ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้ผม
MC WANG JIE (แอ๊ด) เข้าประจำการต่ออีก 1 วันครับ
วันนี้ เปลี่ยนแนวบ้าง จะเล่าเรื่องราวของ ปรมาจารย์จอมยุทธ
จางซานเฟิง (เตียซำฮง) และ วิชามวย
ไท่ฉี (ไท้เก๊ก) ครับ
จาง ซันเฟิง (สำเนียงจีนกลาง) หรือ เตียซำฮง (สำเนียงแต้จิ๋ว) (จีนตัวย่อ: 张三丰; จีนตัวเต็ม: 張三丰) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มักกล่าวถึงในภาพยนตร์หรือนิยายกำลังภายใน ที่มีชื่อเสียง เช่น เรื่อง ดาบมังกรหยก ซึ่งเขียนโดยกิมย้ง หรือจินหยง ยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวจีนนั่นเอง
เชื่อกันว่าจาง ซันเฟิง เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 ในสมัยปลายราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-ค.ศ. 1279) ที่มณฑลเหลียวหนิง มีชื่อเดิมว่า จาง เฉวียนอี หรือ จาง จวินอี้ว์
โดยที่ชื่อ ซันเฟิง นั้นเป็นฉายาที่เป็นนักบวชในลัทธิเต๋าแล้ว มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-ค.ศ. 1368) เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากการใช้กำลังภายใน การช่วยเหลือคนเจ็บไข้ แล้วมีอายุยืนยาวมาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-ค.ศ. 1654)และค่อย ๆ หายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีนหลังปี ค.ศ. 1459 ท่านใช้ชีวิตมากว่า 200 ปี และไม่มีประวัติการเสียชีวิต หลายคนเชื่อกันว่าหลังจากนั้นได้สำเร็จเป็นเซียนอมตะ
ในส่วนของ มวย ไท่ฉี หรือ ไท้เก๊ก ไม่มีใครรู้ประวัติที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ส่วนมากแล้วจะอ้างว่า นักพรต จางซานเฟิง (เตียซำฮง) ที่เคยเห็นอยู่ในหนังเรื่องดาบมังกรหยก คนที่เป็นอาจารย์ปู่ของพระเอกจอมยุทธ์เตียบ่อกี้นั่นแหละ เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่ท่านบังเอิญเปิดหน้าต่างบ้านออกมาแล้วก็เห็นนกกระเรียนกำลังต่อสู้กับงูอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นนกดุเหว่าตีกับงู สรุปว่าท่านเห็นนกสู้กับงู ท่านก็เกิดความปลาบปลื้มปิติยินดีว่าตนเองคิดวิชามวยขึ้นมาได้แล้ว อันที่จริงมวยจีนหลายๆ แขนงก็มักจะอ้างว่าคิดขึ้นมาจากนกกระเรียนบ้าง งูบ้าง หรือทั้งคู่เลย นับว่าเป็นสัตว์ยอดฮิตสำหรับการคิดมวยจีน นอกจากนี้ก็มีที่คิดมาจาก เสือ หมี ลิง ตั๊กแตน นกอินทรี ที่แปลกๆ เช่นหมา หรือเป็ดก็ยังมี (มวยเป็ดเนี่ยนะ ก็ได้เหรอ - -" ) หรือที่ยิ่งใหญ่ มากๆ อย่างมังกร ก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกัน (เอ้อ อย่างนี้สิน่าฝึกหน่อย เป็ดนี่ไม่ไหว ลองคิดดูเวลาทักทาย..." คารวะท่านเจ้าสำนักวิชามวยเป็ด!!! " - -" ) ตำนานไม่ได้บอกว่า กระเรียนกับงู ที่เป็นอาจารย์สอนมวยให้ท่านจาง หรือผลการสู้กันใครเป็นฝ่ายชนะ หรือเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อ แต่คาดว่าคงไม่ได้โดนท่านจางจับย่างกินเป็นแน่ เพราะท่านเป็นนักพรตเต๋า ก็ถือศีลกินเจครับ !!! ( รอดตัวไปสินะ ถ้าเป็นคนในประเทศสารขัณฑ์ กระเรียนคงได้โดนย่าง งูคงกลายเป็นผัดเผ็ด ไม่ก็แกงเผ็ด)
ท่านนักพรตจางซานเฟิงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อ จางจวินเป่า (เตียกุนป้อ) เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่า เคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
รูปข้างบนนี้ คือรูปท่านปรมาจารย์
ตั๊กม้อ หรือท่าน
โพธิธรรม ผู้คิดค้นมวยเส้าหลินขึ้นมาจนเป็นมวยประจำชาติจีน สังเกตว่าหน้าท่านจะไม่ค่อยเหมือนคนจีน เพราะท่านเป็นพระอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศจีน จิตรกรที่วาดรูปท่านมักจะวาดให้ยืนอยู่บนปล้องอ้อ นัยว่าท่านเหยียบปล้องอ้อข้ามน้ำมา บางตำนานก็ว่าท่านเคยสอบได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮ่องเต้ไท่จง แต่เบื่อราชการงานเมือง ก็เลยลาออกจากราชการ ชื่อฮ่องเต้ไท่จงนี่รู้สึกจะมีหลายพระองค์ เช่น ไท่จงของหยวน ก็เรียกว่าหยวนไท่จง คือฮ่องเต้ชื่อไท่จงนี้จะใช้กับฮ่องเต้ที่เป็นต้นราชวงศ์ ประวัติตรงนี้แปลกๆอยู่ คือมีเรื่องว่าท่านจางเคยรับราชการแล้วลาออก จากนั้นก็เดินทางท่องเที่ยว จนมีโอกาสได้ฝึกมวยเส้าหลินสำเร็จในช่วงที่เดินทางนี่เอง ซึ่งอันนี้ดูขัดแย้งกันอยู่บ้าง คือหากท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่เมื่อลาออกมาก็คงอายุไม่น้อยแล้ว ขณะที่มวยเส้าหลินนั้นจะต้องฝึกกันตั้งแต่อายุยังน้อย หากกลับกันคือท่านต้องฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน แล้วไปรับราชการทีหลัง ยังจะน่าเชื่อกว่า อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่เอง เล่ากันว่าท่านมีโอกาสได้พบกับนักพรตหั่วหลงเจินเหริน หรือนักพรตมังกรไฟ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาอมตะของเซียนในลัทธิเต๋าให้กับท่าน (วิชาอมตะนี้ก็มีปรากฏอยู่ในนิยายจีนอยู่เนืองๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของหวงอี้) ด้วยความเป็นอัจฉริยะ ท่านก็ฝึกวิชาอมตะสำเร็จอีก จึงมีอายุยืนยาว อยู่มาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1654) ราชวงศ์หมิงหรือเหม็งนี่ก็คือพรรคเม้งก่าในดาบมังกรหยกของกิมย้งนั่นเอง)
กลับมาที่ประวัติท่านจาง เขาว่าท่านก็กลัวจะถูกเรียกกลับไปรับราชการอีก ก็เลยทำตัวสติเฟื่องไปพักหนึ่ง จนคิดว่าปลอดภัยแน่แล้วก็ไปอาศัยอยู่บนเขาอู่ตัง(บู๊ตึ๊ง) ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 1407 ฮ่องเต้เฉิงจู่ ได้ส่งข้าราชการไปเยี่ยมท่านที่เขาอู่ตังแต่ไม่พบ ก็เลยถือโอกาสสร้างอารามใหญ่โตไว้บนเขาเอาไว้ให้ จนในปี ค.ศ. 1459
ฮ่องเต้อิงจง ก็พระราชทานฉายาอมตะให้ จากนั้นชื่อของท่านก็ค่อยๆ จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ซึ่งถ้านับกันแล้วก็จะพบว่าท่านมีอายุเท่าที่รู้ๆ กันก็เกิน 200 ปี ระหว่างนั้นก็มีชื่อท่านปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะ จนนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นคนละจาง อยู่กันคนละสมัยแต่บังเอิญมีชื่อพ้องกัน ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
ฮ่องเต้อิงจง พระราชทานฉายาให้กับท่านจาง ก็เลยมีชื่อติดอยู่ในทำเนียบผู้เกี่ยวข้องกับมวยไท่เก๊กไปกับเขาด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าท่านเป็นผู้คิดค้นมวยไท่เก๊กขึ้นมา บางตำราว่า มวยไท่เก๊ก เกิดมาก่อนท่าน เพียงแต่บังเอิญว่าท่านจางเป็นผู้มีชื่อเสียงเอามากๆ แล้วท่านก็ดูเหมือนจะฝึกมวยไท่เก๊ก รวมทั้งสอนให้คนอื่นด้วย ก็เลยโมเมเอาว่า มวยนี้คิดขึ้นมาโดยท่านจางผู้ยิ่งใหญ่ ดีกว่าที่จะให้เป็นมวยที่คนไร้ชื่อเสียงเรียงนามบัญญัติขึ้น เรื่องนี้ก็พอมีเค้า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้คนทั้งหลายก็ยังยอมรับ และยกให้ท่านจาง เป็นผู้รวบรวมมวยไท่เก๊กขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว เป็นปฐมปรมาจารย์มวยไท่เก๊กอยู่ดี ใครฝึกมวยไท่เก๊กแล้วเวลาตั้งโต๊ะไหว้ปรมาจารย์ ก็ไหว้ท่านจางนั่นแหละ ไม่ผิดแน่นอน
มีบันทึกว่า ท่านจางซานเฟิง มีศิษย์อยู่ 7 คน ที่ปรากฏในนิยายด้วยนั่นเองคือ ซ่งหย่วนเฉียว(ซ่งเอี๋ยงเกี๊ย), อวี๋เหลียนโจว (หยู่เหน่ยจิว), อวี๋ไต้เอี๋ยน(หยู่ไต่ง้ำ), จางสงซี (เตียส่งโคย) ,จางชุ่ยซัน(เตียชุ่ยซัว), อินลี่ถิง(ฮึงหลีเต๊ง), และ มั่วกู่เซิง(หมก กกเซีย) ในภายหลังยังมีบันทึกของท่านซ่งหย่วนเฉียวเรื่องมวยไท่เก๊กตกทอดมาถึงปัจจุบันในหมู่ลูกหลานตระกูลซ่งจริงๆ และก่อนสมัยท่านจาง ก็มีอยู่หลายมวยที่มีหลักการคล้ายๆ หรือมีท่วงท่าที่เหมือนๆ กับมวยไท่เก๊ก หรือมีชื่อท่าซ้ำกันกับมวยไท่เก๊กที่รู้จักกันในปัจจุบันโดยเฉพาะมวยไท่เก๊กของตระกูลหยางซึ่งหลายๆ ท่านเชื่อกันว่าเป็นมวยไท่เก๊กชุดที่ถูกถ่ายทอดมาแต่เดิมจริงๆ และมีการดัดแปลงน้อย แต่เท่าที่รู้ก็มีแค่ความคล้ายคลึงเท่านั้น ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นมวยไท่เก๊กได้ ที่นับว่าใช่ก็ตั้งแต่สมัยท่านจางซานเฟิงมานี่เอง บางท่านเชื่อกันว่า ที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กต่างๆ สายโน้นสายนี้ที่ฝึกๆ กันอยู่ หรือทะเลาะกันอยู่ว่าใครของแท้ไม่แท้นี่ เป็นคนละมวยกับมวยไท่เก๊กดั้งเดิมของท่านจาง ซึ่งมวยเดิมนั้นน่าจะสาบสูญไปแล้ว ที่มีอยู่ก็เพียงแต่อาศัยว่าท่านจางไม่ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อมวยไว้ ก็เลยตั้งชื่อซ้ำกันขึ้นมา อาศัยความดังของท่านว่างั้นเถอะ แต่ความเชื่อนี้ก็ค่อนข้างจะไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้ฝึกเองก็อยากมีเครดิตว่าฝึกมวยเก่าของแท้ดั้งเดิม แต่อีกนัยหนึ่งก็คือว่าวิชาที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กนี้แม้มีหลายสาย หลายสำนัก ท่วงท่าก็ไม่ค่อยเหมือนกัน หรือบางทีใช้ชื่ออื่นไปแล้วด้วยซ้ำ เช่น มวยยาว มวย 13 ท่า มวยสำลี ฯลฯ แต่ผู้คนก็ยังรู้อยู่ว่า นี่แหละที่เรียกว่ามวยไท่เก๊ก เพราะไม่ว่าจะหน้าตาอย่างไร หรือใช้ชื่ออะไร แต่เคล็ดความนั้นยังเป็นอันเดียวกัน หลักวิชาเดียวกัน ซึ่งหลักที่คลาสสิคที่สุดที่มักจะนำมาอ้างกันคือ คัมภีร์ที่เขียนขึ้นโดยท่านหวังจง หรือหวังจงเย่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิษย์ของท่านจางสงซี หนึ่งในเจ็ดศิษย์รักของท่านจางซานฟงนั่นเอง มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำว่า "หลังยุคซานเฟิง ยังมีหวังจง" ในปัจจุบันมวยมีมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงอยู่หลายตระกูล รวมทั้งที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกนับไม่ถ้วน ที่ค่อนข้างแพร่หลายหน่อยก็มีอยู่ห้าสำนักห้าตระกูล คือสำนักตระกูลเฉิน (ตั๊ง) หยาง (เอี๊ย) อู๋ (โง้ว) อู่ (บู้) และซุน (ซึง) ทั้งห้าตระกูลมีสายสัมพันธ์กันแน่นแฟ้น สืบสาวประวัติเกี่ยวดองกันชัดเจน
ภาพยนตร์จีนทั้งแบบซีรี่ส์และหนังใหญ่ที่เป็นเรื่องราวของจางซานเฟิงมีมากมาย ซีรี่ส์ที่ MC เคยดูตั้งแต่เป็นนักเรียนก็คือ "ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม" ครับ
ภาคแรกคือภาคกำเนิด ซึ่งจะมีเรื่องราว "จานจวินเป่า" อยู่วัดเส้าหลินแล้วถูกกดขี่ข่มเหงรังแกจนทนไม่ไหวต้องหนีลงจากเขา ฉากนี้ทำให้ MC ตอนนั้นร้องไห้มาแล้ว
เพลงเปิด ซีรี่ส์ ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม
เรื่องตอนที่ "จางจวินเป่า" หนีลงจากเขา เป็นอีก 1 ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า
ชีวิตคน อย่าได้บีบคั้นกันเกินไป !!
เพราะเมื่อคนถูกบีบคั้นด้วยความอยุติธรรม มันก็ต้องหนีไปให้พ้น จากความอยุติธรรมนั้น เท่านั้น !!!
แล้วพบกันใหม่ เสาร์-อาทิตย์หน้าครับ
เครดิต :
http://printhaha.blogspot.com/2009/07/blog-post.html
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 11/6/2017 - ไท่ฉี จางซานเฟิง
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้ผม MC WANG JIE (แอ๊ด) เข้าประจำการต่ออีก 1 วันครับ
วันนี้ เปลี่ยนแนวบ้าง จะเล่าเรื่องราวของ ปรมาจารย์จอมยุทธ จางซานเฟิง (เตียซำฮง) และ วิชามวย ไท่ฉี (ไท้เก๊ก) ครับ
จาง ซันเฟิง (สำเนียงจีนกลาง) หรือ เตียซำฮง (สำเนียงแต้จิ๋ว) (จีนตัวย่อ: 张三丰; จีนตัวเต็ม: 張三丰) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มักกล่าวถึงในภาพยนตร์หรือนิยายกำลังภายใน ที่มีชื่อเสียง เช่น เรื่อง ดาบมังกรหยก ซึ่งเขียนโดยกิมย้ง หรือจินหยง ยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวจีนนั่นเอง
เชื่อกันว่าจาง ซันเฟิง เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 ในสมัยปลายราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-ค.ศ. 1279) ที่มณฑลเหลียวหนิง มีชื่อเดิมว่า จาง เฉวียนอี หรือ จาง จวินอี้ว์ โดยที่ชื่อ ซันเฟิง นั้นเป็นฉายาที่เป็นนักบวชในลัทธิเต๋าแล้ว มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-ค.ศ. 1368) เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านสามัญชน จากการใช้กำลังภายใน การช่วยเหลือคนเจ็บไข้ แล้วมีอายุยืนยาวมาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-ค.ศ. 1654)และค่อย ๆ หายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีนหลังปี ค.ศ. 1459 ท่านใช้ชีวิตมากว่า 200 ปี และไม่มีประวัติการเสียชีวิต หลายคนเชื่อกันว่าหลังจากนั้นได้สำเร็จเป็นเซียนอมตะ
ในส่วนของ มวย ไท่ฉี หรือ ไท้เก๊ก ไม่มีใครรู้ประวัติที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ส่วนมากแล้วจะอ้างว่า นักพรต จางซานเฟิง (เตียซำฮง) ที่เคยเห็นอยู่ในหนังเรื่องดาบมังกรหยก คนที่เป็นอาจารย์ปู่ของพระเอกจอมยุทธ์เตียบ่อกี้นั่นแหละ เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่ท่านบังเอิญเปิดหน้าต่างบ้านออกมาแล้วก็เห็นนกกระเรียนกำลังต่อสู้กับงูอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นนกดุเหว่าตีกับงู สรุปว่าท่านเห็นนกสู้กับงู ท่านก็เกิดความปลาบปลื้มปิติยินดีว่าตนเองคิดวิชามวยขึ้นมาได้แล้ว อันที่จริงมวยจีนหลายๆ แขนงก็มักจะอ้างว่าคิดขึ้นมาจากนกกระเรียนบ้าง งูบ้าง หรือทั้งคู่เลย นับว่าเป็นสัตว์ยอดฮิตสำหรับการคิดมวยจีน นอกจากนี้ก็มีที่คิดมาจาก เสือ หมี ลิง ตั๊กแตน นกอินทรี ที่แปลกๆ เช่นหมา หรือเป็ดก็ยังมี (มวยเป็ดเนี่ยนะ ก็ได้เหรอ - -" ) หรือที่ยิ่งใหญ่ มากๆ อย่างมังกร ก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกัน (เอ้อ อย่างนี้สิน่าฝึกหน่อย เป็ดนี่ไม่ไหว ลองคิดดูเวลาทักทาย..." คารวะท่านเจ้าสำนักวิชามวยเป็ด!!! " - -" ) ตำนานไม่ได้บอกว่า กระเรียนกับงู ที่เป็นอาจารย์สอนมวยให้ท่านจาง หรือผลการสู้กันใครเป็นฝ่ายชนะ หรือเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อ แต่คาดว่าคงไม่ได้โดนท่านจางจับย่างกินเป็นแน่ เพราะท่านเป็นนักพรตเต๋า ก็ถือศีลกินเจครับ !!! ( รอดตัวไปสินะ ถ้าเป็นคนในประเทศสารขัณฑ์ กระเรียนคงได้โดนย่าง งูคงกลายเป็นผัดเผ็ด ไม่ก็แกงเผ็ด)
ท่านนักพรตจางซานเฟิงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อ จางจวินเป่า (เตียกุนป้อ) เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่า เคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
รูปข้างบนนี้ คือรูปท่านปรมาจารย์ ตั๊กม้อ หรือท่าน โพธิธรรม ผู้คิดค้นมวยเส้าหลินขึ้นมาจนเป็นมวยประจำชาติจีน สังเกตว่าหน้าท่านจะไม่ค่อยเหมือนคนจีน เพราะท่านเป็นพระอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศจีน จิตรกรที่วาดรูปท่านมักจะวาดให้ยืนอยู่บนปล้องอ้อ นัยว่าท่านเหยียบปล้องอ้อข้ามน้ำมา บางตำนานก็ว่าท่านเคยสอบได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮ่องเต้ไท่จง แต่เบื่อราชการงานเมือง ก็เลยลาออกจากราชการ ชื่อฮ่องเต้ไท่จงนี่รู้สึกจะมีหลายพระองค์ เช่น ไท่จงของหยวน ก็เรียกว่าหยวนไท่จง คือฮ่องเต้ชื่อไท่จงนี้จะใช้กับฮ่องเต้ที่เป็นต้นราชวงศ์ ประวัติตรงนี้แปลกๆอยู่ คือมีเรื่องว่าท่านจางเคยรับราชการแล้วลาออก จากนั้นก็เดินทางท่องเที่ยว จนมีโอกาสได้ฝึกมวยเส้าหลินสำเร็จในช่วงที่เดินทางนี่เอง ซึ่งอันนี้ดูขัดแย้งกันอยู่บ้าง คือหากท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่เมื่อลาออกมาก็คงอายุไม่น้อยแล้ว ขณะที่มวยเส้าหลินนั้นจะต้องฝึกกันตั้งแต่อายุยังน้อย หากกลับกันคือท่านต้องฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน แล้วไปรับราชการทีหลัง ยังจะน่าเชื่อกว่า อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่เอง เล่ากันว่าท่านมีโอกาสได้พบกับนักพรตหั่วหลงเจินเหริน หรือนักพรตมังกรไฟ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาอมตะของเซียนในลัทธิเต๋าให้กับท่าน (วิชาอมตะนี้ก็มีปรากฏอยู่ในนิยายจีนอยู่เนืองๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของหวงอี้) ด้วยความเป็นอัจฉริยะ ท่านก็ฝึกวิชาอมตะสำเร็จอีก จึงมีอายุยืนยาว อยู่มาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1654) ราชวงศ์หมิงหรือเหม็งนี่ก็คือพรรคเม้งก่าในดาบมังกรหยกของกิมย้งนั่นเอง)
กลับมาที่ประวัติท่านจาง เขาว่าท่านก็กลัวจะถูกเรียกกลับไปรับราชการอีก ก็เลยทำตัวสติเฟื่องไปพักหนึ่ง จนคิดว่าปลอดภัยแน่แล้วก็ไปอาศัยอยู่บนเขาอู่ตัง(บู๊ตึ๊ง) ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 1407 ฮ่องเต้เฉิงจู่ ได้ส่งข้าราชการไปเยี่ยมท่านที่เขาอู่ตังแต่ไม่พบ ก็เลยถือโอกาสสร้างอารามใหญ่โตไว้บนเขาเอาไว้ให้ จนในปี ค.ศ. 1459 ฮ่องเต้อิงจง ก็พระราชทานฉายาอมตะให้ จากนั้นชื่อของท่านก็ค่อยๆ จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ซึ่งถ้านับกันแล้วก็จะพบว่าท่านมีอายุเท่าที่รู้ๆ กันก็เกิน 200 ปี ระหว่างนั้นก็มีชื่อท่านปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะ จนนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นคนละจาง อยู่กันคนละสมัยแต่บังเอิญมีชื่อพ้องกัน ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าท่านเป็นผู้คิดค้นมวยไท่เก๊กขึ้นมา บางตำราว่า มวยไท่เก๊ก เกิดมาก่อนท่าน เพียงแต่บังเอิญว่าท่านจางเป็นผู้มีชื่อเสียงเอามากๆ แล้วท่านก็ดูเหมือนจะฝึกมวยไท่เก๊ก รวมทั้งสอนให้คนอื่นด้วย ก็เลยโมเมเอาว่า มวยนี้คิดขึ้นมาโดยท่านจางผู้ยิ่งใหญ่ ดีกว่าที่จะให้เป็นมวยที่คนไร้ชื่อเสียงเรียงนามบัญญัติขึ้น เรื่องนี้ก็พอมีเค้า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้คนทั้งหลายก็ยังยอมรับ และยกให้ท่านจาง เป็นผู้รวบรวมมวยไท่เก๊กขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว เป็นปฐมปรมาจารย์มวยไท่เก๊กอยู่ดี ใครฝึกมวยไท่เก๊กแล้วเวลาตั้งโต๊ะไหว้ปรมาจารย์ ก็ไหว้ท่านจางนั่นแหละ ไม่ผิดแน่นอน
มีบันทึกว่า ท่านจางซานเฟิง มีศิษย์อยู่ 7 คน ที่ปรากฏในนิยายด้วยนั่นเองคือ ซ่งหย่วนเฉียว(ซ่งเอี๋ยงเกี๊ย), อวี๋เหลียนโจว (หยู่เหน่ยจิว), อวี๋ไต้เอี๋ยน(หยู่ไต่ง้ำ), จางสงซี (เตียส่งโคย) ,จางชุ่ยซัน(เตียชุ่ยซัว), อินลี่ถิง(ฮึงหลีเต๊ง), และ มั่วกู่เซิง(หมก กกเซีย) ในภายหลังยังมีบันทึกของท่านซ่งหย่วนเฉียวเรื่องมวยไท่เก๊กตกทอดมาถึงปัจจุบันในหมู่ลูกหลานตระกูลซ่งจริงๆ และก่อนสมัยท่านจาง ก็มีอยู่หลายมวยที่มีหลักการคล้ายๆ หรือมีท่วงท่าที่เหมือนๆ กับมวยไท่เก๊ก หรือมีชื่อท่าซ้ำกันกับมวยไท่เก๊กที่รู้จักกันในปัจจุบันโดยเฉพาะมวยไท่เก๊กของตระกูลหยางซึ่งหลายๆ ท่านเชื่อกันว่าเป็นมวยไท่เก๊กชุดที่ถูกถ่ายทอดมาแต่เดิมจริงๆ และมีการดัดแปลงน้อย แต่เท่าที่รู้ก็มีแค่ความคล้ายคลึงเท่านั้น ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นมวยไท่เก๊กได้ ที่นับว่าใช่ก็ตั้งแต่สมัยท่านจางซานเฟิงมานี่เอง บางท่านเชื่อกันว่า ที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กต่างๆ สายโน้นสายนี้ที่ฝึกๆ กันอยู่ หรือทะเลาะกันอยู่ว่าใครของแท้ไม่แท้นี่ เป็นคนละมวยกับมวยไท่เก๊กดั้งเดิมของท่านจาง ซึ่งมวยเดิมนั้นน่าจะสาบสูญไปแล้ว ที่มีอยู่ก็เพียงแต่อาศัยว่าท่านจางไม่ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อมวยไว้ ก็เลยตั้งชื่อซ้ำกันขึ้นมา อาศัยความดังของท่านว่างั้นเถอะ แต่ความเชื่อนี้ก็ค่อนข้างจะไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้ฝึกเองก็อยากมีเครดิตว่าฝึกมวยเก่าของแท้ดั้งเดิม แต่อีกนัยหนึ่งก็คือว่าวิชาที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กนี้แม้มีหลายสาย หลายสำนัก ท่วงท่าก็ไม่ค่อยเหมือนกัน หรือบางทีใช้ชื่ออื่นไปแล้วด้วยซ้ำ เช่น มวยยาว มวย 13 ท่า มวยสำลี ฯลฯ แต่ผู้คนก็ยังรู้อยู่ว่า นี่แหละที่เรียกว่ามวยไท่เก๊ก เพราะไม่ว่าจะหน้าตาอย่างไร หรือใช้ชื่ออะไร แต่เคล็ดความนั้นยังเป็นอันเดียวกัน หลักวิชาเดียวกัน ซึ่งหลักที่คลาสสิคที่สุดที่มักจะนำมาอ้างกันคือ คัมภีร์ที่เขียนขึ้นโดยท่านหวังจง หรือหวังจงเย่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิษย์ของท่านจางสงซี หนึ่งในเจ็ดศิษย์รักของท่านจางซานฟงนั่นเอง มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำว่า "หลังยุคซานเฟิง ยังมีหวังจง" ในปัจจุบันมวยมีมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงอยู่หลายตระกูล รวมทั้งที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกนับไม่ถ้วน ที่ค่อนข้างแพร่หลายหน่อยก็มีอยู่ห้าสำนักห้าตระกูล คือสำนักตระกูลเฉิน (ตั๊ง) หยาง (เอี๊ย) อู๋ (โง้ว) อู่ (บู้) และซุน (ซึง) ทั้งห้าตระกูลมีสายสัมพันธ์กันแน่นแฟ้น สืบสาวประวัติเกี่ยวดองกันชัดเจน
ภาพยนตร์จีนทั้งแบบซีรี่ส์และหนังใหญ่ที่เป็นเรื่องราวของจางซานเฟิงมีมากมาย ซีรี่ส์ที่ MC เคยดูตั้งแต่เป็นนักเรียนก็คือ "ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม" ครับ
ภาคแรกคือภาคกำเนิด ซึ่งจะมีเรื่องราว "จานจวินเป่า" อยู่วัดเส้าหลินแล้วถูกกดขี่ข่มเหงรังแกจนทนไม่ไหวต้องหนีลงจากเขา ฉากนี้ทำให้ MC ตอนนั้นร้องไห้มาแล้ว
เรื่องตอนที่ "จางจวินเป่า" หนีลงจากเขา เป็นอีก 1 ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตคน อย่าได้บีบคั้นกันเกินไป !!
เพราะเมื่อคนถูกบีบคั้นด้วยความอยุติธรรม มันก็ต้องหนีไปให้พ้น จากความอยุติธรรมนั้น เท่านั้น !!!
แล้วพบกันใหม่ เสาร์-อาทิตย์หน้าครับ
เครดิต : http://printhaha.blogspot.com/2009/07/blog-post.html