พลานาเรีย เป็นหนอนตัวแบนขนาดจิ๋วประมาณ 1 ซม. มันมีฉายาว่าหนอนอมตะฆ่าไม่ตาย เนื่องจากถึงแม้จะหั่นมันกี่ท่อนก็ตามมันก็จะงอกขึ้นใหม่ ที่สุดยอดคือทุกท่อนที่หั่นจะกลายเป็นหนอนตัวใหม่ด้วย หั่นเป็นสิบท่อนก็จะงอกขึ้นมาสิบตัว พลังในการฟื้นตัวนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีไอเดียศึกษาการทำงานของเซลล์ในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง โดยส่งไปวิจัยถึงบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
การทดลองหั่นพลานาเรียเป็นชิ้น ๆ ในรายการทีวีญี่ปุ่น
นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งพลานาเรียไปสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีครบทั้งตัว อีกกลุ่มมี 15 ตัวโดนหั่นแยกเป็นสามชิ้น ส่วนหัว ส่วนตัวและส่วนหาง และปล่อยให้อยู่บน ISS 5 สัปดาห์ด้วยกันก่อนถูกส่งกลับมาดูผลบนโลก นักวิจัยได้นำมันเทียบกับพลานาเรียที่อยู่บนโลก และเฝ้าดูมันต่ออีก 2 เดือนเพื่อคอนเฟิร์มว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นถาวรจริง ๆ
แผนการวิจัยโดยพลานาเรียจะถูกหันเป็นสามชิ้นแล้วแพ็กส่งขึ้นอวกาศไปทันที
พวกเขาพบสิ่งที่ต่างกันหลายอย่างระหว่างหนอนอวกาศกับบนโลก อย่างแรกคือหนอนอวกาศเจอประสบการณ์ "water shock" มันม้วนตัวและแข็งนิ่งในชั่วโมงแรกที่ลงกลับมาบนโลกและกลับเป็นปกติเมื่อผ่านไปสองชั่วโมง
สภาพหนอนเทียบกัน AB คือหนอนบนโลก CD คือหนอนอวกาศ โดยหนอนอวกาศจะม้วนตัวนิ่งไม่ขยับหลังจากลงมาบนโลก
แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดคือหนอนตัวหนึ่งที่ถูกหั่นหัวและหางออก ส่วนกลางของมันกลับงอกมีสองหัวในปลายทั้งสองด้านซึ่งหายากมาก งานวิจัยบนโลกไม่ได้พบเจอมากกว่า 18 ปีแล้ว แม้แต่งานวิจัยหนอนกว่า 15,000 ตัวตลอดห้าปีก็ไม่พบการงอกแบบนี้ แต่ตัวอย่างเพียงแค่ 15 ตัวกลับพบหนอนที่หายากขึ้นมา
หนอนสองหัว
ยังไม่พอนักวิจัยยังเอาหนอนสองหัวนั้นมาหั่นต่ออีกโดยหั่นเป็นสามท่อนเหมือนเดิม ผลคือท่อนกลางที่ไร้หัวกลับงอกหัวขึ้นมาสองด้านอีก ทำให้สรุปได้เบื้องต้นว่าผลของการเปลี่ยนเป็นสองหัวยังคงอยู่ แม้จะถูกหั่นแหละฟื้นไปแล้ว
นักวิจัยยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าทำไมหนอนตัวนี้ถึงงอกออกมาสองด้าน อาจเป็นเพราะภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ไร้สนามเหล็ก ความเครียดขณะนำจรวดขึ้นและลง หรืออาจเพราะหลายสาเหตุรวมกัน สำหรับการศึกษานี้อาจบอกอะไรบางอย่างถึงผลกระทบของอวกาศกับเซลล์และสิ่งมีชิวิตขนาดเล็ก ซึ่งช่วยงานวิจัยต่อไปที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ของมนุษย์บนอวกาศได้อีกด้วย
ใครอยากอ่านรายงานเชิงลึกเชิญดูที่นี่
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/reg2.79/pdf
---------------------
อยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับอวกาศที่น่าสนใจอื่น ๆ ผมลงประจำสั้น ๆ ในเพจ
https://www.facebook.com/GalaxyExpressNews/
อวกาศให้กำเนิดหนอนสองหัว!! (คำเตือน คนกลัวหนอนโปรดระวัง)
นักวิจัยถึงขนาดส่งพลานาเรียเพื่อศึกษาผลกระทบของอวกาศกับพลังในการฟื้นตัว
พลานาเรีย เป็นหนอนตัวแบนขนาดจิ๋วประมาณ 1 ซม. มันมีฉายาว่าหนอนอมตะฆ่าไม่ตาย เนื่องจากถึงแม้จะหั่นมันกี่ท่อนก็ตามมันก็จะงอกขึ้นใหม่ ที่สุดยอดคือทุกท่อนที่หั่นจะกลายเป็นหนอนตัวใหม่ด้วย หั่นเป็นสิบท่อนก็จะงอกขึ้นมาสิบตัว พลังในการฟื้นตัวนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีไอเดียศึกษาการทำงานของเซลล์ในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง โดยส่งไปวิจัยถึงบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งพลานาเรียไปสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีครบทั้งตัว อีกกลุ่มมี 15 ตัวโดนหั่นแยกเป็นสามชิ้น ส่วนหัว ส่วนตัวและส่วนหาง และปล่อยให้อยู่บน ISS 5 สัปดาห์ด้วยกันก่อนถูกส่งกลับมาดูผลบนโลก นักวิจัยได้นำมันเทียบกับพลานาเรียที่อยู่บนโลก และเฝ้าดูมันต่ออีก 2 เดือนเพื่อคอนเฟิร์มว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นถาวรจริง ๆ
พวกเขาพบสิ่งที่ต่างกันหลายอย่างระหว่างหนอนอวกาศกับบนโลก อย่างแรกคือหนอนอวกาศเจอประสบการณ์ "water shock" มันม้วนตัวและแข็งนิ่งในชั่วโมงแรกที่ลงกลับมาบนโลกและกลับเป็นปกติเมื่อผ่านไปสองชั่วโมง
แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดคือหนอนตัวหนึ่งที่ถูกหั่นหัวและหางออก ส่วนกลางของมันกลับงอกมีสองหัวในปลายทั้งสองด้านซึ่งหายากมาก งานวิจัยบนโลกไม่ได้พบเจอมากกว่า 18 ปีแล้ว แม้แต่งานวิจัยหนอนกว่า 15,000 ตัวตลอดห้าปีก็ไม่พบการงอกแบบนี้ แต่ตัวอย่างเพียงแค่ 15 ตัวกลับพบหนอนที่หายากขึ้นมา
ยังไม่พอนักวิจัยยังเอาหนอนสองหัวนั้นมาหั่นต่ออีกโดยหั่นเป็นสามท่อนเหมือนเดิม ผลคือท่อนกลางที่ไร้หัวกลับงอกหัวขึ้นมาสองด้านอีก ทำให้สรุปได้เบื้องต้นว่าผลของการเปลี่ยนเป็นสองหัวยังคงอยู่ แม้จะถูกหั่นแหละฟื้นไปแล้ว
นักวิจัยยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าทำไมหนอนตัวนี้ถึงงอกออกมาสองด้าน อาจเป็นเพราะภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ไร้สนามเหล็ก ความเครียดขณะนำจรวดขึ้นและลง หรืออาจเพราะหลายสาเหตุรวมกัน สำหรับการศึกษานี้อาจบอกอะไรบางอย่างถึงผลกระทบของอวกาศกับเซลล์และสิ่งมีชิวิตขนาดเล็ก ซึ่งช่วยงานวิจัยต่อไปที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ของมนุษย์บนอวกาศได้อีกด้วย
ใครอยากอ่านรายงานเชิงลึกเชิญดูที่นี่
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/reg2.79/pdf
---------------------
อยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับอวกาศที่น่าสนใจอื่น ๆ ผมลงประจำสั้น ๆ ในเพจ
https://www.facebook.com/GalaxyExpressNews/