คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ครอบปิดมุมหัวแผ่นหลังคา (กันสาดสีขาว) ที่เรียกกันในหมู่ช่างว่า "แฟลชชิ่ง : Flashing" นั้น ทำผิดรูปแบบ & ไม่เหมาะกับงานหลังคาลักษณะนี้
>> การรั่วซึมน่าจะเข้ามาได้ 2 แนวจุดอ่อนที่ช่างเดิมทำไว้แบบผิดๆ คือ น้ำฝนไหลลงมาตามกำแพง & แทรกซึมเข้าไปในแนวรอยต่ออันบน และน้ำฝนไหลย้อนแผ่นหลังคาขึ้นมาในแนวรอยต่ออันล่าง >> แก้ปัญหาวิธีแรกด้วยการรื้อแผ่น Flashing เดิมออกแล้วทำใหม่ (ตามรูปข้างบน) หรือหากไม่ต้องการรื้อ ก็เลือกใช้วัสดุกันซึมประเภท "อะครีลิค รูฟซีล : Acrylic Roof Seal" มาทาตามแนวรอยต่อทั้งบนและล่าง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ >> ขั้นแรก : ให้ฉีดปิดช่องว่างระหว่างแผ่น Flashing กับแนวผนังด้านบน & กับแนวแผ่นหลังคากันสาดด้านล่าง ด้วย Polyurethane Sealant (ไม่แนะนำใช้ชนิด Silicone Sealant) โดยหากมีวัสดุอื่นที่ทำไว้ก่อน ต้องขูดแซะออกให้เกลี้ยง
>> ทาอะครีลิครูฟซีล จำนวน 3 เที่ยว โดยเที่ยวแรกผสมน้ำ 30-35% แล้วปูแผ่นตาข่ายไฟเบอร์เมธแนบไปกับฟิล์มสีขณะที่ยังไม่แห้ง แล้วทาทับอีก 2 เที่ยวโดยไม่ต้องผสมน้ำ (แนะนำใช้แผ่นไฟเบอร์เมธชนิดกว้าง 8 นิ้ว วางทาบไปตามแนวรอยต่อโดยวาง 4 " ทาบบนแผ่น Flashing และอีก 4" ทาบบนผนังกำแพง & แผ่นหลังคากันสาด) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ : บนแผ่นหลังคา & แผ่น Flashing ที่เป็นโลหะนั้น ควรทารองพื้นก่อนเพื่อให้มีการยึดเกาะที่ดีด้วย "สีรองพื้นกันสนิม อีพ๊อกซี่" [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
>> หากต้องการให้แนวทาซ่อมแซมดูเรียบร้อย แนะนำให้ติดเทปย่น (เทปกระดาษ : masking tape) เป็นแนวป้องกันขอบให้เป็นแนวคมเรียบร้อย
การแก้ไขแบบรื้อทำใหม่แม้จะยุ่งยากกว่าแต่ก็ทำให้สวยงามกว่า & ถาวรกว่า ส่วนวิธีหลังสะดวกกว่า ง่ายกว่า คชจ.น้อยกว่า แต่ไม่สวยงามเท่า และมีอายุการใช้งานประมาณ 5-8 ปี อาจจะต้องมาทากันใหม่ในอนาคต
>> การรั่วซึมน่าจะเข้ามาได้ 2 แนวจุดอ่อนที่ช่างเดิมทำไว้แบบผิดๆ คือ น้ำฝนไหลลงมาตามกำแพง & แทรกซึมเข้าไปในแนวรอยต่ออันบน และน้ำฝนไหลย้อนแผ่นหลังคาขึ้นมาในแนวรอยต่ออันล่าง >> แก้ปัญหาวิธีแรกด้วยการรื้อแผ่น Flashing เดิมออกแล้วทำใหม่ (ตามรูปข้างบน) หรือหากไม่ต้องการรื้อ ก็เลือกใช้วัสดุกันซึมประเภท "อะครีลิค รูฟซีล : Acrylic Roof Seal" มาทาตามแนวรอยต่อทั้งบนและล่าง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ >> ขั้นแรก : ให้ฉีดปิดช่องว่างระหว่างแผ่น Flashing กับแนวผนังด้านบน & กับแนวแผ่นหลังคากันสาดด้านล่าง ด้วย Polyurethane Sealant (ไม่แนะนำใช้ชนิด Silicone Sealant) โดยหากมีวัสดุอื่นที่ทำไว้ก่อน ต้องขูดแซะออกให้เกลี้ยง
>> ทาอะครีลิครูฟซีล จำนวน 3 เที่ยว โดยเที่ยวแรกผสมน้ำ 30-35% แล้วปูแผ่นตาข่ายไฟเบอร์เมธแนบไปกับฟิล์มสีขณะที่ยังไม่แห้ง แล้วทาทับอีก 2 เที่ยวโดยไม่ต้องผสมน้ำ (แนะนำใช้แผ่นไฟเบอร์เมธชนิดกว้าง 8 นิ้ว วางทาบไปตามแนวรอยต่อโดยวาง 4 " ทาบบนแผ่น Flashing และอีก 4" ทาบบนผนังกำแพง & แผ่นหลังคากันสาด) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมายเหตุ : บนแผ่นหลังคา & แผ่น Flashing ที่เป็นโลหะนั้น ควรทารองพื้นก่อนเพื่อให้มีการยึดเกาะที่ดีด้วย "สีรองพื้นกันสนิม อีพ๊อกซี่" [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
>> หากต้องการให้แนวทาซ่อมแซมดูเรียบร้อย แนะนำให้ติดเทปย่น (เทปกระดาษ : masking tape) เป็นแนวป้องกันขอบให้เป็นแนวคมเรียบร้อย
การแก้ไขแบบรื้อทำใหม่แม้จะยุ่งยากกว่าแต่ก็ทำให้สวยงามกว่า & ถาวรกว่า ส่วนวิธีหลังสะดวกกว่า ง่ายกว่า คชจ.น้อยกว่า แต่ไม่สวยงามเท่า และมีอายุการใช้งานประมาณ 5-8 ปี อาจจะต้องมาทากันใหม่ในอนาคต
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ดูแลและซ่อมแซมบ้าน
งานช่าง
น้ำรั่วตรงรอยต่อกันสาดกับตัวบ้านแบบนี้แก้ยังไง มีรูป
บริเวณรั่วคาดว่าอยู่ใต้แผ่นเงินๆ จะเอาซิลิโคนมายิงแต่ไม่รู้ควรทำตรงจุดไหน ขอบคุณครับ