การแปลบทความนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯเมื่อวานนะคะ
เพียงแค่เห็นว่ามีหลายท่านสนใจและพูดคุยเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายด้วยรถไฟที่ญี่ปุ่น เลยอยากแบ่งปันค่ะ
--
ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับสูง และนับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก
ที่สถานีรถไฟสถานีหนึ่งในกรุงโตเกียว ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นจุดกระทำอัตวินิบาตกรรม
ก็ได้พยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหยุดผู้คนจากการคร่าชีวิตตนเอง
สถานีรถไฟชิน-โคอิวะในโตเกียวเป็นหนึ่งในจุดที่ขึ้นชื่อเรื่องการฆ่าตัวตายในประเทศญี่ปุ่น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายที่สถานีแห่งนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า
ช่วงระหว่างปี 2011 และ 2013 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่สถานีนี้ทั้งหมด 13 ครั้ง บางเหตุการณ์เหมือนจะเป็นการฆ่าตัวตาย
ขณะที่เหตุการณ์อื่นๆเป็นไปได้ว่าอาจเป็นการพลัดตกลงไปในรางรถไฟ
โดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกก็ได้พิจารณาถึงการติดตั้งรั้วกั้นบนชานชาลาสถานี
ในกรุงโตเกียว มีหลายสถานีที่ติดตั้งรั้วกั้นเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
(และป้องกันการพลัดตกลงบนรางรถไฟ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้)
เว็บไซต์ของญี่ปุ่นมีบทความที่มีข้อมูลเรื่องการจัดการกับปัญหาการฆ่าตัวตาย
โดยชี้ให้เห็นว่าในบางสถานีรถไฟนั้นได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อครอบครัวของผู้ที่กระโดดให้รถไฟชน
ซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนไร้หัวจิตหัวใจ แต่กรณีแบบนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้มาฆ่าตัวตายที่สถานีรถไฟเพิ่มในอนาคต
อ้างอิงจากเว็บไซต์ 2ch หนึ่งในเว็บฟอรัมที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งไปที่สถานีชิน-โคอิวะล่าสุด(บทความเมื่อปี 2015)
ดูเหมือนว่ารั้วกั้นบนชานชลานั้นยังไม่ได้ถูกติดตั้ง ในขณะเดียวกันทางสถานีก็ได้หาวิธีอื่นๆเพื่อหยุดการกระทำอัตวินิบาตกรรม
หลังคาบางส่วนถูกคลุมด้วยพลาสติกสีฟ้าเพื่อให้มีแสงสีฟ้าส่องลงมาสู่ชานชาลา
และที่ชานชาลาก็ยังมีป้ายข้อความสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายให้ประชาชนโทรไปปรึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มีการแจกกระดาษชำระที่มีเบอร์สายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายแนบเอาไว้
มีปุ่มกดฉุกเฉินให้ประชาชนกดเมื่อพบเห็นบุคคลกระโดดหรือพลัดตกลงไปบนรางรถไฟ (หรือเหตุการณ์ติดอยู่ระหว่างประตูโดยสาร)
ซึ่งทางสถานีมีพื้นที่เพื่อให้ได้ฝึกการกดปุ่มจำลองนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงสถานการณ์รอบข้างและคาดหวังว่าจะช่วยชีวิตประชาชนได้
ที่สถานีมีจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ถึงสามจอ ซึ่งโชว์คลิปอันน่ารื่นรมย์ใต้น้ำของเจ้าปลาโลมาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
เช่นเดียวกับภาพทิวทัศน์บนภูเขาและมหาสมุทร ภาพเหล่านั้นต่างอยู่ในโทนสีฟ้าซึ่งให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และประโลมจิตใจ
และบางครั้ง ก็เป็นภาพของเหล่าลูกแมวตัวน้อยๆ
รั้วกั้นอาจช่วยได้มากในการป้องกันไม่ให้ประชาชนตกลงไปในรางรถไฟ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจงใจจะฆ่าตัวตายหรือพลัดตกลงไปเองก็ตาม
แต่ปัญหาที่ฝังรากลึกที่จำเป็นจะต้องพูดถึง อย่างเช่นความเข้าใจและการยอมรับของชาวญี่ปุ่นเรื่องการเข้ารับปรึกษาและจัดการปัญหาความเครียดและปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ในทุกวันนี้ผู้คนยังมองว่ามันเป็นความอัปยศอดสู ซึ่งมันไม่ควรเป็นเช่นนั้น
---
cr: http://kotaku.com/inside-tokyos-infamous-suicide-train-station-1705985393
++ สถานีรถไฟในญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในการฆ่าตัวตาย ++
เพียงแค่เห็นว่ามีหลายท่านสนใจและพูดคุยเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายด้วยรถไฟที่ญี่ปุ่น เลยอยากแบ่งปันค่ะ
--
ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับสูง และนับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก
ที่สถานีรถไฟสถานีหนึ่งในกรุงโตเกียว ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นจุดกระทำอัตวินิบาตกรรม
ก็ได้พยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหยุดผู้คนจากการคร่าชีวิตตนเอง
สถานีรถไฟชิน-โคอิวะในโตเกียวเป็นหนึ่งในจุดที่ขึ้นชื่อเรื่องการฆ่าตัวตายในประเทศญี่ปุ่น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายที่สถานีแห่งนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า
ช่วงระหว่างปี 2011 และ 2013 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่สถานีนี้ทั้งหมด 13 ครั้ง บางเหตุการณ์เหมือนจะเป็นการฆ่าตัวตาย
ขณะที่เหตุการณ์อื่นๆเป็นไปได้ว่าอาจเป็นการพลัดตกลงไปในรางรถไฟ
โดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกก็ได้พิจารณาถึงการติดตั้งรั้วกั้นบนชานชาลาสถานี
ในกรุงโตเกียว มีหลายสถานีที่ติดตั้งรั้วกั้นเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
(และป้องกันการพลัดตกลงบนรางรถไฟ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้)
เว็บไซต์ของญี่ปุ่นมีบทความที่มีข้อมูลเรื่องการจัดการกับปัญหาการฆ่าตัวตาย
โดยชี้ให้เห็นว่าในบางสถานีรถไฟนั้นได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อครอบครัวของผู้ที่กระโดดให้รถไฟชน
ซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนไร้หัวจิตหัวใจ แต่กรณีแบบนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้มาฆ่าตัวตายที่สถานีรถไฟเพิ่มในอนาคต
อ้างอิงจากเว็บไซต์ 2ch หนึ่งในเว็บฟอรัมที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งไปที่สถานีชิน-โคอิวะล่าสุด(บทความเมื่อปี 2015)
ดูเหมือนว่ารั้วกั้นบนชานชลานั้นยังไม่ได้ถูกติดตั้ง ในขณะเดียวกันทางสถานีก็ได้หาวิธีอื่นๆเพื่อหยุดการกระทำอัตวินิบาตกรรม
หลังคาบางส่วนถูกคลุมด้วยพลาสติกสีฟ้าเพื่อให้มีแสงสีฟ้าส่องลงมาสู่ชานชาลา
และที่ชานชาลาก็ยังมีป้ายข้อความสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายให้ประชาชนโทรไปปรึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มีการแจกกระดาษชำระที่มีเบอร์สายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายแนบเอาไว้
มีปุ่มกดฉุกเฉินให้ประชาชนกดเมื่อพบเห็นบุคคลกระโดดหรือพลัดตกลงไปบนรางรถไฟ (หรือเหตุการณ์ติดอยู่ระหว่างประตูโดยสาร)
ซึ่งทางสถานีมีพื้นที่เพื่อให้ได้ฝึกการกดปุ่มจำลองนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงสถานการณ์รอบข้างและคาดหวังว่าจะช่วยชีวิตประชาชนได้
ที่สถานีมีจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ถึงสามจอ ซึ่งโชว์คลิปอันน่ารื่นรมย์ใต้น้ำของเจ้าปลาโลมาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
เช่นเดียวกับภาพทิวทัศน์บนภูเขาและมหาสมุทร ภาพเหล่านั้นต่างอยู่ในโทนสีฟ้าซึ่งให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และประโลมจิตใจ
และบางครั้ง ก็เป็นภาพของเหล่าลูกแมวตัวน้อยๆ
รั้วกั้นอาจช่วยได้มากในการป้องกันไม่ให้ประชาชนตกลงไปในรางรถไฟ ไม่ว่าเขาผู้นั้นจงใจจะฆ่าตัวตายหรือพลัดตกลงไปเองก็ตาม
แต่ปัญหาที่ฝังรากลึกที่จำเป็นจะต้องพูดถึง อย่างเช่นความเข้าใจและการยอมรับของชาวญี่ปุ่นเรื่องการเข้ารับปรึกษาและจัดการปัญหาความเครียดและปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ในทุกวันนี้ผู้คนยังมองว่ามันเป็นความอัปยศอดสู ซึ่งมันไม่ควรเป็นเช่นนั้น
--- cr: http://kotaku.com/inside-tokyos-infamous-suicide-train-station-1705985393