กสทช.ย้ำ ดีแทค 2300 MHz ออกแพกเกจรวมทั้งวอยซ์และดาต้าไม่ได้
สงสัยไม่ค่อยรัก “ฐากร” เผยยังไม่ได้รับหนังสือดีแทค และทีโอที เป็นคู่ค้าคลื่นความถี่ 2300 MHz ชี้หากยังไม่ได้จำเป็นต้องทวงถาม เพราะ กสทช.มีสิทธิตรวจสอบ ย้ำดีแทค ให้บริการได้แค่ดาต้าเท่านั้น ไม่สามารถไปออกแพกเกจรวมบริการด้านเสียง และข้อมูลได้ และต้องส่งโปรโมชันให้กสทช.ตรวจสอบด้วย ไม่เช่นนั้นจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช.ยังไม่ได้รับสัญญาการเป็นคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค หลังจากที่ดีแทค ได้ถูกรับเลือกเป็นคู่ค้าในการพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD ดังนั้น หากภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ ยังไม่รับ จะทำหนังสือทวงถามไปยังทีโอที ในฐานะที่ กสทช.อนุญาตให้ทีโอที สามารถปรับปรุงคลื่นความถี่ดังกล่าวได้จำนวน 60 MHz และมีสิทธิใช้งานจนถึงปี 2568
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า สัญญาคู่ค้าของทีโอที และดีแทค จะต้องไม่ให้บริการเกินขอบเขตที่กสทช.อนุญาตไว้ โดยเฉพาะการให้ทำแพกเกจ และโปรโมชันสำหรับให้บริการ 4G โดยการอนุญาตของ กสทช.ระบุให้การใช้คลื่น 2300 MHz เฉพาะประเภทบริการดาต้า คือ อินเทอร์เน็ตไร้สาย และฟิกซ์ บรอดแบนด์ เท่านั้น ทำให้ดีแทค ไม่สามารถนำคลื่น 2300 MHz ไปออกแพกเกจรวมบริการด้านเสียง (วอยซ์) และข้อมูล (ดาต้า) ได้ และการให้บริการต้องแยกแพกเกจโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ ก่อนจะให้บริการบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ดีแทคต้องส่งรายการส่งเสริมการตลาดแพกเกจ และโปรโมชันทั้งหมดมาให้สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบด้วย ซึ่งหากในสัญญาคู่ค้าระหว่างทีโอที กับดีแทค ไม่ถูกต้องตามนี้ก็มีสิทธิที่ กสทช.จะเพิกถอนการอนุญาตแก่ทีโอที
ก่อนหน้านี้ นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ โดยกลุ่มบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีสถานีฐานจำนวนประมาณ 20,000 กว่าแห่ง ให้ทีโอที เช่าใช้งาน ซึ่งมากที่สุดในบรรดาโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย โดยทีโอที เป็นผู้บริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารไร้สายนี้ด้วยตนเอง และจะให้บริษัทในกลุ่มฯ ใช้บริการโดยทีโอที จะมีรายได้ ปีละ 4,510 ล้านบาท สำหรับการใช้งานโครงข่าย 60% ด้วยจุดเด่นของบริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งมีช่องสัญญาณที่กว้างถึง 60 MHz สามารถให้บริการดาวน์โหลดได้ถึง 300 เมกะบิตโดยในอนาคต ทีโอทีมีแผนที่จะนำไปขยายเพื่อให้บริการให้พื้นที่ห่างไกลตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ
สำหรับขั้นตอนของทีโอทีขณะนี้ คือ ร่างสัญญาฉบับจริงเพื่อเสนอให้บอร์ดพิจารณากลางเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากนั้น ในปลายเดือน จะส่งสัญญาไปยังสำนักงาน กสทช. เพื่อดูความเป็นไป และให้ถูกต้องตามมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดคลื่นความถี่กิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบสัญญา โดยทีโอที และดีแทค เชื่อมั่นว่า จะสามารถลงนามในข้อตกลงภายในไตรมาสสี่ปีนี้ หรืออย่างเร็วคือภายในเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้
แหล่งข่าว
Website Manager Online
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000057302
ช้าก่อน !!! กสทช.ย้ำ ดีแทค 2300 MHz ออกแพกเกจรวมทั้งวอยซ์และดาต้าไม่ได้
กสทช.ย้ำ ดีแทค 2300 MHz ออกแพกเกจรวมทั้งวอยซ์และดาต้าไม่ได้
สงสัยไม่ค่อยรัก “ฐากร” เผยยังไม่ได้รับหนังสือดีแทค และทีโอที เป็นคู่ค้าคลื่นความถี่ 2300 MHz ชี้หากยังไม่ได้จำเป็นต้องทวงถาม เพราะ กสทช.มีสิทธิตรวจสอบ ย้ำดีแทค ให้บริการได้แค่ดาต้าเท่านั้น ไม่สามารถไปออกแพกเกจรวมบริการด้านเสียง และข้อมูลได้ และต้องส่งโปรโมชันให้กสทช.ตรวจสอบด้วย ไม่เช่นนั้นจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช.ยังไม่ได้รับสัญญาการเป็นคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค หลังจากที่ดีแทค ได้ถูกรับเลือกเป็นคู่ค้าในการพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD ดังนั้น หากภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ ยังไม่รับ จะทำหนังสือทวงถามไปยังทีโอที ในฐานะที่ กสทช.อนุญาตให้ทีโอที สามารถปรับปรุงคลื่นความถี่ดังกล่าวได้จำนวน 60 MHz และมีสิทธิใช้งานจนถึงปี 2568
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า สัญญาคู่ค้าของทีโอที และดีแทค จะต้องไม่ให้บริการเกินขอบเขตที่กสทช.อนุญาตไว้ โดยเฉพาะการให้ทำแพกเกจ และโปรโมชันสำหรับให้บริการ 4G โดยการอนุญาตของ กสทช.ระบุให้การใช้คลื่น 2300 MHz เฉพาะประเภทบริการดาต้า คือ อินเทอร์เน็ตไร้สาย และฟิกซ์ บรอดแบนด์ เท่านั้น ทำให้ดีแทค ไม่สามารถนำคลื่น 2300 MHz ไปออกแพกเกจรวมบริการด้านเสียง (วอยซ์) และข้อมูล (ดาต้า) ได้ และการให้บริการต้องแยกแพกเกจโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ ก่อนจะให้บริการบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ดีแทคต้องส่งรายการส่งเสริมการตลาดแพกเกจ และโปรโมชันทั้งหมดมาให้สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบด้วย ซึ่งหากในสัญญาคู่ค้าระหว่างทีโอที กับดีแทค ไม่ถูกต้องตามนี้ก็มีสิทธิที่ กสทช.จะเพิกถอนการอนุญาตแก่ทีโอที
ก่อนหน้านี้ นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ โดยกลุ่มบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีสถานีฐานจำนวนประมาณ 20,000 กว่าแห่ง ให้ทีโอที เช่าใช้งาน ซึ่งมากที่สุดในบรรดาโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย โดยทีโอที เป็นผู้บริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารไร้สายนี้ด้วยตนเอง และจะให้บริษัทในกลุ่มฯ ใช้บริการโดยทีโอที จะมีรายได้ ปีละ 4,510 ล้านบาท สำหรับการใช้งานโครงข่าย 60% ด้วยจุดเด่นของบริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งมีช่องสัญญาณที่กว้างถึง 60 MHz สามารถให้บริการดาวน์โหลดได้ถึง 300 เมกะบิตโดยในอนาคต ทีโอทีมีแผนที่จะนำไปขยายเพื่อให้บริการให้พื้นที่ห่างไกลตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ
สำหรับขั้นตอนของทีโอทีขณะนี้ คือ ร่างสัญญาฉบับจริงเพื่อเสนอให้บอร์ดพิจารณากลางเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากนั้น ในปลายเดือน จะส่งสัญญาไปยังสำนักงาน กสทช. เพื่อดูความเป็นไป และให้ถูกต้องตามมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดคลื่นความถี่กิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบสัญญา โดยทีโอที และดีแทค เชื่อมั่นว่า จะสามารถลงนามในข้อตกลงภายในไตรมาสสี่ปีนี้ หรืออย่างเร็วคือภายในเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้
แหล่งข่าว
Website Manager Online
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000057302