สวัสดีครับ ผมจะเล่าถึงขั้นตอนการทำงานทั้งหมดในการสร้างของเล่นขึ้นมา 1 ชิ้น
โดยเริ่มตั้งแต่การร่างแบบ จนแล้วเสร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์
ไม่ได้เจาะจงชิ้นงานไหนเป็นพิเศษ แต่จะเล่าถึงขั้นตอนการทำงานโดยรวมทั้งหมดนะครับ
เริ่มแรกเราต้องมีแบบก่อน แบบที่ว่าจะเป็นไอเดียหรือวาดเล่นขึ้นมาตามใจตอนนั้นก็ได้
แต่ที่สำคัญคือควรจะเป็นแบบที่เราดูแล้วรู้สึกมีไฟในการทำงาน เพราะต้องใช้เวลากับงานชิ้นนี้พอสมควร
หากเกิดไม่ชอบใจหรืออยากเปลี่ยนทีหลังมันจะยุ่งยากและเสียเวลา
หลังจากได้แบบที่ต้องการแล้ว ควรทำ character sheet ก่อนที่จะขึ้น 3D
เพื่อปรับแบบจากที่สเก๊ตซ์ไว้ให้เหมาะกับรูปทรงสามมิติ เพราะเวลาที่เราสเก็ตซ์ 2 มิติ
บางทีเราวาดเพลินจนคาแรกเตอร์ที่เราวาดนั้น แต่ละด้านไม่สัมพันธ์กัน
การทำ character sheet จึงเป็นการเคลียร์แบบ และให้เราเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น
คือจะไม่ทำแล้วขึ้น 3D เลยก็ได้ แต่เราจะเสียเวลาในการทำ 3D ไปคิดไป
ดังนั้นควรเคลียร์แบบให้เรียบร้อยก่อน แล้วการทำงานจะไหลลื่นกว่าเดิมครับ
* ขั้นตอนนี้จะใช้การปั้นต้นแบบด้วยวิธีอื่นก็ได้ เช่นการใช้ดินหรือขี้ผึ้งปั้น
ปกติหลังจากขึ้น 3D ผมจะทำโมเดลม๊อกอัพขึ้นมาก่อน
โดยไม่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดมากนัก เป็นแค่บล๊อกแล้วปรินท์ออกมาเพื่อดูขนาด และรูปทรงโดยรวมทั้งหมดก่อน
หลังจากหมุนโมเดลใน 3D จนพอใจแล้วเราก็จัดการปริ้นท์ออกมาด้วย 3D printer
ปัจจุบัน 3D printer มีราคาที่สามารถหาซื้อมาใช้ในบ้านได้ไม่ยากนัก แต่ทั้งรุ่นและราคาก็ต่างกันตามความต้องการในการใช้งาน
เครื่องที่ผมใช้คือ Flashforge Finder ซึ่งปริ้นท์วัสดุได้แค่ PLA สำหรับผมเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
ข้อจำกัดของเครื่องรุ่นนี้คือปริ้นท์ได้สูงสุดแค่ 14 ซม ถ้าเลยนั้นมันจะเลยเครื่องเอา ก็แก้ง่ายๆด้วยการแยกชิ้นแล้วค่อยมาประกบกันก็ได้
จากนั้นคือการจบงานจากเครื่อง 3D print
หลายคนอาจจะคิดว่าแค่สั่งปริ้นท์เสร็จก็จบ สำหรับเครื่องปริ้นท์ที่ใช้เรซิ่น อาจจะเป็นเช่นนั้น
เพราะงานที่ได้จากเครื่องปริ้นท์เรซิ่นจะมีผิวที่เรียบเนียน และเก็บรายละเอียดได้ดี
แลกกับราคาต่อชิ้นงานที่ค่อนข้างสูงและการดูแลรักษาที่ต้องระมัดระวัง แต่กับเครื่องฉีดพลาสติกแล้ว
งานที่ออกมาส่วนมากอยู่ในขั้นพอได้ คือเราจะยังเห็นพลาสติกเป็นชั้นๆอยู่
แลกกับราคาที่ต่ำกว่าและขั้นตอนการเก็บรักษาที่ง่ายกว่า
ขั้นตอนที่สำคัญและยาวนานที่สุดคือการขัดและเชื่อมรอยต่อระหว่างชิ้นงาน ถ้าไม่ใช้เงินก็ต้องใช้แรงตัวเองนี่ล่ะ
การพ่นสีรองพื้นจะทำให้ร่องระหว่างเส้นพลาสติกโดนถม
การขัดด้วยกระดาษทรายจะทำให้สีที่เราพ่นเกินมาหลุดลอกไป ขั้นตอนนี้ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนพอใจ
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อพ่นสีรองพื้นไปชั้นแรก เส้นพลาสติกจะมองเห็นเป็นชั้นๆได้อย่างชัดเจน
หลังจากพ่นและขัดซ้ำไปเรื่อยๆ ก็เริ่มมีความเนียน
ข้อควรระวังคือ ยิ่งพ่นและขัดจะทำให้ความหนาเพิ่มขึ้น โมเดลที่มีรายละเอียดเล็กๆยิบย่อยจึงไม่เหมาะกับวิธีนี้
การแยกชิ้นส่วนงานก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น ในภาพคือการแยกหัวออกจากตัว ในกรณีที่เราอยากเปลี่ยนหัวภายหลังก็ทำได้โดยง่าย
ถ้าเราทำชิ้นงานที่ต้องการเพียงชิ้นเดียวก็จะจบที่ขั้นตอนนี้
แต่ในกรณีที่ต้องการผลิตจำนวนมาก ขั้นตอนต่อไปคือการทำโมล
มาทำของเล่นกันเถอะ! (ขั้นตอนการทำงานจากแบบร่าง > 3D > แบบสำเร็จ)
โดยเริ่มตั้งแต่การร่างแบบ จนแล้วเสร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์
ไม่ได้เจาะจงชิ้นงานไหนเป็นพิเศษ แต่จะเล่าถึงขั้นตอนการทำงานโดยรวมทั้งหมดนะครับ
เริ่มแรกเราต้องมีแบบก่อน แบบที่ว่าจะเป็นไอเดียหรือวาดเล่นขึ้นมาตามใจตอนนั้นก็ได้
แต่ที่สำคัญคือควรจะเป็นแบบที่เราดูแล้วรู้สึกมีไฟในการทำงาน เพราะต้องใช้เวลากับงานชิ้นนี้พอสมควร
หากเกิดไม่ชอบใจหรืออยากเปลี่ยนทีหลังมันจะยุ่งยากและเสียเวลา
หลังจากได้แบบที่ต้องการแล้ว ควรทำ character sheet ก่อนที่จะขึ้น 3D
เพื่อปรับแบบจากที่สเก๊ตซ์ไว้ให้เหมาะกับรูปทรงสามมิติ เพราะเวลาที่เราสเก็ตซ์ 2 มิติ
บางทีเราวาดเพลินจนคาแรกเตอร์ที่เราวาดนั้น แต่ละด้านไม่สัมพันธ์กัน
การทำ character sheet จึงเป็นการเคลียร์แบบ และให้เราเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น
คือจะไม่ทำแล้วขึ้น 3D เลยก็ได้ แต่เราจะเสียเวลาในการทำ 3D ไปคิดไป
ดังนั้นควรเคลียร์แบบให้เรียบร้อยก่อน แล้วการทำงานจะไหลลื่นกว่าเดิมครับ
* ขั้นตอนนี้จะใช้การปั้นต้นแบบด้วยวิธีอื่นก็ได้ เช่นการใช้ดินหรือขี้ผึ้งปั้น
ปกติหลังจากขึ้น 3D ผมจะทำโมเดลม๊อกอัพขึ้นมาก่อน
โดยไม่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดมากนัก เป็นแค่บล๊อกแล้วปรินท์ออกมาเพื่อดูขนาด และรูปทรงโดยรวมทั้งหมดก่อน
หลังจากหมุนโมเดลใน 3D จนพอใจแล้วเราก็จัดการปริ้นท์ออกมาด้วย 3D printer
ปัจจุบัน 3D printer มีราคาที่สามารถหาซื้อมาใช้ในบ้านได้ไม่ยากนัก แต่ทั้งรุ่นและราคาก็ต่างกันตามความต้องการในการใช้งาน
เครื่องที่ผมใช้คือ Flashforge Finder ซึ่งปริ้นท์วัสดุได้แค่ PLA สำหรับผมเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
ข้อจำกัดของเครื่องรุ่นนี้คือปริ้นท์ได้สูงสุดแค่ 14 ซม ถ้าเลยนั้นมันจะเลยเครื่องเอา ก็แก้ง่ายๆด้วยการแยกชิ้นแล้วค่อยมาประกบกันก็ได้
จากนั้นคือการจบงานจากเครื่อง 3D print
หลายคนอาจจะคิดว่าแค่สั่งปริ้นท์เสร็จก็จบ สำหรับเครื่องปริ้นท์ที่ใช้เรซิ่น อาจจะเป็นเช่นนั้น
เพราะงานที่ได้จากเครื่องปริ้นท์เรซิ่นจะมีผิวที่เรียบเนียน และเก็บรายละเอียดได้ดี
แลกกับราคาต่อชิ้นงานที่ค่อนข้างสูงและการดูแลรักษาที่ต้องระมัดระวัง แต่กับเครื่องฉีดพลาสติกแล้ว
งานที่ออกมาส่วนมากอยู่ในขั้นพอได้ คือเราจะยังเห็นพลาสติกเป็นชั้นๆอยู่
แลกกับราคาที่ต่ำกว่าและขั้นตอนการเก็บรักษาที่ง่ายกว่า
ขั้นตอนที่สำคัญและยาวนานที่สุดคือการขัดและเชื่อมรอยต่อระหว่างชิ้นงาน ถ้าไม่ใช้เงินก็ต้องใช้แรงตัวเองนี่ล่ะ
การพ่นสีรองพื้นจะทำให้ร่องระหว่างเส้นพลาสติกโดนถม
การขัดด้วยกระดาษทรายจะทำให้สีที่เราพ่นเกินมาหลุดลอกไป ขั้นตอนนี้ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนพอใจ
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อพ่นสีรองพื้นไปชั้นแรก เส้นพลาสติกจะมองเห็นเป็นชั้นๆได้อย่างชัดเจน
หลังจากพ่นและขัดซ้ำไปเรื่อยๆ ก็เริ่มมีความเนียน
ข้อควรระวังคือ ยิ่งพ่นและขัดจะทำให้ความหนาเพิ่มขึ้น โมเดลที่มีรายละเอียดเล็กๆยิบย่อยจึงไม่เหมาะกับวิธีนี้
การแยกชิ้นส่วนงานก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น ในภาพคือการแยกหัวออกจากตัว ในกรณีที่เราอยากเปลี่ยนหัวภายหลังก็ทำได้โดยง่าย
ถ้าเราทำชิ้นงานที่ต้องการเพียงชิ้นเดียวก็จะจบที่ขั้นตอนนี้
แต่ในกรณีที่ต้องการผลิตจำนวนมาก ขั้นตอนต่อไปคือการทำโมล