[CR] รีวิว Air Lock ความเหมือนที่แตกต่างไหนขอลองซิ

ก่อนอื่นต้องขออภัยชาวพันทิพทุกท่านนะครับ เนื่องจากกะทู้นี้เป็นกะทู้รีวิวครั้งแรกหากมีอะไรผิดพลาดก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
มาเริ่มกันเลยดีกว่า เนื่องจากที่ผมเบื่อกับการที่ต้องคอยงัดยางปะยาง จ่ายตลาดประจำบ้านเวลาที่ยางรั่วเลยอยากใส่ยาง TL กับเขาบ้าง
เวลายางรั่วจะได้ปะแบบแทงไหมปะยาง ไม่ต้องงัดยางให้เสียเวลา แต่ดันมาติดตรงเจ้ารถจ่ายตลาดผมดันเป็นล้อซี่ลวด จะเปลี่ยนเป็นล้อแม็ก
ก็จะทำให้งบบานปลายไปอีก เลยหาข้อมูลจนมาเจอพระเอกของงานนี้ Air Lock จาก ND RUBBER  เปิดตัวมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว แต่หาข้อมูล
จากผู้ใช้จริงแทบไม่มี จะถามใครดีล่ะในเมื่อหาข้อมูลไม่ได้ก็หามาลองเลยล่ะกัน เพราะเกิดคำถามในใจผมไปหมดมันจะใช้ได้ไหม ดีไหม
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น งั้นจัดไป
นี้คือหน้าตาเจ้า Air Lock ที่ผมหามาได้สภาพกล่องเหมือนผ่านสงครามมาเลยที่เดียวอาจเป็นเพราะระบบขนส่งบ้านเราที่ขึ้นชื่อเรื่องโยน
หรืออาจเพราะของเก่าค้างสต๊อค ก็มิอาจคลาดเดาได้ครับ ผมจัดทรงกล่องให้ดูเป็นกล่องแล้วก็จับถ่ายภาพซะ ข้อมูลทางเทคนิคของAir Lock
ผมไม่พูดถึงนะครับ เพราะความรู้อันน้อยนิดอาจทำให้ผิดพลาดได้ เอาเป็นจากที่ผมสัมผัสด้วยตัวผมเองพอ
นะตอนนี้เจ้าAir Lock มีด้วยกันทั้งหมด 5 ขนาด คือใช้กับขอบล้อ 17 นิ้วมี3ขนาด 1.2×17 1.4×17 1.6×17 และ ล้อ14นิ้วมี2ขนาด 1.4×14 1.6×14
แกะออกมาก็จะเจอยางแบนๆ1เส้น ความหนาถือว่า ok เพราะไม่เคยจับเทียบกับสินค้าลักษณะเดียวกันอมยิ้ม01
และน๊อตล๊อคจุ๊บ เหมือนยางในทั่วไปที่ขายกัน
กลางออกก็กลายเป็น ยางพันขอบล้อมที่มีจู๊บลมไปซะงั้น ที่ยางพิมพ์โลโก้พร้อมบอกขนาดของขอบล้อที่จะใช้ไว้พร้อมที่สำคัญ
ต่อท้ายด้วย MADE IN THAILAND เอาล่ะช้าอยู่ใยจัดไปถอดล้อเตรียมประกอบ สำหรับขั้นตอนถอดล้อผมขอข้ามนะครับเพราะ
หลายท่านคงเห็นจนชินตาล่ะ
ถอดล้องัดยางขอบ14ถึงกับเหงื่อตก นี้คือยางที่ผมจะใส่กับ Air Lock มันก็ยางเก่าที่ใช้กับรถจ่ายตลาดผมนั้นเอง เพราะตอนหาข้อมูล
เกิดความสงสัยว่าใช้กับยาง TT ได้หรือไม่ ไม่มีคนให้ถามก็จัดเองเลยใช้ไม่ได้ค่อยเอายาง TL มาใส่ล่ะกัน เอายางบ้านๆนี้ล่ะใส่ก่อน
สภาพรอยฉีกขาดจากการงัดเกิดการกังวลเล็กน้อยว่าจะล๊อคลมอยู่ไหม แต่คิดว่าได้เพราะแผลไม่ยาวขึ้นไปมากกว่านี้
การประกอบเข้ากับขอบล้อก็เหมือนใส่ยางพันขอบล้อนั้นล่ะครับ ขันน๊อตรองจุ๊บแล้วใส่เข้ากับขอบล้อแล้วขันล๊อคให้แน่นจากนั้นก็จัดให้
Air Lock เข้ารูปพอดีไม่ให้เกินขอบออกไปเพราะจะเกิดการเสียหายได้เมื่องัดต้องชิดในไว้ครับชิดในไว้ แต่อย่าชิดในมากเกินไปจะทำให้
ขอบยางนอกไม่ทับ Air Lock ทำให้ล๊อคลมไม่อยู่ ขั้นตอนนี้ผมว่านานเหมือนกันพอๆกับงัดยางขอบ14เลยแต่ไม่เสียเหงื่อเพราะไม่ต้องออกแรง
หลังจากนั่งใจเย็นจัดAir Lock ให้เข้ารูปกับขอล้อเสร็จก็มาถึงขั้นตอนใส่ยางนอกกลับเข้าไป ก่อนใส่ถางยางนอกให้กว้างที่สุดก่อนนะครับ
เวลาเติมลมจะได้เติมง่ายและต้องหาครีมทาขอบยางมาใช้ครับสำหรับคนมีงบคนไม่มีงบก็จัดน้ำผสมผงซักฟอกได้เลยครับ
หรือไม่ก็เดินเข้าครัวไปหาเนยทาโรตีมาใช้แทนก็ได้ครับ ผมใช้ครีมทาขอบยางทาครับทาให้ทั่ว Air Lockเลยนะครับ พร้อมทาขอบยางนอกด้วย
ที่ต้องครีมทาขอบยางเพราะจะช่วยในการลดแรงตรึงของผิวสัมผัส Air Lock กับขอบยางเพื่อให้ยางนอกขึ้นขอบง่าย
และช่วยให้ใส่ยางนอกกลับเข้าขอบได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็จัดการเลยครับจะเหยียบจะงัดก็จัดเลยตามสบาย มันจะยากตรงที่ระแวงเวลางัดจะไปโดน
Air Lock ทำให้เสียรูปทรงทำให้เกิดแผลนี้ล่ะครับ พอเสร็จก็จัดการเติมลมได้เลย หลังจากเติมลมเข้าได้แล้วก็ตรวจดูว่ายางนอกขึ้นขอบทั้งหมดไหม
ผมขึ้นทั้งหมดแต่!! หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หลังจากหลงดีใจที่ยางนอกพองตัวขึ้นขอบปกติได้ไม่นานเป็นข้อมูลให้เรารู้ว่ามันใช้ได้กับยาง
TT ด้วย เสียงลมดังผ่านหน้าเย็นๆ โอ้แม่เจ้ายางนอกผมรั่วๆ แต่ไม่เป็นไรในเมื่อสิ่งที่เราคลาดหวังไว้ว่าอยากใช้วิธีปะยางแทงไหมปะยางก็จัดไปซิครับ
จะมัวช้าอยู่ใย ในเมื่อมีโอกาสได้ลงมือทำแล้ว
กายพร้อมแรงพร้อมเครื่องมือพร้อมจัดไปซิครับ หลังจากดึงเข็มแทงไหมปะยางออกเสียงลมยังไม่หายไป โอ้ๆๆ มันยังมีบาดแผลหลงเหลืออยู่อีกเอาจัดๆ
แผลสองจัดไป แต่!! ทำไมยังมีเสียงลมอยู่ มีแผลแรก มีแผลสอง แล้วเหตุใดเล่าจะไม่มีแผลที่สาม เริ่มคิดล่ะครับมันจะมีแผลที่สี่ไหม
แต่เดินมาถึงขนาดนี้แล้ว จะให้หยุดได้อย่างไร จัดไปครับแผลที่สาม
แผลที่สามหลังผมบรรจงดึงเข็มแทงไหมปะยางออก เสียงลมเงียบสนิทไม่เสียแรงที่อยากรู้อยากเห็นในที่สุดก็จบซะทีได้แทงไหมปะยางจุใจไหมล่ะ
สมตามความตั้งใจที่คิดไว้แต่แรกร้องไห้ หลังจากนั้นเติมลมเพิ่มแล้วยกล้อไปแช่ในน้ำหาจุดซึมเพื่อให้แน่ใจ สรุปผ่านไม่มีซึมไม่มีรั่วเพิ่ม ประกอบกลับเข้า
รถจ่ายตลาดพร้อมลุย
ตัดแต่งไหมปะยางให้ดูดีรึไม่ตัดก็ได้

**สรุป
ง่ายๆสั้นๆก่อนเอาเป็นว่าถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจตัวหนึ่งนะครับข้อดีเอาแค่นี้ก่อนเพราะขอใช้งานจริงซักอาทิตย์ก่อนถึงจะบอกได้ว่าจะokแค่ไหน

**ข้อดี
- ราคาถูกกว่ายางใน
- ใส่กล่องมาดูดีมีชาติตระกูลกว่ายางในทั่วไป
- ทำให้ล้อซี่ลวดใช้ยาง TL ได้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงเมื่อเกิดยางรั่ว
- ลดปัญหาเรื่องยางนอกกัดยางใน
- ลดปัญหาซี่ลวดแทงยางในรั่ว เพราะ Air Lock หนากว่า (ข้อนี้ต้องใช้ไปซักพักแล้วจะมาบอกอีกรอบครับยังไม่ฟันธง)
เอาข้อดีแค่นี้ก่อนครับขอลองใช้จริงก่อนมาต่อที่ข้อเสียบ้าง

**ข้อเสีย
- หาซื้อยากถามร้านในอำเภอที่ผมอยู่ทำหน้างงกันแทบไม่รู้จัก
- ถ้าเทียบกับเวลาเปลี่ยนยางในกับ Air Lock เปลี่ยนยางในใช้เวลาน้อยกว่าง่ายกว่าครับที่สำคัญไม่ต้องถอดล้อ
- ใช้เวลาติดตั้งและจัดรูปทรงพอสมควรอาจเพราะยังไม่คล่องเพราะผมเพิ่งเคยทำ
- ต้องระวังอย่างมากเวลาประกอบยางนอกเข้าเพื่อไม่ให้Air Lock เลื่อนจากขอบล้อและเสียหายจากการงัดยางเข้าออก
- เวลาปะยางแบบแทงตัวหนอนต้องระวังไม่ให้เข็มแทงไหมปะยางทะลุเข้าไปแทง Air Lock เพราะจะทำให้เกิดแผลรั่วที่ตัว Air Lock ได้
- เติมลมเข้าลำบากถ้าไม่ถ่างยางนอกให้กว้าง ปั้มลมไม่แรงนี้เหนื่อยเลย
เอาแค่นี้ก่อนครับต้องใช้งานจริงก่อนจะกลับมาบอกข้อดีข้อเสียเพิ่มเติม

***ก่อนจบขอเตือนนิดครับ
ยังไง Air Lock ก็เหมาะกับใช้ร่วมกับยาง TL เพราะยาง TL ออกแบบมาให้ใช้แบบไม่มียางในอยู่แล้วทำให้โครงสร้างของยางต้องแข็งแรงกว่า
ยางแบบ TT แน่นอนเพราะที่สังเกตุยางตอนคว้านแผลก่อนแทงไหมปะยางลมออกมากไม่เหมือนยาง TL ที่เคยปะ แต่ที่ผมใช้ยางเก่าไม่เปลี่ยนใหม่
แค่อยากทดลองดูว่ามันใช้ได้แค่นั้นครับ ใช้ได้แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพแค่พอใช้ได้ เนื่องจากรถจ่ายตลาดผมวิ่งไม่เกิน 40 กม/ชม อยู่แล้วเลยไม่ห่วง
แต่คนที่ใช้รถในย่านความเร็วสูงและใช้งานบ่อยแนะนำให้ใช้ยางให้ถูกประเภทครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับและขอคำชี้แนะและขออภัยหากมีอะไรผิดพลาด สวัสดีครับ

****บทสรุปหลังจากใช้งาน
หลังใช้งานมาล้อหน้าที่ยังไม่ได้มีรอยปะใช้ได้ดีแรงดันลมยางไม่ค่อยได้เติมบ่อยเหมือนตอนมียางใน(ยิ่งทำให้สงสัยเพราะอะไรจึงทำให้เป็นแบบนั้น)ส่วนล้อหลังที่มีรอยปะแทงไหมไป3แผลใช้ได้1อาทิตย์มีอาการซึมตรงรอยปะอาจเพราะยางนอกเสื่อมสภาพแล้วยางแข็งกรอบง่ายตรงขอบยาง วันนี้จึงเปลี่ยนยางนอกทั้งหน้าและหลังใหม่เป็นยาง TT เหมือนเดิมเพื่อทดสอบดูว่าจะใช้งานเป็นเช่นไร หากมีโอกาศจะนำเสนออีกครั้งครับ
ชื่อสินค้า:   Air Lock
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่