นักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตแล้ว เค้าต้องรอคิวอะไรกันหรอ

สงสัยจริงๆนะ ว่านักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตแล้วเนี่ย ต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่ถึงจะได้รับโทษ เค้ามีหลักเกณฑ์อะไรในการรอหรือป่าว
คือดูเหมือนว่าก็ไม่ได้มีการประหารทุกวันวันละเป็นสิบเป็นร้อยคน จนถึงกับต้องรอนานน่ะ
วานผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจทีค่ะ ที่ถามไม่ได้อะไร แค่กังวลว่าการตัดสินประหารชีวิตจะหายไปจากประเทศไทยแบบถาวร (น่าจะเหลือเวลาอีกไม่เกิน 2 ปีป่ะคะ ถ้าจำไม่ผิด) คหสต.คิดว่า โทษนี้ก็ยังจำเป็นสำหรับบ้านเราอยู่นะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
นักโทษประหารทุกคน จะต้องได้รับจะได้รับการทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ ตาม วิอาญามาตรา 262 -247-248 แล้วแต่กรณ๊
แล้วถ้า ผลการทูลเกล้าตกมาว่าหรือไม่ ถ้าไม่เตรียมตัวเข้าสู่การประหาร ซึ่งใช้เวลานานพอควร

มาตรา 247 คดีที่จำเลยต้องประหารชีวิต ห้ามมิให้บังคับตาม คำพิพากษาจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอภัยโทษแล้ว
หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตรแล้ว
ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิงนั้นเลี้ยงดูบุตรตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ

มาตรา 248 ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเกิด วิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่า ผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำนาจยก มาตรา 46 วรรค (2) แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับถ้าผู้วิกลจริตหายภายหลังปีหนึ่งนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 261 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมี หน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่
ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อ พระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้

มาตรา 261ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็น การสมควรจะถวาย คำแนะนำต่อพระมาหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้อง โทษก็ได้
การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 262 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 247 และ มาตรา 248 เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ให้เจ้าหน้าที่นำตัวผู้นั้นไปประหารชีวิตเมื่อ พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันฟังคำพิพากษา เว้นแต่ในกรณีที่มีการถวายเรื่องราวหรือคำแนะนำขอให้พระราชทานอภัยโทษตาม มาตรา 261 ก็ให้ทุเลาการ ประหารชีวิตไว้จนกว่าจะพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ถวายเรื่องราวหรือคำแนะนำขึ้นไปนั้น แต่ถ้าทรงยกเรื่องราวนั้นเสีย ก็ให้จัดการประหารชีวิตก่อนกำหนดนี้ได้
เรื่องราวหรือคำแนะนำขอ พระราชทางอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ให้ถวายได้แต่ครั้งเดียวเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่