มารู้จักกับ โรคเก็บสะสมของ หรือ hoarding disorder กัน

ไปอ่านเจอมา แล้วก็ไม่เคยคิดเลยว่า อาการเก็บของไปเรื่อยๆไม่ทิ้งแบบนี้มันคือโรคสะสมของค่ะ
ใครเข้าข่ายบ้าง
Copy มานะคะ

เก็บของมากไป-ไม่กล้าทิ้ง เข้าข่าย “โรคเก็บสะสมของ”
ถ้าผู้สูงอายุที่บ้าน มีพฤติกรรมชอบเก็บสะสมของมากเกินไป แถมยังไม่กล้าทิ้ง ซะจนของมีปริมาณล้นบ้าน รกเลอะเทอะไปหมด นั่นอาจเป็นสัญญาณของ `โรคเก็บสะสมของ` ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชก็เป็นได้ วันนี้เราเลยขอพาคุณมารู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียด พร้อมวิธีการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง ตามนี้เลยค่ะ

โรคเก็บสะสมของ หรือ hoarding disorder เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
- มักพบได้ประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป
- พบในคนโสดมากกว่าคนมีคู่
- เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต
- โรคนี้ มักแสดงปัญหาหนักเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เนื่องจากผลข้างเคียงของโรคสมองเสื่อม ที่ทำให้การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพลดลง และของที่สะสมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนรบกวนชีวิตประจำวัน

สาเหตุ
1. กรรมพันธุ์ : พบว่า 80% ของผู้ป่วยจะมีญาติสายตรงที่มีอาการคล้ายกัน
2. การทำงานของสมอง : โรคสมองเสื่อม หรือสมองบางส่วนทำงานลดลง ส่งผลต่อการคิดและการตัดสินใจ

อาการ
1. เก็บของไว้มากเกินไป : แม้ว่าของนั้นจะไม่มีประโยชน์ เช่น หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก และขวดต่างๆ เยอะกว่าปกติ
2. ตัดใจทิ้งของไม่ได้ : โดยมักคิดว่า “อาจจะได้ใช้” หรือทิ้งแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ
3. ของสะสมรบกวนชีวิต : ของที่เก็บไว้มากไป อาจทำให้เกิดอันตราย หรือรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น เก็บฝุ่นจนเกิดภูมิแพ้, ของเกะกะจนเกิดอุบัติเหตุ
4. ไม่คิดว่าผิดปกติ : ผู้ป่วยมักคิดว่า การเก็บของของตัวเองสมเหตุสมผล แต่ในสายตาคนอื่นนั้นผิดปกติ

การรักษา
1. ใช้ยา : กลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressant) แต่ได้ผลเล็กน้อย
2. ใช้จิตวิทยา : สอนการตัดสินใจ(ในการเก็บ/ทิ้งของ), การจัดกลุ่ม และวิธีเก็บของที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดอาการได้ 1 ใน 3

ขอบคุณข้อมูลจาก thaihealth.or.th, FB : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

ที่มา : http://www.certainty.co.th/article/detail/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%9D
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่