สวัสดีค่ะ
ประเด็นนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันในมหาวิทยาลัยของเราช่วงที่เรียนอยู่ อยากทราบว่า เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ที่เรียนเอกด้านภาษาเช่น เอกภาษาอังกฤษ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไง เวลาที่เข้าสอบวิชาแปลภาษาค่ะ อาจารย์อนุญาตให้นำดิกชันนารีเข้าห้องสอบได้หรือเปล่า ? และ คิดว่า ควรหรือ ไม่ควรให้เอาเข้าคะ ?
จำได้ว่าตอนเรียนวิชาการแปลของอาจารย์ท่านหนึ่ง จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังต้นๆของประเทศ อาจารย์พยายามขอกับทางคณะกรรมการการสอบว่า วิชาแปล ให้สามารถนำดิกชันนารีเข้าห้องสอบได้ เพราะจริงๆหลักของวิชาแปลคือ
การถ่ายทอดความหมายของข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยยังรักษารูปแบบของข้อความไว้ได้ตรงตามต้นฉบับ ไม่ใช่วิชาจำคำศัพท์ โดยอาจารย์ก็ยังเปรียบเทียบกับ นักศึกษาเอกบัญชี ที่สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าห้องสอบได้ แต่ผลสรุปคือ ทางคณะกรรมการไม่อนุญาติให้นำดิกชันนารีเข้าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ปล. ไม่ได้เข้าข้างตัวเองนะคะ เราเล่าให้ฟังค่ะ ตามเหตุผลของอาจารย์ท่านที่สอนวิชาการแปลของเราค่ะ
สอบบัญชีสามารถเอาเครื่องคิดเลขเข้าสอบได้ แล้วถ้าเป็นวิชาการแปลล่ะ ควรให้เอาดิกชันนารีเข้าห้องสอบได้ไหม ?
ประเด็นนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันในมหาวิทยาลัยของเราช่วงที่เรียนอยู่ อยากทราบว่า เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ที่เรียนเอกด้านภาษาเช่น เอกภาษาอังกฤษ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไง เวลาที่เข้าสอบวิชาแปลภาษาค่ะ อาจารย์อนุญาตให้นำดิกชันนารีเข้าห้องสอบได้หรือเปล่า ? และ คิดว่า ควรหรือ ไม่ควรให้เอาเข้าคะ ?
จำได้ว่าตอนเรียนวิชาการแปลของอาจารย์ท่านหนึ่ง จบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังต้นๆของประเทศ อาจารย์พยายามขอกับทางคณะกรรมการการสอบว่า วิชาแปล ให้สามารถนำดิกชันนารีเข้าห้องสอบได้ เพราะจริงๆหลักของวิชาแปลคือ การถ่ายทอดความหมายของข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยยังรักษารูปแบบของข้อความไว้ได้ตรงตามต้นฉบับ ไม่ใช่วิชาจำคำศัพท์ โดยอาจารย์ก็ยังเปรียบเทียบกับ นักศึกษาเอกบัญชี ที่สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าห้องสอบได้ แต่ผลสรุปคือ ทางคณะกรรมการไม่อนุญาติให้นำดิกชันนารีเข้าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ปล. ไม่ได้เข้าข้างตัวเองนะคะ เราเล่าให้ฟังค่ะ ตามเหตุผลของอาจารย์ท่านที่สอนวิชาการแปลของเราค่ะ