วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 - 17:29 น
นายรัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา ในฐานะประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานจำนวนมากว่าในปีงบประมาณ 2560 (เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560) สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ เพื่อการเลื่อนเงินเดือนประจำปีของพนังานมหาวิทยาลัยภายใต้กรอบเพียงร้อยละ 4 ทั้งที่ที่ผ่านมาทุกปีจะจัดสรรตามกรอบร้อยละ 6 ซึ่งเหมือนของข้าราชการ
นายรัฐกรณ์ กล่าวต่อว่า จากกรณีดังกล่าวตนได้สอบถามไปยังนายโกสินทร์ ชำนาญพล ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน มรภ.นครราชสีมา ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณปี 2560 เพื่อเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักมหาวิทยาลัยภายใต้กรอบร้อยละ 4 และยังจัดสรรจริงเพียงร้อยละ 80 ของกรอบดังกล่าวอีกด้วย ทำให้หลายสถาบันเกิดความสับสนว่าจะดำเนินการเลื่อนเงินเดือนให้พนักงานอย่างไร เนื่องจากหลายสถาบันได้ออกระเบียบการเลื่อนเงินประจำปีอิงกับข้าราชการคือกำหนดวงเงินร้อยละ 6 โดยมีการเลื่อน 2 ครั้ง(รอบแรกวันที่ 1 ตุลาคม – 31 มีนาคม รอบสองวันที่ 1 เมษายน – 30กันยายน) ซึ่งขณะนี้เลยเวลาของการเลื่อนในรอบแรกมาแล้ว แต่หลายสถาบันยังไม่ได้เลื่อน เพราะไม่รู้จะจ่ายอย่างไร หากจ่ายวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ก็จะขัดกับระเบียบ แต่หากจ่ายตามระเบียบก็ต้องใช้งบประมาณรายได้ของสถาบันมาจ่ายเพิ่ม จึงทำให้หลายสถาบันยังไม่มีการเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักงาน
นายรัฐกรณ์ กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ปี 2542 ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติให้บรรจุอัตราพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการที่เกษียณรวมทั้งอัตราบบรรจุใหม่ ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งประเทศมีจำนวนข้าราชการเหลืออยู่เพียง 29,466 คน ขณะที่มีพนักงานจำนวน 101,281 คน แยกเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ 30,275 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ 4,767 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4,853 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4,256 คน ขณะที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อเลื่อนเงินเดือนกับพนักงานเพียงร้อยละ 4 ซึ่งไม่เพียงพออยู่แล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา กลับมีการเผยแพร่ราชกิจานุเบกษา พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งได้ยอดรวมทั้งสิ้นหมื่นกว่าล้านบาท
นายรัฐกรณ์ กล่าวด้วยว่า การลดวงเงินเพื่อเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักงานดังกล่าว ตนเชื่อว่าส่งกระทบกับทั้งมหาวิทยาลัยหากต้องนำเงินรายได้มาจ่ายเพิ่ม และกระทบกับพนักงานมหาวิทยาลัยโดยตรง เนื่องจากแม้มติครม.จะกำหนดให้จ่ายเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 1.7 เท่า และสายสนับสนุน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการ แต่หลายสถาบันก็ไม่ได้จ่ายเต็มตามจำนวน มีการหักไว้ 0.2-0.3 โดยอ้างว่านำไปใช้เป็นสวัสดิการต่าง ๆ เช่นการรักษาพยาบาล ซึ่งพนักงานไม่มีเหมือนข้าราชการ แต่ในความเป็นจริง กลับมีการหักเข้าประกันสังคม เพิ่มจากยอดดังกล่าวอีก จนถึงขนาดมีพนักงานนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้สถาบันจ่ายให้ครบตามจำนวน ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่ได้พิพากษาให้มรภ.เชียงใหม่ต้องจ่ายเงินเดือนให้อาจารย์ครบ 1.7 เท่า ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ของมหาวิทยาลัย
“จากการที่สำนักงบประมาณจัดสรรงบการเลื่อนเงินเดือนให้พนักงานเพียงร้อยะละ 4 ก่อให้เกิดผลกระทบกับทั้งสถาบันอุดมศึกษา และตัวพนักงานโดยตรง ผมจะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมสัมมนาของประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย ในหัวข้อสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนบุคลากรอุดมศึกษาอย่างไรให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 15 มิถุนายน ณ มรภ.สวนสุนันทา รวมทั้งจะได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับนายกรัฐมนตรีต่อไป” นายรัฐกรณ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/news/564803
‘รัฐกรณ์’เล็งร้องนายกฯ หลังรัฐตัดงบเพิ่มงด.พนักงานเหลือ 4%
นายรัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา ในฐานะประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานจำนวนมากว่าในปีงบประมาณ 2560 (เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560) สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ เพื่อการเลื่อนเงินเดือนประจำปีของพนังานมหาวิทยาลัยภายใต้กรอบเพียงร้อยละ 4 ทั้งที่ที่ผ่านมาทุกปีจะจัดสรรตามกรอบร้อยละ 6 ซึ่งเหมือนของข้าราชการ
นายรัฐกรณ์ กล่าวต่อว่า จากกรณีดังกล่าวตนได้สอบถามไปยังนายโกสินทร์ ชำนาญพล ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน มรภ.นครราชสีมา ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณปี 2560 เพื่อเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักมหาวิทยาลัยภายใต้กรอบร้อยละ 4 และยังจัดสรรจริงเพียงร้อยละ 80 ของกรอบดังกล่าวอีกด้วย ทำให้หลายสถาบันเกิดความสับสนว่าจะดำเนินการเลื่อนเงินเดือนให้พนักงานอย่างไร เนื่องจากหลายสถาบันได้ออกระเบียบการเลื่อนเงินประจำปีอิงกับข้าราชการคือกำหนดวงเงินร้อยละ 6 โดยมีการเลื่อน 2 ครั้ง(รอบแรกวันที่ 1 ตุลาคม – 31 มีนาคม รอบสองวันที่ 1 เมษายน – 30กันยายน) ซึ่งขณะนี้เลยเวลาของการเลื่อนในรอบแรกมาแล้ว แต่หลายสถาบันยังไม่ได้เลื่อน เพราะไม่รู้จะจ่ายอย่างไร หากจ่ายวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ก็จะขัดกับระเบียบ แต่หากจ่ายตามระเบียบก็ต้องใช้งบประมาณรายได้ของสถาบันมาจ่ายเพิ่ม จึงทำให้หลายสถาบันยังไม่มีการเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักงาน
นายรัฐกรณ์ กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ปี 2542 ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติให้บรรจุอัตราพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการที่เกษียณรวมทั้งอัตราบบรรจุใหม่ ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งประเทศมีจำนวนข้าราชการเหลืออยู่เพียง 29,466 คน ขณะที่มีพนักงานจำนวน 101,281 คน แยกเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ 30,275 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ 4,767 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4,853 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4,256 คน ขณะที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อเลื่อนเงินเดือนกับพนักงานเพียงร้อยละ 4 ซึ่งไม่เพียงพออยู่แล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา กลับมีการเผยแพร่ราชกิจานุเบกษา พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งได้ยอดรวมทั้งสิ้นหมื่นกว่าล้านบาท
นายรัฐกรณ์ กล่าวด้วยว่า การลดวงเงินเพื่อเลื่อนเงินเดือนให้กับพนักงานดังกล่าว ตนเชื่อว่าส่งกระทบกับทั้งมหาวิทยาลัยหากต้องนำเงินรายได้มาจ่ายเพิ่ม และกระทบกับพนักงานมหาวิทยาลัยโดยตรง เนื่องจากแม้มติครม.จะกำหนดให้จ่ายเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 1.7 เท่า และสายสนับสนุน 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการ แต่หลายสถาบันก็ไม่ได้จ่ายเต็มตามจำนวน มีการหักไว้ 0.2-0.3 โดยอ้างว่านำไปใช้เป็นสวัสดิการต่าง ๆ เช่นการรักษาพยาบาล ซึ่งพนักงานไม่มีเหมือนข้าราชการ แต่ในความเป็นจริง กลับมีการหักเข้าประกันสังคม เพิ่มจากยอดดังกล่าวอีก จนถึงขนาดมีพนักงานนำเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้สถาบันจ่ายให้ครบตามจำนวน ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่ได้พิพากษาให้มรภ.เชียงใหม่ต้องจ่ายเงินเดือนให้อาจารย์ครบ 1.7 เท่า ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ของมหาวิทยาลัย
“จากการที่สำนักงบประมาณจัดสรรงบการเลื่อนเงินเดือนให้พนักงานเพียงร้อยะละ 4 ก่อให้เกิดผลกระทบกับทั้งสถาบันอุดมศึกษา และตัวพนักงานโดยตรง ผมจะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมสัมมนาของประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย ในหัวข้อสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนบุคลากรอุดมศึกษาอย่างไรให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 15 มิถุนายน ณ มรภ.สวนสุนันทา รวมทั้งจะได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับนายกรัฐมนตรีต่อไป” นายรัฐกรณ์ กล่าว
https://www.matichon.co.th/news/564803