พระพรหมบัณฑิต เผยแม่กองบาลีสนามหลวง หวังตั้งวิทยาลัยการศึกษาบาลี 4 ภูมิภาค เป็นศูนย์กลางจัดการศึกษาบาลีที่ต่อเนื่อง แก้ปัญหาสำนักเรียนปิดตัวขาดผู้สานต่อ
http://winne.ws/n15602
นนี้ (15พ.ค.) พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เปิดเผยว่า
"จากการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของคณะสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 1/2560 เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้เสนอแผนแม่บทการปฏิรูปพระพุทธศาสนาให้คณะอนุกรรมการปฏิรูปได้รับทราบ โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาคณะสงฆ์ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และสามัญศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอต่อรัฐบาล นอกจากนี้ตนยังได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบถึงการหารือกับพระพรหมโมลี แม่กองบาลีสนามหลวง ซึ่งมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการศึกษาบาลีของคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ โดยเห็นควรจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาบาลีขึ้นใน 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดการศึกษาบาลี เนื่องจากที่ผ่านมาหากเจ้าสำนักเรียนมรณภาพ หรือไม่ได้มีการสานต่อไว้ก็จะเกิดปัญหาการปิดสำนักเรียน เพราะไม่มีผู้มีความรู้มาสานต่อ ดังนั้น หากมีวิทยาลัยการศึกษาบาลี หรือ สำนักเรียนประจำอำเภอ จังหวัด ที่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ก็จะทำให้การศึกษาบาลีเกิดความต่อเนื่องและมั่นคงด้วย.
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://www.dailynews.co.th/education/573998
www.google.co.th
แม่กองบาลีสนามหลวง หวังตั้งวิทยาลัยการศึกษาบาลี 4 ภูมิภาค!!!
นนี้ (15พ.ค.) พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เปิดเผยว่า
"จากการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของคณะสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 1/2560 เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้เสนอแผนแม่บทการปฏิรูปพระพุทธศาสนาให้คณะอนุกรรมการปฏิรูปได้รับทราบ โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาคณะสงฆ์ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และสามัญศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอต่อรัฐบาล นอกจากนี้ตนยังได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบถึงการหารือกับพระพรหมโมลี แม่กองบาลีสนามหลวง ซึ่งมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการศึกษาบาลีของคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ โดยเห็นควรจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาบาลีขึ้นใน 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดการศึกษาบาลี เนื่องจากที่ผ่านมาหากเจ้าสำนักเรียนมรณภาพ หรือไม่ได้มีการสานต่อไว้ก็จะเกิดปัญหาการปิดสำนักเรียน เพราะไม่มีผู้มีความรู้มาสานต่อ ดังนั้น หากมีวิทยาลัยการศึกษาบาลี หรือ สำนักเรียนประจำอำเภอ จังหวัด ที่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ก็จะทำให้การศึกษาบาลีเกิดความต่อเนื่องและมั่นคงด้วย.
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://www.dailynews.co.th/education/573998
www.google.co.th