พิธีเปิดสะพานนวรัฐ วันที่ 26 ธันวาคม 2510
และสะพานเม็งรายพร้อมกัน
้
เดิมสะพานนวรัฐเป็นสะพานไม้สักล้วน
อาจสร้างขึ้นหลังปี พ.ศ. 2442 โดย เคานต์ โรเบอร์ตี้ วิศวกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง
วางบนตอม่อไม้สัก 6 ตอม่อ
โครงส่วนบนก็ทำด้วยด้วยไม้สัก เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม มี 5 ช่วง
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
ต่อมาสะพานไม้สักถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน
ในฤดูน้ำหลาก ถูกซุงไม้สักที่ล่องมาตามลำน้ำปิงกระแทกพังเสียหาย
เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2464
ทางการจึงให้รื้อสะพานไม้สักออก แล้วสร้างเป็นสะพานเหล็ก ในปี พ.ศ. 2466
ชื่อว่า “สะพานนวรัฐ” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
คำกล่าวรายงานพิธีเปิดสะพานทั้ง 2 แห่งของ พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผวก.จังหวัดเชียงใหม่ในวันเดียวกันนั้นมีความบางตอนว่า
สะพานนวรัฐนี้ เดิมเป็นสะพานเหล็ก มีขนาดเพียง 5.2 เมตร และยาว 200 เมตร ได้ก่อสร้างมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 นับบัดนี้มีอายุได้ 45 ปี
ในการก่อสร้างขณะนั้นได้ออกแบบสำหรับรับน้ำหนักรถบรรทุกและการจราจร ซึ่งยังไม่หนาแน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน
การสัญจรไปมาและพาหนะต่างๆ ได้เพิ่มปริมาณและน้ำหนักบรรทุกมากยิ่งขึ้น และปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเสมอๆ
ด้วยเหตุนี้จังหวัดเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะรื้อสะพานนวรัฐเดิมออกเสีย แล้วสร้างสะพานใหม่ขึ้นแทน
ให้มีความแข็งแรงสวยงาม และกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิม
จึงได้ให้บริษัทเอกชนเสนอแบบแปลนการก่อสร้างในขนาดความกว้างทางจราจร 12 เมตร สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 10 ตัน
สะพานแห่งใหม่นี้เมื่อคำนวณแบบแปลนแล้วจะต้องใช้เงินถึง 6 ล้านบาท
เมื่อปี พ.ศ.2509 นับว่าเป็นความกรุณาของ ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการพัฒนาภาคเหนือ กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล
การสร้างสะพานแห่งนี้จึงได้รับเงินงบประมาณมาทำการก่อสร้างในลักษณะเงินอุดหนุนพิเศษ 6 ล้านบาท
ก็จะสามารถนำไปสร้างแห่งใหม่ได้อีกแห่งหนึ่ง
โดยมิต้องนำโครงเหล็กสะพานเดิม ซึ่งถูกสนิมกัดกินผุกร่อนไปทำการก่อสร้างอีก
...สะพานแห่งนี้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ นับอายุได้รวม 40 ปีเข้าไปแล้ว
( จากหนังสือพิมพ์คนเมือง )
นายสุนทร หงส์ลดารมภ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาแทน ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร
( พระรูปที่สองจากซ้าย ท่านเจ้าคุณใหญ่เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง ตอนนั้นหลวงปู่จันทร์เป็นรองเจ้าอาวาส )
ในสาส์นของ ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี มีความสำคัญว่า
รู้สึกยินดีที่จะเดินทางมาร่วมในพิธีนี้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง
แต่เนื่องจากมีราชการสำคัญเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ไม่สามารถจะเดินทางมาได้ดังที่ตั้งใจไว้จึงขออภัยต่อทุกๆ ท่านด้วย
เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดใหญ่ในส่วนภูมิภาคนี้ ซึ่งมีภูมิประเทศสวยงาม มีธรรมชาติน่าอยู่น่าอาศัย มีสิ่งดึงดูดและเป็นที่สนใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมองเห็นความสำคัญอันนี้ จึงมีนโยบายพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวนานาชาติขึ้น
อันจะทำให้เชียงใหม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกและจะนำรายได้มาสู่ประเทศไทยกับเชียงใหม่ในด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคต
ฉะนั้นการที่ทางราชการจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่ร่วมกันริเริ่มเสนอข้อคิดเห็นไปยังกรรมการพัฒนาภาคเหนือและกระทรวงมหาดไทย
เพื่อขอเงินอุดหนุนในการดำเนินงานทำสะพานนวรัฐเพื่อสร้างใหม่นับว่าเป็นความคิดที่ดีและถูกต้องตามกาลสมัยเป็นอย่างยิ่ง
เพราะสอดรับกับบ้านเมืองที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ข้าพเจ้าหวังว่าสะพานทั้ง 2 แห่งนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
พร้อมทั้งขอแสดงความยินดีต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ที่จะได้มีสะพาน อันเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองไว้ ณ ที่นี้ด้วย
( จากหนังสือพิมพ์คนเมือง )
แถมภาพปริญญาบัตรของพ่อ ปี 2493
ภาพถ่ายในอดีต ... พิธีเปิดสะพานนวรัฐ เชียงใหม่
พิธีเปิดสะพานนวรัฐ วันที่ 26 ธันวาคม 2510
และสะพานเม็งรายพร้อมกัน
้
เดิมสะพานนวรัฐเป็นสะพานไม้สักล้วน
อาจสร้างขึ้นหลังปี พ.ศ. 2442 โดย เคานต์ โรเบอร์ตี้ วิศวกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง
วางบนตอม่อไม้สัก 6 ตอม่อ
โครงส่วนบนก็ทำด้วยด้วยไม้สัก เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม มี 5 ช่วง
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
ต่อมาสะพานไม้สักถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน
ในฤดูน้ำหลาก ถูกซุงไม้สักที่ล่องมาตามลำน้ำปิงกระแทกพังเสียหาย
เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2464
ทางการจึงให้รื้อสะพานไม้สักออก แล้วสร้างเป็นสะพานเหล็ก ในปี พ.ศ. 2466
ชื่อว่า “สะพานนวรัฐ” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น
ภาพประกอบโดย บุญเสริม สาตราภัย
คำกล่าวรายงานพิธีเปิดสะพานทั้ง 2 แห่งของ พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผวก.จังหวัดเชียงใหม่ในวันเดียวกันนั้นมีความบางตอนว่า
สะพานนวรัฐนี้ เดิมเป็นสะพานเหล็ก มีขนาดเพียง 5.2 เมตร และยาว 200 เมตร ได้ก่อสร้างมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 นับบัดนี้มีอายุได้ 45 ปี
ในการก่อสร้างขณะนั้นได้ออกแบบสำหรับรับน้ำหนักรถบรรทุกและการจราจร ซึ่งยังไม่หนาแน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน
การสัญจรไปมาและพาหนะต่างๆ ได้เพิ่มปริมาณและน้ำหนักบรรทุกมากยิ่งขึ้น และปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเสมอๆ
ด้วยเหตุนี้จังหวัดเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะรื้อสะพานนวรัฐเดิมออกเสีย แล้วสร้างสะพานใหม่ขึ้นแทน
ให้มีความแข็งแรงสวยงาม และกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิม
จึงได้ให้บริษัทเอกชนเสนอแบบแปลนการก่อสร้างในขนาดความกว้างทางจราจร 12 เมตร สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 10 ตัน
สะพานแห่งใหม่นี้เมื่อคำนวณแบบแปลนแล้วจะต้องใช้เงินถึง 6 ล้านบาท
เมื่อปี พ.ศ.2509 นับว่าเป็นความกรุณาของ ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการพัฒนาภาคเหนือ กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล
การสร้างสะพานแห่งนี้จึงได้รับเงินงบประมาณมาทำการก่อสร้างในลักษณะเงินอุดหนุนพิเศษ 6 ล้านบาท
ก็จะสามารถนำไปสร้างแห่งใหม่ได้อีกแห่งหนึ่ง
โดยมิต้องนำโครงเหล็กสะพานเดิม ซึ่งถูกสนิมกัดกินผุกร่อนไปทำการก่อสร้างอีก
...สะพานแห่งนี้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ นับอายุได้รวม 40 ปีเข้าไปแล้ว
( จากหนังสือพิมพ์คนเมือง )
นายสุนทร หงส์ลดารมภ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาแทน ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร
( พระรูปที่สองจากซ้าย ท่านเจ้าคุณใหญ่เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง ตอนนั้นหลวงปู่จันทร์เป็นรองเจ้าอาวาส )
ในสาส์นของ ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี มีความสำคัญว่า
รู้สึกยินดีที่จะเดินทางมาร่วมในพิธีนี้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง
แต่เนื่องจากมีราชการสำคัญเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ไม่สามารถจะเดินทางมาได้ดังที่ตั้งใจไว้จึงขออภัยต่อทุกๆ ท่านด้วย
เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดใหญ่ในส่วนภูมิภาคนี้ ซึ่งมีภูมิประเทศสวยงาม มีธรรมชาติน่าอยู่น่าอาศัย มีสิ่งดึงดูดและเป็นที่สนใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมองเห็นความสำคัญอันนี้ จึงมีนโยบายพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยวนานาชาติขึ้น
อันจะทำให้เชียงใหม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกและจะนำรายได้มาสู่ประเทศไทยกับเชียงใหม่ในด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคต
ฉะนั้นการที่ทางราชการจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่ร่วมกันริเริ่มเสนอข้อคิดเห็นไปยังกรรมการพัฒนาภาคเหนือและกระทรวงมหาดไทย
เพื่อขอเงินอุดหนุนในการดำเนินงานทำสะพานนวรัฐเพื่อสร้างใหม่นับว่าเป็นความคิดที่ดีและถูกต้องตามกาลสมัยเป็นอย่างยิ่ง
เพราะสอดรับกับบ้านเมืองที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ข้าพเจ้าหวังว่าสะพานทั้ง 2 แห่งนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
พร้อมทั้งขอแสดงความยินดีต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ที่จะได้มีสะพาน อันเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองไว้ ณ ที่นี้ด้วย
( จากหนังสือพิมพ์คนเมือง )
แถมภาพปริญญาบัตรของพ่อ ปี 2493