ขอพื้นที่สื่อเพื่อให้ทำความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงของเครื่อง x-ray ฟันด้วยนะครับ

กระทู้คำถาม
ณ ขณะนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ประกาศใช้ พรบ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2559 แต่มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กับเครื่องเอกซ์เรย์ฟันของทางกลุ่มทันตเเพทย์ครับ ซึ่งกลุ่มนี้ได้ออกสื่อเพื่อดิสเครดิตอย่างต่อเนื่อง โดยนักวิชาการทางรังสีไม่มีโอกาสได้อธิบายหลักทางวิชาการ(เว้นแต่การตอบคำถามของทางกระทรวงที่ตอบในแง่ทางกฎหมายและเทคนิคทางวิชาการบางประการแต่ยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม) ผมจึงออกมาขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆพันทิพขอพื้นที่สื่อ เพื่อให้โอกาสนักวิชาการของทางสำนักงานประมาณูเพื่อสันติ ได้อธิบายถึงความเสี่ยงของเครื่องเอกซ์เรย์ฟัน ทำไมทางหน่วยงานจึงจำเป็นต้องกำกับเครื่องเอกซ์เรย์ฟัน และได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย

ขอบคุณชาวพันทิพมากครับ
บทสนทนาภายในเพจของสำนักงานครับ
https://www.facebook.com/pg/atoms4peaceThailand/reviews/?ref=page_internal
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เมืองไทยเอ็กเรย์ ถ่ายภาพฟัน ในเมืองไทย หมอไม่ได้ถ่ายเอง จะใช้เท็กนิเชียรหรือผู้ช่วย เป็นคนถ่าย

แล้วมักง่ายจะ ไม่ได้ใส่ แผ่นตะกัวคลุม ปิดหน้าอก และปิด ไตรลอยที่คอ ให้คนไข้

การถูกรักษี เอ็กเรย์ ไม่ควรจะถูก โดยไม่จำเป็น

เพราะมัน สะสม อาจจะ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้นะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
เป็นหมอรักษารากฟันมาตลอด 30ปีแล้วค่ะ  r-ray ผู้ป่วยด้วยตัวเอง  รักษารากฟันมาเป็นหมื่นๆซี่  กว่าจะรักษาเสร็จต้องถ่ายภาพ x-ray คนละ 2-3ฟิล์มเป็นอย่างน้อย   ถ้าประชาชนกลัวว่าโดนรังสีมากจนเป็นอันตราย  คิดว่าหมอคงได้รับอันตรายก่อนผู้ป่วยนะคะ  อย่ากังวลไปมากขนาดนั้น  หมอโดนรังสีวันละ10 ครั้ง  แต่ผู้ป่วยโดนรังสี เฉลี่ยปีละ 1-2ครั้ง  ถ้าคุณทานกล้วยหอม2ผล ก็จะเท่ากับได้รับรังสี1ครั้งเช่นกัน  ความเข้มของรังสีน้อยมากค่ะ   แต่ถ้าไม่มีเครื่องนี่สิ  คุณหมอจะทำงานได้ยากลำบากขึ้น  ความแม่นยำน้อยลงมาก  เกิดความผิดพลาดได้มาก  แล้วถ้ามีความจำเป็นต้อง Xray  ตัองส่งไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง  ผู้ป่วยต้องเสียเวลาเดินทาง  เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลารอคอย  เป็นผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างใหญ่หลวง เทียบไม่ได้เลยกับการให้ทันตแพทย์มีเครื่อง Xray ใช้ในคลินิก  ถ้าจะควบคุมความปลอดภัย  ซึ่งปัจจุบันก็มีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ควบคุมดูแลอยู่แล้ว  มีการตรวจการรั่วของรังสีทุกปี  ดังนั้นสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส)  ควรไปควบคุมต้นทาง เช่น ตรวจควบคุมการนำเข้าเครื่อง Xray  ที่ได้มาตราฐาน  ไม่ใช่มาควบคุมการใช้งานของทันตแพทย์  อีกอย่าง  วิชา ทันตรังสีเป็นวิชาที่สำคัญหนึ่งในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต  ต้องเรียนกันเป็นปีนะคะ  ไม่ใช่เรียนแค่1-2ชั่วโมง   สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ แต่กลับจะมาควบคุมผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ  มันแปลกๆอยู่นะคะ  เราควรแก้ไขให้ตรงประเด็น  หรือมีจุดประสงค์ใดแอบแฝง  แจ้งค่าปรับหนกไม่จดทะเบียนในอัตราสูงมากเป็นแสนเป็นล้าน   ปรับที่หวังให้ทันตแพทย์ปิดคลินิกไปเลย  แก้ปัญหาไม่ถูกทิศทาง  อย่าอ้างเรื่องความปลอดภัย  แหล่งกำเนิดรังสีของ Xray มาจากขั้วหลอด   ไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิดปรมาณูค่ะ
ความคิดเห็นที่ 23
มาจากสำนักปรมาณูเลยนะคะรูปบน   เครื่องxray   มีแค่หลอดแคโธด  แบบหลอด ทีวี  กับ แผ่นทังสเตน ไม่มีกัมมันตรังสี  นิวเคลียร ใดๆทั้งสิ้น    จะมีรังสีเอกซ ออกมาตอน เสีบยปลั๊ก   กด สวิทซ  เท่านั้น เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวหนึ่ง   ใน ไมโครเวฟ ซะอีก ที่มีสาร กัมมันตรังสีรังสี       ปส  คุม ให้ครอบจักรวาล เลยดีไหมคะ  ดวงอาทิตย์  ไงคะ  ปล่อยรังสี หนักมาก
ความคิดเห็นที่ 9
ดิฉันอาศัยอยู่ในต่างประเทศและไปหาหมอฟันบ่อยๆทั้งในเอเชียและยุโรป

ถ้าถ่ายเอ๊กซ์เรย์ทั้งปากจะต้องสวมเสื้อตะกั่ว

แต่ถ้าถ่ายเอ๊กซ์เรย์เฉพาะส่วน เช่น ถ่ายรากฟันหนึ่งซี่ กรณีนี้ไม่เคยต้องสวมเสื้อกันรังสีค่ะ

ป.ล. คลินิคทำฟันที่ไป(ในต่างประเทศ)มีเครื่องฉายเอ๊กซ์เรย์ทุกแห่ง ใช้กันเป็นปกติเว้นแต่กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ห้ามใข้

ตอนนี้ค่อนข้างแปลกใจที่ทางการไทยพยายามตีข่าวให้เครื่องนี้กลายเป็นปิศาจ...

(อาจจะไม่เกี่ยวกับแต่มันอารมณ์เดียวกับการพยายามใส่โปรแกรมเข้าไปว่า

ประเทศไทยไม่พร้อมที่จะเป็นสังคมประชาธิปไตย นักการเมืองมีแต่พวกโกงกิน ฯลฯ ไม่ทราบว่ามีจุดประสงค์อะไรจึงทำแบบนี้)
ความคิดเห็นที่ 20
ขอแสดงความคิดเห็นจากทันตแพทย์คนหนึ่งที่ทำงานอยู่ที่ออสเตรเลียนะครับ ที่นี่มีกฎหมายควบคุมการใช้เครื่อง X-ray และการถ่ายรังสีฟันโดยหน่วยงานชื่อ The Department of Health and Human Services ซึ่งแต่ละรัฐกฎหมายจะต่างกันไป

เครื่องถ่ายรังสีก็ไม่ได้มีอันตรายขนาดนั้น แล้วการใส่เสื้อตะกั่วก็ไม่ได้เป็นข้อบังคับด้วย คนท้องก็ไม่ได้มีข้อห้ามว่าถ่ายไม่ได้ เพียงแต่ต้องถ่ายในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น ถอนฟัน เช็คฟันผุ ซึ่งก็เป็นข้อกำหนดของการถ่ายรังสีแบบเดียวกับคนทั่วๆไป

เครื่องถ่ายรังสีก็อยู่ในห้องทำฟันเลย ฉะนั้น มันไม่ได้มีอันตรายอย่างที่บางหน่วยงานพยายามออกข่าวนะครับ ถ้าอันตรายจริง ที่ออสเตรเลียคงไม่อนุญาตให้ตั้งเครื่องในห้องทำฟันอย่างนี้หรอกนะครับ

เอารูปมาลงให้ดูนะครับว่า ห้องทำฟันที่ออสเตรเลียเป็นอย่างไร
จะเห็นว่า เครื่องจะติดกับผนังด้านซ้ายของภาพเลย คนไข้ก็ไม่ต้องย้ายไปไหน นั่งทำฟันแล้วถ้าจะถ่ายภาพรังสี ก็ถ่ายได้เลย ไม่ต้องลุกไปไหน
ความคิดเห็นที่ 4
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่