### Italicized in Scientific Names ###





Italicized in Scientific names
มีคำถามว่า หลักการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ ที่เราเรียนกันในโรงเรียนตั้งแต่ มัธยมปลาย จนถึงปริญญาตรีนั้นมาจากไหน เพราะหาข้ออ้างอิงได้ยาก ลองค้นดูใน กฎเรียกชื่อสากลทางสัตวศาสตร์ iczn และ กฎเรียกชื่อสากลทางพฤกษศาสตร์ icbn ก็ไม่พบในมาตราใด ที่กล่าวถึง Article

วันนี้มีเวลาว่างจึงนั่งค้นหาอีกครั้ง ทั้ง icbn & iczn

icbn Melbourne code พบใน preface ดังนี้
“As in all recent editions, scientific names under the jurisdiction of the Code, irrespective of rank, are consistently printed in italic type. The Code sets no binding standard in this respect, as typography is a matter of editorial style and tradition, not of nomenclature. Nevertheless, editors and authors, in the interest of international uniformity, may wish to consider adhering to the practice exemplified by the Code, which has been well received in general and is followed in a number of botanical and mycological journals. To set off scientific names even better, the abandonment in the Code of italics for technical terms and other words in Latin, traditional but inconsistent in early editions, has been maintained.”

สรุปได้ว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะในระดับใด ก็มักจะใช้ ตัวอักษรเอียง ในกฎเรียกชื่อนี้ แม้จะไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องทำตามทั้งหมด เพราะกฎนี้คือกฎเรียกชื่อ ไม่ใช่กฎเกณฑ์ทางบรรณาธิการ แต่การทำตามธรรมเนียมนี้ ก็เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวราสารทางวิชาการ และการใช้โดยทั่วไป รวมถึงการยกเลิกการใช้ตัวเอียงกับคำละตินสำหรับศัพท์เฉพาะที่ไม่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อความไม่สับสน ก็ยังคงใช้อยู่เช่นเดิม

จาก iczn จาก Appendix B:General Recommendations

“6. The scientific names of genus- or species-group taxa should be printed in a type-face (font) different from that used in the text; such names are usually printed in italics, which should not be used for names of higher taxa. Species¬group names always begin with a lower-case letter, and when cited should always be preceded by a generic name (or an abbreviation of one); names of all supraspecific taxa begin with an upper-case (capital) letter.”
สรุปได้ว่า ชื่อระดับ สกุล ถึง ระดับชนิด ควรจะพิมพ์ ให้มีรูปแบบแตกต่างจาก อักษรทั่วไปในเนื้อหา อย่างเช่น การใช้ตัวเอียง ซึ่งไม่ควรใช้ กับระดับที่สูงกว่านั้น โดยชื่อกลุ่มระดับชนิด ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก และต้องมีชื่อสกุล หรือชื่อย่อสกุลนำเสมอ   ส่วนชื่อระดับที่สูงกว่าระดับชนิดทั้งหมด ให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

จากข้อความจากทั้งสองกฎ จะเห็นได้ว่า จุดมุ่งหายของการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เห็นชัดเจนออกจาก ข้อความอื่นๆ ในบทความ โดยแนะนำให้ใช้ ตัวอักษรพิมพ์เอียง โดยชื่อสกุลนำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และชื่อชนิดนำด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก
ข้อแตกต่างคือ icbn แนะนำให้ใช้ตัวเอียง ในทุกระดับชั้น ของชื่อวิทยาศาสตร์  แต่ iczn ให้ใช้แค่ระดับสกุล และระดับชนิดเท่านั้นครับ

ดังนั้นการเขียนแล้วใช้การขีดเส้นใต้ ก็เป็นการเขียนให้แตกต่างจาก ข้อความอื่นอย่างสมเหตุสมผลเช่นกันครับ
©2017 Prapanth Iamwiriyakul
©2017 พันศาสตร์พันภาษา
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ภาษาต่างประเทศ วิชาการ ชีววิทยา วิทยาศาสตร์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่