#คู่มือการลาออก
ใครเปลี่ยนงานบ่อยๆ คงไม่ค่อยประสบกับปัญหานี้กันซักเท่าไหร่ แต่สำหรับเราผู้ซึ่งตั้งแต่เรียนจบมาก็ทำงานอยู่ที่เดิมที่เดียวไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ต้องบอกตรงๆว่า มึนไปเลยเหมือนกันค่ะ
เราทำงานอยู่บริษัทแห่งหนึ่งเป็นเวลานานกว่าสิบปี อยู่ในกรอบที่ไม่เคยนึกสงสัยว่าถ้าวันนึงเราไม่ได้ทำงานบริษัท สวัสดิการสังคมต่างๆที่เราควรยื่นขอ หรือข้อกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ที่เราต้องทำมันมีอะไรบ้าง อย่างเช่นการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่ปกติเรายื่นเองก็จริง แต่ตรงนี้บริษัทก็ทำข้อมูลมาให้เรา Key ได้ง่ายขึ้น หรือประกันสังคมบริษัทก็จัดการให้หมด
ทีนี้พอโดดออกมาทำมาหากินเอง เรื่องข้างต้นก็เลยต้องเปลี่ยนตามไปด้วย วันนี้เลยมาเล่าให้ฟังเบื้องต้นเผื่อเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่หัดลาออกกันนะคะ ถึงเวลาจะได้ไม่เฟ้งฟ้างกันค่ะ
เริ่มจากลาออกปุ๊บ เราไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานกันก่อนเลย อันนี้ในกรณีที่แบบลาออกจากที่เก่าแล้วยังไม่ได้ไปทำงานต่อที่บริษัทใหม่แบบทันทีทันควันนะคะ เพราะถ้าทำมันก็ไม่ใช่ผู้ว่างงานสิ ฮ่าๆ แต่ถ้าเกิดแบบโอยยย ทำงานมาตั้งนาน ลาออกทั้งทีขอพักหายใจแพพ อันนี้แนะนำ เพราะการไปขึ้นทะเบียนว่างงานไว้เนี่ย เค้าจะมีเงินทดแทนให้ 30% ของเงินเดือนที่เคยได้ แต่อ๊ะ อย่านึกว่าเงินเดือน 100,000 มานี่จะได้เงิน 30,000 มาใช้เล่นสวยๆนะ เปล่าเลยค่ะ ทางประกันสังคมเค้ามีเพดานเงินเดือนที่จะเอามาคิดอยู่ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ดังนั้นแปลว่าเงินทดแทนระหว่างการว่างงานที่เราพึงได้จะอยู่ที่ 13,500 บาทขาดตัวเท่านั้นค่ะ
วิธีการคิด : 30% ของ 15,000 เท่ากับ 4,500 บาทต่อเดือน ได้รับเงินทดแทน 3 เดือน รวมแล้วเป็น 4,500x3 เท่ากับ 13,500 บาท
สรุปคือ เงินเดือนกี่แสนมายังไงก็ได้แค่นี้ คือแค่ 13,500 บาทค่ะ และก็จะไม่ได้ในทีเดียวนะ จะเป็นการทยอยจ่ายทีละเดือนๆ จนครบ 3 เดือนค่ะ โดยที่แต่ละเดือนต้องมีการรายงานตัวทุกเดือนด้วย (เยอะเนาะ) ยื่นเรื่องที่ไหน รายงานตัวที่นั่นค่ะ ดังนั้นควรเลือกสำนักงานจัดหางานสาขาที่สะดวกสำหรับการมาซ้ำแล้วซ้ำอีกไว้ด้วยเด้อ แต่ๆๆๆ มันมีที่สะดวกกว่านั้นก็คือการยื่นออนไลน์ผ่านระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต บอกเลยว่าสะดวกมากกก หลังลาออกได้เกือบเดือน จขกท.ก็ไปอยู่ต่างประเทศค่ะ แล้วก็รายงานตัวผ่านอินเตอร์เน็ตนี่แหล่ะ เงินเข้าครบทุกเดือน หายห่วงจ้าาา
อ้อ สิ่งสำคัญก็คือขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานต้องทำภายใน 30 วันหลังออกจากงานเด้อ ช้าหมด อดขึ้น อดได้เงินชดเชยนะคะ
[Link ระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต --->
http://empui.doe.go.th/auth/index]
[อ่านหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพิ่มเติมได้ที่ --->
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=874]
ขึ้นทะเบียนว่างงานเสร็จเรียบร้อย ทีนี้พอลาออกแล้วเรื่องประกันสังคมเราจะยังไงต่อดี
แนะนำว่าทำต่อไปเถอะค่ะ เราอุตส่าห์โดนหักเงินเดือนไปจ่ายค่าประกันสังคมอยู่ทุกเดือนๆมาตลอดสิบกว่าปีแล้วเนี่ยนะ ไม่ทำต่อนี่เสียดายแย่ค่ะ บางคนบอกว่าเสียดายไรกัน ปกติไม่เห็นจะเคยได้เบิกอะไรเลย ค่าทำฟันก็จุ๋มจิ๋ม ค่ารักษาอื่นๆก็อย่าให้พูด
อยากบอกว่าเราเองก็เคยคิดเหมือนกันค่ะ แต่หลังจากหาข้อมูลดูก็พบว่า สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เงินส่วนที่เป็นประกันชราภาพนี่เองค่ะ ในเงินประกันสังคมที่เราถูกหักไปในแต่ละเดือนเนี่ย สามเปอร์เซนต์ของเงินจำนวนนั้นจะถูกสะสมไปเรื่อยๆจนเราเกษียณหรืออายุครบ 55 ปีค่ะ คิดๆดู บวกลบคูณหารแล้วก็เป็นแสนเหมือนกันนะ ดังนั้น ทำเถอะ แก่ๆไปก็มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายได้ แต่อย่าลืมมาเบิกไปก็แล้วกันนะ เก็บเงินมาทั้งชีวิต ถึงเวลาดันลืมไปทำเรื่องเบิกนี่คงล้องห้ายจนหน้าเหี่ยวไปอีกหลายช่วงอายุแน่ๆค่ะ
โอเค มาโฟกัสที่การทำประกันสังคมต่อก่อนดีกว่า สรุปว่าทำต่อเนอะ ถ้าทำต่อก็แค่เราไปยื่นเรื่องเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ค่ะ คืองี้ เวลาเราทำงานบริษัท บริษัทเค้าจะทำประกันสังคมให้เราอยู่แล้วตามกฎหมายเนอะ แต่ว่าอันนั้นมันจะเป็นคนละมาตราค่ะ คือมาตรา 33 นั่นเอง ทีนี้พอเราลาออกจากบริษัทและยังอยากได้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ เราต้องไปเปลี่ยนเป็นมาตรา 39 แทนค่ะ สิทธิก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิมเพียงแต่เมื่อก่อนอาจจะได้รับเงินสมทบเบิ้ลในส่วนของนายจ้าง แต่ตอนนี้จะไม่มีแล้ว มีแค่ส่วนของที่เราส่งเองซึ่งจะส่งเดือนละ 432 บาทเองค่ะ 432 เองงง เลยบอกไงว่าทำๆไปเท้อออ
เงื่อนไขและรายละเอียดการยื่นสมัครตาม Link ด้านล่างนะคะ สิ่งสำคัญที่อยากย้ำก็คือ ถ้าจะยื่นต้องยื่นภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานนะคะ ไม่งั้นหมดสิทธิค่ะ เลทวันเดียวสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ให้อภัยค่ะ ดังนั้นตรงนี้ต้องระวังเรื่องระยะเวลาดีๆน้าาา
[การยื่นใบสมัครผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 --->
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=875]
คู่มือลาออกเบื้องต้นก็มีแค่นี้ค่ะ นอกจากนี้ก็คงจะเป็นเรื่องลาออกแล้วจะทำมาหากินยังไงดีเนี่ยแหล่ะ สำคัญที่สุดค่ะ ฮ่าๆๆ
ปล. เรื่องภาษีนี่ต้องบอกตรงๆว่า ขอทำตัวให้มีรายได้ก่อนค่ะ แล้วถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังอีกแน่นอนค่าาา
คู่มือการลาออก
ใครเปลี่ยนงานบ่อยๆ คงไม่ค่อยประสบกับปัญหานี้กันซักเท่าไหร่ แต่สำหรับเราผู้ซึ่งตั้งแต่เรียนจบมาก็ทำงานอยู่ที่เดิมที่เดียวไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ต้องบอกตรงๆว่า มึนไปเลยเหมือนกันค่ะ
เราทำงานอยู่บริษัทแห่งหนึ่งเป็นเวลานานกว่าสิบปี อยู่ในกรอบที่ไม่เคยนึกสงสัยว่าถ้าวันนึงเราไม่ได้ทำงานบริษัท สวัสดิการสังคมต่างๆที่เราควรยื่นขอ หรือข้อกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ที่เราต้องทำมันมีอะไรบ้าง อย่างเช่นการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่ปกติเรายื่นเองก็จริง แต่ตรงนี้บริษัทก็ทำข้อมูลมาให้เรา Key ได้ง่ายขึ้น หรือประกันสังคมบริษัทก็จัดการให้หมด
ทีนี้พอโดดออกมาทำมาหากินเอง เรื่องข้างต้นก็เลยต้องเปลี่ยนตามไปด้วย วันนี้เลยมาเล่าให้ฟังเบื้องต้นเผื่อเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่หัดลาออกกันนะคะ ถึงเวลาจะได้ไม่เฟ้งฟ้างกันค่ะ
เริ่มจากลาออกปุ๊บ เราไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานกันก่อนเลย อันนี้ในกรณีที่แบบลาออกจากที่เก่าแล้วยังไม่ได้ไปทำงานต่อที่บริษัทใหม่แบบทันทีทันควันนะคะ เพราะถ้าทำมันก็ไม่ใช่ผู้ว่างงานสิ ฮ่าๆ แต่ถ้าเกิดแบบโอยยย ทำงานมาตั้งนาน ลาออกทั้งทีขอพักหายใจแพพ อันนี้แนะนำ เพราะการไปขึ้นทะเบียนว่างงานไว้เนี่ย เค้าจะมีเงินทดแทนให้ 30% ของเงินเดือนที่เคยได้ แต่อ๊ะ อย่านึกว่าเงินเดือน 100,000 มานี่จะได้เงิน 30,000 มาใช้เล่นสวยๆนะ เปล่าเลยค่ะ ทางประกันสังคมเค้ามีเพดานเงินเดือนที่จะเอามาคิดอยู่ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ดังนั้นแปลว่าเงินทดแทนระหว่างการว่างงานที่เราพึงได้จะอยู่ที่ 13,500 บาทขาดตัวเท่านั้นค่ะ
วิธีการคิด : 30% ของ 15,000 เท่ากับ 4,500 บาทต่อเดือน ได้รับเงินทดแทน 3 เดือน รวมแล้วเป็น 4,500x3 เท่ากับ 13,500 บาท
สรุปคือ เงินเดือนกี่แสนมายังไงก็ได้แค่นี้ คือแค่ 13,500 บาทค่ะ และก็จะไม่ได้ในทีเดียวนะ จะเป็นการทยอยจ่ายทีละเดือนๆ จนครบ 3 เดือนค่ะ โดยที่แต่ละเดือนต้องมีการรายงานตัวทุกเดือนด้วย (เยอะเนาะ) ยื่นเรื่องที่ไหน รายงานตัวที่นั่นค่ะ ดังนั้นควรเลือกสำนักงานจัดหางานสาขาที่สะดวกสำหรับการมาซ้ำแล้วซ้ำอีกไว้ด้วยเด้อ แต่ๆๆๆ มันมีที่สะดวกกว่านั้นก็คือการยื่นออนไลน์ผ่านระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต บอกเลยว่าสะดวกมากกก หลังลาออกได้เกือบเดือน จขกท.ก็ไปอยู่ต่างประเทศค่ะ แล้วก็รายงานตัวผ่านอินเตอร์เน็ตนี่แหล่ะ เงินเข้าครบทุกเดือน หายห่วงจ้าาา
อ้อ สิ่งสำคัญก็คือขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานต้องทำภายใน 30 วันหลังออกจากงานเด้อ ช้าหมด อดขึ้น อดได้เงินชดเชยนะคะ
[Link ระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต ---> http://empui.doe.go.th/auth/index]
[อ่านหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพิ่มเติมได้ที่ ---> http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=874]
ขึ้นทะเบียนว่างงานเสร็จเรียบร้อย ทีนี้พอลาออกแล้วเรื่องประกันสังคมเราจะยังไงต่อดี
แนะนำว่าทำต่อไปเถอะค่ะ เราอุตส่าห์โดนหักเงินเดือนไปจ่ายค่าประกันสังคมอยู่ทุกเดือนๆมาตลอดสิบกว่าปีแล้วเนี่ยนะ ไม่ทำต่อนี่เสียดายแย่ค่ะ บางคนบอกว่าเสียดายไรกัน ปกติไม่เห็นจะเคยได้เบิกอะไรเลย ค่าทำฟันก็จุ๋มจิ๋ม ค่ารักษาอื่นๆก็อย่าให้พูด
อยากบอกว่าเราเองก็เคยคิดเหมือนกันค่ะ แต่หลังจากหาข้อมูลดูก็พบว่า สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เงินส่วนที่เป็นประกันชราภาพนี่เองค่ะ ในเงินประกันสังคมที่เราถูกหักไปในแต่ละเดือนเนี่ย สามเปอร์เซนต์ของเงินจำนวนนั้นจะถูกสะสมไปเรื่อยๆจนเราเกษียณหรืออายุครบ 55 ปีค่ะ คิดๆดู บวกลบคูณหารแล้วก็เป็นแสนเหมือนกันนะ ดังนั้น ทำเถอะ แก่ๆไปก็มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายได้ แต่อย่าลืมมาเบิกไปก็แล้วกันนะ เก็บเงินมาทั้งชีวิต ถึงเวลาดันลืมไปทำเรื่องเบิกนี่คงล้องห้ายจนหน้าเหี่ยวไปอีกหลายช่วงอายุแน่ๆค่ะ
โอเค มาโฟกัสที่การทำประกันสังคมต่อก่อนดีกว่า สรุปว่าทำต่อเนอะ ถ้าทำต่อก็แค่เราไปยื่นเรื่องเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ค่ะ คืองี้ เวลาเราทำงานบริษัท บริษัทเค้าจะทำประกันสังคมให้เราอยู่แล้วตามกฎหมายเนอะ แต่ว่าอันนั้นมันจะเป็นคนละมาตราค่ะ คือมาตรา 33 นั่นเอง ทีนี้พอเราลาออกจากบริษัทและยังอยากได้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ เราต้องไปเปลี่ยนเป็นมาตรา 39 แทนค่ะ สิทธิก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิมเพียงแต่เมื่อก่อนอาจจะได้รับเงินสมทบเบิ้ลในส่วนของนายจ้าง แต่ตอนนี้จะไม่มีแล้ว มีแค่ส่วนของที่เราส่งเองซึ่งจะส่งเดือนละ 432 บาทเองค่ะ 432 เองงง เลยบอกไงว่าทำๆไปเท้อออ
เงื่อนไขและรายละเอียดการยื่นสมัครตาม Link ด้านล่างนะคะ สิ่งสำคัญที่อยากย้ำก็คือ ถ้าจะยื่นต้องยื่นภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานนะคะ ไม่งั้นหมดสิทธิค่ะ เลทวันเดียวสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ให้อภัยค่ะ ดังนั้นตรงนี้ต้องระวังเรื่องระยะเวลาดีๆน้าาา
[การยื่นใบสมัครผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 ---> http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=875]
คู่มือลาออกเบื้องต้นก็มีแค่นี้ค่ะ นอกจากนี้ก็คงจะเป็นเรื่องลาออกแล้วจะทำมาหากินยังไงดีเนี่ยแหล่ะ สำคัญที่สุดค่ะ ฮ่าๆๆ
ปล. เรื่องภาษีนี่ต้องบอกตรงๆว่า ขอทำตัวให้มีรายได้ก่อนค่ะ แล้วถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังอีกแน่นอนค่าาา