คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เพื่อความสบายใจ แต่ที่สำคัญควรหมั่นทำความดี ทั้งกาย วาจา ใจ
เชื่อว่าความดีย่อมนำให้พ้นภัยทั้งปวงค่ะ
เวลาไปนอนต่างถิ่นมักใช้บทกรณียเมตตสูตร กับ บทยันทุน
*******************************************
กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร
กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็น พระสูตร ใน ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก
เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญ เมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่ การบรรลุมรรคผล ในท้ายที่สุด
พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti)
อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี
ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระ ปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ
รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร
หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วย มงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร
ประวัติที่มา
ตัวบทของพระสูตรที่ปรากฏในขุททกปาฐะ ในขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก มีเพียงพระคาถา 10 บท
มิได้ระบุถึงที่มาของการตรัสพระสูตรแต่อย่างใด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในพระสูตรอื่นๆ ในขุททกปาฐะ ทว่า
ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ได้อธิบายไว้ว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้ที่สาวัตถี เพื่อให้บรรดาพระภิกษุได้เจริญเมตตาเพื่อยังความร่ำเย็น
เป็นสุข และเพื่อความเป็นมิตรต่อสัตว์ทั้งหลาย มิให้เบียดเบียนกัน
โดยที่มาของพระสูตรเกิดขึ้นเมื่อพระ ภิกษุ ประมาณ 500 รูป ได้เรียน กรรมฐาน จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากนั้นได้เดินทางไปแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะ สุดท้ายพระภิกษุทั้งหมดได้บำเพ็ญพระกรรมฐานอยู่ตามโคนไม้ ณ
ป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ
อย่างไรก็ตาม บรรดาา รุกขเทวดา และเทพยดาที่สถิตอยู่ตามต้นไม้ ต่างต้องลงมาจากวิมานของตน
เนื่องจากบรรดาพระภิกษุได้กระทำความเพียรอยู่ ณ โคนต้นไม้ เมื่อได้รับความลำบาก
และคิดว่าพระภิกษุเหล่านี้ต้องกระทำความเพียรตลอดพรรษาไม่อาจจะไปที่ไหนได้อีก
จะยังความลำบากให้แก่พวกตนและลุกหลานของตนอีกยาวนาน บรรดารุกขเทวดาและเทพยดาในถิ่นนั้น
จึงรวมตัวกันแสดงอาการอันน่ากลัว แล้วหลอก เพื่อขับไล่พระภิกษุเหล่านั้น
พระภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากกายลำบากใจอย่างยิ่งที่ถูกบรรดารุกขเทวดาและเทพยดาจำแลงกายหลอกหลอนตน
จนไม่อาจบำเพ็ญเพียรเจริญพระกรรมฐานได้ ต่อมาจึงพากันเดินทางไปยังนครสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ทรงมีพระดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายกลับไปเจริญพระกรรมฐานยังสถานที่แห่งเดิม
แล้วจึงทรงตรัสเมตตสูตร เพื่อให้ภิกษุทั้ง 500 รูปได้เจริญเมตตาโปรดรุกขเทวดาเทพยดาทั้งหลาย ให้หยุดจองเวรเสีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ กรณียเมตตสูตร
กะระณียะเมตตะสุตตัง
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
ความหมาย กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ
[ ๑๐] กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่ พึง
บำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่า
ง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษเลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความ
ประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง
ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็น
เหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอ
สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิต
เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี และสัตว์
เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น
อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่น
อะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้ว
โกรธ เพราะความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วย
การยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญ
เมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง
ขวาง ไม่คับแคบไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี
เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด
ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหม
วิหาร ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไป
อาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยทัศนะ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลาย
ออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ
จบเมตตสูตร
ข้อมูลอ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ- ธรรมบท- อุทาน- อิติวุตตกะ- สุตตนิบาต
หน้าที่ ๙/ ๔๑๘ หัวข้อที่ ๑๐
***********************************
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆังนุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
พระคาถายันทุนบทนี้ ใช้สำหรับสวดป้องกันอันตรายต่างๆ แม้ว่าเกิดนิมิต ฝันไม่ดี เกิดอาเภทสังหรณ์ใจไปในทางที่ไม่ดี ให้สวดพระคาถานี้จะกลับ ให้เกิดเป็นความดีขึ้น แม้จะมีเคราะห์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้นให้ทำน้ำมนต์อาบเสียด้วยพระคาถานี้ บำบัดอันตรายให้หายสิ้นไปได้ หมั่นจำเริญภาวนาได้เถิด สิริมงคลสาภยศดีนักแลฯ
เชื่อว่าความดีย่อมนำให้พ้นภัยทั้งปวงค่ะ
เวลาไปนอนต่างถิ่นมักใช้บทกรณียเมตตสูตร กับ บทยันทุน
*******************************************
กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร
กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็น พระสูตร ใน ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก
เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญ เมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่ การบรรลุมรรคผล ในท้ายที่สุด
พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti)
อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี
ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระ ปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ
รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร
หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วย มงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร
ประวัติที่มา
ตัวบทของพระสูตรที่ปรากฏในขุททกปาฐะ ในขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก มีเพียงพระคาถา 10 บท
มิได้ระบุถึงที่มาของการตรัสพระสูตรแต่อย่างใด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในพระสูตรอื่นๆ ในขุททกปาฐะ ทว่า
ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ได้อธิบายไว้ว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้ที่สาวัตถี เพื่อให้บรรดาพระภิกษุได้เจริญเมตตาเพื่อยังความร่ำเย็น
เป็นสุข และเพื่อความเป็นมิตรต่อสัตว์ทั้งหลาย มิให้เบียดเบียนกัน
โดยที่มาของพระสูตรเกิดขึ้นเมื่อพระ ภิกษุ ประมาณ 500 รูป ได้เรียน กรรมฐาน จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากนั้นได้เดินทางไปแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะ สุดท้ายพระภิกษุทั้งหมดได้บำเพ็ญพระกรรมฐานอยู่ตามโคนไม้ ณ
ป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ
อย่างไรก็ตาม บรรดาา รุกขเทวดา และเทพยดาที่สถิตอยู่ตามต้นไม้ ต่างต้องลงมาจากวิมานของตน
เนื่องจากบรรดาพระภิกษุได้กระทำความเพียรอยู่ ณ โคนต้นไม้ เมื่อได้รับความลำบาก
และคิดว่าพระภิกษุเหล่านี้ต้องกระทำความเพียรตลอดพรรษาไม่อาจจะไปที่ไหนได้อีก
จะยังความลำบากให้แก่พวกตนและลุกหลานของตนอีกยาวนาน บรรดารุกขเทวดาและเทพยดาในถิ่นนั้น
จึงรวมตัวกันแสดงอาการอันน่ากลัว แล้วหลอก เพื่อขับไล่พระภิกษุเหล่านั้น
พระภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากกายลำบากใจอย่างยิ่งที่ถูกบรรดารุกขเทวดาและเทพยดาจำแลงกายหลอกหลอนตน
จนไม่อาจบำเพ็ญเพียรเจริญพระกรรมฐานได้ ต่อมาจึงพากันเดินทางไปยังนครสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ทรงมีพระดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายกลับไปเจริญพระกรรมฐานยังสถานที่แห่งเดิม
แล้วจึงทรงตรัสเมตตสูตร เพื่อให้ภิกษุทั้ง 500 รูปได้เจริญเมตตาโปรดรุกขเทวดาเทพยดาทั้งหลาย ให้หยุดจองเวรเสีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ กรณียเมตตสูตร
กะระณียะเมตตะสุตตัง
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
ความหมาย กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ
[ ๑๐] กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่ พึง
บำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่า
ง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษเลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความ
ประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง
ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็น
เหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอ
สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิต
เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี และสัตว์
เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น
อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่น
อะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้ว
โกรธ เพราะความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วย
การยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญ
เมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง
ขวาง ไม่คับแคบไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี
เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด
ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหม
วิหาร ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไป
อาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยทัศนะ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลาย
ออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ
จบเมตตสูตร
ข้อมูลอ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ- ธรรมบท- อุทาน- อิติวุตตกะ- สุตตนิบาต
หน้าที่ ๙/ ๔๑๘ หัวข้อที่ ๑๐
***********************************
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆังนุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
พระคาถายันทุนบทนี้ ใช้สำหรับสวดป้องกันอันตรายต่างๆ แม้ว่าเกิดนิมิต ฝันไม่ดี เกิดอาเภทสังหรณ์ใจไปในทางที่ไม่ดี ให้สวดพระคาถานี้จะกลับ ให้เกิดเป็นความดีขึ้น แม้จะมีเคราะห์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้นให้ทำน้ำมนต์อาบเสียด้วยพระคาถานี้ บำบัดอันตรายให้หายสิ้นไปได้ หมั่นจำเริญภาวนาได้เถิด สิริมงคลสาภยศดีนักแลฯ
แสดงความคิดเห็น
ถ้าโดนผีอำ ผีหลอก หรือตกอยู่ในสถานะการณ์ที่คิดว่ากำลังเจอสิ่งเร้นลับ เราจะสวดมนต์บทไหนครับ...?
ปกติเป็นคนเดินทางบ่อยครับ ทั้งไปเที่ยว ไปทำงานต่างจังหวัด
ก็เป็นเหตุให้ต้องพักโรงแรม หรือบ้านพักต่างๆ แต่เราไม่มีทางรู้หรอกว่า โรงแรมไหนมี หรือไม่มีผี
ประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเจอเหตุณ์การแบบนี้ แบบชัดเจนที่สุด ก็คือที่เชียงคาน (ขอไม่บอกชื่อที่พัก)
เอาเป็นว่าเป็นเกสเฮ้าท์ บ้านไม้แห่งหนึ่งริมโขงละกัน
ด้วยราคาห้อง 1xxx / คืน ห้องใหม่ สวย สะอาด บรรยากาศวิวแม่น้ำโขง คิดว่ายังไงก็ไม่น่าจะมีอะไร ด้วยคืนนั้นเป็นวันพระใหญ่ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดอะไร ก่อนนอนก็สวดบทคาถายันทุน เป็นประจำอยู่แล้ว กราบหัวนอน บอกขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางเรียบร้อย ก็นอน กำลังจะหลับ เคลื้มๆกึ่งหลับกึ่งตื่น ก็ได้ยินเสียงคนเดินข้างนอกห้อง ก็คิดว่าเป็นแขกท่านอื่นที่มาพัก ด้วยความเป็นบ้านไม้เวลาเดินก็มีเสียงไม้ลั่นเป็นธรรมดา
ประมาณตี1 เห็นเป็นคนตัวใหญ่ๆ ยืนอยู่ริมระเบียง ด้วยความที่เป็นคืนเดือนหงาย ทำให้แสงจันทร์ส่องสว่างเห็นอย่างชัดเจน เขายืนจ้องมองผมอยู่ ตอนนั้นในใจคิดว่า เอาแล้วไง โดนแล้วกรู ทำไงดี
ความคิดตอนนั้นคือ อยากสวดมนต์สักบท บทไหนก็ได้ แต่คิดอะไรไม่ออกเลย มันตื้อไปหมด ใจเต้นแรง เหงื่อออก ทั้งๆที่เปิดแอร์ สักพัก จากที่เขายืนอยู่ที่ระเบียง ก็เดินทะลุกระจกเข้ามาในห้อง เดินขึ้นบนเตียง เดินข้ามตัวผมไป แล้วเดินตรงทะลุประตูห้องออกไป
ในใจคิดว่า อ้าววววว ไม่ทำอะไรผมหน่อยเหรอ นั่งทับ หรือจับขาลากก็ได้
ด้วยความเพลียบวกกับเหนื่อยเดินทาง ผมก็เปิดไฟนอนต่อ แต่บ้านหลังนั้น ก็ยังมีเสียงคนเดินทั้งคืน ในใจคิดว่า ด้วยความที่ตรงนี้เป็นถนนคนเดิน บางทีเขาอาจจะเพิ่งกลับมาจากกินดื่มกัน แต่จะเดินอะไรนักหนาวะ ไม่หลับไม่นอนรึไง
ตื่นเช้ามา เดินออกไปดูทีระเบียง เป็นโคลนเปียกๆ เห็นเป็นรอยเท้าใหญ่มาก ใหญ่กว่ามนุษย์ปกติสองเท่าเลย
พีคสุดคือ ตอนที่เดินผ่านเคาท์เตอร์ ปกติถ้าเป็นเกสเฮ้า ก็จะมีสมุดเล่มหนึ่งไว้เขียนรายชื่อแขกที่มาพัก ปรากฏว่า เมื่อคืน มีห้องผมห้องเดียว ที่พักในบ้านหลังนั้น ถามพนักงานก็บอกว่า ไม่มีห้องอื่นแล้ว
แล้ว เสียงคนเดิน เสียงคนคุยกันทั้งคืนคือ ???