สำหรับในประเทศไทย คนจะคุ้นเคยกันกับรัสเซียนออร์โธดอกซ์(Russian orthodox) มากกว่าเพราะได้เข้ามาในประเทศไทยเกือบๆจะ 20 ปี และมีโบสถ์กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆในประเทศไทยเกือบ 10 แห่ง มีโอกาสได้ไปโบสถ์กรีกออร์โธดอกซ์ (St George Greek Orthodox church) ที่เมือง Adelaide ประเทศออสเตรเลีย จึงนำภาพมาให้ชมกันค่ะ (Website :
http://www.stgeorgethebarton.org/) ก่อนจะไปก็เขียน email ไปตามที่อยู่ที่เขียนไว้ใน website เพื่อสอบถามเวลาเปิดปิดค่ะ บาทหลวงที่อยู่ที่โบสถ์ก็ใจดีมาก ให้เบอร์โทรติดต่อมา ก่อนจะไปก็โทรนัดหมายกับท่านอีกที
ก่อนจะไปชมโบสถ์ เกริ่นข้อมูลเล็กน้อยของออร์โธดอกซ์ (ข้อมูลจากความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ จึงไม่ได้ ref ที่มา)
ออร์โธดอกซ์คืออะไร
เป็นนิกายในคริสตศาสนา มีผู้นับถือเป็นลำดับที่สองรองจากโรมันคาทอลิก ปัจจุบันผู้นับถือส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
ทำไมจึงแยกเป็นรัสเซีย กรีก หรืออื่นๆ
จริงๆแล้วเป็นนิกายเดียวกัน แต่แยกตามการบริหารจัดการศาสนจักร
ลักษณะของโบสถ์ออร์โธดอกซ์
ถ้าในเมืองๆหนึ่งมีโบสถ์ของหลายนิกาย เวลาเดินผ่านจะแยกง่ายๆได้จากการดูลักษณะการก่อนสร้าง โบสถ์คาทอลิกมักจะเป็นยอดสูง ของออร์โธดอกซ์ลักษณะหลังคาจะเป็นโดมป้าน ถ้ารัสเซียออรโธดอกซ์จะมีโดมที่เป็นศิลปกรรมรัสเซียอยู่ด้วย
พิธีนมัสการ
ถ้าคาทอลิกเรียกว่ามิสซา ออร์โธดอกซ์จะเรียกว่า divine liturgy จริงๆมีลักษณะบทนมัสการหลายแบบ แต่แบบที่เป็นที่นิยมคือ divine liturgy of St John Chrysostom หรือ พิธีศีลมหาสนิทโดยนักบุญวาจาทอง ระหว่างนมัสการอาจมีการร้องเพลงประสานเสียงได้ แต่จะไม่มีการใช้เครื่อนดนตรี ส่วนใหญ่ระหว่างสมัสการ ผู้เข้าร่วมจะยืน ในโบสถ์รัสเซียจะเป็นการยืนตลอดพิธี ในโบสถ์กรีกก็จะยืนเป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ช่วงที่เป็นการเทศน์ และถ้าจะไม่ผิดจะเป็นช่วงของการอ่านจดหมายจากนักบุญ
ถึงเวลาชมโบสถ์แล้วค่ะ
รูปภายนอกสวยมากค่ะ แต่กลับรูปไม่เป็นค่ะ รบกวนขมจากลิงค์ของโบสถ์แทนนะคะ
เข้าไปในส่วนของ Nathrex ซึ่งคือส่วนที่อยู่ระหว่างตัวโบสถ์กับด้านนอก สมัยก่อนจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ที่ยังไม่ได้ baptize ยืนระหว่างพิธี หรือในปัจุบันในบางแห่งก็จะกำหนดให้ผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือนที่อยากเข้าร่วมพิธี ก็ให้มายืนบริเวณนี้ค่ะ ในโบสถ์กรีกที่จุดและปักเทียนจะอยู่ในบริเวณนี้
ในโบสถ์กรีกบางแห่งจะมีเก้าอี้วางไว้ แต่บางแห่งก็จะไม่มี โบสถ์รัสเซียกับเซอร์เบียก็จะไม่มีเก้าอี้ค่ะ เว้นแต่เก้าอี้เล็กน้อยสักตัวสองตัวให้คนที่สุขภาพไม่ดีนั่ง รูปนี้ถ่ายกลางคืนจึงเปิดไฟ โชคดีที่ตอนที่ไป บาทหลวงบอกว่าอีกสองวันจะมี divine liturgy ภาษาอังกฤษ เผื่อจะอยากมา ก็เลยไม่พลาดค่ะ มีผู้เข้าร่วมเยอะพอสมควร ประมาณสัก 20-30คน เป็นพิธีเย็นเริ่ม 1 ทุ่ม ตามหลักของออร์โธดอกซ์แล้วก่อนรับศีลมหาสนิทจะงดน้ำและอาหาร เช่นพิธ๊เช้าก็งดตั้งแต่เที่ยงคืน พิธีเย็นถ้าเป็นในสำนักสงฆ์ก็งดเที่ยงคืนเหมือนกัน แต่บางคนก็อนุโลมให้เป็นงดตั้งแต่เที่ยง แต่เนื่องจากมีภารกิจช่วงกลางวันค่ะ ไม่สามารถทำได้ ก็เลยเป็นเข้าร่วมอย่างเดียว
Iconostasis สวยงามมากค่ะ
ขนมปังที่แจกหลังพิธีค่ะ ความแตกต่างของขนมปังของออร์โธดอกซ์กับคาทอลิก คือการใส่หรือไม่ใส่เชื้อ(ยีสต์)
ปิดท้ายที่โบสถ์รัสเซียค่ะ เมืองนี้มีโบสถ์ออร์โธดอกซ์ 3 แห่งค่ะ ตอนแรกจะไปที่โบสถ์รัสเซีย แต่ไปไม่ทันพิธีเช้าค่ะ หลังพิธีปุ๊บบาทหลวงไปธุระต่างเมืองเลยได้แต่ถ่ายรูปภายนอกมาค่ะ
[CR] พาชมโบสถ์กรีกออร์โธดอกซ์
ก่อนจะไปชมโบสถ์ เกริ่นข้อมูลเล็กน้อยของออร์โธดอกซ์ (ข้อมูลจากความเข้าใจของผู้เขียนนะคะ จึงไม่ได้ ref ที่มา)
ออร์โธดอกซ์คืออะไร
เป็นนิกายในคริสตศาสนา มีผู้นับถือเป็นลำดับที่สองรองจากโรมันคาทอลิก ปัจจุบันผู้นับถือส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
ทำไมจึงแยกเป็นรัสเซีย กรีก หรืออื่นๆ
จริงๆแล้วเป็นนิกายเดียวกัน แต่แยกตามการบริหารจัดการศาสนจักร
ลักษณะของโบสถ์ออร์โธดอกซ์
ถ้าในเมืองๆหนึ่งมีโบสถ์ของหลายนิกาย เวลาเดินผ่านจะแยกง่ายๆได้จากการดูลักษณะการก่อนสร้าง โบสถ์คาทอลิกมักจะเป็นยอดสูง ของออร์โธดอกซ์ลักษณะหลังคาจะเป็นโดมป้าน ถ้ารัสเซียออรโธดอกซ์จะมีโดมที่เป็นศิลปกรรมรัสเซียอยู่ด้วย
พิธีนมัสการ
ถ้าคาทอลิกเรียกว่ามิสซา ออร์โธดอกซ์จะเรียกว่า divine liturgy จริงๆมีลักษณะบทนมัสการหลายแบบ แต่แบบที่เป็นที่นิยมคือ divine liturgy of St John Chrysostom หรือ พิธีศีลมหาสนิทโดยนักบุญวาจาทอง ระหว่างนมัสการอาจมีการร้องเพลงประสานเสียงได้ แต่จะไม่มีการใช้เครื่อนดนตรี ส่วนใหญ่ระหว่างสมัสการ ผู้เข้าร่วมจะยืน ในโบสถ์รัสเซียจะเป็นการยืนตลอดพิธี ในโบสถ์กรีกก็จะยืนเป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ช่วงที่เป็นการเทศน์ และถ้าจะไม่ผิดจะเป็นช่วงของการอ่านจดหมายจากนักบุญ
ถึงเวลาชมโบสถ์แล้วค่ะ
รูปภายนอกสวยมากค่ะ แต่กลับรูปไม่เป็นค่ะ รบกวนขมจากลิงค์ของโบสถ์แทนนะคะ
เข้าไปในส่วนของ Nathrex ซึ่งคือส่วนที่อยู่ระหว่างตัวโบสถ์กับด้านนอก สมัยก่อนจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ที่ยังไม่ได้ baptize ยืนระหว่างพิธี หรือในปัจุบันในบางแห่งก็จะกำหนดให้ผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือนที่อยากเข้าร่วมพิธี ก็ให้มายืนบริเวณนี้ค่ะ ในโบสถ์กรีกที่จุดและปักเทียนจะอยู่ในบริเวณนี้
ในโบสถ์กรีกบางแห่งจะมีเก้าอี้วางไว้ แต่บางแห่งก็จะไม่มี โบสถ์รัสเซียกับเซอร์เบียก็จะไม่มีเก้าอี้ค่ะ เว้นแต่เก้าอี้เล็กน้อยสักตัวสองตัวให้คนที่สุขภาพไม่ดีนั่ง รูปนี้ถ่ายกลางคืนจึงเปิดไฟ โชคดีที่ตอนที่ไป บาทหลวงบอกว่าอีกสองวันจะมี divine liturgy ภาษาอังกฤษ เผื่อจะอยากมา ก็เลยไม่พลาดค่ะ มีผู้เข้าร่วมเยอะพอสมควร ประมาณสัก 20-30คน เป็นพิธีเย็นเริ่ม 1 ทุ่ม ตามหลักของออร์โธดอกซ์แล้วก่อนรับศีลมหาสนิทจะงดน้ำและอาหาร เช่นพิธ๊เช้าก็งดตั้งแต่เที่ยงคืน พิธีเย็นถ้าเป็นในสำนักสงฆ์ก็งดเที่ยงคืนเหมือนกัน แต่บางคนก็อนุโลมให้เป็นงดตั้งแต่เที่ยง แต่เนื่องจากมีภารกิจช่วงกลางวันค่ะ ไม่สามารถทำได้ ก็เลยเป็นเข้าร่วมอย่างเดียว
Iconostasis สวยงามมากค่ะ
ขนมปังที่แจกหลังพิธีค่ะ ความแตกต่างของขนมปังของออร์โธดอกซ์กับคาทอลิก คือการใส่หรือไม่ใส่เชื้อ(ยีสต์)
ปิดท้ายที่โบสถ์รัสเซียค่ะ เมืองนี้มีโบสถ์ออร์โธดอกซ์ 3 แห่งค่ะ ตอนแรกจะไปที่โบสถ์รัสเซีย แต่ไปไม่ทันพิธีเช้าค่ะ หลังพิธีปุ๊บบาทหลวงไปธุระต่างเมืองเลยได้แต่ถ่ายรูปภายนอกมาค่ะ