[แชร์ประสบการณ์] เที่ยวโรงเรียนฟินแลนด์ เค้าเรียนกันอย่างไรให้ "เรียนไปเล่นไป"

สวัสดีค่ะ เรานานๆทีจะเขียนกระทู้พันทิป (ปีละครั้ง) เพราะเขียนแต่ละทีก็จะเป็นพวกเขียนแชร์ประสบการณ์ ยาวๆ แต่สาระพร้อมนะคะ เมื่อสองเดือนที่แล้วมหาลัยเราหยุดSpring breakพอดีเลยถือโอกาสเที่ยวประเทศแถบScandinavia (จะเขียนตั้งแต่มีนา แต่ก็ดองกระทู้มาจนถึงปัจจุบัน) tag ห้องบูลแพลนเน็ตด้วยเผื่อสนใจไปเที่ยวฟินแลนด์แล้วอยากไปดูโรงเรียนค่ะ แน่นอน Highlight ของทริปนิ้คือไปobserveโรงเรียนรัฐบาลในประเทศฟินแลนด์ ที่ช่วงหลังๆมานี้ใครสนใจเรื่องการศึกษาโดยเฉพาะ progressive educationจะได้ยินคนพูดมากมาย ทั้งกระแสหนัง Where to Invade next Michael Moore เมื่อปีทีแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

และการที่นักเรียนฟินแลนด์ วัดระดับอยู่ top 5 ตลอดในการสอบPISA ในขณะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบกับประเทศไทยที่อยู่ลำดับท้ายๆมาตลอด (ช่วงนี้กระแสหนังฉลาดเกมโกงยิ่งแรงอยู่) ก่อนอื่นขอออกตัวเลยนะคะว่าการเขียนกระทู้ครั้งนี้ไม่มีเจตนาเปรียบเทียบ ประเทศไทยกับประเทศฟินแลนด์ ไม่ได้คิดจะอวยฟินแลนด์ แต่อยากเสนอมุมมองที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้อ่านได้เอาไปคิดวิเคราะห์ และนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของตนเอง ดีใจที่คนไทยสนใจเรื่องระบบการศึกษามากขึ้น (ใครสนใจเรื่องการศึกษาหลังไมค์มาได้ค่ะ) เราเองเรียนป.เอกอยู่ด้านการศึกษา เราจะcriticalมากเวลาคนบอกว่าอันนี้ดี อันโน้นดี ของเราแย่มากๆ แล้วก็พากันทำตาม เพราะถ้าก๊อปกันอย่างไร้สติก็คงส่งผลร้ายมากกว่าดีซะอีก จริงๆการศึกษาไทยก็มีส่วนที่ทำได้ดีนะคะ อย่าเพิ่มรุมด่ากันมากไป ฟินแลนด์มีข้อที่น่าชื่นชมอยู่หลายเรื่อง แต่ก็ยังมีchallengesอยู่บ้าง เช่น เรื่องการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนให้หลากหลายทางเชื้อชาติ(diversity) ซึ่งรัฐเองก็เห็นความสำคัญในจุดๆนี้ และปัญหาอัตราการว่างงานของคนในประเทศที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าระบบการศึกษาจะเป็นอันดับต้นๆของโลกก็ตาม ทั้งนี้เราไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญอะไรเรื่องการศึกษาฟินแลนด์ อ่านมาจากหนังสือบ้าง วารสารวิชาการบ้าง ถามครูฟินแลนด์ที่โรงเรียน ถามเพื่อนที่เรียนด้านการศึกษาที่ฟินแลนด์ ผิดหรืออยากเพิ่มเติมอะไรก็คอมเมนต์ได้เลยค่ะ

อีกอย่างคือเราไปดูมาแค่โรงเรียนเดียว sampleเดียวอาจไม่สามารถเป็นrepresentative ของโรงเรียนในฟินแลนด์ทั้งหมดได้นะคะ ที่เขียนแชร์ไปการวิเคาระห์มาจากการเที่ยวโรงเรียนนี้ และจากหนังสือที่อ่านมาค่ะ

การไปเยื่อนโรงเรียนฟินแลนด์ครั้งนี้เราไปอยู่โรงเรียนประถมหนึ่งวัน และโรงเรียนมัธยมอีกหนึ่งวันค่ะ
ส่วนตัวตื่นเต้นกับการได้ไปฟินแลนด์มากเพราะงานวิจัยเราเกี่ยวกับ “การเล่น” การเล่นในที่นี้ไม่ได้สนุกอย่างเดียวแต่ได้ ค้นคว้า และค้นหา (explore & discover) ทำผิดบ่อยๆ และเรียนรู้ว่าได้อะไรจากมัน(productive failure) ลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาค่ะ

ของตั้งชื่อธีมที่เราคิดได้จากการไปดูห้องเรียนที่ฟินแลนด์ว่า Designed for Play หรือออกแบบเพื่อการเล่นค่ะเพี้ยนสู้สู้
แบ่งเป็น 8 ข้อจะได้อ่านง่ายๆค่ะ (แต่ยาวอยู่นะ ฮ่าๆๆ เขียนเก็บไว้เป็นเดือนๆ)

อย่างที่บอกไว้ก่อนนี้ การเล่นนี้ เราหมายถึง Playful Experimentation คือการเล่นแบบได้ทดลอง ขยายขอบเขตความคิดสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก ค้นหาความรู้ใหม่ๆตามความสนใจของตนเอง การเล่นเป็นได้ทั้ง privateและsocial experienceค่ะ คือเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อน แชร์สิ่งที่ตนเองค้นพบกับเพื่อนและสังคมของตนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสนุก

1.)    Space Designed for Play พื้นที่เพื่อการเล่น

อย่างแรกต้องพูดถึง สิ่งที่ประทับใจทันทีเมื่อเขาไปในโรงเรียน มันคือการออกแบบภายในสนับสนุนการเล่นค่ะ รูปภาพที่โชว์นี้คือห้องสมุดค่ะ อยู่กลางโรงเรียนไม่มีบรรณารักษ์มาบอกให้เงียบ สีสันสดใส มีหนังสือนิทาน หนังสือความรู้รอบตัวน่าอ่าน เต็มไปหมด ที่สำคัญแทบทุกล๊อกจะเต็มไปด้วยของเล่นที่เล่นได้คนเดียวหรือจะเล่นเป็นกลุ่ม จนแทบจะแยกไม่ออกว่านี่มันห้องสมุดหรือสนามเด็กเล่นกันแน่


รูปขวาล่างสังเกตเป็นไฟตรงพื้นค่ะ เด็กๆเดินมาตรงทางเดินไม่มีอะไรทำก็จะกระโดดจากไฟสีนึงไปอีกสีเล่นค่า
จะเห็นว่าการส่งเสริมการเรียนรู้โดยการเล่นนี้ปลูกฝั่งอยู่ในDNA ของโรงเรียนฟินแลนด์เลยก็ว่าได้ ทำให้ส่งผลไปถึงการออกแบบโรงเรียนให้ช่างเล่น (playful)ไปในทุกๆก้าวค่ะ  เราเลยชักสงสัยแล้วว่าในโรงเรียนมัธยมจะเป็นไง เพราะของเล่นที่รรประถมมันเด็กมาก


รูปซ้ายบน: อยู่ตรงทางเข้าโรงเรียนมัธยมเลยคะ หมากรุกขนาดใหญ่ เด็กเล่นได้ค่ะ แต่ก็ไม่ค่อยเล่นกันหรอก ที่ตรงนี้ไว้hang outกันมากกว่าค่ะ
รูปขวาบนและขวาล่าง: เป็นห้องสมุดอยู่ชั้นสองค่ะ จะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะเปิดอีกแล้ว เหมือนเป็นพื้นที่สาธารณะให้นักเรียนมาอ่านหนังสือ ทำงานกลุ่ม คุยกะเพื่อน กินขนมอะไรก็ว่าไป
ซ้ายล่าง: มีเครื่องออกกำลังกายค่ะ อยู่ไม่ห่างจากโซนห้องสมุด เด็กระหว่างรอเรียนจะได้ขยับเข่งขยับขากันบ้าง ไม่ใช่นั่งอย่างเดียว


กลับมาที่โรงเรียนประถม อันนี้เราชอบมากค่ะ เพื่อนเราที่ไปเรียนที่นั่นเล่าให้ฟังว่าที่นี่เค้าให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนตัวของเด็กๆที่นี่มาก เห็นว่าเป็นเด็กใช่ว่าจะอยากวิ่งเล่นอย่างเดียว บางทีก็อยากมีพื้นที่ลับๆไว้คุยกับตัวเอง เพื่อนในจินตนาการ หรือแค่กับกลุ่มเพื่อนสนิท ที่โรงเรียนเลยทำเป็นบ้านหลังเล็กๆมีที่นั่งได้1-3คนค่ะ

จะเห็นว่าการออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนจะเน้น
A. ส่งเสริมวัฒนธรรมการเล่น เล่นไปทุกที่ทุกเวลา เดินไปห้องเรียนระหว่างคลาสก็หยุดเล่นก่อนได้
B. การใช้พื้นที่เพื่อให้นักเรียน และบุคลากร ทำงานร่วมกัน สังสรรค์ และมีความสุข (collaborate, hang out, and have fun) พื้นที่ไม่ใช่แค่ไว้นั่งเม้าชิวๆแต่ไว้คุยงานด้วยค่ะ
C. พื้นสร้างเสริมจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
D. มีพื้นที่ให้สะท้อนตัวเอง (self-reflection) ถือเป็นการเรียนรู้แบบนึงค่ะ
จะเห็นได้ว่าการออกแบบพื้นที่ของโรงเรียนเน้นความหลากหลายของผู้เรียนค่ะ มีทั้ง social spaceและ private space เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ต่างกัน นักเรียนบางคนอาจจะมีไอเดียใหม่ๆเมื่อคุยกะเพื่อน นักเรียนบางคนชอบทำงานเงียบๆมากกว่า

2.)  ¼ของเวลาเรียนคือเวลาเล่น!

คือพอเข้าไปในโรงเรียนอย่างแรกคือดูตารางเรียนหน้าห้องต่างๆค่ะว่าห้องนี้เรียนกี่โมงๆ คลาสส่วนใหญ่เริ่ม ตอนนาทีที่15ค่ะ เช่น 10.15-11.00 น. มีเรียนอีกทีก็11.15-12.00น. ถามว่า15นาทีระหว่างคลาสคืออะไร คำตอบคือออกไปเล่นค่ะ! ทุกชั่วโมง คือพอหมดเวลาคลาสนึงเด็กก็พากันสวมชุดสกีหนาๆ (ก็อย่างว่าอากาศที่นั้นค่อนข้างโหดร้ายค่ะ) หอบของเล่นกันไปเป็นกระบุงคือ ของเล่นเค้าถ้าเป็นบ้านเราก็เอาไปตักทรายที่ชายทะเล ที่นี่มีแต่หิมะก็เอาไว้ตักหิมะ (รูปซ้ายล่าง) วิ่งเล่นกันข้างนอก มีครูดูอยู่อย่างห่างๆ ให้อิสระนักเรียนเล่นกันได้อย่างเต็มที่ ออกไปเล่นได้ประมานสิบนาทีก็พากันกลับเข้ามาเอง ถอดชุดสกี (หลายชั้นอยู่) ตากไว้ และเดินกลับห้องเรียนเอง ทันเวลาเรียนพอดี

3.)  Classtime is a Playtime! เรียนอยู่ยังสนุกได้
เพราะว่าฟังภาษาฟินนิชไม่รู้เรื่อง วิชาที่ไปobserveวิชาแรกคือภาษาอังกฤษค่ะ เด็กที่นี่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษตอนป.3 ประชากรส่วนใหญ่จะพูดได้อย่างน้อยสามภาษา คือ ฟินนิช สวีดิชและภาษาอังกฤษ เพราะว่าป.3เพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในคลาสก็เบสิคมากเช่น ตัวเลข 73 อ่านว่า seventy three ตอนเราไปobserve คุณครูให้ฟังเทปแล้วตอบคำถามในแบบฝึกหัด จะว่าไปหนังสือเรียนเค้าก็เหมือนหนังสือภาษาอังกฤษของโรงเรียนที่ไทยมากค่ะ สไตส์หนังสือEnglish for second language learners ไม่ได้มีความพิเศษอะไรเลย เหมือนหนังสือแกรมม่าทั่วไปที่มีเติมคำในช่องว่าง ฟังเทป มีเพลงอังกฤษสำหรับนักเรียนให้พูดตาม แต่ที่เราคิดว่าพิเศษคือบรรยากาศการเรียนในห้องค่ะ คือพอเปิดเทปปุ๊บนักเรียนเต้นทันทีค่ะ แบบที่เลื้อยบนพื้นเลยก็มี เดินรอบๆห้องแล้วเต้นกับเพื่อน คือบ้าได้เต็มที่ค่ะ ครูไม่ดุเลย เค้าถือว่าการเล่นแบบนี้ทำให้นักเรียนสนุกและไม่เครียดกับการเรียนค่ะ  (โรงเรียนบ้างที่เดินคุยกะเพื่อนหน่อย เดินไปหลังห้องก็โดนเรียกให้กลับไปนั่งที่แล้ว)

วีดีโอสั้นๆค่ะ บรรยากาศเด็กๆร้องเพลงตาม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
วิชาต่อไป ต่างจากวิชาอังกฤษที่เราไปดูตารางสอนหน้าห้องค่ะ เพราะเราเห็นเค้าเรียนกันอยู่ตรงทางเดิน (แถวๆห้องสมุดนั้นแหละ) เราเลยต้องเข้าไปถามว่านี่เรียนอะไรกันอยู่ มีหุ่นยนต์ชุด LEGO Mindstormsด้วย ดูน่าสนุกจัง คำตอบคือเรียนคณิตศาสตร์ค่ะ เลขมันสนุกกันได้ขนาดนี้เลยหรอ?!!! เราเองคุ้นเคยกับชุดLEGO Mindstormsดีเพราะเรียนมาด้านเทคโนโลยีการศึกษา เคยสอนafterschool programในเมกาด้วย มันคือชุดหุ่นยนต์ที่ให้เด็กโปรแกรมเอง โดยมีตัวเลโก้เป็นฐานเรียกว่า Programmable bricks ที่ตกใจไม่ใช่ที่เด็กเรียน LEGO Mindstormsหรอก แต่ตกใจคือการที่โปรแกรมหุ่นยนต์อยู่ในหลักสูตรการเรียนในห้องจริงๆ พอคุยกะครูวิชานั้นว่านี่ที่เมกาเนี่ยไม่มีหรอกเรียนแบบนี้ เรียนเลขคือเลข ทำแบบฝึกหัดกันไป ถ้าสนใจหุ่นยนต์คือหลังเลิกเรียน  ไม่ก็เรียนเสริมเสาร์ อาทิตย์ หรือนอกเวลา ครูที่นั้นบอกเข้าไม่ใจเลย น่าเสียดายมาก เพราะเรียนเขียนโปรแกรมก็ใช้เลขมากอยู่ ต้องวัดระยะทางกับความเร็ว (distance and speed) ใช้ตรรกะในการคิดมากอยู่ต้องคิดเป็นขั้นตอน วิธีที่เค้าเรียนคือครูเตรียมโจทย์ให้ค่ะ เช่นให้สร้างอุปสรรคมาอย่างหนึ่งและนักเรียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์อ้อมอุปสรรคนั้น วีดีโอข้างล่างนี้กลุ่มเด็กผู้หญิงเลยลองโปรแกรมให้หุ่นยนต์เดินจากไฟสีแดงตรงพื้น ใช้หนังสือเป็นอุปสรรคอ้อม ไปยังไฟสีน้ำเงิน เด็กๆโปรแกรมเป็นกลุ่มอย่างเมามัน ลองผิดลองถูกกันไป ไม่work ก็แก้โปรแกรมไปเรื่อยๆ พอทำสำเร็จนี่ดีใจกริ๊ดแตกกันใหญ่

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
4.)   เล่นแบบ “กายขยับใจสงบ” Playful and Mindful


ที่เห็นในรูปนี่คือเด็กป.2ค่ะ วิชานี้เรียกว่า wood working/ craft class ตอนแรกเริ่มจากเรียนในห้องเรียนปกติก่อนแล้วค่อยเดินไปห้องเลื่อยไม้ ที่มีโต๊ะdesignมาพิเศษ แบบปรับระดับได้ หนีบไม้กระดานได้ แบบว่าอาจารย์พูดเป็นภาษาฟินนิชแล้ววาดรูปบนกระดานดำ เป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม แล้วมีด้ามจับ ตอนแรกเราก็นึกว่าให้นักเรียนทำไม้ปิงปอง ฮ่าๆๆ สุดท้ายไปถามอาจารย์เลยรู้ว่าทำกระจก โดยเด็กจะทำรูปแบบอะไรก็ได้ขอแค่ให้มีด้ามจับ ทีเห็นรูปด้านซ้ายล่างนี่ใช่เลยค่ะเด็กน้อยเลื่อยไม้อยู่ designแต่ละคนก็แล้วแต่จินตนาการ ระดับความขยันขี้เกียจ เพราะถ้าใครใครเคยเลื่อยไม้อย่างงี้จะรู้เลยว่าเลื่อยลำบากมาก ยิ่งถ้าโค้งๆนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย เด็กๆต้องใช้สมาธิและความพยายามสูงมากๆ ถ้าไม่มีความพยายามนี่ give upได้ง่ายๆเลย เด็กบ้างคนก็creativeมาก develop strategy เลื่อยไม้ให้ง่ายขึ้นเช่นแทนที่จะเลื่อยตามเส้นที่วาดไว้เป็นวงกลมไปเรื่อยๆ ก็เลื่อยจากทางมุมแทยงให้ชิ้นไม้มันหลุดออกก่อนแล้วเลื่อยต่อ เด็กบ้านคนเลือกแบบง่ายหน่อย (เด็กผู้ชายขวาล่าง) แต่ครูก็ให้ถูไม้กับบอร์ดกระดาษทรายจนเรียบ
เลย ดูคลาสนี้45นาที น้องคนนี้ที่ดูเหมือนจะทำเสร็จเร็วกว่าเพื่อนเพราะแบบง่ายกว่า ก็ถูกับกระดาษทรายไปเกือบ30นาที ครูฟินนิชแอบกระซิบมาบอกว่าความจริงคลาสนี้มีไว้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ และสติ (creativity, concentration, and mindfulness) การทำกระจก และสกิลเลื่อยไม้เป็นผลพลอยได้ค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่