การจัดการโลจิสติกส์เป็นยังไงค่ะ

สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นยังไงค่ะเรียนยากไหม พอดีสนใจอยุค่ะรุ่นพี่ที่เรียนอยุช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ
#ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ #dek61
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สวัสดีคร้าบ พี่เรียน อยู่ คณะ บริหารธุรกิจ ม.กรุงเทพ นะครับ

สำหรับ สาขา  ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์  Logistics Management
ก็จะเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้  ความสามารถ  และความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ ระบบขนส่ง ทั้งในประเทศ และ ระหว่างประเทศ  ได้เรียน ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ  ระหว่างศึกษามีการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร  อาทิ  การเสริมสร้างความเข้าใจแบบ
บูรณาการด้วยเกมด้านโลจิสติกส์  การอบรมเสริมความรู้ใหม่  ๆ  โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญชั้นนำ  และ คณะอาจารย์ผู้มากประสบการณ์ เน้นสร้างความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียน โดย รวมแล้ว เริ่มต้นเรียน ก็จะเป็นวิชา พื้นฐานอะครับ ค่อยๆ เจาะการเรียนลึกลงเรื่อยๆ เป็นการปูการเรียนการสอน  ให้น้องได้รู้และเข้าใจ ถ้าน้องชอบ ทางสาขานี้ ก็ เรียนได้สบายเลยละครับ
โอกาสทางวิชาชีพ
ในภาคปฏิบัติผู้เรียนจะได้ศึกษาดูงาน และเข้าโครงการสหกิจศึกษาหน่วยงานด้านโลจิสติกส์ที่มีชื่อเสียง ดังนั้น บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์จะมีความพร้อมในองค์ความรู้ทางทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอที่จะสร้างธุรกิจด้วยตนเอง และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสายงานด้านโลจิสติกส์

อาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์เป็นการบูรณาการความรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญก็คือ

1. ตำแหน่งงานในองค์กร

งานจัดซื้อ จัดหา จะต้องทราบถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ หลักการเจรจาต่อรอง การประมาณการความต้องการที่แม่นยำ หลักเกณฑ์ในการชำระเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ในงานจัดซื้อจัดหา การจัดการความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่น การร่วมกันวางแผนการสั่งซื้อ เป็นต้น
งานคลังสินค้า จะต้องทำการวางแผนการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้า หลักการจัดเก็บสินค้า การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ปริมาณของสินค้าที่เหมาะสม การแบ่งประเภทของสินค้า การวางแผนการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานขนส่งสินค้า เกี่ยวข้องกับการวางแผนการขนส่ง การกำหนดเส้นทางการขนส่ง วิธีการกระจายสินค้าที่เหมาะสม การใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งขาไปและขากลับ การพัฒนาวิธีการจัดส่งเพื่อลดเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานด้านสารสนเทศ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ตั้งแต่ความต้องการของลูกค้า ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านการไหลของสินค้า การไหลของข้อมูลข่าวสาร และการไหลของเงิน ข้อมูลของคลังสินค้า ข้อมูลของผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการดูแลจัดการลูกค้า อาทิเช่น การจัดการร้านค้าปลีก เป็นการช่วยพัฒนาร้านค้าในด้านการวางแผนการสั่งซื้อ การจัดเก็บสินค้า การจัดหน้าร้าน การประสานข้อมูลกับลูกค้า
อื่นๆ เช่น งานลดต้นทุน การวางแผนการบำรุงรักษา
2. งานที่ปรึกษา

นักวิเคราะห์และปรับปรุงธุรกิจ จะต้องเข้าใจถึงระบบโดยรวมของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการลดต้นทุน
การฝึกอบรม เทคนิคต่างๆ ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การให้คำปรึกษาหน่วยงาน เป็นต้น ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่