***** สำหรับท่านที่อ่านและดู หนังสือและหนังทั้งสามเรื่องนี้แล้วนะครับ เพราะเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง *****
เคยอ่านนิทานปรัชญาของวอลแตร์ อยู่เรื่องหนึ่งนานมากแล้ว ผมค่อนข้างประทับใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เรื่องเกี่ยวกับ(จำได้คลับคล้ายคลับคลานะครับ ขี้เกียจไปอ่านซ้ำครับ แหะๆ ^^) มีเทพถูกส่งมายังโลก เพราะต้องการทำลายล้างมนุษย์ ตอนแรกๆ ก็มาเจอแต่ด้านมืดของมนุษย์ เจอแต่ความชั่วของมนุษย์ เทพก็เลยคิดในใจว่า มนุษย์ช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้ายมาก สมควรแล้วที่จะต้องถูกทำลายล้าง แต่อยู่ๆไป ก็เห็นด้านดีของมนุษย์ ก็เลยเปลี่ยนใจไม่ทำลายล้าง เนื้อเรื่องประมาณนี้ (อาจจะไปเป๊ะนะครับ เพราะอ่านนานมากเเล้ว)
หลังจากนั้นผมได้ดูหนังเรื่อง the day the earth stood พบว่าประเด็นหลักๆของเรื่องค่อนข้างจะคล้ายๆกันเลย คือมนุษย์มีความชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านที่ดีเหมือนกัน มีคนดีอยู่เหมือนกัน มีความรัก ความศรัทธา ความเสียสละ
พอมาได้ดู wonder woman ก็ทำให้นึกถึงสองเรื่องก่อนหน้าที่ผมพูดถึงขึ้นมาเลย คือมนุษย์มีความชั่ว ความโหดร้าย ทำลาย ทำร้ายกันเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีด้านดีอยู่ มีคนดีอยู่ มีศรัทธา มีความเสียสละ มีความรัก
ผมไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารวงการหนังมากนัก ไม่ได้ติดตามการสร้างหนังเรื่อง wonder woman เลย เห็นทีแรกก็ลองหาข้อมูลว่าใครเป็นผู้กำกับ เพราะปกติผมจะติดตามหนังหรือจะดูหนัง ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนหลักเลยคือผู้กำกับ ก็เลยเห็นว่าเป็น Patty Jenkins รับหน้าที่กำกับ
ตอนแรก็เเปลกใจนิดหน่อย ว่าทำไมถึงเลือกเธอมากำกับ หรือทำไมเธอถึงได้มากำกับเรื่องนี้ หรือทำไมเธอถึง รับงานนี้ (ผมไม่ได้ติดตามข่าวสารนะครับ) เพราะก่อนหน้านี้ผมเคยดูหนังของเธอเรื่องเดียวคือ Monster
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Monster ดูแล้วผมค่อนข้างชอบนะครับ Charlize Theron ก็แสดงได้ยอดเยี่ยมมาก คือดูแล้วเธอเปลี่ยนตัวเองไปเลย ดูแล้วเหมือนไม่ใช่ Charlize Theron เลย ทำให้นึกถึง robert de niro จากหนังเรื่อง raging bull เลย (แตกต่างกันตรง raging bull ค่อนข้างจะดูยากกว่าพอสมควร) และทั้งคู่ก็ได้รางวัลออสการ์ทั้งคู่ ซึ่งผมก็ว่าสมควรได้ด้วยประการทั้งปวง
แต่พอดู wonder woman จบผมก็พอเข้าใจนะครับว่าทำไมถึงเลือก Patty Jenkins กำกับ
เพราะหนังเหมือนจะเป็นการมองโลกในแง่ดี ในแง่มีความหวัง และมีศรัทธา หรือพยายามเข้าใจมนุษย์ (ผมเดาเอาเองนะครับ ^^)
ดูจากผมงานเรื่องก่อนหน้าของเธอ
สรุป ประเด็นที่ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านดีอยู่ ยังมีคนดีอยู่ ผมเห็นบ่อยอยู่เหมือนกันนะครับ
คิดว่าทำไมประเด็นนี้ถูกนำเสนออยู่เรื่อยๆ หรือว่าส่วนหนึ่งเพราะว่าเราเป็นมนุษย์ ก็เลยมองแบบเข้าข้างตัวเอง หรือว่าแท้จริงแล้วผู้แต่ง(รวมถึงอยากให้คนอ่านหรือคนดู) มองโลกในแง่ดี มองแบบมีศรัทธา ซึ่งผมว่ามันเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิคและกินใจผมมากนะครับ คืออ่านหรือดูก็ค่อนข้างทำให้เรามองโลกในแง่ดี หรือมีศรัทธาและมีความหวังมากขึ้น
ไม่ทราบว่าคิดอย่างไรกันบ้างครับ
ขอบคุณมากครับ
จาก นิทานปรัชญาของวอลแตร์ ,the day the earth stood still สู่ wonder woman (Spoil)
เคยอ่านนิทานปรัชญาของวอลแตร์ อยู่เรื่องหนึ่งนานมากแล้ว ผมค่อนข้างประทับใจ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากนั้นผมได้ดูหนังเรื่อง the day the earth stood พบว่าประเด็นหลักๆของเรื่องค่อนข้างจะคล้ายๆกันเลย คือมนุษย์มีความชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านที่ดีเหมือนกัน มีคนดีอยู่เหมือนกัน มีความรัก ความศรัทธา ความเสียสละ
พอมาได้ดู wonder woman ก็ทำให้นึกถึงสองเรื่องก่อนหน้าที่ผมพูดถึงขึ้นมาเลย คือมนุษย์มีความชั่ว ความโหดร้าย ทำลาย ทำร้ายกันเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีด้านดีอยู่ มีคนดีอยู่ มีศรัทธา มีความเสียสละ มีความรัก
ผมไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารวงการหนังมากนัก ไม่ได้ติดตามการสร้างหนังเรื่อง wonder woman เลย เห็นทีแรกก็ลองหาข้อมูลว่าใครเป็นผู้กำกับ เพราะปกติผมจะติดตามหนังหรือจะดูหนัง ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนหลักเลยคือผู้กำกับ ก็เลยเห็นว่าเป็น Patty Jenkins รับหน้าที่กำกับ
ตอนแรก็เเปลกใจนิดหน่อย ว่าทำไมถึงเลือกเธอมากำกับ หรือทำไมเธอถึงได้มากำกับเรื่องนี้ หรือทำไมเธอถึง รับงานนี้ (ผมไม่ได้ติดตามข่าวสารนะครับ) เพราะก่อนหน้านี้ผมเคยดูหนังของเธอเรื่องเดียวคือ Monster
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่พอดู wonder woman จบผมก็พอเข้าใจนะครับว่าทำไมถึงเลือก Patty Jenkins กำกับ
เพราะหนังเหมือนจะเป็นการมองโลกในแง่ดี ในแง่มีความหวัง และมีศรัทธา หรือพยายามเข้าใจมนุษย์ (ผมเดาเอาเองนะครับ ^^)
ดูจากผมงานเรื่องก่อนหน้าของเธอ
สรุป ประเด็นที่ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านดีอยู่ ยังมีคนดีอยู่ ผมเห็นบ่อยอยู่เหมือนกันนะครับ
คิดว่าทำไมประเด็นนี้ถูกนำเสนออยู่เรื่อยๆ หรือว่าส่วนหนึ่งเพราะว่าเราเป็นมนุษย์ ก็เลยมองแบบเข้าข้างตัวเอง หรือว่าแท้จริงแล้วผู้แต่ง(รวมถึงอยากให้คนอ่านหรือคนดู) มองโลกในแง่ดี มองแบบมีศรัทธา ซึ่งผมว่ามันเป็นประเด็นที่ค่อนข้างคลาสสิคและกินใจผมมากนะครับ คืออ่านหรือดูก็ค่อนข้างทำให้เรามองโลกในแง่ดี หรือมีศรัทธาและมีความหวังมากขึ้น
ไม่ทราบว่าคิดอย่างไรกันบ้างครับ
ขอบคุณมากครับ