ขอคำปรึกษาเรื่องถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ด้วยตนเอง ออกจากคู่สัญญากู้ซื้อบ้าน
ผมรบกวนขอคำปรึกษา จากท่านผู้รู้ หรือท่านที่เคยเจอกรณีใกล้เคียงกัน ขอคำแนะนำด้วยครับ
เพราะคิดว่าถ้าปล่อยให้เป็นพันธะผูกพันอยู่ จะส่งผลเสียมาก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตครับ
ประเด็นคือ “ผู้กู้หลัก” ไม่สามารถชำระเงินงวดได้ และไม่ยินยอมขายบ้าน
ผมขอเล่าเรื่องราวให้ฟังตั้งแต่ต้น และปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ครับ
เหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นของเพื่อนสนิทของผมเองครับ ซึ่งเค้าได้ปรึกษาธนาคาร ก. ที่เป็นเจ้าของสัญญากู้ ในเบื้องต้นแล้ว
เนื่องจากเจ้าตัวเค้าไม่ถนัดทางด้านโซเชียล ผมจึงอาสาจะมาช่วยหาข้อมูลจากเพื่อนๆ ในพันทิพย์อีกทางหนึ่งครับ
เรื่องตั้งแต่อดีต
เริ่มเรื่องจากเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพื่อนของผม (สมมติชื่อนายเอ นะครับ) ใช้ชีวิตอยู่กับแฟนของเค้า (สมมติชื่อ น.ส.บี นะครับ)
ทั้งสองตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เมื่อ น.ส.บี มีความต้องการที่จะซื้อที่ดินจากญาติที่ ตจว. และปลูกบ้านให้กับพ่อแม่ได้อาศัยอยู่ แต่ตัว น.ส.บี (ผู้กู้หลัก) นั้นทำงานประจำเงินเดือนไม่สูง ไม่สามารถที่จะกู้ซื้อที่ดินและปลูกบ้านตามงบประมาณที่ตั้งไว้ได้ จึงได้คุยกับนายเอ. เพื่อให้ใช้ชื่อเป็น “ผู้กู้ร่วม” ในการทำธุรกรรมดังกล่าว ซึ่ง ณ ตอนนั้นทางธนาคาร ก. ได้แนะนำว่าให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ ว่าทั้งคู่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา เพื่อที่จะนำบันทึกประจำวันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานในการยื่นเรื่องกับทางธนาคาร โดยในการทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านและที่ดินครั้งนี้ ในเอกสารลงว่าทั้งคู่มีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินดังกล่าว ทุกสิ่งดำเนินการณ์ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งสองตัดสินใจแยกทางกัน (เลิกกันไปแบบไม่ดีนัก-ตรงนี้ผมขอละเว้นรายละเอียดครับ)
ในขณะนั้นยังมีพันธะผูกพันเรื่องกู้ร่วมอยู่ โดยนายเอ. แจ้งต่อ น.ส.บี ว่า ยินดีจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ และต้องการถอนชื่อตนเองจากผู้กู้ร่วม โดยให้ น.ส.บี เป็นคนดำเนินการกับธนาคาร ก. จะได้ไม่ต้องมีพันธะผูกพันระหว่างกันอีก
เรื่องในปัจจุบัน
หลังจากเลิกกันผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้(ปี2560) ก็ยังไม่มีการกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้นกับบ้านหลังนี้(สัญญากู้นี้ยังคงมีนายเอ. เป็นผู้กู้ร่วม) น.ส.บี ยังคงเป็นฝ่ายส่งค่างวดบ้านต่อไป บางครั้งไม่ได้ส่งหลายเดือน ทางธนาคาร ก. ติดต่อทวงหนี้มาที่นายเอ. โดยที่นายเอ. ก็แจ้งผ่านญาติของ น.ส.บี ให้ไปชำระ และเป็นอย่างนี้เรื่อยมา
ในช่วงเวลาหลังจากเลิกกัน ต่างฝ่ายก็ไปมีครอบครัวใหม่ โดยนายเอ. ได้กู้ซื้อบ้านเป็นของตนเอง กับธนาคาร ข.
ปัญหาเกิดขึ้นกับนายเอ. เมื่อนายเอ. ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านที่ตนเองซื้อใหม่กับทางธนาคาร ข. เพื่อปรับอัตราดอกเบี้ย และวงเงินท็อปอัพ
ทางธนาคาร ข. ได้พิจารณาคำขอรีไฟแนนซ์ของนายเอ. หลังไปตรวจสอบประวัติการชำระเงิน และบูโร พบว่านายเอ. มีชื่อติดสัญญาเป็นผู้กู้ร่วมกับสัญญาอื่นด้วย ซึ่งสัญญาที่ติดอยู่นั้นขึ้นสถานะ “past due”
ธนาคาร ข. แจ้งให้นายเอ. ไปดำเนินเรื่องเพื่อให้สัญญาที่ติดอยู่กับธนาคาร ก. มี “สถานะปกติ” ก่อน ธนาคาร ข. จึงจะดำเนินการพิจารณาคำขอรีไฟแนนซ์ของนายเอ.ได้ ทั้งที่ประวัติการชำระค่างวดของนายเอ. กับธนาคาร ข. มีประวัติดี ชำระตรงเวลา ไม่เคยล่าช้า
ยอดเงินงวดที่ชำระต่อเดือน เมื่อเทียบกับบ้านหลังที่ติดสัญญาเป็นชื่อผู้กู้ร่วมกับธนาคาร ก. เป็นจำนวนเงินต่างกันหลายเท่ามาก (หลังที่เป็นชื่อผู้กู้ร่วม ยอดเงินงวดประมาณ 8,000 บาท ส่วนหลังที่นายเอ. ซื้อคนเดียวยอดเงินงวดอยู่ที่ 8 หมื่นกว่าบาท ซึ่งผ่อนมาแล้ว 5 ปี)
แต่ทางธนาคาร ข. ยังคงยืนยันว่า นายเอ.ต้องมีเอกสารจากธนาคาร ก. ที่มี “สถานะปกติ” มาแนบเรื่อง เพราะมันเป็นระเบียบของธนาคาร
นายเอ. โทรไปปรึกษาธนาคาร ก. ทางเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1. แนะนำให้นายเอ. ชำระค่างวดที่คงค้าง ตามยอดที่ธนาคาร ก. แจ้ง เพื่อให้สถานะทางบัญชี กลับมาเป็น “สถานะปกติ” และนำใบเสร็จรับเงินนี้ ไปแนบเรื่องกับ ธนาคาร ข. (ยอดที่ธนาคาร ก. แจ้งให้ชำระ ประมาณ 2 หมื่นบาท ซึ่งนายเอ. ตัดสินใจชำระให้กับธนาคาร ก. เพื่อให้เรื่องรีไฟแนนซ์สามารถพิจารณาได้)
2. แนะนำให้ทำการถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ออก หรือเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมไปเป็นคนอื่น โดยวิธีการนี้ มีปัญหาคือ
(2.1) น.ส.บี ซึ่งเป็นผู้กู้หลัก มีรายได้ไม่เพียงพอ ที่ธนาคาร ก. จะพิจารณาให้วงเงินกู้ตามยอดหนี้คงค้าง (ผมคาดเดาจากที่ น.ส. บี ติดค้างค่างวด จนธนาคาร ก. ติดต่อมาทวงหนี้ที่นายเอ.)
(2.2) น.ส.บี ติดแบล็คลิสท์ และบูโร เนื่องจากค้างชำระค่างวด บัตรเครดิต และอื่นๆ
3. แนะนำให้ขายบ้านนี้ เพื่อชำระหนี้คงค้าง ซึ่งทาง น.ส.บี ไม่ยอม เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ จะพยายามส่งไปเรื่อย ๆ
ผมขอคำแนะนำเรื่องการถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ออก จากคำถามต่อไปนี้ครับ
1. นายเอ. สามารถดำเนินการทำอะไรกับธนาคาร ก. ได้ด้วยตนเอง ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับ น.ส. บี เพื่อถอนชื่อออกจาก “ผู้กู้ร่วม” ทำได้หรือไม่ครับ
2. สืบเนื่องจากคำถามที่ 1. หากนายเอ. ไม่สามารถกระทำการใดได้ด้วยตนเอง และแจ้ง น.ส.บี ให้ไปดำเนินการกับธนาคาร ก. แล้ว และ น.ส.บี ไม่กระทำการใดๆ ทั้งสิ้น นายเอ. จะต้องทำอย่างไรได้บ้างครับ นายเอ. ยินดีโอนกรรมสิทธิ์ให้ น.ส.บี โดยไม่เรียกร้องสิทธิ์หรือทรัพย์สินใด ๆ ของบ้านหลังที่กู้ร่วมกัน ต้องการตัดขาดถาวร ต้องการให้ทุกอย่างจบโดยเร็วที่สุด
3. ขอให้ท่านที่มีประสบการณ์คล้ายกัน แนะนำด้วยครับผม
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาอ่าน และให้คำแนะนำครับ
ขอคำปรึกษาเรื่องถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ด้วยตนเอง ออกจากคู่สัญญากู้ซื้อบ้าน
ผมรบกวนขอคำปรึกษา จากท่านผู้รู้ หรือท่านที่เคยเจอกรณีใกล้เคียงกัน ขอคำแนะนำด้วยครับ
เพราะคิดว่าถ้าปล่อยให้เป็นพันธะผูกพันอยู่ จะส่งผลเสียมาก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตครับ
ประเด็นคือ “ผู้กู้หลัก” ไม่สามารถชำระเงินงวดได้ และไม่ยินยอมขายบ้าน
ผมขอเล่าเรื่องราวให้ฟังตั้งแต่ต้น และปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ครับ
เหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นของเพื่อนสนิทของผมเองครับ ซึ่งเค้าได้ปรึกษาธนาคาร ก. ที่เป็นเจ้าของสัญญากู้ ในเบื้องต้นแล้ว
เนื่องจากเจ้าตัวเค้าไม่ถนัดทางด้านโซเชียล ผมจึงอาสาจะมาช่วยหาข้อมูลจากเพื่อนๆ ในพันทิพย์อีกทางหนึ่งครับ
เรื่องตั้งแต่อดีต
เริ่มเรื่องจากเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพื่อนของผม (สมมติชื่อนายเอ นะครับ) ใช้ชีวิตอยู่กับแฟนของเค้า (สมมติชื่อ น.ส.บี นะครับ)
ทั้งสองตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เมื่อ น.ส.บี มีความต้องการที่จะซื้อที่ดินจากญาติที่ ตจว. และปลูกบ้านให้กับพ่อแม่ได้อาศัยอยู่ แต่ตัว น.ส.บี (ผู้กู้หลัก) นั้นทำงานประจำเงินเดือนไม่สูง ไม่สามารถที่จะกู้ซื้อที่ดินและปลูกบ้านตามงบประมาณที่ตั้งไว้ได้ จึงได้คุยกับนายเอ. เพื่อให้ใช้ชื่อเป็น “ผู้กู้ร่วม” ในการทำธุรกรรมดังกล่าว ซึ่ง ณ ตอนนั้นทางธนาคาร ก. ได้แนะนำว่าให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ ว่าทั้งคู่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา เพื่อที่จะนำบันทึกประจำวันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานในการยื่นเรื่องกับทางธนาคาร โดยในการทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านและที่ดินครั้งนี้ ในเอกสารลงว่าทั้งคู่มีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินดังกล่าว ทุกสิ่งดำเนินการณ์ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งสองตัดสินใจแยกทางกัน (เลิกกันไปแบบไม่ดีนัก-ตรงนี้ผมขอละเว้นรายละเอียดครับ)
ในขณะนั้นยังมีพันธะผูกพันเรื่องกู้ร่วมอยู่ โดยนายเอ. แจ้งต่อ น.ส.บี ว่า ยินดีจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ และต้องการถอนชื่อตนเองจากผู้กู้ร่วม โดยให้ น.ส.บี เป็นคนดำเนินการกับธนาคาร ก. จะได้ไม่ต้องมีพันธะผูกพันระหว่างกันอีก
เรื่องในปัจจุบัน
หลังจากเลิกกันผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้(ปี2560) ก็ยังไม่มีการกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้นกับบ้านหลังนี้(สัญญากู้นี้ยังคงมีนายเอ. เป็นผู้กู้ร่วม) น.ส.บี ยังคงเป็นฝ่ายส่งค่างวดบ้านต่อไป บางครั้งไม่ได้ส่งหลายเดือน ทางธนาคาร ก. ติดต่อทวงหนี้มาที่นายเอ. โดยที่นายเอ. ก็แจ้งผ่านญาติของ น.ส.บี ให้ไปชำระ และเป็นอย่างนี้เรื่อยมา
ในช่วงเวลาหลังจากเลิกกัน ต่างฝ่ายก็ไปมีครอบครัวใหม่ โดยนายเอ. ได้กู้ซื้อบ้านเป็นของตนเอง กับธนาคาร ข.
ปัญหาเกิดขึ้นกับนายเอ. เมื่อนายเอ. ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านที่ตนเองซื้อใหม่กับทางธนาคาร ข. เพื่อปรับอัตราดอกเบี้ย และวงเงินท็อปอัพ
ทางธนาคาร ข. ได้พิจารณาคำขอรีไฟแนนซ์ของนายเอ. หลังไปตรวจสอบประวัติการชำระเงิน และบูโร พบว่านายเอ. มีชื่อติดสัญญาเป็นผู้กู้ร่วมกับสัญญาอื่นด้วย ซึ่งสัญญาที่ติดอยู่นั้นขึ้นสถานะ “past due”
ธนาคาร ข. แจ้งให้นายเอ. ไปดำเนินเรื่องเพื่อให้สัญญาที่ติดอยู่กับธนาคาร ก. มี “สถานะปกติ” ก่อน ธนาคาร ข. จึงจะดำเนินการพิจารณาคำขอรีไฟแนนซ์ของนายเอ.ได้ ทั้งที่ประวัติการชำระค่างวดของนายเอ. กับธนาคาร ข. มีประวัติดี ชำระตรงเวลา ไม่เคยล่าช้า
ยอดเงินงวดที่ชำระต่อเดือน เมื่อเทียบกับบ้านหลังที่ติดสัญญาเป็นชื่อผู้กู้ร่วมกับธนาคาร ก. เป็นจำนวนเงินต่างกันหลายเท่ามาก (หลังที่เป็นชื่อผู้กู้ร่วม ยอดเงินงวดประมาณ 8,000 บาท ส่วนหลังที่นายเอ. ซื้อคนเดียวยอดเงินงวดอยู่ที่ 8 หมื่นกว่าบาท ซึ่งผ่อนมาแล้ว 5 ปี)
แต่ทางธนาคาร ข. ยังคงยืนยันว่า นายเอ.ต้องมีเอกสารจากธนาคาร ก. ที่มี “สถานะปกติ” มาแนบเรื่อง เพราะมันเป็นระเบียบของธนาคาร
นายเอ. โทรไปปรึกษาธนาคาร ก. ทางเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1. แนะนำให้นายเอ. ชำระค่างวดที่คงค้าง ตามยอดที่ธนาคาร ก. แจ้ง เพื่อให้สถานะทางบัญชี กลับมาเป็น “สถานะปกติ” และนำใบเสร็จรับเงินนี้ ไปแนบเรื่องกับ ธนาคาร ข. (ยอดที่ธนาคาร ก. แจ้งให้ชำระ ประมาณ 2 หมื่นบาท ซึ่งนายเอ. ตัดสินใจชำระให้กับธนาคาร ก. เพื่อให้เรื่องรีไฟแนนซ์สามารถพิจารณาได้)
2. แนะนำให้ทำการถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ออก หรือเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมไปเป็นคนอื่น โดยวิธีการนี้ มีปัญหาคือ
(2.1) น.ส.บี ซึ่งเป็นผู้กู้หลัก มีรายได้ไม่เพียงพอ ที่ธนาคาร ก. จะพิจารณาให้วงเงินกู้ตามยอดหนี้คงค้าง (ผมคาดเดาจากที่ น.ส. บี ติดค้างค่างวด จนธนาคาร ก. ติดต่อมาทวงหนี้ที่นายเอ.)
(2.2) น.ส.บี ติดแบล็คลิสท์ และบูโร เนื่องจากค้างชำระค่างวด บัตรเครดิต และอื่นๆ
3. แนะนำให้ขายบ้านนี้ เพื่อชำระหนี้คงค้าง ซึ่งทาง น.ส.บี ไม่ยอม เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ จะพยายามส่งไปเรื่อย ๆ
ผมขอคำแนะนำเรื่องการถอนชื่อ “ผู้กู้ร่วม” ออก จากคำถามต่อไปนี้ครับ
1. นายเอ. สามารถดำเนินการทำอะไรกับธนาคาร ก. ได้ด้วยตนเอง ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับ น.ส. บี เพื่อถอนชื่อออกจาก “ผู้กู้ร่วม” ทำได้หรือไม่ครับ
2. สืบเนื่องจากคำถามที่ 1. หากนายเอ. ไม่สามารถกระทำการใดได้ด้วยตนเอง และแจ้ง น.ส.บี ให้ไปดำเนินการกับธนาคาร ก. แล้ว และ น.ส.บี ไม่กระทำการใดๆ ทั้งสิ้น นายเอ. จะต้องทำอย่างไรได้บ้างครับ นายเอ. ยินดีโอนกรรมสิทธิ์ให้ น.ส.บี โดยไม่เรียกร้องสิทธิ์หรือทรัพย์สินใด ๆ ของบ้านหลังที่กู้ร่วมกัน ต้องการตัดขาดถาวร ต้องการให้ทุกอย่างจบโดยเร็วที่สุด
3. ขอให้ท่านที่มีประสบการณ์คล้ายกัน แนะนำด้วยครับผม
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาอ่าน และให้คำแนะนำครับ