คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ผมได้เรียนวิชา Plants and Humanity ซึ่งเป็นวิชาเลือกที่นิสิตทุกคณะสามารถลงได้ เป็นวิชาของภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บ A มาด้วย55555 อยากจะแบ่งปันความรู้ให้ทุกคนครับ
เนื้อหาในวิชาได้มีการกล่าวถึงไม้ดัดไว้ ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์ทุกท่านด้วยครับ
ชนิดของพันธุ์ไม้ที่นำมาดัด
พันธุ์ไม้ที่มีเนื้อเหนียวไม่หักง่าย ใบเล็กแตกกิ่งก้าน ไม่เจริญเติบโตเปลี่ยนรูปร่างเร็วนัก เช่น ตะโก ข่อย มะขาม มะนาวเทศ มะสัง โมก ฯลฯ
ตะโก นั้นนิยมนำมาดัดเป็นอย่างมาก เพราะอายุยืน ยิ่งแก่ยิ่งงาม ลำต้นมีสีดำ มีปุ่มตาที่สวยงาม
อันนี้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
ไม้ดัด
ไม้ดัดไทย
เป็นการขุดเอาไม้ขนาดโตพอสมควรมาปลูกให้มีชีวิตรอด แล้วเริ่มทำการตกแต่งกิ่งที่แตกขึ้นใหม่ ดัดให้เปลี่ยนสภาพรูปทรงต่างไปจากธรรมชาติดั้งเดิม โดยดัดรูปทรงให้เป็นไปตามแบบฉบับที่กำหนดไว้
บอนไซญี่ปุ่น
เป็นการนำเอาต้นไม้ใหญ่หรือไม้ประดับที่ปลูกเลี้ยงไว้มาดัดและจัดรูปทรงให้เหมือนไม้ใหญ่ตามธรรมชาติ
ประวัติไม้ดัดไทย
- การปลูกเลี้ยงไม้ดัดในทวีปเอเชีย ดั้งเดิมมี 3 ประเทศเท่านั้น จีน ญี่ปุ่น ไทย
- ไทย เริ่มมีการปลูกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่แพร่หลายนัก มีเพียงในกลุ่มเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น
- การเสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) ทำให้การเลี้ยงไม้ดัดหยุดชะงักไป แล้วกลับมานิยมกันอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวัง
- หลักฐานเอกสารการเลี้ยงไม้ดัดปรากฏในกลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนย่องขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อเข้าหานางวันทอง
กระถางแก้วเกดพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
- ตำราไม้ดัดเขียนโดยหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์)
ไม้ขบวนวาดเลี้ยว วงเวียน ต้นนา
ตอต่ำตัดเรือนเจียน เรียบร้อย
ที่กิ่งชอบใช้เนียน สนิทช่อง ไฟแฮ
ทรงพุ่มชิดเชิดช้อย ช่องชั้นจังหวะว่าง
ประเภทของไม้ดัดไทย
ประเภทแรก : ไม้ที่ดัดให้เป็นไปตามโคลงศิลปะของไทย ซึ่งดูแล้วจะไม่เหมือนกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ
1. ไม้ขบวน 2. ไม้ฉาก 3. ไม้หกเหียน 4. ไม้เขน 5. ไม้ป่าข้อม 6. ไม้กำมะลอ 7. ไม้ตลก
ประเภทที่สอง : ไม้ที่ดัดให้ดูเหมือนกับไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ
1. ไม้ญี่ปุ่น 2. ไม้เอนชาย
เนื้อหาในวิชาได้มีการกล่าวถึงไม้ดัดไว้ ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์ทุกท่านด้วยครับ
ชนิดของพันธุ์ไม้ที่นำมาดัด
พันธุ์ไม้ที่มีเนื้อเหนียวไม่หักง่าย ใบเล็กแตกกิ่งก้าน ไม่เจริญเติบโตเปลี่ยนรูปร่างเร็วนัก เช่น ตะโก ข่อย มะขาม มะนาวเทศ มะสัง โมก ฯลฯ
ตะโก นั้นนิยมนำมาดัดเป็นอย่างมาก เพราะอายุยืน ยิ่งแก่ยิ่งงาม ลำต้นมีสีดำ มีปุ่มตาที่สวยงาม
อันนี้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
ไม้ดัด
ไม้ดัดไทย
เป็นการขุดเอาไม้ขนาดโตพอสมควรมาปลูกให้มีชีวิตรอด แล้วเริ่มทำการตกแต่งกิ่งที่แตกขึ้นใหม่ ดัดให้เปลี่ยนสภาพรูปทรงต่างไปจากธรรมชาติดั้งเดิม โดยดัดรูปทรงให้เป็นไปตามแบบฉบับที่กำหนดไว้
บอนไซญี่ปุ่น
เป็นการนำเอาต้นไม้ใหญ่หรือไม้ประดับที่ปลูกเลี้ยงไว้มาดัดและจัดรูปทรงให้เหมือนไม้ใหญ่ตามธรรมชาติ
ประวัติไม้ดัดไทย
- การปลูกเลี้ยงไม้ดัดในทวีปเอเชีย ดั้งเดิมมี 3 ประเทศเท่านั้น จีน ญี่ปุ่น ไทย
- ไทย เริ่มมีการปลูกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่แพร่หลายนัก มีเพียงในกลุ่มเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น
- การเสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) ทำให้การเลี้ยงไม้ดัดหยุดชะงักไป แล้วกลับมานิยมกันอีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวัง
- หลักฐานเอกสารการเลี้ยงไม้ดัดปรากฏในกลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนย่องขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อเข้าหานางวันทอง
กระถางแก้วเกดพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
- ตำราไม้ดัดเขียนโดยหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์)
ไม้ขบวนวาดเลี้ยว วงเวียน ต้นนา
ตอต่ำตัดเรือนเจียน เรียบร้อย
ที่กิ่งชอบใช้เนียน สนิทช่อง ไฟแฮ
ทรงพุ่มชิดเชิดช้อย ช่องชั้นจังหวะว่าง
ประเภทของไม้ดัดไทย
ประเภทแรก : ไม้ที่ดัดให้เป็นไปตามโคลงศิลปะของไทย ซึ่งดูแล้วจะไม่เหมือนกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ
1. ไม้ขบวน 2. ไม้ฉาก 3. ไม้หกเหียน 4. ไม้เขน 5. ไม้ป่าข้อม 6. ไม้กำมะลอ 7. ไม้ตลก
ประเภทที่สอง : ไม้ที่ดัดให้ดูเหมือนกับไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ
1. ไม้ญี่ปุ่น 2. ไม้เอนชาย
แสดงความคิดเห็น
ต้นไม้อะไรใช้ทำบอนไซได้บ้างครับ
เเต่สงสัยว่าต้นไม้จำพวกพืชที่ใกล้ๆตัวทำได้รึเปล่า
1ต้นพริก
2ไม้เลื้อย
3ไม้ดอกอย่าง คุณนายตื่นสาย ทำได้รึเปล่าครับ