สภาวิศวกร-สภาสถาปนิกไทยไม่ขัดม.44แล้ว
ยินดีบนความเป็นธรรมการถ่ายโอนเทคโนโลยี ยันรักษาปกป้องก.ม.วิศวกรอย่างเต็มที่ พร้อมเตรียมเข้าร่วมหารือผู้แทนจีน 21 มิ.ย.
เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 19 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาวิศวกรเข้าหารือการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน หลังคสช.ออกคำสั่งมาตรา 44 แก้ไขปัญหาการก่อสร้างที่สถาปนิกวิศวกรจีนไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้ เพราะติดเรื่องบัตรอนุญาต ภายการประชุม นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า นายวิษณุ รองได้อธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นในการออกคำสั่งคสช.ฉบับดังกล่าว เพื่อยกเว้นกฎหมายบางข้อเพื่อให้โครงการนั้นเดินต่อไปได้ ซึ่งส่วนที่ยกเว้นคือยกเว้นในฝ่ายไทยไม่เกี่ยวกับจีน เพราะการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นคนทำโครงการ อย่างไรก็ตามในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นต้องมีวิศวกรของไทยเข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว ในเงื่อนไขต่อไปในการร่างสัญญาก็จะมีการบรรจุเรื่องดังกล่าวในตัวสัญญา ซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างจะมีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ยังจะต้องมีการอบรมเรื่องธรณีวิทยา เพื่อให้รู้ลักษณะของโครงสร้างต่างๆ และยังมีเรื่องของจรรยาบรรณ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเรื่องความปลอดภัยที่ทางเราจะจัดอบรมให้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญา ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตของเรา ซึ่งทางจีนยังมีข้อกังวลอยู่เหมือนกัน แต่เพื่อหาจุดตรงกลาง โดยที่เอาประโยชน์ของประเทศชาติคือความปลอดภัยของโครงสร้างเป็นสำคัญ
ด้านนายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า ผู้แทนประเทศจีน จะเข้ามาในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ ซึ่งทางสภาวิศวกรไทย จะไปหารือการพัฒนาหลักสูตร และมาคุยกับทางการจีน ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งคสช. ที่ให้กระทรวงคมนาคมตั้งกรรมการขึ้นมา โดยประสานกับสภาวิชาชีพวิศวกร อย่างไรก็ตามทางไทยจะพยายามรักษากฎหมายวิศวกรอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันไม่สามารถที่จะขัดแย้งคำสั่งคสช.ได้ ฉะนั้นวิธีการดีที่สุด คือ ทำให้ทางการจีนมีความรู้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นรับประกันด้านความปลอดภัยในการดำเนินงานในโครงการนี้ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของสภาวิศวกรไทย ทั้งนี้สภาวิศวกร จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการถ่ายโอนเทคโนโลยี อย่างเป็นรูปธรรม
โดยการหารือนายวิษณุได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่ออกมาตรา 44โดยขอให้สภาวิชาชีพช่วยเหือรัฐบาลในการกำหนด ว่าจะถ่ายโอนเทคโนโลยีอย่างไร พร้อมช่วยให้ความรู้ อบรม ทดสอบวิศวกรจีน ที่จะให้เขามีความรู้อย่างแท้จริง และมาปฎิบัติงานในประเทศไทย
อ้างอิงจาก
http://www.banmuang.co.th/news/politic/83530
สภาวิศวกร-สภาสถาปนิกไทยไม่ขัดม.44แล้วหลังจากคุยลงตัวกับรัฐบาล พร้อมสนับสนุนเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง
ยินดีบนความเป็นธรรมการถ่ายโอนเทคโนโลยี ยันรักษาปกป้องก.ม.วิศวกรอย่างเต็มที่ พร้อมเตรียมเข้าร่วมหารือผู้แทนจีน 21 มิ.ย.
เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 19 มิ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาวิศวกรเข้าหารือการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน หลังคสช.ออกคำสั่งมาตรา 44 แก้ไขปัญหาการก่อสร้างที่สถาปนิกวิศวกรจีนไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้ เพราะติดเรื่องบัตรอนุญาต ภายการประชุม นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า นายวิษณุ รองได้อธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นในการออกคำสั่งคสช.ฉบับดังกล่าว เพื่อยกเว้นกฎหมายบางข้อเพื่อให้โครงการนั้นเดินต่อไปได้ ซึ่งส่วนที่ยกเว้นคือยกเว้นในฝ่ายไทยไม่เกี่ยวกับจีน เพราะการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นคนทำโครงการ อย่างไรก็ตามในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นต้องมีวิศวกรของไทยเข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว ในเงื่อนไขต่อไปในการร่างสัญญาก็จะมีการบรรจุเรื่องดังกล่าวในตัวสัญญา ซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างจะมีความชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ยังจะต้องมีการอบรมเรื่องธรณีวิทยา เพื่อให้รู้ลักษณะของโครงสร้างต่างๆ และยังมีเรื่องของจรรยาบรรณ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเรื่องความปลอดภัยที่ทางเราจะจัดอบรมให้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญา ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตของเรา ซึ่งทางจีนยังมีข้อกังวลอยู่เหมือนกัน แต่เพื่อหาจุดตรงกลาง โดยที่เอาประโยชน์ของประเทศชาติคือความปลอดภัยของโครงสร้างเป็นสำคัญ
ด้านนายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า ผู้แทนประเทศจีน จะเข้ามาในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ ซึ่งทางสภาวิศวกรไทย จะไปหารือการพัฒนาหลักสูตร และมาคุยกับทางการจีน ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งคสช. ที่ให้กระทรวงคมนาคมตั้งกรรมการขึ้นมา โดยประสานกับสภาวิชาชีพวิศวกร อย่างไรก็ตามทางไทยจะพยายามรักษากฎหมายวิศวกรอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันไม่สามารถที่จะขัดแย้งคำสั่งคสช.ได้ ฉะนั้นวิธีการดีที่สุด คือ ทำให้ทางการจีนมีความรู้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นรับประกันด้านความปลอดภัยในการดำเนินงานในโครงการนี้ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของสภาวิศวกรไทย ทั้งนี้สภาวิศวกร จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการถ่ายโอนเทคโนโลยี อย่างเป็นรูปธรรม
โดยการหารือนายวิษณุได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่ออกมาตรา 44โดยขอให้สภาวิชาชีพช่วยเหือรัฐบาลในการกำหนด ว่าจะถ่ายโอนเทคโนโลยีอย่างไร พร้อมช่วยให้ความรู้ อบรม ทดสอบวิศวกรจีน ที่จะให้เขามีความรู้อย่างแท้จริง และมาปฎิบัติงานในประเทศไทย
อ้างอิงจาก
http://www.banmuang.co.th/news/politic/83530