คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
จากคนใช้ ฤ เหมือนกัน..
..
อาจเป็นเพราะ ผม ประกอบเองทั้งคันมั้งครับ จึงเลือกซื้อเฉพาะเฟรมเซ็ตเท่านั้น เพราะก่อนซื้อ ผมศึกษาราคาทั้งหมดก่อนแล้ว และมีอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนแล้วด้วย
..
โดยความคิดเห็นส่วนตัว มองว่า คุณธานินทร์ ถนัดงานพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่างานขาย ทีนี้การเป็นเจ้าของแบรนด์ แต่ขายไม่เป็น กลุ่มผู้ถือหุ้น คงจะไม่พอใจ ในผลงานการขาย เช่น อาจขายแล้วไม่เข้าเป้าขาย ฯลฯ ประกอบกับ คุณธานินทร์ต้องการเน้นงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เต็มที่ จึงขายแบรนด์ หรืออาจมอบอำนาจให้ กลุ่มผู้ถือหุ้นจัดการด้านการขายผลิตภัณฑ์แทน
..
มองว่า เราเลือกได้ ก็ควรเลือกสิ่งที่คุ้มค่า แต่ควรซื้อแบบสำเร็จรูปไหม นั่นต้องดู การบริการหลังการขาย ประกอบการพิจารณา.. กรณี ผู้ซื้อ ไม่มีความรู้และไม่ใช่ผู้ชำนาญการในการประกอบรถจักรยาน (ช่าง) ควรมีเพื่อนๆ ที่มีความรู้เชิงช่างไปช่วยในการตัดสินใจจะดีกว่ามาก
..
ทีนี้ นิสัยผู้ขาย ต้องดูเป็นคนๆ ไป บางคน service mind ดี บางคนก็ แย่..
บางคนบรรยาย - โม้เก่ง เชิญชวนดีมาก แต่บริการหลังการขาย แย่มาก ก็มีเยอะแยะไป..
ทั้งที่ ตัวผลิตภัณฑ์มันดีของมันอยู่แล้ว เป็นต้น
..
การแตกแบรนด์ใหม่ ผมไม่ค่อยเห็นด้วย อย่างที่บอก ตัวคุณธานินทร์ ลักษณะ แกน่าจะถนัดงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่า งานด้านการขาย อีกประการรถจักรยานไม่ใช่ สินค้าปัจจัยสี่ การจะให้มันขายได้ด้วยตัวของมันเอง ต้องมีแนวนโยบายต่างๆ รองรับ และมีการจัดการที่ดี ตรงนี้ ผมมองว่า คุณธานินทร์เริ่มได้ดี แต่ไม่มีการต่อยอด/เอาไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด และขายของ แบบมองลูกค้าประเภทเดียวมากเกินไป ทั้งที่จริงคนที่สนใจในทัวร์ริ่งมีหลากหลาย และตัวผลิตภัณฑ์เองก็มีดีในตัวของมันอยู่แล้วด้วยซ้ำครับ
..
ทีนี้ เรื่องลิขสิทธิ์แบรนด์ อันนี้ ไม่ขอตอบ เพราะไม่รู้ แต่จากความคิดเห็นส่วนตัว คุณธานินทร์ถือได้ว่าเป็นผู้คิดค้นและสร้างแบรนด์ขึ้นมาก็จริง แต่สามารถโอนสิทธิในการขาย/บริหาร ให้คนอื่นได้ พูดง่ายๆ คุณธานินทร์ก็ยังเป็นเจ้าของแบรนด์อยู่ แต่แค่ไม่ต้องขาย นั่งเฉยๆ รับลิขสิทธิ์ดีกว่าเยอะ การแตกธุรกิจใหม่ควรลงมือทำเมื่อ สินค้าเดิม มียอดขายต่ำ และไม่ตอบสนองตลาด แต่ประเด็นของทัวร์ริ่ง ฤ ไม่ใช่ (ในมุมมองของข้าพเจ้า) การสร้างแบรนด์ใหม่ เพื่อแค่พัฒนาผลิตภัณฑ์ จริงๆก็ทำได้ ในลักษณะ BU ธุรกิจเฉพาะ แต่จะคุ้มไหม นั่นอีกเรื่อง
..
อาจเป็นเพราะ ผม ประกอบเองทั้งคันมั้งครับ จึงเลือกซื้อเฉพาะเฟรมเซ็ตเท่านั้น เพราะก่อนซื้อ ผมศึกษาราคาทั้งหมดก่อนแล้ว และมีอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนแล้วด้วย
..
โดยความคิดเห็นส่วนตัว มองว่า คุณธานินทร์ ถนัดงานพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่างานขาย ทีนี้การเป็นเจ้าของแบรนด์ แต่ขายไม่เป็น กลุ่มผู้ถือหุ้น คงจะไม่พอใจ ในผลงานการขาย เช่น อาจขายแล้วไม่เข้าเป้าขาย ฯลฯ ประกอบกับ คุณธานินทร์ต้องการเน้นงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เต็มที่ จึงขายแบรนด์ หรืออาจมอบอำนาจให้ กลุ่มผู้ถือหุ้นจัดการด้านการขายผลิตภัณฑ์แทน
..
มองว่า เราเลือกได้ ก็ควรเลือกสิ่งที่คุ้มค่า แต่ควรซื้อแบบสำเร็จรูปไหม นั่นต้องดู การบริการหลังการขาย ประกอบการพิจารณา.. กรณี ผู้ซื้อ ไม่มีความรู้และไม่ใช่ผู้ชำนาญการในการประกอบรถจักรยาน (ช่าง) ควรมีเพื่อนๆ ที่มีความรู้เชิงช่างไปช่วยในการตัดสินใจจะดีกว่ามาก
..
ทีนี้ นิสัยผู้ขาย ต้องดูเป็นคนๆ ไป บางคน service mind ดี บางคนก็ แย่..
บางคนบรรยาย - โม้เก่ง เชิญชวนดีมาก แต่บริการหลังการขาย แย่มาก ก็มีเยอะแยะไป..
ทั้งที่ ตัวผลิตภัณฑ์มันดีของมันอยู่แล้ว เป็นต้น
..
การแตกแบรนด์ใหม่ ผมไม่ค่อยเห็นด้วย อย่างที่บอก ตัวคุณธานินทร์ ลักษณะ แกน่าจะถนัดงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่า งานด้านการขาย อีกประการรถจักรยานไม่ใช่ สินค้าปัจจัยสี่ การจะให้มันขายได้ด้วยตัวของมันเอง ต้องมีแนวนโยบายต่างๆ รองรับ และมีการจัดการที่ดี ตรงนี้ ผมมองว่า คุณธานินทร์เริ่มได้ดี แต่ไม่มีการต่อยอด/เอาไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด และขายของ แบบมองลูกค้าประเภทเดียวมากเกินไป ทั้งที่จริงคนที่สนใจในทัวร์ริ่งมีหลากหลาย และตัวผลิตภัณฑ์เองก็มีดีในตัวของมันอยู่แล้วด้วยซ้ำครับ
..
ทีนี้ เรื่องลิขสิทธิ์แบรนด์ อันนี้ ไม่ขอตอบ เพราะไม่รู้ แต่จากความคิดเห็นส่วนตัว คุณธานินทร์ถือได้ว่าเป็นผู้คิดค้นและสร้างแบรนด์ขึ้นมาก็จริง แต่สามารถโอนสิทธิในการขาย/บริหาร ให้คนอื่นได้ พูดง่ายๆ คุณธานินทร์ก็ยังเป็นเจ้าของแบรนด์อยู่ แต่แค่ไม่ต้องขาย นั่งเฉยๆ รับลิขสิทธิ์ดีกว่าเยอะ การแตกธุรกิจใหม่ควรลงมือทำเมื่อ สินค้าเดิม มียอดขายต่ำ และไม่ตอบสนองตลาด แต่ประเด็นของทัวร์ริ่ง ฤ ไม่ใช่ (ในมุมมองของข้าพเจ้า) การสร้างแบรนด์ใหม่ เพื่อแค่พัฒนาผลิตภัณฑ์ จริงๆก็ทำได้ ในลักษณะ BU ธุรกิจเฉพาะ แต่จะคุ้มไหม นั่นอีกเรื่อง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
ถ้าหลายๆ ท่านเป็นนักปั่นในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าจำนวนไม่น้อยจะรู้จักเค้าในชื่อนึง ลงท้ายด้วย 520 จากนั้นไม่นาน เค้ามาขายเฟรมอเมริกา สัญชาติไต้หวัน เป็นทัวร์ริ่งล้อ 26 และโจมตี ล้อ 700c ว่าปั่นสู้ล้อ 26 ไม่ได้
พอทำตลาดได้ซักพัก เจอเจ้าใหญ่คว้าแบรนด์ไปครอง เลยต้องมาทำเฟรมของตัวเอง โดยการระดมหุ้น ตามที่ทราบๆ กัน แล้วก็โจมตีว่าเฟรมที่ตัวเองเคยขายนั้น ไม่ดี ต้องของใหม่นี่ ออกแบบเอง แบรนด์คนไทยโดยแท้จริง ดีกว่าเฟรมฝรั่ง
คนไทยโดนฝรั่งหลอกมาเยอะ เคยมีวาสนาได้เห็นภาพถ่ายตอนท่านเค้านั่งออกแบบเฟรม โดยใช้ Photoshop เปิดภาพ Jpeg ที่เซฟมาจากโปรแกรม CAD
ช่วงเริ่มต้นที่ขายเฟรมของตัวเองนี้ ท่านเค้าก็ออกมาโจมตีคู่แข่งอีกครั้ง คราวนี้พุ่งเป้าไปที่เกียร์ระบบปิดจากเมืองเบียร์ ว่าไม่ดีแบบโน้น ไม่ดีแบบนี้ ไม่แนะนำให้สมาชิกใช้ สู้เกียร์ XT ที่ใช้กันอยู่นี่ไม่ได้ซักอย่าง หลักฐานมีอยู่ในเว็บจักรยานชื่อดังของเมืองไทย ลบไม่หมด ถึงจะลบที่เคยโฟสในหน้าเฟสของตัวเองไปแล้วก็ตาม ตอนนี้เป็นไง เกียร์ระบบปิดนี่ ดีหรืออย่างไร ถึงอยากจะเอามาขายเสียเหลือเกิน แต่อนิจจา สมาชิกที่สั่งไว้ รอกันข้ามปี ก็ยังไม่มีวาสนา จนโบกมือลากันไปหลายคน
เรื่องโดนปิดดีลเลอร์ของสินค้าทัวร์ริ่งยี่ห้อดัง เพราะเอาของหิ้วเข้ามาปนขายนี่อีก วีรกรรมท่านมีอีกเยอะ เหลาไม่หมดหน้ากระดาษ แต่ที่ไม่ค่อยเห็นเพราะท่านขยันโพสแล้วขยันลบด้วย เอาเป็นว่า ถ้าสมาชิกติดตามกันมานานพอ จะเห็นทุกอย่างด้วยตัวเอง และตัดสินใจได้
พอทำตลาดได้ซักพัก เจอเจ้าใหญ่คว้าแบรนด์ไปครอง เลยต้องมาทำเฟรมของตัวเอง โดยการระดมหุ้น ตามที่ทราบๆ กัน แล้วก็โจมตีว่าเฟรมที่ตัวเองเคยขายนั้น ไม่ดี ต้องของใหม่นี่ ออกแบบเอง แบรนด์คนไทยโดยแท้จริง ดีกว่าเฟรมฝรั่ง
คนไทยโดนฝรั่งหลอกมาเยอะ เคยมีวาสนาได้เห็นภาพถ่ายตอนท่านเค้านั่งออกแบบเฟรม โดยใช้ Photoshop เปิดภาพ Jpeg ที่เซฟมาจากโปรแกรม CAD
ช่วงเริ่มต้นที่ขายเฟรมของตัวเองนี้ ท่านเค้าก็ออกมาโจมตีคู่แข่งอีกครั้ง คราวนี้พุ่งเป้าไปที่เกียร์ระบบปิดจากเมืองเบียร์ ว่าไม่ดีแบบโน้น ไม่ดีแบบนี้ ไม่แนะนำให้สมาชิกใช้ สู้เกียร์ XT ที่ใช้กันอยู่นี่ไม่ได้ซักอย่าง หลักฐานมีอยู่ในเว็บจักรยานชื่อดังของเมืองไทย ลบไม่หมด ถึงจะลบที่เคยโฟสในหน้าเฟสของตัวเองไปแล้วก็ตาม ตอนนี้เป็นไง เกียร์ระบบปิดนี่ ดีหรืออย่างไร ถึงอยากจะเอามาขายเสียเหลือเกิน แต่อนิจจา สมาชิกที่สั่งไว้ รอกันข้ามปี ก็ยังไม่มีวาสนา จนโบกมือลากันไปหลายคน
เรื่องโดนปิดดีลเลอร์ของสินค้าทัวร์ริ่งยี่ห้อดัง เพราะเอาของหิ้วเข้ามาปนขายนี่อีก วีรกรรมท่านมีอีกเยอะ เหลาไม่หมดหน้ากระดาษ แต่ที่ไม่ค่อยเห็นเพราะท่านขยันโพสแล้วขยันลบด้วย เอาเป็นว่า ถ้าสมาชิกติดตามกันมานานพอ จะเห็นทุกอย่างด้วยตัวเอง และตัดสินใจได้
แสดงความคิดเห็น
"RIT" กับ "TANIN" เกิดอะไรขึ้นกับจักรยานยี่ห้อนี้
เลยแวะไปบู๊ทของคุณธานินทร์ ฤตวิรุฬห์ พูดคุยถึงจักรยานที่คุณธานินทร์ นำมาเสนอ ซึ่งมีการนำเสนอ ในแบรนด์ใหม่เป็น TANIN
หลังจากได้พูดคุยกับคุณธานินทร์ ได้ที่เรียบร้อย
ได้เดินสำรวจมาถึงด้านท้ายของ Hall เจอบู๊ทของบริษัท RIT BIKE AND COMPONENTS CO.,LTD.
ซึ่งจำหน่ายจักรยานยี่ห้อ RIT สำเร็จรูป (Complete Bike) ประกอบเป็นเซ็ทพร้อมปั่น
ได้พูดคุยกับคนขายเขาบอกว่า คุณธานินทร์ เป็นผู้นำแบรนด์ RIT ของโรงงานเขาไปจำหน่ายเอง
เลยสงสัยว่า ตกลงใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แบรนด์ในชื่อ RIT กันแน่