รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ (ที่ 2 จากซ้าย) อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และอาจารย์ ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย (ที่ 2 จากขวา) คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร (AGI) เปิดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะอุตสาหกรรมเกษตร PIM โอกาสนี้ นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาใน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จำนวน 29 ทุน และสาขาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จำนวน 42 ทุน เพื่อสนับสนุนการสร้างบันฑิตมืออาชีพที่พร้อมทำงานได้ทันที สอดรับนโยบาย CP4.0 ของเครือซีพี ทั้งยังเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพรองรับการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของซีพีเอฟ ร่วมด้วย รศ.ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย (ที่ 2 จากขวา) ที่ปรึกษาอาวุโสคณะอุตสาหกรรมเกษตร ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ แจ้งวัฒนะ
อาจารย์ ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร เปิดเผยว่า คณะ AGI เกิดจากความร่วมมือของ PIM และซีพีเอฟ เพื่อสร้างบันฑิตมืออาชีพที่พร้อมทำงานได้ทันที ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบ Work-based Education ตามวิสัยทัศน์ของ PIM คือ “การเรียนทฤษฎีควบคู่กับการฝึกงานจริงในสถานประกอบการ” และนักศึกษาจะผ่านการฝึกงานอย่างเข้มข้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงปี 4 โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2558 ขณะเดียวกัน คณะยังมุ่งสร้างความสมดุลให้นักศึกษามีความ “เก่ง” ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป และเป็นคน “ดี” มีมารยาทและอ่อนน้อมถ่อมตน ตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย และนอกจากภารกิจในการผลิตบัณฑิตคุณภาพแล้ว คณะยังมีเงื่อนไขต้องทำงานวิจัย มีหน้าที่บริการวิชาการให้ชุมชนสังคม ร่วมกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างและแบ่งปันคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตามคณะ AGI ครบรอบ 3 ปี ถือเป็นคณะใหม่ที่ยังต้องเรียนรู้ พัฒนาต่อไปอีกมาก ซึ่งคณาจารย์และทีมงานต่างมุ่งมั่นพัฒนาด้วยพื้นฐานการใฝ่รู้และเรียนรู้ ถือเป็น learning organization อย่างแท้จริง
“ผลการดำเนินงานใน 2 ปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความรับผิดชอบ และกล้าแสดงออกมากขึ้น ทั้งหมดนี้เกิดจากการช่วยเหลือที่ดีของคณะกรรมการบริหารสถาบัน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของ PIM ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่พร้อมให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากซีพีเอฟทั้งการส่งบุคลากรมาเป็นอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าฝึกปฏิบัติงานจริงกับบริษัท ที่ถือเป็นห้องเรียนให้พวกเขาได้เห็นกระบวนการทำงานที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นที่จะช่วยให้เข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ และมีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีที่เรียนจบ” ดร.ถิรนันท์ กล่าว
สำหรับปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่คณะ AGI ได้รับการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา QA ระดับหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม และระดับคณะ ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษา ได้คะแนนในระดับ “ดี” ทั้งระดับหลักสูตรและคณะ เป็นความสำเร็จจากความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องตามแนวทาง TQA ที่ รศ.ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย ที่ปรึกษาอาวุโสของคณะ ได้วางแนวทางไว้ นอกจากนี้ AGI และอาจารย์พิเศษมืออาชีพจากซีพีเอฟ ยังร่วมกันผลักดันให้คณะสามารถบรรลุพันธกิจ GRAPS (Graduate-13Criteria, Research, Academic Services, Preservation of arts and culture, creating share values for Stakeholders) ได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่จะมีบัณฑิตรุ่นแรกที่พร้อมจะพิสูจน์ว่า “สามารถทำงานได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ด้าน นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวชื่นชมคณาจารย์และนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นและได้แสดงศักยภาพ ที่จะพัฒนานวัตกรรมระบบการศึกษา หรือ Innovative Educational System (IES) ของคณะ AGI ที่มุ่งเน้นการสร้างความคิดริเริ่ม และฝึกนักศึกษาให้รู้จักนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม โดยมีการออกแบบหลักสูตรให้เกิดความสมดุลระหว่างการเรียน “ภาคทฤษฎี” 45% และเรียน “การฝึกงานภาคปฏิบัติในสถานประกอบการจริง” อีก 55% เป็นไปตามวิสัยทัศน์ Work-Based Education ของ PIM ซึ่งซีพีเอฟมีส่วนสนับสนุนทั้งบุคลากร สถานที่ฝึกงาน ตลอดจนมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษา
“ขอขอบคุณท่านอธิการบดี ผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ PIM ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือคณะ AGI เป็นอย่างดีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้คณะเจริญเติบโตและก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ และด้วยวิสัยทัศน์อันนำสมัยของ PIM เราเชื่ออย่างยิ่งว่าบัณฑิตของคณะ AGI จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่สำเร็จการศึกษา ขณะเดียวกัน คณะยังต้องมุ่งส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในโลกออนไลน์ที่สามารถใช้ปฏิบัติการ Internet of Things ในการสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลแล้วนำมาแบ่งปันกันในชั้นเรียน เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่ทิศทาง CP 4.0 ของเครือซีพีต่อไป” นายสมควร กล่าว
ทั้งนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มีแผนปรับทั้งหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management : FTM) และหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management : PTM) เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภายในปี 2561 โดยซีพีเอฟในต่างประเทศจะเริ่มรับนักเรียน Grade12 สายวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนต่างๆ ส่งมาเรียนที่คณะAGI ของ PIM และเมื่อนักเรียนชาวต่างประเทศสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตปริญญาตรีแล้ว ก็จะกลับไปปฏิบัติงานกับซีพีเอฟของประเทศนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ยังรับนักเรียนไทยที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดี และ สามารถสอบผ่านข้อสอบวัดระดับความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (SME) เข้าร่วมเรียนกับนักเรียนชาวต่างประเทศด้วย ซึ่งคณะมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่สอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ ทั้งโทอิค (TOEIC) และโทเฟิล (TOEFL) และให้ทุกวิชาที่สอนไปแล้วเริ่มปรับการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งขอให้ PIM จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เรียนเพิ่มทักษะตามความเหมาะสม
PIM จับมือ CPF ปั้นนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร สู่บันฑิตมืออาชีพ สอดรับ CP4.0
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ (ที่ 2 จากซ้าย) อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และอาจารย์ ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย (ที่ 2 จากขวา) คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร (AGI) เปิดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะอุตสาหกรรมเกษตร PIM โอกาสนี้ นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาใน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จำนวน 29 ทุน และสาขาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จำนวน 42 ทุน เพื่อสนับสนุนการสร้างบันฑิตมืออาชีพที่พร้อมทำงานได้ทันที สอดรับนโยบาย CP4.0 ของเครือซีพี ทั้งยังเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพรองรับการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของซีพีเอฟ ร่วมด้วย รศ.ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย (ที่ 2 จากขวา) ที่ปรึกษาอาวุโสคณะอุตสาหกรรมเกษตร ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ แจ้งวัฒนะ
อาจารย์ ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร เปิดเผยว่า คณะ AGI เกิดจากความร่วมมือของ PIM และซีพีเอฟ เพื่อสร้างบันฑิตมืออาชีพที่พร้อมทำงานได้ทันที ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบ Work-based Education ตามวิสัยทัศน์ของ PIM คือ “การเรียนทฤษฎีควบคู่กับการฝึกงานจริงในสถานประกอบการ” และนักศึกษาจะผ่านการฝึกงานอย่างเข้มข้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงปี 4 โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2558 ขณะเดียวกัน คณะยังมุ่งสร้างความสมดุลให้นักศึกษามีความ “เก่ง” ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป และเป็นคน “ดี” มีมารยาทและอ่อนน้อมถ่อมตน ตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย และนอกจากภารกิจในการผลิตบัณฑิตคุณภาพแล้ว คณะยังมีเงื่อนไขต้องทำงานวิจัย มีหน้าที่บริการวิชาการให้ชุมชนสังคม ร่วมกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างและแบ่งปันคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตามคณะ AGI ครบรอบ 3 ปี ถือเป็นคณะใหม่ที่ยังต้องเรียนรู้ พัฒนาต่อไปอีกมาก ซึ่งคณาจารย์และทีมงานต่างมุ่งมั่นพัฒนาด้วยพื้นฐานการใฝ่รู้และเรียนรู้ ถือเป็น learning organization อย่างแท้จริง
“ผลการดำเนินงานใน 2 ปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความรับผิดชอบ และกล้าแสดงออกมากขึ้น ทั้งหมดนี้เกิดจากการช่วยเหลือที่ดีของคณะกรรมการบริหารสถาบัน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของ PIM ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่พร้อมให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากซีพีเอฟทั้งการส่งบุคลากรมาเป็นอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าฝึกปฏิบัติงานจริงกับบริษัท ที่ถือเป็นห้องเรียนให้พวกเขาได้เห็นกระบวนการทำงานที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นที่จะช่วยให้เข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ และมีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีที่เรียนจบ” ดร.ถิรนันท์ กล่าว
สำหรับปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่คณะ AGI ได้รับการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา QA ระดับหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม และระดับคณะ ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษา ได้คะแนนในระดับ “ดี” ทั้งระดับหลักสูตรและคณะ เป็นความสำเร็จจากความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องตามแนวทาง TQA ที่ รศ.ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย ที่ปรึกษาอาวุโสของคณะ ได้วางแนวทางไว้ นอกจากนี้ AGI และอาจารย์พิเศษมืออาชีพจากซีพีเอฟ ยังร่วมกันผลักดันให้คณะสามารถบรรลุพันธกิจ GRAPS (Graduate-13Criteria, Research, Academic Services, Preservation of arts and culture, creating share values for Stakeholders) ได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่จะมีบัณฑิตรุ่นแรกที่พร้อมจะพิสูจน์ว่า “สามารถทำงานได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ด้าน นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวชื่นชมคณาจารย์และนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นและได้แสดงศักยภาพ ที่จะพัฒนานวัตกรรมระบบการศึกษา หรือ Innovative Educational System (IES) ของคณะ AGI ที่มุ่งเน้นการสร้างความคิดริเริ่ม และฝึกนักศึกษาให้รู้จักนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม โดยมีการออกแบบหลักสูตรให้เกิดความสมดุลระหว่างการเรียน “ภาคทฤษฎี” 45% และเรียน “การฝึกงานภาคปฏิบัติในสถานประกอบการจริง” อีก 55% เป็นไปตามวิสัยทัศน์ Work-Based Education ของ PIM ซึ่งซีพีเอฟมีส่วนสนับสนุนทั้งบุคลากร สถานที่ฝึกงาน ตลอดจนมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษา
“ขอขอบคุณท่านอธิการบดี ผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ PIM ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือคณะ AGI เป็นอย่างดีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้คณะเจริญเติบโตและก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ และด้วยวิสัยทัศน์อันนำสมัยของ PIM เราเชื่ออย่างยิ่งว่าบัณฑิตของคณะ AGI จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่สำเร็จการศึกษา ขณะเดียวกัน คณะยังต้องมุ่งส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในโลกออนไลน์ที่สามารถใช้ปฏิบัติการ Internet of Things ในการสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลแล้วนำมาแบ่งปันกันในชั้นเรียน เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่ทิศทาง CP 4.0 ของเครือซีพีต่อไป” นายสมควร กล่าว
ทั้งนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มีแผนปรับทั้งหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management : FTM) และหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management : PTM) เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภายในปี 2561 โดยซีพีเอฟในต่างประเทศจะเริ่มรับนักเรียน Grade12 สายวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนต่างๆ ส่งมาเรียนที่คณะAGI ของ PIM และเมื่อนักเรียนชาวต่างประเทศสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตปริญญาตรีแล้ว ก็จะกลับไปปฏิบัติงานกับซีพีเอฟของประเทศนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ยังรับนักเรียนไทยที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดี และ สามารถสอบผ่านข้อสอบวัดระดับความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (SME) เข้าร่วมเรียนกับนักเรียนชาวต่างประเทศด้วย ซึ่งคณะมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่สอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ ทั้งโทอิค (TOEIC) และโทเฟิล (TOEFL) และให้ทุกวิชาที่สอนไปแล้วเริ่มปรับการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งขอให้ PIM จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เรียนเพิ่มทักษะตามความเหมาะสม