่าประเทศอันหนาวเหน็บแห่งนี้มีอะไรดีกันหนอ ทำไมผมถึงตัดสินใจหางานทำที่นี้ต่อหลังเรียนจบ
สำหรับเนื้อหาผมขอแยกเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้ง่ายกับการอ่าน และการเขียนของตัวเองด้วยเนื่องจากถ้าไม่มีหัวข้อกำหนด เนื้อหาอาจออกทะเลได้ ฮ่าๆ อาจจะมีพิมพ์ตกพิมพ์หล่นหรือสะกดผิดบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ เอาล่ะ มาเริ่มกันดีกว่าครับ
** จุดเริ่มต้น ทำไมถึงได้มาอยู่สวีเดน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 ตัวผมเองกำลังใกล้จบการศึกษาระดับ ป.ตรี อยู่ปี 4 ที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT หรือที่ส่วนใหญ่มักกจะถูกเรียกสั้นๆว่า เอสไอ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงเวลานั้นก็เป็นเหมือนเดินมาเจอทางแยกชีวิตอีกครั้งหลังจากครั้งแรกตอนที่เลือกสายตอน ม.ปลาย และครั้งที่สองตอนเลือกคณะ คำถามยอดฮิตของคนกำลังจะจบก็คือ จะหางานทำหรือจะเรียนต่อ ป.โท ดีนะ ด้วยความที่คิดว่าตอนนั้น ไฟกำลังมี เลยตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนต่อ แต่ก็ยังส่งใบสมัครงานไปเผื่อเป็นแผนสอง
ณ เวลานั้น ประเทศที่อยากไปเรียนต่อออสเตรเลียและแคนาดา แต่สองประเทศนี้คนน่าจะอยากไปเยอะอยู่ โอกาสได้ทุนก็น่าจะยากเพราะส่วนตัวก็ไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรเท่าไหร่ (อาศัยอ่านหนังสือบ่อยๆ กะทบทวนหลายๆรอบ) พอดีมีเพื่อนคนนึงในกลุ่มแนะนำให้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับเรียนต่อที่ประเทศสวีเดนดู (แอบบอกว่าเพื่อนคนนี้เคยตั้งกระทู้แชร์ประสบการณ์กับบริษัท mobile application ระดับโลก ฮ่าๆ ไปสืบกันเอาเองนะครับ) ค้นไปค้นมาก็เจอทุนที่มีชื่อว่า The Sievert Larsson Scholarship เป็นทุนเฉพาะเจาะจงให้สำหรับคนไทยที่อยากเรียนต่อในระดับ ป.โท ที่ Chalmers University of Technology (เรียกสั้นๆว่า Chalmers) มหาวิทยาลัยระดับต้นๆของประเทศสวีเดน ก่อตั้งเมื่อปี 1829 เมือง Gothenborg ซึ่งเป็นหัวเมืองทางฝั่งตะวันตกของประเทศ
ว่าแล้วก็ไม่รอช้าศึกษาข้อมูลการสมัครเรียนต่อในสวีเดน จัดแจงเตรียมใบสมัครและเอกสารสำคัญสำหรับยื่นขอทุน มั่นใจว่าพร้อมสุดๆ แต่แล้วก็ต้องแห้วรับประทานเมื่อผลออกมา ผมได้ตอบรับเข้าเรียนแต่ไม่ได้ทุนในสาขาที่ต้องการ ตอนนั้นรู้สึกผิดหวังนิดๆ แต่ก็ปลอบใจตัวเองว่าอาจเป็นเพราะเราไม่ได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่เพียงพอ ประกอบกับในระหว่างนั้น บริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษที่เคยส่งใบสมัครไปเรียกสัมภาษณ์และตอบรับเข้าทำงานในตำแหน่ง Software Analyst เลยจำเป็นพักโครงการเรียนต่อไว้ก่อน แต่ก็ยังเตรียมตัวยื่นขอทุนสำหรับปีหน้า พร้อมกับมุ่งมั่นทำงานกอบโกยประสบการณ์และโอกาสอย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม
พอถึงเวลายื่นทุนปีที่สอง ผมก็เตรียมเอกสารเหมือนเดิมแต่คราวนี้ความพร้อมเกิน 100% จำได้ว่าทางมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และจะประกาศผลราวๆเดือนมีนาคม รอแล้วรอเล่าจนใกล้จะหมดเดือนก็ยังไม่มีวี่แววว่าได้รับข่าวดี คิดว่าคงต้องผิดหวังอีกแน่ๆปีนี้ แต่แล้วก็ได้รับอีเมลจากทางมหาวิทยาลัยว่าคณะกรรมการตัดสินแล้วว่าจะมอบทุนเต็มจำนวนซึ่งคลอบคลุมค่าเทอมตลอดระยะเวลาเรียนพร้อมค่าใช้เพียงพอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันตลอดสองปี (ป.โท ที่สวีเดนเรียนสองปี) ในสาขา MSc Software Engineering ปีการศึกษา 2014 และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นว่าผมมาอยู่ที่ประเทศสวีเดนได้อย่างไร
**สองปีใน Chalmers
หลังจากร่ำราครอบครัวอันเป็นที่รักและเดินทางข้ามทวีปมาสู่ดินแดนสแกนดิเนเวียอันเหน็บหนาว ไม่นานก็ถึงวันเปิดเรียน สำหรับตัวมหาวิทยาลัยนั้น มีสองแคมปันด้วยกัน แคมปัสหลักชื่อว่า Campus Johanneberg อยู่เขตตัวเมือง Gothenburg เป็นแคมปัสหลัก คณะส่วนใหญ่หรือแม้กระทั้งกิจกรรมของทางมหาลัยก็จะจัดที่นี่เป็นหลัก แคมปัสที่สองมีชื่อว่า Campus Lindholmen แคมปัสนี่ตั้งบนอยู่ริมแม่น้ำ Göta älv ที่ไหลผ่านกลางเมือง ซึ่งเป็นที่ๆภาควิชาของผมทำการเรียนการสอนสองปี
Campus Johanneberg
มาพูดถึงเรื่องการเรียนกันบ้าง โปรแกรม ป.โท ที่สวีเดนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด จึงตัดเรื่องปัญหาภาษาที่สามไปได้เลยว่าไม่จำเป็นต้องคล่องสวีดีชถึงจะสมัครเรียนได้ (อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งร้องโอ้โหว่าไม่ต้องเรียนภาษาสวีดิชก็ได้ อ่านไปเรื่อยๆแล้วเดี๋ยวจะรู้ครับ ฮ่าๆ) สังคมในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีความเป็น international มากเพราะนักศึกษาต่างชาติเยอะมาก คละไปตามแต่ละภาควิชา ภาษากลางที่ใช้ก็เลยต้องเป็นภาษาอังกฤษโดยปริยาย
Campus Johanneberg หน้าหนาว
ในภาควิชา Software Engineering หรือชื่อเต็มๆว่า Master's Programme of Software Engineering (MPSOF) ที่ผมเรียนนั้นมีนักศึกษาจำนวนประมาณ 60 กว่าคน พอเขียนมาถึงตอนนี้ผมนึกขึ้นได้ว่าลืมบอกไป ในเมือง Gothenburg มีมหาวิทยาลัยอยู่ 2 แห่งด้วยกันนั่นคือ Chalmers และ University of Gothenburg (GU) ซึ่งสองมหาวิทยาลัยนี้ บางภาควิชาเป็นภาควิชาร่วม หมายความว่านักศึกษาทั้งสองมหาลัยที่อยู่ภาควิชาเดียวกันจะมาเรียนรวมกันตลอดระยะเวลาจนจบหลักสูตร และ MPSOF ก็เป็นหนึ่งในภาควิชาร่วมที่ว่า แต่ถึงจะเรียนรวมกัน ทำโปรเจคเหมือนกัน การสอบใช้ข้อสอบเดียวกัน แต่การตัดเกรดไม่เหมือนกัน สำหรับ นักศึกษา Chalmers แต่ละวิชาจะมีการตัดเกรดแบบ European Credit Transfer and Accumulation System (ECTS) แบ่งเป็น 3 คือแค่ผ่าน 4 คือดีกว่าผ่านนิดนึงและ 5 คือผ่านแบบดีเยี่ยม แต่สำหรับนักศึกษา GU จะมีแต่ผ่านกับไม่ผ่านเท่านั้นไม่มีเกรดเป็นตัวเลข
Campus Lindholmen
เทอมจะแบ่งออกเป็นปีละ 2 period คือ autumn (ปลายสิงหาคมถึงกลาวเดือนมกราคม) และ spring (กลางเดือนมกราคมถึงราวๆต้นเดือนมิถุนายน) รวมทั้งหมดเป็ฯ 4 period ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกเรียน coursework 3 period+ธีสิส 1 period หรืออย่างละครึ่งๆก็ได้ รายละเอียดว่า period นึงเรียนอะไรบ้างข้ามละกันครับเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อเกินไป
ในคาบที่ต้องเข้าห้องเรียนอาจารย์แต่ละวิชา (ที่สวีเดนไม่ต้องเรียกว่า profressor สามารถเรียกชื่อจริงได้เลย) จะให้ความรู้ด้านทฤษฏี ก็ต้องเข้าไปฟัง lecture ตามปกติ ส่วนของการทำโปรเจคมีทุกวิชา ซึ่งนักศึกษาต้องทำเป็นกลุ่ม บางครั้งก็ให้จับกลุ่มกันเอง แต่ส่วนมากคนสอนหรือคนช่วยซึ่งเป็นนักศึกษา ป.เอก เป็นคนจับกลุ่มให้
ความสนุกส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเมื่ออาจารย์จับกลุ่มให้ ได้ทำโปรเจคกับคนหลากหลายเชื้อชาติ ผมและเพื่อนๆเคยพูดกันสนุกๆถึงเรื่องนี้บ่อยๆ ถึงกับตั้งฉายาขำๆให้แต่ละประเทศ เช่น สวีเดนสายประชุม เยอรมันสายเป๊ะ เป็นต้น (จริงๆมีสายอู้ สายด่ากราด สายเสมอ สายมีนัดหมอทุกครั้งที่มีประชุมโปรเจคด้วย แต่จะไม่กล่าวถึงเพื่อป้องกันการดราม่าในกระทู้ครับ)
บรรยากาศในห้องเรียน
**ฝึกงานที่ Ericsson
หลังจากจบปีแรกซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ผมได้มีโอกาสได้ฝึกงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารสัญชาติสวีเดนอย่าง Ericsson จริงๆทางมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับ ไม่มีการเก็บหน่วยกิตใดๆ แต่ไหนๆก็มีโอกาสได้มาถึงสวีเดนแล้วก็น่าจะลองหางานทำดู หาประสบการณ์และเป็นการทดสอบว่าการหางานในสวีเดนยากไหม ความสามารถอย่างเรานี่บริษัทที่นี่จะรับทำงานหรือเปล่า ก่อนหน้าที่จะปิดเทอมสองเดือนผมเริ่มยื่นใบสมัครโปรแกรมฝึกงานตามบริษัทใหญ่ๆต่างๆ เอกสารหลักๆก็เหมือนกับสมัครงานทั่วไปคือต้องมี CV กับ cover letter เป็นหลัก สำหรับ CV ผมโละของเก่าทิ้ง ลงทุนใช้ Photoshop ทำให้ดูเป็น graphic info ขึ้นมากกว่าแค่ text ธรรมดา ด้วยความคิดว่าเราเป็นชาวต่างชาติ คุณสมบัติทางเทคนิคอาจจะพอสู้คนที่นี่ได้แต่สกิลการทำงานต่างแดนยังไม่มี ไม่รู้ว่าสไตล์การทำงานแบบสวีดิชหรือแบบยุโรปเป็นอย่างไร ผมเลยพยายามทำให้ CV โดดเด่น ส่วน cover letter ผมก็เขียนขึ้นใหม่ทุกฉบับที่ยื่นเพื่อให้ตรงกับ objectives ของแต่ละตำแหน่งฝึกงานมากที่สุด จนได้เข้ารอบถูกเรียกไปสัมภาษณ์บริษัทตลาดหลักทรัพย์อันดับสองของอเมริกาอย่าง Nasdaq ที่ Stockholm แต่ก็ไม่ได้ไปสัมภาษณ์รอบสุดท้ายเพราะทาง Ericsson ตอบรับก่อนให้เข้าไปฝึกงานในตำแหน่ง web frontend developer หรือเรียกง่ายๆคือเขียนเว็บล่ะครับ
ตึกทางซ้ายมือในรูปคือ Ericsson
ที่ทำงานค่อนข้างที่จะต่างจากที่ไทย (ขอไว้ไปเล่าในชีวิตการทำงานใน Volvo นะครับ) หรือแม้แต่ใน Chalmers พอสมควร แต่ยังคงคอนเซปสไตล์สวีดีชคือประชุม ประชุม แล้วก็ประชุม ที่ Ericsson หลักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางทำงาน แต่เวลาพูดคุยกันเล่นๆนั้นในออฟฟิศนั้น ชาวสวีก็จะใช้ภาษาสวีดีชเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแตกต่างจากใน Chalmers ตรงที่ในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไรก็ตามทุกคนจะใช้ภาษาอังกฤษหมดแม้แต่คนสวีด้วยกันเองคุยกันก็ใช้ภาษาอังกฤษ เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งเพื่อนสองคนเป็นคนสวีทั้งคู่ยืนคุยกันอยู่ ผมเดินเข้าไปทักก็ได้ยินว่าเค้าคุยเป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยถามว่าทำไมพูดอังกฤษ เค้าสองคนก็ว่า เออ ทำไมไม่คุยสวีดีชกันนะ กลายเป็นเรื่องขำขันกันไป
การทำงานที่ Ericsson เป็นแบบ Agile ซะส่วนใหญ่ ทุกๆเช้าก็จะมี standup meeting ตามคอนเซป Agile รายงานหัวหน้าทีมว่าเมื่อวานทำอะไร วันนี้แพลนจะทำอะไร หลังจากนั้นก็จะแยกย้ายกันไปทำงานของตัวเอง
งานที่นั้นเป็นโปรเจคเล็กๆทำเว็บไซต์ ขอไม่ลงรายละเอียดงานเนื่อยจากไม่ได้ขออนุญาติทางบริษัทเพื่อนำมาเผยแพร่ แต่จะขอพูดเกี่ยวกับโปรเซสในการทำงาน คืออย่างที่บอกคือสไตล์การทำงานนั้นเป็นแบบ Agile นอกจาก standup meeting ทุกๆเช้าแล้ว ยังมีประชุมทุกๆสองสัปดาห์กับทาง stakeholder ซึ่งก็คือคนที่คิดโปรเจคฝึกงานนั่นเอง ในการประชุมแต่ละครั้งนั้นก็จะเก็บ requirements และนำเสนอ prototype เว็บเพื่อดู feedback ว่าต้องปรับปรุงตรงไหน หรือเพิ่ม feature อะไรอีก หลังจากประชุมเสร็จ เด็กฝึกงานก็จะมาถกเถียงกัน breakdown งานเป็นชิ้นย่อยๆ เขียนใส่ post-it ทำ scrum board เพื่อแจกจ่ายงานและดูว่าควรจะทำงานย่อยไหนก่อนหลัง
สำหรับเรื่องอาหารนั้นในบริษัทมีโรงอาหารของตัวเอง ซึ่งขายอาหารแยกประเภทเป็นสลัดบาร์ อาหารเอเซียน เป็นต้น นอกจากร้านอาหารก็ยังมีโซนไมโครเวฟสำหรับคนที่ทำกับข้าวมากินเอง พูดถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นได้ว่าสิ่งที่ชอบอย่างหนึ่งคือคนที่นี่ส่วนมากมักทำอาหารมากินเองที่ออฟฟิศและมาซื้อสลัดบาร์จานเล็กๆกินคู่ เพราะฉะนั้นตอนกลางวันห้องไมโครเวฟที่นี้จะคนเยอะมาก จะเวฟข้าวทีนึงต้องต่อคิวยาวทีเดียว เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเจอตอนอยู่ไทย อาจจะเจอบ้างตอนทำงานแต่ส่วนมากก็จะออกไปกินข้าวข้างนอกเพราะบ้านเราซื้อกินราคาถูกกว่าหรือพอๆกับซื้อวัตถุดิบมาทำเองเนอะ
ด้านหน้าบริษัท
แชร์ประสบการณ์การเด็กทุน ป.โท สวีเดน ฝึกงานที่ Ericsson และได้เป็นวิศวกรที่ Volvo Cars
ปกติผมชอบติดตามอ่านกระทู้ในพันทิปเป็นประจำ อ่านไปอ่านมาเลยอยากจะแชร์ประสบการณ์ให้ผู้ที่สนใจไว้เป็นแนวทางในการหรือตัดสินใจศึกษาต่อที่สวีเดน ว่าประเทศอันหนาวเหน็บแห่งนี้มีอะไรดีกันหนอ ทำไมผมถึงตัดสินใจหางานทำที่นี้ต่อหลังเรียนจบ
สำหรับเนื้อหาผมขอแยกเป็นหัวข้อๆ เพื่อให้ง่ายกับการอ่าน และการเขียนของตัวเองด้วยเนื่องจากถ้าไม่มีหัวข้อกำหนด เนื้อหาอาจออกทะเลได้ ฮ่าๆ อาจจะมีพิมพ์ตกพิมพ์หล่นหรือสะกดผิดบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ เอาล่ะ มาเริ่มกันดีกว่าครับ
** จุดเริ่มต้น ทำไมถึงได้มาอยู่สวีเดน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 ตัวผมเองกำลังใกล้จบการศึกษาระดับ ป.ตรี อยู่ปี 4 ที่สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT หรือที่ส่วนใหญ่มักกจะถูกเรียกสั้นๆว่า เอสไอ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงเวลานั้นก็เป็นเหมือนเดินมาเจอทางแยกชีวิตอีกครั้งหลังจากครั้งแรกตอนที่เลือกสายตอน ม.ปลาย และครั้งที่สองตอนเลือกคณะ คำถามยอดฮิตของคนกำลังจะจบก็คือ จะหางานทำหรือจะเรียนต่อ ป.โท ดีนะ ด้วยความที่คิดว่าตอนนั้น ไฟกำลังมี เลยตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนต่อ แต่ก็ยังส่งใบสมัครงานไปเผื่อเป็นแผนสอง
ณ เวลานั้น ประเทศที่อยากไปเรียนต่อออสเตรเลียและแคนาดา แต่สองประเทศนี้คนน่าจะอยากไปเยอะอยู่ โอกาสได้ทุนก็น่าจะยากเพราะส่วนตัวก็ไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรเท่าไหร่ (อาศัยอ่านหนังสือบ่อยๆ กะทบทวนหลายๆรอบ) พอดีมีเพื่อนคนนึงในกลุ่มแนะนำให้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับเรียนต่อที่ประเทศสวีเดนดู (แอบบอกว่าเพื่อนคนนี้เคยตั้งกระทู้แชร์ประสบการณ์กับบริษัท mobile application ระดับโลก ฮ่าๆ ไปสืบกันเอาเองนะครับ) ค้นไปค้นมาก็เจอทุนที่มีชื่อว่า The Sievert Larsson Scholarship เป็นทุนเฉพาะเจาะจงให้สำหรับคนไทยที่อยากเรียนต่อในระดับ ป.โท ที่ Chalmers University of Technology (เรียกสั้นๆว่า Chalmers) มหาวิทยาลัยระดับต้นๆของประเทศสวีเดน ก่อตั้งเมื่อปี 1829 เมือง Gothenborg ซึ่งเป็นหัวเมืองทางฝั่งตะวันตกของประเทศ
ว่าแล้วก็ไม่รอช้าศึกษาข้อมูลการสมัครเรียนต่อในสวีเดน จัดแจงเตรียมใบสมัครและเอกสารสำคัญสำหรับยื่นขอทุน มั่นใจว่าพร้อมสุดๆ แต่แล้วก็ต้องแห้วรับประทานเมื่อผลออกมา ผมได้ตอบรับเข้าเรียนแต่ไม่ได้ทุนในสาขาที่ต้องการ ตอนนั้นรู้สึกผิดหวังนิดๆ แต่ก็ปลอบใจตัวเองว่าอาจเป็นเพราะเราไม่ได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่เพียงพอ ประกอบกับในระหว่างนั้น บริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษที่เคยส่งใบสมัครไปเรียกสัมภาษณ์และตอบรับเข้าทำงานในตำแหน่ง Software Analyst เลยจำเป็นพักโครงการเรียนต่อไว้ก่อน แต่ก็ยังเตรียมตัวยื่นขอทุนสำหรับปีหน้า พร้อมกับมุ่งมั่นทำงานกอบโกยประสบการณ์และโอกาสอย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม
พอถึงเวลายื่นทุนปีที่สอง ผมก็เตรียมเอกสารเหมือนเดิมแต่คราวนี้ความพร้อมเกิน 100% จำได้ว่าทางมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และจะประกาศผลราวๆเดือนมีนาคม รอแล้วรอเล่าจนใกล้จะหมดเดือนก็ยังไม่มีวี่แววว่าได้รับข่าวดี คิดว่าคงต้องผิดหวังอีกแน่ๆปีนี้ แต่แล้วก็ได้รับอีเมลจากทางมหาวิทยาลัยว่าคณะกรรมการตัดสินแล้วว่าจะมอบทุนเต็มจำนวนซึ่งคลอบคลุมค่าเทอมตลอดระยะเวลาเรียนพร้อมค่าใช้เพียงพอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันตลอดสองปี (ป.โท ที่สวีเดนเรียนสองปี) ในสาขา MSc Software Engineering ปีการศึกษา 2014 และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นว่าผมมาอยู่ที่ประเทศสวีเดนได้อย่างไร
**สองปีใน Chalmers
หลังจากร่ำราครอบครัวอันเป็นที่รักและเดินทางข้ามทวีปมาสู่ดินแดนสแกนดิเนเวียอันเหน็บหนาว ไม่นานก็ถึงวันเปิดเรียน สำหรับตัวมหาวิทยาลัยนั้น มีสองแคมปันด้วยกัน แคมปัสหลักชื่อว่า Campus Johanneberg อยู่เขตตัวเมือง Gothenburg เป็นแคมปัสหลัก คณะส่วนใหญ่หรือแม้กระทั้งกิจกรรมของทางมหาลัยก็จะจัดที่นี่เป็นหลัก แคมปัสที่สองมีชื่อว่า Campus Lindholmen แคมปัสนี่ตั้งบนอยู่ริมแม่น้ำ Göta älv ที่ไหลผ่านกลางเมือง ซึ่งเป็นที่ๆภาควิชาของผมทำการเรียนการสอนสองปี
Campus Johanneberg
มาพูดถึงเรื่องการเรียนกันบ้าง โปรแกรม ป.โท ที่สวีเดนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด จึงตัดเรื่องปัญหาภาษาที่สามไปได้เลยว่าไม่จำเป็นต้องคล่องสวีดีชถึงจะสมัครเรียนได้ (อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งร้องโอ้โหว่าไม่ต้องเรียนภาษาสวีดิชก็ได้ อ่านไปเรื่อยๆแล้วเดี๋ยวจะรู้ครับ ฮ่าๆ) สังคมในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีความเป็น international มากเพราะนักศึกษาต่างชาติเยอะมาก คละไปตามแต่ละภาควิชา ภาษากลางที่ใช้ก็เลยต้องเป็นภาษาอังกฤษโดยปริยาย
Campus Johanneberg หน้าหนาว
ในภาควิชา Software Engineering หรือชื่อเต็มๆว่า Master's Programme of Software Engineering (MPSOF) ที่ผมเรียนนั้นมีนักศึกษาจำนวนประมาณ 60 กว่าคน พอเขียนมาถึงตอนนี้ผมนึกขึ้นได้ว่าลืมบอกไป ในเมือง Gothenburg มีมหาวิทยาลัยอยู่ 2 แห่งด้วยกันนั่นคือ Chalmers และ University of Gothenburg (GU) ซึ่งสองมหาวิทยาลัยนี้ บางภาควิชาเป็นภาควิชาร่วม หมายความว่านักศึกษาทั้งสองมหาลัยที่อยู่ภาควิชาเดียวกันจะมาเรียนรวมกันตลอดระยะเวลาจนจบหลักสูตร และ MPSOF ก็เป็นหนึ่งในภาควิชาร่วมที่ว่า แต่ถึงจะเรียนรวมกัน ทำโปรเจคเหมือนกัน การสอบใช้ข้อสอบเดียวกัน แต่การตัดเกรดไม่เหมือนกัน สำหรับ นักศึกษา Chalmers แต่ละวิชาจะมีการตัดเกรดแบบ European Credit Transfer and Accumulation System (ECTS) แบ่งเป็น 3 คือแค่ผ่าน 4 คือดีกว่าผ่านนิดนึงและ 5 คือผ่านแบบดีเยี่ยม แต่สำหรับนักศึกษา GU จะมีแต่ผ่านกับไม่ผ่านเท่านั้นไม่มีเกรดเป็นตัวเลข
Campus Lindholmen
เทอมจะแบ่งออกเป็นปีละ 2 period คือ autumn (ปลายสิงหาคมถึงกลาวเดือนมกราคม) และ spring (กลางเดือนมกราคมถึงราวๆต้นเดือนมิถุนายน) รวมทั้งหมดเป็ฯ 4 period ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกเรียน coursework 3 period+ธีสิส 1 period หรืออย่างละครึ่งๆก็ได้ รายละเอียดว่า period นึงเรียนอะไรบ้างข้ามละกันครับเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อเกินไป
ในคาบที่ต้องเข้าห้องเรียนอาจารย์แต่ละวิชา (ที่สวีเดนไม่ต้องเรียกว่า profressor สามารถเรียกชื่อจริงได้เลย) จะให้ความรู้ด้านทฤษฏี ก็ต้องเข้าไปฟัง lecture ตามปกติ ส่วนของการทำโปรเจคมีทุกวิชา ซึ่งนักศึกษาต้องทำเป็นกลุ่ม บางครั้งก็ให้จับกลุ่มกันเอง แต่ส่วนมากคนสอนหรือคนช่วยซึ่งเป็นนักศึกษา ป.เอก เป็นคนจับกลุ่มให้
ความสนุกส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเมื่ออาจารย์จับกลุ่มให้ ได้ทำโปรเจคกับคนหลากหลายเชื้อชาติ ผมและเพื่อนๆเคยพูดกันสนุกๆถึงเรื่องนี้บ่อยๆ ถึงกับตั้งฉายาขำๆให้แต่ละประเทศ เช่น สวีเดนสายประชุม เยอรมันสายเป๊ะ เป็นต้น (จริงๆมีสายอู้ สายด่ากราด สายเสมอ สายมีนัดหมอทุกครั้งที่มีประชุมโปรเจคด้วย แต่จะไม่กล่าวถึงเพื่อป้องกันการดราม่าในกระทู้ครับ)
บรรยากาศในห้องเรียน
**ฝึกงานที่ Ericsson
หลังจากจบปีแรกซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ผมได้มีโอกาสได้ฝึกงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารสัญชาติสวีเดนอย่าง Ericsson จริงๆทางมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับ ไม่มีการเก็บหน่วยกิตใดๆ แต่ไหนๆก็มีโอกาสได้มาถึงสวีเดนแล้วก็น่าจะลองหางานทำดู หาประสบการณ์และเป็นการทดสอบว่าการหางานในสวีเดนยากไหม ความสามารถอย่างเรานี่บริษัทที่นี่จะรับทำงานหรือเปล่า ก่อนหน้าที่จะปิดเทอมสองเดือนผมเริ่มยื่นใบสมัครโปรแกรมฝึกงานตามบริษัทใหญ่ๆต่างๆ เอกสารหลักๆก็เหมือนกับสมัครงานทั่วไปคือต้องมี CV กับ cover letter เป็นหลัก สำหรับ CV ผมโละของเก่าทิ้ง ลงทุนใช้ Photoshop ทำให้ดูเป็น graphic info ขึ้นมากกว่าแค่ text ธรรมดา ด้วยความคิดว่าเราเป็นชาวต่างชาติ คุณสมบัติทางเทคนิคอาจจะพอสู้คนที่นี่ได้แต่สกิลการทำงานต่างแดนยังไม่มี ไม่รู้ว่าสไตล์การทำงานแบบสวีดิชหรือแบบยุโรปเป็นอย่างไร ผมเลยพยายามทำให้ CV โดดเด่น ส่วน cover letter ผมก็เขียนขึ้นใหม่ทุกฉบับที่ยื่นเพื่อให้ตรงกับ objectives ของแต่ละตำแหน่งฝึกงานมากที่สุด จนได้เข้ารอบถูกเรียกไปสัมภาษณ์บริษัทตลาดหลักทรัพย์อันดับสองของอเมริกาอย่าง Nasdaq ที่ Stockholm แต่ก็ไม่ได้ไปสัมภาษณ์รอบสุดท้ายเพราะทาง Ericsson ตอบรับก่อนให้เข้าไปฝึกงานในตำแหน่ง web frontend developer หรือเรียกง่ายๆคือเขียนเว็บล่ะครับ
ตึกทางซ้ายมือในรูปคือ Ericsson
ที่ทำงานค่อนข้างที่จะต่างจากที่ไทย (ขอไว้ไปเล่าในชีวิตการทำงานใน Volvo นะครับ) หรือแม้แต่ใน Chalmers พอสมควร แต่ยังคงคอนเซปสไตล์สวีดีชคือประชุม ประชุม แล้วก็ประชุม ที่ Ericsson หลักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางทำงาน แต่เวลาพูดคุยกันเล่นๆนั้นในออฟฟิศนั้น ชาวสวีก็จะใช้ภาษาสวีดีชเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแตกต่างจากใน Chalmers ตรงที่ในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไรก็ตามทุกคนจะใช้ภาษาอังกฤษหมดแม้แต่คนสวีด้วยกันเองคุยกันก็ใช้ภาษาอังกฤษ เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งเพื่อนสองคนเป็นคนสวีทั้งคู่ยืนคุยกันอยู่ ผมเดินเข้าไปทักก็ได้ยินว่าเค้าคุยเป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยถามว่าทำไมพูดอังกฤษ เค้าสองคนก็ว่า เออ ทำไมไม่คุยสวีดีชกันนะ กลายเป็นเรื่องขำขันกันไป
การทำงานที่ Ericsson เป็นแบบ Agile ซะส่วนใหญ่ ทุกๆเช้าก็จะมี standup meeting ตามคอนเซป Agile รายงานหัวหน้าทีมว่าเมื่อวานทำอะไร วันนี้แพลนจะทำอะไร หลังจากนั้นก็จะแยกย้ายกันไปทำงานของตัวเอง
งานที่นั้นเป็นโปรเจคเล็กๆทำเว็บไซต์ ขอไม่ลงรายละเอียดงานเนื่อยจากไม่ได้ขออนุญาติทางบริษัทเพื่อนำมาเผยแพร่ แต่จะขอพูดเกี่ยวกับโปรเซสในการทำงาน คืออย่างที่บอกคือสไตล์การทำงานนั้นเป็นแบบ Agile นอกจาก standup meeting ทุกๆเช้าแล้ว ยังมีประชุมทุกๆสองสัปดาห์กับทาง stakeholder ซึ่งก็คือคนที่คิดโปรเจคฝึกงานนั่นเอง ในการประชุมแต่ละครั้งนั้นก็จะเก็บ requirements และนำเสนอ prototype เว็บเพื่อดู feedback ว่าต้องปรับปรุงตรงไหน หรือเพิ่ม feature อะไรอีก หลังจากประชุมเสร็จ เด็กฝึกงานก็จะมาถกเถียงกัน breakdown งานเป็นชิ้นย่อยๆ เขียนใส่ post-it ทำ scrum board เพื่อแจกจ่ายงานและดูว่าควรจะทำงานย่อยไหนก่อนหลัง
สำหรับเรื่องอาหารนั้นในบริษัทมีโรงอาหารของตัวเอง ซึ่งขายอาหารแยกประเภทเป็นสลัดบาร์ อาหารเอเซียน เป็นต้น นอกจากร้านอาหารก็ยังมีโซนไมโครเวฟสำหรับคนที่ทำกับข้าวมากินเอง พูดถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นได้ว่าสิ่งที่ชอบอย่างหนึ่งคือคนที่นี่ส่วนมากมักทำอาหารมากินเองที่ออฟฟิศและมาซื้อสลัดบาร์จานเล็กๆกินคู่ เพราะฉะนั้นตอนกลางวันห้องไมโครเวฟที่นี้จะคนเยอะมาก จะเวฟข้าวทีนึงต้องต่อคิวยาวทีเดียว เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเจอตอนอยู่ไทย อาจจะเจอบ้างตอนทำงานแต่ส่วนมากก็จะออกไปกินข้าวข้างนอกเพราะบ้านเราซื้อกินราคาถูกกว่าหรือพอๆกับซื้อวัตถุดิบมาทำเองเนอะ
ด้านหน้าบริษัท