ควรไปต่อ...หรือพอกันที (เรื่องจริงที่อยากให้ทุกคนได้อ่าน)
ไลน์เป็น Application ยอดฮิตในเมืองไทย ที่คนเกือบทุกวัยใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เพราะในความรู้สึกแล้ว ใช้ง่าย โทรได้ วีดีโอคอลก็เห็นหน้ากัน ทุกเพศจึงใช้ไลน์กันอย่างแพร่หลาย
แน่นอน...การรู้จักหรือกำลังคบหรือกำลังคุยกับใครสักคน ผ่านไลน์ เป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน
การสนทนาจะเกิดขึ้น เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย สนทนาและโต้ตอบไปมา
และการโต้ตอบไปมาจะได้ประสิทธิผลมากก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายสนทนากับแบบโต้ตอบกันอย่างใส่ใจ
การได้คุยกับใครหรือทำความรู้จักกับใครสักคน เราควรได้รับความใส่ใจ และเช่นกันเราควรใส่ใจในการโต้ตอบทางการสนทนา
ที่มากกว่า คำว่า “ครับ” หรือมากกว่าสติ๊กเกอร์ที่ส่งตอบรับมา
เสียงของบุคคล 5 คน ที่ให้คำตอบว่า เหตุผลที่ควรคุยต่อ หรือพอกันที
หนึ่ง : คุยต่อแต่ไม่สนใจอะไรมาก
นัท : ตัดสินใจจากเรื่องที่คุย ถ้าเป็นเรื่องของความรักคงตัดใจไปเลย
เป้ง : คงคุยต่อ แต่อาจจะต้องสังเกตว่ายุ่งจริงหรือไม่ หรือไม่อยากคุยกันแน่
แมน : อยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บายไป
ชิด : คุยต่อไป ทำความรู้จักต่อไป
จาก 5 คนตัวอย่าง ที่ได้ถามไปว่า ในขณะที่เราเพิ่งรู้จักและสนทนาทางไลน์กับใครสักคน แต่การสนทนานั้น ผู้ที่เราสนทนา ไม่ได้สนทนากับเราแบบเรียลไทม์เท่าไรนัก นั่นหมายถึง เราพิมพ์หรือสนทนาไปในช่วงเช้า แต่เขา/เธอผู้นั้นตอบเรากลับมาอาจเป็นช่วงเย็นหรือมืด โดยเขา/เธอให้เหตุผลว่า ไม่ค่อยได้อ่านหรือได้เล่น Line Application เท่าไรนัก คำถามคือ เพื่อนๆ จะยังคุยต่อไปหรือไม่ หรือเลิกคุยแล้วหายเงียบไปเลย
---------
จะเห็นได้ว่า ในคำถามข้อที่ 1 ในกลุ่มบุคคลตัวอย่าง ยังคงอยากคุยต่อ นั้นเพียงเพราะว่าการสนทนาที่ยังไม่รู้จักกันมากพอ ไม่อาจตัดสินบุคคลคนหนึ่งได้ว่า เขาอยากคุยกับเราหรือไม่ อย่างไร
---------
เมื่อเราได้ยิงคำถามในข้อที่ 2. แน่นอนว่า เมื่อมีการคุยในเริ่มแรก เรามักจะยังไม่รู้จักในนิสัยกันและกัน ต่างฝ่ายต่างยังคงกั๊กกันไว้ นั่นหมายถึง แต่ละคนอาจมีคนที่คุยอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคนใหม่เข้ามา ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเผื่อเลือกไว้ ประเด็นสำคัญคือ ในเมื่อการสนทนาทางไลน์เกิดขึ้น ในขณะที่อีกคนสนทนาเป็นคำพูด แต่อีกคนตอบมาเป็นสติ๊กเกอร์เสียส่วนใหญ่ แต่คนที่ตอบเป็นสติ๊กเกอร์มักตอบไม่ค่อยตรงคำถามที่ถามไป คุณคิดว่า เขาเผื่อเลือกคุณไว้ หรือมันคืออุปนิสัยและเป็นตัวตนจริงๆของคนที่สนทนาด้วย ตอบตามความรู้สึกของตัวเอง
เหตุผลของแต่ละคน จึงเริ่มร้อนแรงมากขึ้น
หนึ่ง : ทักบ้าง ไม่ทักบ้าง เบื่อก็จะเลิกคุยไปเลย
นัท : การสนทนาของเขา เหมือนไม่อยากคุยเพียงแต่เขาแค่รักษาน้ำใจเราไว้
แต่ยังคงคุยต่อถ้ารู้สึกมีหวัง
เป้ง : ดูทรงแล้วเหมือนไม่อยากคุย คุยต่อถ้าความรู้สึกตัวเองอยากคุย แต่คงไม่คาดหวังอะไรมาก
แมน : อยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บาย
ชิด : คุยต่อ เล่นๆ ขำๆ
จะเห็นได้ว่า ในคำถามข้อที่ 2 หลายๆ คนเริ่มลังเลว่า จะคุยต่อไปหรือจะหยุด ซึ่งบางคนยังคิดว่า อาจมีความหวังสำหรับการได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน
---------
มาคำถามข้อที่ 3. คำถามข้อนี้ อาจได้ผลสรุปที่ทำให้เกิดการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งอาจพบเจอบ่อยในการใช้ชีวิตประจำวัน ความชอบมักเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อคุยกันได้ที่ ก็จึงมีการนัดเจอกันซึ่งเป็นปกติและเป็นเรื่องธรรมดาของคนเพิ่งคุยกัน ให้ Location สำหรับการเดินทางไว้เรียบร้อย เมื่อถึงวันนัด ปรากฎว่าคุณพยายามส่งไลน์หา เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ไปถึงจุดนัดหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีการตอบรับใดๆ ไม่มีการอ่านไลน์ แต่กลับตอบไลน์มาในตอนค่ำ ซึ่งนั่นเป็นการเลยเวลานัดมามากกว่า 8 ชั่วโมงแล้ว โดยให้เหตุผลว่าป่วยอยู่โรงพยาบาล คำถามคือ คุณคิดว่าคำตอบของบุคคลนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ และคุณจะตัดสินใจได้ทันทีเลยว่า ควรจะคบต่อหรือพอกันที?
หนึ่ง : ก็คงจะทางใครทางวัน เพราะไม่สบายก็สามารถบอกกันได้ ไม่ได้ตายเสียหน่อยจะได้ไม่ตอบ
นัท : ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่คุยต่อ เพราะเสียความรู้สึก
เป้ง : เจอแบบนี้รู้สึกไม่ดี เหมือนไม่จริงใจ ขอบาย
แมน : ยังคำให้คำตอบเดิม คืออยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บาย
ชิด : ยังคงมองโลกในแง่ดี คือ คุยต่อไป พร้อมกับถามถึงเหตุผลที่อยู่โรงพยาบาลและพร้อมจะไปเยี่ยม ถ้ายังคงไม่ตอบมา ก็ถือว่าจบกัน
---------
เพื่อนๆ ครับ จะเห็นได้ว่า การสนทนาใดๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าเราใส่ใจเพียงด้านเดียวหรือเกิดขึ้นกับเราแค่ฝ่ายเดียว อาจพอสรุปได้ว่า อีกฝ่ายไม่พร้อมจะสานสัมพันธ์ต่อ ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้เราได้ตัดใจและตัดสินได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
---------
ฉะนั้น...ความจริงใจถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เพิ่งรู้จักกัน ควรมีการโต้ตอบหรือสนทนา ที่มีมากกว่าสติ๊กเกอร์ หรือคำพูดว่า “ครับ” ถ้าเรารู้จักการสนทนาที่เป็นการโต้ตอบแบบให้ความสำคัญกับอีกคนหนึ่ง เราอาจได้เพื่อน หรือคนรู้ใจที่เพิ่มขึ้น แน่นอน...การได้สิ่งที่เพิ่มขึ้น นั่นคือการได้ประสบการณ์ที่เพิ่มพูน และได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า “ควรจะไปต่อ หรือพอกันที”
#ยะกี้
17/05/2560
ควรไปต่อ...หรือพอกันที
ไลน์เป็น Application ยอดฮิตในเมืองไทย ที่คนเกือบทุกวัยใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เพราะในความรู้สึกแล้ว ใช้ง่าย โทรได้ วีดีโอคอลก็เห็นหน้ากัน ทุกเพศจึงใช้ไลน์กันอย่างแพร่หลาย
แน่นอน...การรู้จักหรือกำลังคบหรือกำลังคุยกับใครสักคน ผ่านไลน์ เป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน
การสนทนาจะเกิดขึ้น เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย สนทนาและโต้ตอบไปมา
และการโต้ตอบไปมาจะได้ประสิทธิผลมากก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายสนทนากับแบบโต้ตอบกันอย่างใส่ใจ
การได้คุยกับใครหรือทำความรู้จักกับใครสักคน เราควรได้รับความใส่ใจ และเช่นกันเราควรใส่ใจในการโต้ตอบทางการสนทนา
ที่มากกว่า คำว่า “ครับ” หรือมากกว่าสติ๊กเกอร์ที่ส่งตอบรับมา
เสียงของบุคคล 5 คน ที่ให้คำตอบว่า เหตุผลที่ควรคุยต่อ หรือพอกันที
หนึ่ง : คุยต่อแต่ไม่สนใจอะไรมาก
นัท : ตัดสินใจจากเรื่องที่คุย ถ้าเป็นเรื่องของความรักคงตัดใจไปเลย
เป้ง : คงคุยต่อ แต่อาจจะต้องสังเกตว่ายุ่งจริงหรือไม่ หรือไม่อยากคุยกันแน่
แมน : อยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บายไป
ชิด : คุยต่อไป ทำความรู้จักต่อไป
จาก 5 คนตัวอย่าง ที่ได้ถามไปว่า ในขณะที่เราเพิ่งรู้จักและสนทนาทางไลน์กับใครสักคน แต่การสนทนานั้น ผู้ที่เราสนทนา ไม่ได้สนทนากับเราแบบเรียลไทม์เท่าไรนัก นั่นหมายถึง เราพิมพ์หรือสนทนาไปในช่วงเช้า แต่เขา/เธอผู้นั้นตอบเรากลับมาอาจเป็นช่วงเย็นหรือมืด โดยเขา/เธอให้เหตุผลว่า ไม่ค่อยได้อ่านหรือได้เล่น Line Application เท่าไรนัก คำถามคือ เพื่อนๆ จะยังคุยต่อไปหรือไม่ หรือเลิกคุยแล้วหายเงียบไปเลย
---------
จะเห็นได้ว่า ในคำถามข้อที่ 1 ในกลุ่มบุคคลตัวอย่าง ยังคงอยากคุยต่อ นั้นเพียงเพราะว่าการสนทนาที่ยังไม่รู้จักกันมากพอ ไม่อาจตัดสินบุคคลคนหนึ่งได้ว่า เขาอยากคุยกับเราหรือไม่ อย่างไร
---------
เมื่อเราได้ยิงคำถามในข้อที่ 2. แน่นอนว่า เมื่อมีการคุยในเริ่มแรก เรามักจะยังไม่รู้จักในนิสัยกันและกัน ต่างฝ่ายต่างยังคงกั๊กกันไว้ นั่นหมายถึง แต่ละคนอาจมีคนที่คุยอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคนใหม่เข้ามา ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเผื่อเลือกไว้ ประเด็นสำคัญคือ ในเมื่อการสนทนาทางไลน์เกิดขึ้น ในขณะที่อีกคนสนทนาเป็นคำพูด แต่อีกคนตอบมาเป็นสติ๊กเกอร์เสียส่วนใหญ่ แต่คนที่ตอบเป็นสติ๊กเกอร์มักตอบไม่ค่อยตรงคำถามที่ถามไป คุณคิดว่า เขาเผื่อเลือกคุณไว้ หรือมันคืออุปนิสัยและเป็นตัวตนจริงๆของคนที่สนทนาด้วย ตอบตามความรู้สึกของตัวเอง
เหตุผลของแต่ละคน จึงเริ่มร้อนแรงมากขึ้น
หนึ่ง : ทักบ้าง ไม่ทักบ้าง เบื่อก็จะเลิกคุยไปเลย
นัท : การสนทนาของเขา เหมือนไม่อยากคุยเพียงแต่เขาแค่รักษาน้ำใจเราไว้
แต่ยังคงคุยต่อถ้ารู้สึกมีหวัง
เป้ง : ดูทรงแล้วเหมือนไม่อยากคุย คุยต่อถ้าความรู้สึกตัวเองอยากคุย แต่คงไม่คาดหวังอะไรมาก
แมน : อยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บาย
ชิด : คุยต่อ เล่นๆ ขำๆ
จะเห็นได้ว่า ในคำถามข้อที่ 2 หลายๆ คนเริ่มลังเลว่า จะคุยต่อไปหรือจะหยุด ซึ่งบางคนยังคิดว่า อาจมีความหวังสำหรับการได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน
---------
มาคำถามข้อที่ 3. คำถามข้อนี้ อาจได้ผลสรุปที่ทำให้เกิดการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งอาจพบเจอบ่อยในการใช้ชีวิตประจำวัน ความชอบมักเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อคุยกันได้ที่ ก็จึงมีการนัดเจอกันซึ่งเป็นปกติและเป็นเรื่องธรรมดาของคนเพิ่งคุยกัน ให้ Location สำหรับการเดินทางไว้เรียบร้อย เมื่อถึงวันนัด ปรากฎว่าคุณพยายามส่งไลน์หา เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ไปถึงจุดนัดหมาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีการตอบรับใดๆ ไม่มีการอ่านไลน์ แต่กลับตอบไลน์มาในตอนค่ำ ซึ่งนั่นเป็นการเลยเวลานัดมามากกว่า 8 ชั่วโมงแล้ว โดยให้เหตุผลว่าป่วยอยู่โรงพยาบาล คำถามคือ คุณคิดว่าคำตอบของบุคคลนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ และคุณจะตัดสินใจได้ทันทีเลยว่า ควรจะคบต่อหรือพอกันที?
หนึ่ง : ก็คงจะทางใครทางวัน เพราะไม่สบายก็สามารถบอกกันได้ ไม่ได้ตายเสียหน่อยจะได้ไม่ตอบ
นัท : ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่คุยต่อ เพราะเสียความรู้สึก
เป้ง : เจอแบบนี้รู้สึกไม่ดี เหมือนไม่จริงใจ ขอบาย
แมน : ยังคำให้คำตอบเดิม คืออยากคุยก็คุย ไม่อยากคุยก็บาย
ชิด : ยังคงมองโลกในแง่ดี คือ คุยต่อไป พร้อมกับถามถึงเหตุผลที่อยู่โรงพยาบาลและพร้อมจะไปเยี่ยม ถ้ายังคงไม่ตอบมา ก็ถือว่าจบกัน
---------
เพื่อนๆ ครับ จะเห็นได้ว่า การสนทนาใดๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าเราใส่ใจเพียงด้านเดียวหรือเกิดขึ้นกับเราแค่ฝ่ายเดียว อาจพอสรุปได้ว่า อีกฝ่ายไม่พร้อมจะสานสัมพันธ์ต่อ ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้เราได้ตัดใจและตัดสินได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
---------
ฉะนั้น...ความจริงใจถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เพิ่งรู้จักกัน ควรมีการโต้ตอบหรือสนทนา ที่มีมากกว่าสติ๊กเกอร์ หรือคำพูดว่า “ครับ” ถ้าเรารู้จักการสนทนาที่เป็นการโต้ตอบแบบให้ความสำคัญกับอีกคนหนึ่ง เราอาจได้เพื่อน หรือคนรู้ใจที่เพิ่มขึ้น แน่นอน...การได้สิ่งที่เพิ่มขึ้น นั่นคือการได้ประสบการณ์ที่เพิ่มพูน และได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า “ควรจะไปต่อ หรือพอกันที”
#ยะกี้
17/05/2560