สวัสดีครับ
ผมมีโอกาสไปไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงวันที่ 21 – 29 เมษายนที่ผ่านมา เป็นการไปเยือนญี่ปุ่นครั้งที่สองในรอบเกือบๆ 30 ปี เที่ยวแบบลุยเดี่ยว ทั้งที่แผนการเดินทางยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือ – อ่านไม่ทัน ! เนื่องจากข้อมูลต่างๆเยอะมากครับ ทั้งหนังสือ และกระทู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ที่มีให้เลือกมากมายจนตัดสินใจไม่ถูก ว่าจะไปไหนดี
เกือบ 30 ปีก่อน ผมเคยมาเที่ยวญี่ปุ่นกับบริษัททัวร์ แต่ครั้งนี้ต้องวางแผนเที่ยวเอง และถึงจะอ่านมามากแค่ไหน แต่ในใจก็ยังรู้สึกไม่ค่อยชัวร์ เลยตัดสินใจง่ายๆ ว่าคงจะไม่ได้เที่ยวแบบเจาะลึกอะไรมากมาย จะเน้นการนั่งรถไฟท่องเที่ยวเป็นหลัก
ผมมีเวลา 9 วัน 8 คืนที่ญี่ปุ่น และช่วงเวลาของทริปนี้ เป็นช่วงที่ซากุระในแถบภาคใต้ของญี่ปุ่นร่วงไปหมดแล้ว การวางแผนจึงเน้นไปทางภาคเหนือ ตอนแรกกะว่าจะขึ้นไปถึง Hokkaido แต่ด้วยระยะทางที่ไกลมาก ประกอบกับผมต้องมาขึ้นเครื่องกลับที่ Osaka เลยต้องปรับลดระยะทางลงมาเหลือแค่ Aomori
จองที่พักแบบ hostel ไว้ที่ Tokyo, Sendai และ Osaka แห่งละ 2 คืน และที่ Takayama 1 คืน อีกคืนที่เหลือ เผื่อไว้ลุ้นว่าจะได้ไปนอนที่ Kawaguchiko เพื่อดูวิวภูเขาไฟ Fuji ได้หรือไม่ - เพราะต้องเช็คสภาพอากาศ
เลือกสายการบิน Singapore Airlines บริการต่างๆได้มาตรฐานดี แต่ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 5- 6 ชม. เป็นประมาณ 10 ชั่วโมง เพราะต้องไป transit ที่สนามบิน Changi ทั้งขาไปและขากลับ เล่นเอาเพลียไปเลยเหมือนกันครับ
แต่เรื่องราวระทึกใจ(ที่ไม่น่าจะเกิด แต่ก็ดันเกิดขึ้นจนได้) ในทริปนี้ เริ่มต้นขึ้น หลังจากที่กำลังบินอยู่เหนืออ่าวไทยได้ไม่นาน
ขณะที่กำลังเพลินอยู่กับมื้อเย็นที่เสิร์ฟบนเครื่องบิน ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ลืม Voucher สำหรับแลกตั๋ว JR Pass ไว้ที่บ้าน !!!
อยากจะเขกกบาลตัวเองให้หัวน่วม เพราะทราบมาว่าตั๋ว JR All Pass นั้น เป็นตั๋วราคาพิเศษมากๆ และจะขายให้เฉพาะนักท่องเที่ยว ผ่านเอเย่นต์นอกประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่สามารถซื้อได้ในประเทศ
ช่วงเวลา 3 ชม.ที่ transit อยู่ที่สิงคโปร์ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการหาวิธีการแก้ปัญหา
ผมได้ซื้อ Sim-2—Fly ของ AIS เพื่อใช้ที่ญี่ปุ่น เป็นซิมที่มีระยะเวลา 8 วัน แต่ผมอยู่ญี่ปุ่น 9 วัน จึงยังไม่อยากเปิดใช้ในขณะนั้น เพราะจะทำให้ air time หายไปอีก 1 วัน
ช่วงที่ transit อยู่สิงคโปร์ เลยใช้บริการ free wifi ของสนามบิน Changi โดยการสแกน passport เรากับเครื่องที่เป็น Kiosk บริเวณ Transit Lounge สะดวกมากครับ ใช้ free wifi ได้ 3 ชม. สัญญาณดีมาก
หลังจากนั้นจึงโทรติดต่อกับน้องเจี๊ยบ ที่กรุณารับฝากซื้อ JR Pass ให้ ว่าจะพอมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง เช่น ใช้ภาพถ่ายของ voucher ที่ได้ซื้อไว้ ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆครบ เพื่อไปออกตั๋วที่โน่น น้องบอกว่าลองดูได้นะพี่ (แต่เจี๊ยบคิดว่าไม่น่าจะได้)
อีกทางเลือก คือการซื้อ JR Pass แบบเฉพาะบางเส้นทาง เช่น JR TOKYO Wide Pass เพราะตั๋วประเภทนี้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อได้ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็อาจจะไม่ได้นั่ง Shinkansen โดยเฉพาะเส้นทางจาก Tokyo ไป Osaka
จากนั้น - ผมได้ส่งข้อความไปทิ้งไว้ที่ facebook ของ H.I.S ที่เป็นเอเย่นต์จำหน่าย voucher JR All Pass แต่เพราะช่วงที่ไปถึงสิงคโปร์นั้นก็เป็นเวลาประมาณ 1 ทุ่มแล้ว แถมยังเป็นวันศุกร์ ถ้าโชคดี มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเปิดอ่าน คงได้คำตอบ แต่หากไม่ได้รับคำตอบที่รวดเร็วทันการณ์ ก็ต้องทำใจ
ทางเลือกอีกทางที่เหลืออยู่ คือ การเปลี่ยนแผนเที่ยว โดยอยู่เที่ยวเฉพาะ Tokyo 4 คืน จากนั้น ซื้อตั๋ว Shinkansen หรือไม่ก็บินตรงด้วย Jet Airways จาก Tokyo ไปยัง Osaka และพักที่ Osaka อีก 4 คืน
ทั้งสองวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณครึ่งหมื่น แต่ไม่อยากเลือกทางนี้ เพราะต้องมาวางแผนการเดินทางใหม่ทั้งหมด อีกอย่าง ค่อนข้างเฉยๆกับการเดินตะลอนไปในเมืองใหญ่อย่าง Tokyo + Osaka
พยายาม search หากระทู้ต่างๆทำนองนี้ แต่ก็ไม่พบนะครับ ที่พบส่วนใหญ่ เป็นกรณีทำตั๋ว JR Pass หายระหว่างทาง และส่วนใหญ่จะได้คืน ผมจึงสรุปกับตัวเองไปเลย ว่าข้าพเจ้าคงเป็นไอ้เซ่อคนแรกของประเทศ ที่ความจำเสื่อมได้ถึงระดับนี้
ลองเปลี่ยนมาเลือกใช้คำค้นเป็นภาษาอังกฤษ พี่ Google ที่แสนดีพาไปยังลิงค์หนึ่ง
http://www.japanrailpass.net/file/trial_basis_en.pdf
ระบุว่า ช่วงนี้ JR Railway ของญี่ปุ่น เพิ่งเริ่มทดลองเปิดจำหน่ายตั๋ว JR All Pass สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2017 ที่ผ่านมานี้เองครับ แต่ต้องจ่ายแพงกว่าการซื้อในประเทศตัวเองประมาณ 10% ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีมากเลยครับ ผมจึงรีบ capture หน้าจอโทรศัพท์เก็บไว้
* อย่างไรก็ตาม ผมก็ต้องแจ้งยกเลิกรายการจองที่พักของที่ Sendai, Takayama และ Osaka ไปก่อน
(ผมจองผ่านทั้ง Agoda และ Booking.com รู้สึกว่าจะเปิดโอกาสให้เรายกเลิกรายการจองก่อนถึงกำหนดเข้าพัก ได้ในช่วง 1 – 3 วัน)
เมื่อเดินทางถึงสนามบิน Haneda ในเวลาเช้าตรู่ - ผมเลือกมาลงที่นี่ เพราะเคยอ่านเจอว่า เป็นสนามบินที่สะอาดที่สุดในโลก – แต่ช่วงนั้นไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเปิดใช้โทรศัพท์เรียบร้อย จึงเดินไปที่สำนักงานออกตั๋วของ JR Pass ที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ พบว่ามีนักท่องเที่ยวเข้าคิวอยู่นับร้อย
ระหว่างนั้นมีเจ้าหน้าที่ถือเอกสารขนาด A4 เป็นแผนผังที่ทำการ JR Office ตามสถานีต่างๆ และแนะนำให้เราเข้าเมือง เพื่อไปออกตั๋วที่สำนักงานในสถานี Tokyo Station จะดีกว่า ไม่งั้นอาจต้องรอไม่ต่ำกว่า 2 ชม.
ผมไม่ลืมที่จะถามถึง JR Pass ที่เราลืมไว้ที่บ้าน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าน่าจะต้องออกตั๋วใหม่ เลยตัดสินใจเข้าเมือง รอไปลุ้นต่อที่ Tokyo Station
ผมเลือกซื้อ Tokyo Subway Ticket + Keikyu Line One-Way Ticket แบบ 48 ชม. ราคา 1,600 เยน - แถมตั๋วรถไฟจากสนามบิน Haneda เข้าเมือง Tokyo - เพื่อโดยสารรถไฟจากสนามบินเข้าไปยังที่พัก ในย่าน Asakusa ตามที่วางแผนไว้ตั้งแต่แรก เพราะอยู่ญี่ปุ่น 9 วัน
แต่ JR Pass ใช้ได้แค่ 7 วัน จึงเป็นการตัดสินใจแบบง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน
อีกเหตุผลหนึ่งคือ หลังจากเห็นแผนที่เส้นทางรถไฟใน Osaka บอกตรงๆว่ายอมแพ้ครับ เลยตั้งใจว่า เก็บ JR Pass ไว้ใช้ใน Osaka จนปิดทริป
* ซื้อตั๋วบริเวณขวามือของภาพข้างบนครับ
ตั๋ว Keikyu Line One-Way Ticket
ตั๋ว Tokyo Subway Ticket แบบ 48 ชม. ราคา 1,600 เยน
แผ่นนี้เป็นโบรชัวร์ที่ได้รับ ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋ว ให้ข้อมูลดีมาก - ขออภัยที่ยับเยินมากๆ เพราะด้านหลังเป็นแผนที่ ที่ผมใช้เดินทางตลอดสองวันใน Tokyo ครับ
เมื่อได้ตั๋วแล้ว ก็มายื่นตั๋ว One Way Ticket ที่ช่องทางเข้าสถานีรถไฟ ที่อยู่ด้านซ้ายของเคาน์เตอร์ขายตั๋ว
เจ้าหน้าที่จะเก็บตั๋วใบสีแดงนั้นไว้เลย ไม่มีการประทับตรา หรือคืนกลับมาให้เรา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดยสารรถไฟจากสนามบิน Haneda เข้าเมืองหาอ่านได้จากเว็บนี้ครับ
http://www.haneda-tokyo-access.com/en/airport/pdf/guidebook_en.pdf
ระบบเส้นทางรถไฟใน Tokyo นั้น ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถในการทำความเข้าใจ การที่ผมเลือกตั๋วประเภทนี้ อย่างน้อยก็ตัดปัญหาความสับสนในการเดินทางไปได้ระดับหนึ่ง เพราะมันจะใช้ได้เฉพาะกับรถไฟใต้ดินของ Keikyu Line คือ Tokyo Metro Line และ Toei Subway Line ไม่รวมเส้นทางของ JR (จำง่ายๆ คือ JR Line ใน Tokyo จะวิ่งบนดิน หรือไม่ก็ลอยฟ้าครับ ไม่ลงใต้ดิน)
2 วันแรกใน Tokyo ผมใช้แผนที่แผ่นนี้
นอกจากจะไม่ชวนงงมาก ข้อดี คือ ยังระบุสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ ในแต่ละสถานีไว้ด้วย ซึ่งเราสามารถใช้ Google Map ช่วยการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบาย
นี่เป็นแผนที่รวมรถไฟทุกขบวนของTokyo ทั้งบนดิน+ใต้ดิน จะเห็นว่ามันซับซ้อนชวนงงมากๆ สำหรับมือใหม่
เพราะมันจะมีทั้ง JR Line, JR Yamanote Line, Keikyu Line, Private Railway และ เส้นทางรถราง เพิ่มเข้ามา
แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้ามีโอกาสเดินทางมาที่นี่บ่อยๆ จะเริ่มชิน และเข้าใจได้ไม่ยาก
ระหว่างที่โดยสารมาในขบวนรถไฟเข้าเมือง สายตาก็จับอยู่ที่แผนที่ในมือ สลับกับ ป้ายสถานีต่างๆ ที่ขึ้นเป็นตัววิ่งอยู่ในขบวนรถ - เฮ้ย เมื่อไหร่จะถึงสถานีที่มีชื่อระบุในแผนที่ซะที ?
ที่อยากบอกคือ ระยะทางจากสนามบินฯ เข้าเมืองนั้นค่อนข้างไกล กว่าจะถึงสถานี Shinagawa ที่เริ่มมีระบุในแผนที่ก็ใช้เวลาเกือบ 20 นาที และยิ่งใกล้เขตเมือง ผู้โดยสารที่เริ่มออกเดินทางเข้าไปทำงานในเขตเมืองก็เริ่มคับคั่งมากขึ้น ในที่สุด คนก็ขึ้นมาจนแน่นทั้งขบวน ไม่สามารถมองเห็นป้ายบอกสถานีอีกต่อไป ด้วยความกังวล จึงต้องเอ่ยปากถามชาวญี่ปุ่นที่ยืนใกล้ๆ ว่าสถานี Asakusa อยู่อีกไกลไหม โชคดีที่น้องคนนั้นสามารถฟังและพูดภาษาอังกฤษได้ เลยได้รับคำตอบที่ชัดเจน ว่าจะถึง Asakusa ภายในกี่นาที และไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ
*จากในแผนที่จะเห็น Asakusa Line สีชมพู วิ่งรวดเดียวมาจากสนามบิน Haneda เลยครับ
*คำแนะนำสำหรับมือใหม่เที่ยวญี่ปุ่น คือ เราควรเลือกที่พักที่สามารถโดยสารรถไฟจากสนามบิน มาโดยรถไฟต่อเดียว เพราะหากเลือกที่พักที่มีทำเลอยู่ในจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนขบวนรถกลางทาง ท่านอาจจะงงเป็นไก่ตาแตก
ส่วนเหตุผลที่ผมเลือกพักในย่านนั้น เป็นความบังเอิญจริงๆครับ อาศัยดูรูปจากเว็บจองที่พัก มาเจอ Bunka Hostel ท่าทางจะเป็น Hostel เปิดใหม่ ในรูปดูเท่ดีทีเดียว เลยตัดสินใจจองไปก่อน (ราคาค่อนข้างแรงนะครับ ไว้จะมารีวิวที่พักให้อ่านต่อไปในกระทู้ท้ายๆ)
มาทราบทีหลังว่า Asakusa เป็นย่านที่ค่อนข้างไม่จอแจ อยู่ห่างใจกลางเมืองออกมาพอสมควร และที่สำคัญ มี Hostel เปิดใหม่ค่อนข้างมาก
Khaosan Hostel ที่โด่งดังในหมู่ Backpacker ไทย ก็อยู่ในย่านนี้
สถานีรถไฟใต้ดินที่นี่จะค่อนข้างเก่านะครับ เพราะเปิดใช้งานมานานกว่า 30 ปี
การใช้ตั๋ว Tokyo Subway Ticket + Keikyu Line ก็ไม่มีอะไรลำบาก แค่สอดตั๋วเข้าไปในเครื่องกั้นตรงปากทาง คล้ายๆกับรถ BTS บ้านเรานั่นเอง เพียงแต่ตัวเครื่องกั้นของเขาจะดูเก่ากว่า
จากนั้นก็ใช้ Google Map นำทางไปยังที่พักสองคืนแรก ที่ Bunka Hostel เพื่อฝากสัมภาระต่างๆ แล้วเตรียมตัวเดินทางมาจัดการเรื่องตั๋ว JR Pass ที่ Tokyo Station
[CR] Fatreview : 9 Days in Japan #1 - เที่ยวญี่ปุ่นแบบลืม JR Pass ไว้ที่บ้าน - ไม่ควรเลียนแบบด้วยประการทั้งปวง
ผมมีโอกาสไปไปเที่ยวญี่ปุ่น ในช่วงวันที่ 21 – 29 เมษายนที่ผ่านมา เป็นการไปเยือนญี่ปุ่นครั้งที่สองในรอบเกือบๆ 30 ปี เที่ยวแบบลุยเดี่ยว ทั้งที่แผนการเดินทางยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือ – อ่านไม่ทัน ! เนื่องจากข้อมูลต่างๆเยอะมากครับ ทั้งหนังสือ และกระทู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ที่มีให้เลือกมากมายจนตัดสินใจไม่ถูก ว่าจะไปไหนดี
เกือบ 30 ปีก่อน ผมเคยมาเที่ยวญี่ปุ่นกับบริษัททัวร์ แต่ครั้งนี้ต้องวางแผนเที่ยวเอง และถึงจะอ่านมามากแค่ไหน แต่ในใจก็ยังรู้สึกไม่ค่อยชัวร์ เลยตัดสินใจง่ายๆ ว่าคงจะไม่ได้เที่ยวแบบเจาะลึกอะไรมากมาย จะเน้นการนั่งรถไฟท่องเที่ยวเป็นหลัก
ผมมีเวลา 9 วัน 8 คืนที่ญี่ปุ่น และช่วงเวลาของทริปนี้ เป็นช่วงที่ซากุระในแถบภาคใต้ของญี่ปุ่นร่วงไปหมดแล้ว การวางแผนจึงเน้นไปทางภาคเหนือ ตอนแรกกะว่าจะขึ้นไปถึง Hokkaido แต่ด้วยระยะทางที่ไกลมาก ประกอบกับผมต้องมาขึ้นเครื่องกลับที่ Osaka เลยต้องปรับลดระยะทางลงมาเหลือแค่ Aomori
จองที่พักแบบ hostel ไว้ที่ Tokyo, Sendai และ Osaka แห่งละ 2 คืน และที่ Takayama 1 คืน อีกคืนที่เหลือ เผื่อไว้ลุ้นว่าจะได้ไปนอนที่ Kawaguchiko เพื่อดูวิวภูเขาไฟ Fuji ได้หรือไม่ - เพราะต้องเช็คสภาพอากาศ
เลือกสายการบิน Singapore Airlines บริการต่างๆได้มาตรฐานดี แต่ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 5- 6 ชม. เป็นประมาณ 10 ชั่วโมง เพราะต้องไป transit ที่สนามบิน Changi ทั้งขาไปและขากลับ เล่นเอาเพลียไปเลยเหมือนกันครับ
แต่เรื่องราวระทึกใจ(ที่ไม่น่าจะเกิด แต่ก็ดันเกิดขึ้นจนได้) ในทริปนี้ เริ่มต้นขึ้น หลังจากที่กำลังบินอยู่เหนืออ่าวไทยได้ไม่นาน
ขณะที่กำลังเพลินอยู่กับมื้อเย็นที่เสิร์ฟบนเครื่องบิน ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ลืม Voucher สำหรับแลกตั๋ว JR Pass ไว้ที่บ้าน !!!
อยากจะเขกกบาลตัวเองให้หัวน่วม เพราะทราบมาว่าตั๋ว JR All Pass นั้น เป็นตั๋วราคาพิเศษมากๆ และจะขายให้เฉพาะนักท่องเที่ยว ผ่านเอเย่นต์นอกประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่สามารถซื้อได้ในประเทศ
ช่วงเวลา 3 ชม.ที่ transit อยู่ที่สิงคโปร์ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการหาวิธีการแก้ปัญหา
ผมได้ซื้อ Sim-2—Fly ของ AIS เพื่อใช้ที่ญี่ปุ่น เป็นซิมที่มีระยะเวลา 8 วัน แต่ผมอยู่ญี่ปุ่น 9 วัน จึงยังไม่อยากเปิดใช้ในขณะนั้น เพราะจะทำให้ air time หายไปอีก 1 วัน
ช่วงที่ transit อยู่สิงคโปร์ เลยใช้บริการ free wifi ของสนามบิน Changi โดยการสแกน passport เรากับเครื่องที่เป็น Kiosk บริเวณ Transit Lounge สะดวกมากครับ ใช้ free wifi ได้ 3 ชม. สัญญาณดีมาก
หลังจากนั้นจึงโทรติดต่อกับน้องเจี๊ยบ ที่กรุณารับฝากซื้อ JR Pass ให้ ว่าจะพอมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง เช่น ใช้ภาพถ่ายของ voucher ที่ได้ซื้อไว้ ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆครบ เพื่อไปออกตั๋วที่โน่น น้องบอกว่าลองดูได้นะพี่ (แต่เจี๊ยบคิดว่าไม่น่าจะได้)
อีกทางเลือก คือการซื้อ JR Pass แบบเฉพาะบางเส้นทาง เช่น JR TOKYO Wide Pass เพราะตั๋วประเภทนี้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อได้ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็อาจจะไม่ได้นั่ง Shinkansen โดยเฉพาะเส้นทางจาก Tokyo ไป Osaka
จากนั้น - ผมได้ส่งข้อความไปทิ้งไว้ที่ facebook ของ H.I.S ที่เป็นเอเย่นต์จำหน่าย voucher JR All Pass แต่เพราะช่วงที่ไปถึงสิงคโปร์นั้นก็เป็นเวลาประมาณ 1 ทุ่มแล้ว แถมยังเป็นวันศุกร์ ถ้าโชคดี มีเจ้าหน้าที่เข้ามาเปิดอ่าน คงได้คำตอบ แต่หากไม่ได้รับคำตอบที่รวดเร็วทันการณ์ ก็ต้องทำใจ
ทางเลือกอีกทางที่เหลืออยู่ คือ การเปลี่ยนแผนเที่ยว โดยอยู่เที่ยวเฉพาะ Tokyo 4 คืน จากนั้น ซื้อตั๋ว Shinkansen หรือไม่ก็บินตรงด้วย Jet Airways จาก Tokyo ไปยัง Osaka และพักที่ Osaka อีก 4 คืน
ทั้งสองวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณครึ่งหมื่น แต่ไม่อยากเลือกทางนี้ เพราะต้องมาวางแผนการเดินทางใหม่ทั้งหมด อีกอย่าง ค่อนข้างเฉยๆกับการเดินตะลอนไปในเมืองใหญ่อย่าง Tokyo + Osaka
พยายาม search หากระทู้ต่างๆทำนองนี้ แต่ก็ไม่พบนะครับ ที่พบส่วนใหญ่ เป็นกรณีทำตั๋ว JR Pass หายระหว่างทาง และส่วนใหญ่จะได้คืน ผมจึงสรุปกับตัวเองไปเลย ว่าข้าพเจ้าคงเป็นไอ้เซ่อคนแรกของประเทศ ที่ความจำเสื่อมได้ถึงระดับนี้
ลองเปลี่ยนมาเลือกใช้คำค้นเป็นภาษาอังกฤษ พี่ Google ที่แสนดีพาไปยังลิงค์หนึ่ง
http://www.japanrailpass.net/file/trial_basis_en.pdf
ระบุว่า ช่วงนี้ JR Railway ของญี่ปุ่น เพิ่งเริ่มทดลองเปิดจำหน่ายตั๋ว JR All Pass สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2017 ที่ผ่านมานี้เองครับ แต่ต้องจ่ายแพงกว่าการซื้อในประเทศตัวเองประมาณ 10% ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีมากเลยครับ ผมจึงรีบ capture หน้าจอโทรศัพท์เก็บไว้
* อย่างไรก็ตาม ผมก็ต้องแจ้งยกเลิกรายการจองที่พักของที่ Sendai, Takayama และ Osaka ไปก่อน
(ผมจองผ่านทั้ง Agoda และ Booking.com รู้สึกว่าจะเปิดโอกาสให้เรายกเลิกรายการจองก่อนถึงกำหนดเข้าพัก ได้ในช่วง 1 – 3 วัน)
เมื่อเดินทางถึงสนามบิน Haneda ในเวลาเช้าตรู่ - ผมเลือกมาลงที่นี่ เพราะเคยอ่านเจอว่า เป็นสนามบินที่สะอาดที่สุดในโลก – แต่ช่วงนั้นไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเปิดใช้โทรศัพท์เรียบร้อย จึงเดินไปที่สำนักงานออกตั๋วของ JR Pass ที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ พบว่ามีนักท่องเที่ยวเข้าคิวอยู่นับร้อย
ระหว่างนั้นมีเจ้าหน้าที่ถือเอกสารขนาด A4 เป็นแผนผังที่ทำการ JR Office ตามสถานีต่างๆ และแนะนำให้เราเข้าเมือง เพื่อไปออกตั๋วที่สำนักงานในสถานี Tokyo Station จะดีกว่า ไม่งั้นอาจต้องรอไม่ต่ำกว่า 2 ชม.
ผมไม่ลืมที่จะถามถึง JR Pass ที่เราลืมไว้ที่บ้าน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าน่าจะต้องออกตั๋วใหม่ เลยตัดสินใจเข้าเมือง รอไปลุ้นต่อที่ Tokyo Station
ผมเลือกซื้อ Tokyo Subway Ticket + Keikyu Line One-Way Ticket แบบ 48 ชม. ราคา 1,600 เยน - แถมตั๋วรถไฟจากสนามบิน Haneda เข้าเมือง Tokyo - เพื่อโดยสารรถไฟจากสนามบินเข้าไปยังที่พัก ในย่าน Asakusa ตามที่วางแผนไว้ตั้งแต่แรก เพราะอยู่ญี่ปุ่น 9 วัน
แต่ JR Pass ใช้ได้แค่ 7 วัน จึงเป็นการตัดสินใจแบบง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน
อีกเหตุผลหนึ่งคือ หลังจากเห็นแผนที่เส้นทางรถไฟใน Osaka บอกตรงๆว่ายอมแพ้ครับ เลยตั้งใจว่า เก็บ JR Pass ไว้ใช้ใน Osaka จนปิดทริป
* ซื้อตั๋วบริเวณขวามือของภาพข้างบนครับ
ตั๋ว Keikyu Line One-Way Ticket
ตั๋ว Tokyo Subway Ticket แบบ 48 ชม. ราคา 1,600 เยน
แผ่นนี้เป็นโบรชัวร์ที่ได้รับ ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋ว ให้ข้อมูลดีมาก - ขออภัยที่ยับเยินมากๆ เพราะด้านหลังเป็นแผนที่ ที่ผมใช้เดินทางตลอดสองวันใน Tokyo ครับ
เมื่อได้ตั๋วแล้ว ก็มายื่นตั๋ว One Way Ticket ที่ช่องทางเข้าสถานีรถไฟ ที่อยู่ด้านซ้ายของเคาน์เตอร์ขายตั๋ว
เจ้าหน้าที่จะเก็บตั๋วใบสีแดงนั้นไว้เลย ไม่มีการประทับตรา หรือคืนกลับมาให้เรา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดยสารรถไฟจากสนามบิน Haneda เข้าเมืองหาอ่านได้จากเว็บนี้ครับ
http://www.haneda-tokyo-access.com/en/airport/pdf/guidebook_en.pdf
ระบบเส้นทางรถไฟใน Tokyo นั้น ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถในการทำความเข้าใจ การที่ผมเลือกตั๋วประเภทนี้ อย่างน้อยก็ตัดปัญหาความสับสนในการเดินทางไปได้ระดับหนึ่ง เพราะมันจะใช้ได้เฉพาะกับรถไฟใต้ดินของ Keikyu Line คือ Tokyo Metro Line และ Toei Subway Line ไม่รวมเส้นทางของ JR (จำง่ายๆ คือ JR Line ใน Tokyo จะวิ่งบนดิน หรือไม่ก็ลอยฟ้าครับ ไม่ลงใต้ดิน)
2 วันแรกใน Tokyo ผมใช้แผนที่แผ่นนี้
นอกจากจะไม่ชวนงงมาก ข้อดี คือ ยังระบุสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ ในแต่ละสถานีไว้ด้วย ซึ่งเราสามารถใช้ Google Map ช่วยการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบาย
นี่เป็นแผนที่รวมรถไฟทุกขบวนของTokyo ทั้งบนดิน+ใต้ดิน จะเห็นว่ามันซับซ้อนชวนงงมากๆ สำหรับมือใหม่
เพราะมันจะมีทั้ง JR Line, JR Yamanote Line, Keikyu Line, Private Railway และ เส้นทางรถราง เพิ่มเข้ามา
แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้ามีโอกาสเดินทางมาที่นี่บ่อยๆ จะเริ่มชิน และเข้าใจได้ไม่ยาก
ระหว่างที่โดยสารมาในขบวนรถไฟเข้าเมือง สายตาก็จับอยู่ที่แผนที่ในมือ สลับกับ ป้ายสถานีต่างๆ ที่ขึ้นเป็นตัววิ่งอยู่ในขบวนรถ - เฮ้ย เมื่อไหร่จะถึงสถานีที่มีชื่อระบุในแผนที่ซะที ?
ที่อยากบอกคือ ระยะทางจากสนามบินฯ เข้าเมืองนั้นค่อนข้างไกล กว่าจะถึงสถานี Shinagawa ที่เริ่มมีระบุในแผนที่ก็ใช้เวลาเกือบ 20 นาที และยิ่งใกล้เขตเมือง ผู้โดยสารที่เริ่มออกเดินทางเข้าไปทำงานในเขตเมืองก็เริ่มคับคั่งมากขึ้น ในที่สุด คนก็ขึ้นมาจนแน่นทั้งขบวน ไม่สามารถมองเห็นป้ายบอกสถานีอีกต่อไป ด้วยความกังวล จึงต้องเอ่ยปากถามชาวญี่ปุ่นที่ยืนใกล้ๆ ว่าสถานี Asakusa อยู่อีกไกลไหม โชคดีที่น้องคนนั้นสามารถฟังและพูดภาษาอังกฤษได้ เลยได้รับคำตอบที่ชัดเจน ว่าจะถึง Asakusa ภายในกี่นาที และไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ
*จากในแผนที่จะเห็น Asakusa Line สีชมพู วิ่งรวดเดียวมาจากสนามบิน Haneda เลยครับ
*คำแนะนำสำหรับมือใหม่เที่ยวญี่ปุ่น คือ เราควรเลือกที่พักที่สามารถโดยสารรถไฟจากสนามบิน มาโดยรถไฟต่อเดียว เพราะหากเลือกที่พักที่มีทำเลอยู่ในจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนขบวนรถกลางทาง ท่านอาจจะงงเป็นไก่ตาแตก
ส่วนเหตุผลที่ผมเลือกพักในย่านนั้น เป็นความบังเอิญจริงๆครับ อาศัยดูรูปจากเว็บจองที่พัก มาเจอ Bunka Hostel ท่าทางจะเป็น Hostel เปิดใหม่ ในรูปดูเท่ดีทีเดียว เลยตัดสินใจจองไปก่อน (ราคาค่อนข้างแรงนะครับ ไว้จะมารีวิวที่พักให้อ่านต่อไปในกระทู้ท้ายๆ)
มาทราบทีหลังว่า Asakusa เป็นย่านที่ค่อนข้างไม่จอแจ อยู่ห่างใจกลางเมืองออกมาพอสมควร และที่สำคัญ มี Hostel เปิดใหม่ค่อนข้างมาก
Khaosan Hostel ที่โด่งดังในหมู่ Backpacker ไทย ก็อยู่ในย่านนี้
สถานีรถไฟใต้ดินที่นี่จะค่อนข้างเก่านะครับ เพราะเปิดใช้งานมานานกว่า 30 ปี
การใช้ตั๋ว Tokyo Subway Ticket + Keikyu Line ก็ไม่มีอะไรลำบาก แค่สอดตั๋วเข้าไปในเครื่องกั้นตรงปากทาง คล้ายๆกับรถ BTS บ้านเรานั่นเอง เพียงแต่ตัวเครื่องกั้นของเขาจะดูเก่ากว่า
จากนั้นก็ใช้ Google Map นำทางไปยังที่พักสองคืนแรก ที่ Bunka Hostel เพื่อฝากสัมภาระต่างๆ แล้วเตรียมตัวเดินทางมาจัดการเรื่องตั๋ว JR Pass ที่ Tokyo Station