ป่าเต็งร้งต้นฤดูฝนเริงร่า
ทิ้งร่องรอยเผาไหม้จากไฟป่าเป็นย่อมๆ
กว่าจะมีฝนแรก คงผ่านความแห้งแล้งมาไม่น้อยเลย
บ่อซิเมนต์เล็กๆนั่น คือน้ำบ่อน้อยช่วยชีวิต ยามธารน้ำหายไปจากป่า
เนื้อทราย ย่างผ่านม่านไม้
แทะเล็มหญ้าระบัด
โบกหางเพลินใจ ไม่ต้องระวังภัยอะไรมากนัก
ป่าส่งสัญญาณ แต่เริ่มเข้าเขตฯ
นกหัวขวานขานรับกันระงม สลับเสียงเคาะโป๊กเป๊ก
นกกินปลีนับสิบ รุมล้อมต้นไม้ที่กำลังผลิดอก
นกแก๊กสองตัว ถลามาเกาะกิ่งไม่ไกลนัก ไม่นึกว่าจะได้พบกันในป่าเต็งรังโปร่งๆแบบนี้
เจ้าหน้าที่พาเราไปเดินในเส้นทาง
"อาณาจักรนกหัวขวาน" ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร
ในมือถือไม้ปลายแหลม เข้าใจว่าเอาไว้ป้องกันช้าง
ระหว่างทางมีมูลแห้งๆ ต้นไม้เปลือกถลอกรุ่งริ่ง พี่ช้างคงผ่านมาเมื่อหลายวันก่อน
กังวานใสแบบนี้ คุ้นๆเหมือนเสียงนกจับแมลงป่าโกงกาง
คงเป็นนกจับแมลงอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ตามป่า ตามภู
จับทิศทางของเสียงอยู่นาน ก็ไม่เห็นตัว พยายามไม่ขยับ
ตาสอดไปตามกิ่งก้านของไผ่ นั่นไงใกล้ๆนี่เอง
"นกจับแมลงอกส้มท้องขาว" เกาะนิ่งส่งเสียงใส
เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อย ในป่าที่ราบถึงระดับความสูง 600 เมตร
ระหว่างทางพบนกเป็นระยะ นกหัวขวานหลากชนิดใกล้บ้างไกลบ้าง แต่ที่เป็นเป้าหมายคือ นกหัวขวานใหญ่สีดำ และนกหัวขวานใหญ่สีเทา ยังไร้วี่แวว
ช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่พาไปยังหอดูสัตว์ ขึ้นรถ แล้วลงเดินต่อผ่านป่าไผ่ ป่าโปร่ง ไปในระยะสั้นๆ หอดูสัตว์เป็นอาคารสูงสามชั้น พรางตาด้วยสแลน ขึ้นบันไดวนไปยังชั้นสอง นั่งเรียงบนเก้าอี้พร้อมกล้องและไบนอคในมือ
มองผ่านช่องบังไพรออกไปในระยะกว่า 200 เมตร ฝูงวัวแดงนอนเคี้ยวเอื้อง บ้างก็แทะเล็มหญ้าอ่อน
เจ้าตัวผู้ร่างบึกแอบอยู่หลังไม้ใหญ่ ริมฝั่งธารแม่นกยูงดูแลลูกเล็กๆ
ละมั่งเดินตรงไปดื่มกินน้ำในแอ่ง เนื้อทรายพาลูกน้อยออกมาจากชายป่า
ชีวิตในพงไพร ผ่านไปช้าๆเหมือนภาพสโลโมชั่น
พักใหญ่ฝูงวัวแดงเหมือนตื่นภัยอะไรสักอย่าง ชูคอหูตั้ง วิ่งหางชี้เข้าป่าตามกันไป ปิดท้ายด้วยเจ้าตัวใหญ่เขาโง้ง
น่าจะเป็นเสียงชัตเตอร์จากผู้มาใหม่ที่ลอยไปตามลม เล่นรัวถี่ยิบอย่างนั้น (น่าจะรู้ตัวจึงปิดเสียงโดยไว ...)
ห้วยขาเข้ง คือ จิตวิญญาณแห่งป่า
ด้วยความหลากหลายของป่าและสัตว์ป่า ให้อากาศ ให้น้ำ หล่อเลี้ยงผืนดินและผู้คน
ขอคารวะทุกชีวิตที่เสียสละเพื่อปกป้องให้ที่นี่ได้เป็นบ้านของเสือ ควายป่า วัวแดง กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ อย่างแท้จริง
พื้นที่เกือบ 2 ล้านไร่ กับเจ้าหน้าที่เพียง 200 คน เป็นการยากเหลือเกินที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง
ที่ชายป่าเริ่มมีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง นำขบวนด้วยหมูป่าตัวใหญ่ ดูแข็งแรง ก้าวร้าว จากนั้นบรรดาแม่หมู ลูกหมูตัวลาย ก็ตามมาเป็นพรวน ครอบครัวใหญ่ทีเดียว หากินมาตามลำห้วยแล้วขึ้นมากินโป่งหน้าหอดูสัตว์ในระยะไม่ไกลนัก
ภาพความสุข ตามวิถีของป่า ที่ใครหลายๆคนมองไม่เห็น
วั น นี้ ... สัตว์ป่ายังคงถูกล่า ป่ายังคงถูกตัด เจ้าหน้าที่ยังต้องเสี่ยงภัย
กว่าสามชั่วโมง เมื่อฟ้ามืดครึ้ม ส่งเสียงครืนๆมาจากดงลึก เราจึงออกมาก่อนฝนจะทิ้งเม็ด
WANSUK
@ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาเข้ง
๖ - ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[CR] สัตว์สวย ป่างาม . . . ห้วยขาแข้ง
ทิ้งร่องรอยเผาไหม้จากไฟป่าเป็นย่อมๆ
กว่าจะมีฝนแรก คงผ่านความแห้งแล้งมาไม่น้อยเลย
บ่อซิเมนต์เล็กๆนั่น คือน้ำบ่อน้อยช่วยชีวิต ยามธารน้ำหายไปจากป่า
เนื้อทราย ย่างผ่านม่านไม้
แทะเล็มหญ้าระบัด
โบกหางเพลินใจ ไม่ต้องระวังภัยอะไรมากนัก
ป่าส่งสัญญาณ แต่เริ่มเข้าเขตฯ
นกหัวขวานขานรับกันระงม สลับเสียงเคาะโป๊กเป๊ก
นกกินปลีนับสิบ รุมล้อมต้นไม้ที่กำลังผลิดอก
นกแก๊กสองตัว ถลามาเกาะกิ่งไม่ไกลนัก ไม่นึกว่าจะได้พบกันในป่าเต็งรังโปร่งๆแบบนี้
เจ้าหน้าที่พาเราไปเดินในเส้นทาง "อาณาจักรนกหัวขวาน" ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร
ในมือถือไม้ปลายแหลม เข้าใจว่าเอาไว้ป้องกันช้าง
ระหว่างทางมีมูลแห้งๆ ต้นไม้เปลือกถลอกรุ่งริ่ง พี่ช้างคงผ่านมาเมื่อหลายวันก่อน
กังวานใสแบบนี้ คุ้นๆเหมือนเสียงนกจับแมลงป่าโกงกาง
คงเป็นนกจับแมลงอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ตามป่า ตามภู
จับทิศทางของเสียงอยู่นาน ก็ไม่เห็นตัว พยายามไม่ขยับ
ตาสอดไปตามกิ่งก้านของไผ่ นั่นไงใกล้ๆนี่เอง "นกจับแมลงอกส้มท้องขาว" เกาะนิ่งส่งเสียงใส
เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อย ในป่าที่ราบถึงระดับความสูง 600 เมตร
ระหว่างทางพบนกเป็นระยะ นกหัวขวานหลากชนิดใกล้บ้างไกลบ้าง แต่ที่เป็นเป้าหมายคือ นกหัวขวานใหญ่สีดำ และนกหัวขวานใหญ่สีเทา ยังไร้วี่แวว
ช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่พาไปยังหอดูสัตว์ ขึ้นรถ แล้วลงเดินต่อผ่านป่าไผ่ ป่าโปร่ง ไปในระยะสั้นๆ หอดูสัตว์เป็นอาคารสูงสามชั้น พรางตาด้วยสแลน ขึ้นบันไดวนไปยังชั้นสอง นั่งเรียงบนเก้าอี้พร้อมกล้องและไบนอคในมือ
มองผ่านช่องบังไพรออกไปในระยะกว่า 200 เมตร ฝูงวัวแดงนอนเคี้ยวเอื้อง บ้างก็แทะเล็มหญ้าอ่อน
เจ้าตัวผู้ร่างบึกแอบอยู่หลังไม้ใหญ่ ริมฝั่งธารแม่นกยูงดูแลลูกเล็กๆ
ละมั่งเดินตรงไปดื่มกินน้ำในแอ่ง เนื้อทรายพาลูกน้อยออกมาจากชายป่า
ชีวิตในพงไพร ผ่านไปช้าๆเหมือนภาพสโลโมชั่น
พักใหญ่ฝูงวัวแดงเหมือนตื่นภัยอะไรสักอย่าง ชูคอหูตั้ง วิ่งหางชี้เข้าป่าตามกันไป ปิดท้ายด้วยเจ้าตัวใหญ่เขาโง้ง
น่าจะเป็นเสียงชัตเตอร์จากผู้มาใหม่ที่ลอยไปตามลม เล่นรัวถี่ยิบอย่างนั้น (น่าจะรู้ตัวจึงปิดเสียงโดยไว ...)
ห้วยขาเข้ง คือ จิตวิญญาณแห่งป่า
ด้วยความหลากหลายของป่าและสัตว์ป่า ให้อากาศ ให้น้ำ หล่อเลี้ยงผืนดินและผู้คน
ขอคารวะทุกชีวิตที่เสียสละเพื่อปกป้องให้ที่นี่ได้เป็นบ้านของเสือ ควายป่า วัวแดง กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ อย่างแท้จริง
พื้นที่เกือบ 2 ล้านไร่ กับเจ้าหน้าที่เพียง 200 คน เป็นการยากเหลือเกินที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง
ที่ชายป่าเริ่มมีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง นำขบวนด้วยหมูป่าตัวใหญ่ ดูแข็งแรง ก้าวร้าว จากนั้นบรรดาแม่หมู ลูกหมูตัวลาย ก็ตามมาเป็นพรวน ครอบครัวใหญ่ทีเดียว หากินมาตามลำห้วยแล้วขึ้นมากินโป่งหน้าหอดูสัตว์ในระยะไม่ไกลนัก
ภาพความสุข ตามวิถีของป่า ที่ใครหลายๆคนมองไม่เห็น
วั น นี้ ... สัตว์ป่ายังคงถูกล่า ป่ายังคงถูกตัด เจ้าหน้าที่ยังต้องเสี่ยงภัย
กว่าสามชั่วโมง เมื่อฟ้ามืดครึ้ม ส่งเสียงครืนๆมาจากดงลึก เราจึงออกมาก่อนฝนจะทิ้งเม็ด
WANSUK
@ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาเข้ง
๖ - ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐
นกขมิ้นหัวดำใหญ่ (Black-hooded Oriole)
นกหัวขวานใหญ่สีดำ (White-bellied Woodpecker) ตัวผู้ / หาเจอไหมคะ
นกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง (Lesser Yellownape)
นกหัวขวานเขียวหัวดำ (Grey-headed Woodpecker)
นกแซวสวรรค์หัวดำ (Amur Paradise Flycatcher)
นกขุนแผน (Red-billed Blue Magpie)
นกกางเขนดง (White-rumped shama)
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Flameback) ตัวเมีย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Flameback) ตัวผู้
นกจับแมลงอกส้มท้องขาว (Tickell's Blue Flycatcher) ตัวผู้
นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง (Golden-fronted Leafbird)
นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (Velvet-fronted Nuthatch)