อยากทราบว่าทำไมญี่ปุ่นถึงชอบดู Holograms เต้นได้ร้องเพลงได้อย่าง Hatsune Miku

ทั้งๆที่รู้ว่าตัวละคร Hatsune Miku ไม่ได้มีอยู่จริงและก็ภาพ Holograms ที่เปิดในคอนเสิร์ตคือมันก็หาดูได้ใน Youtube หรือจากแหล่งอื่นๆก็ได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อตั๋วไปดูภาพ Holograms ที่มันไม่ได้มีอยู่จริง
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เอ่อ... ก่อนอื่นเลยมันไม่ใช่ Hologram แต่เป็น 3D Projections ครับ มันไม่ได้ล้ำขนาดนั้นหรอก ถ้ามุมมองไม่ดีก็เห็นตัวแบนๆแหละครับ

แล้วถ้าคุณพูดแบบนี้ คอนอื่นมันก็เหมือนกันอ่ะครับ ทำไมต้องไปดูคอนใหญ่ๆนั่งบนดอยเห็นนักร้องตัวเท่ามด ระบบเสียงก็ห่วย คนก็ตะโกนแทรกอยู่นั่นร้อนก็ร้อน ปวดขี้ปวดเยี่ยวทรมานอีก ไปดูบลูเรย์ไม่ดีกว่าเหรอ ได้เห็นหน้านักร้องชัดๆ มุมมองเป๊ะๆ ซาวด์ก็มิกซ์มาอย่างดี แถมได้นั่งสบายๆอยู่บ้าน

มันเป็นเรื่องของบรรยากาศน่ะครับ การที่คนอยากไปร่วมสนุกกับอะไรซักอย่างกับกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกันมันก็เป็นอะไรที่ปกติธรรมดานะผมว่า แถมคอน vocaloid ใหญ่ๆอย่าง Magical Mirai ก็มีคนจริงๆมาเล่นให้อยู่ดี ผมว่ามันก็เหมือนกับดูพวกคอนเพลงคลาสสิกหรือพวก post-rock ที่เล่นแต่เครื่องดนตรีอย่างเดียว แต่เผอิญคอน vocaloid มันมีเครื่องดนตรีชิ้นนึงมันร้องได้เต้นได้ (vocaloid ถ้าว่ากันตรงๆแล้วมันก็คือ instrumental ประเภทนึงล่ะนะ แบบ autotune น่ะ)คนเลยชอบกัน

เหตุผลอีกอย่างคือ vocaloid มันเป็น crowd-sourced idol บทเพลงต่างๆก็มาจากพวกผู้บริโภคทั้งหลายอย่างเราๆท่านๆที่ซื้อโปรแกรมไปทำเพลงอีกทีนั่นล่ะ ไม่ได้มี producer แบบมืออาชีพ fix กันอยู่ไม่กี่คนแบบพวกศิลปินที่เป็นคนจริงๆ เพราะงั้นเวลาดูมันจะอินกว่า อารมณ์แบบพวกคนดูนี่แหละที่เป็นคนปั้นมาเองกับมือ มีส่วนช่วยกำหนดทิศทาง ช่วยผลักดันให้เจริญเติบโตจนประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้โดยตรงเลยนะ

เคยมั้ยครับเวลาฟังศิลปินทั้งหลายพูดแนวๆว่าถ้าไม่ได้แฟนๆก็คงไม่ได้มาอยู่ตรงนี้ แต่ถามว่าเราเคยมีส่วนช่วยอะไรไปมากกว่าการซื้อแผ่น ซื้อสินค้า หรือซื้อบัตรคอนมั้ย ก็ไม่ แต่โวคาลอยด์นี่ไอ้สิ่งที่เห็นบนเวที แทบทุกอย่างเป็นผลมาจากคนดูโดยตรงเลย ทั้งเพลง ทั้งท่าเต้น ทั้งชุด(นอกจากชุด original นะ) Crypton หรือบริษัทอื่นๆ ที่เป็นเจ้าของก็เหมือนแค่ให้พื้นที่แฟนๆได้สร้างผลงานตามใจชอบเท่านั้นเอง ไม่ได้ไปกำหนดแนวทางอะไรโดยตรงว่าโวคาลอยด์ตัวไหนต้องร้องแนวไหน

คิดๆแล้วมันก็ตลกดีนะ ที่ผมกลับคิดว่าไอ้สิ่งที่ไม่มีตัวตนแบบนี้ ดันมีปฏิสัมพันธ์กับคนดูมากกว่าพวกนักร้องตัวจริงซะอีก เวลาไปดูคอนเสริตมันไม่ใช่แค่โมเมนต์ของโวคาลอยด์แต่เป็นของพวกคนดูส่วนนึงที่คอยผลักดันสนับสนุนตลอดมาด้วย ผมว่ามันเป็นคอนเซปต์ง่ายๆ ที่เจ๋งดี (everyone, creator) และเป็นเสน่ห์หลักของคอนโวคาลอยด์เลยล่ะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
มันคือ "การลงทุนซื้อประสบการณ์" ครับ

ไม่แน่ใจว่า จขกท เคยไปชมคอนเสิร์ต (แนวไหนก็ได้ แต่เป็นคอนเสิร์ตฮอล ที่ไม่ใช่คอนเสิร์ตเวทีเล็กตามห้างหรืองานเล็ก ๆ) บ้างหรือเปล่านะครับ คอนเสิร์ตเหล่านั้น บรรยากาศเทียบกันระหว่างอยู่ในคอนเสิร์ตจริง ๆ กับมาดูแผ่นที่ขายทีหลัง หรือคลิปวิดีโอที่ฉายทีหลัง ความรู้สึกของการได้รับชมมันต่างกันมากนะครับ

คอนเสิร์ตโวคาลอยด์ที่เป็นโฮโลแกรมก็เหมือนกัน จุดขายไม่ได้มีแค่ตัว 3DCG บนจอฉายอย่างเดียวนี่ครับ พลังของคอนเสิร์ตมีทั้งวงดนตรีจริงที่มีการรีแอร์เรนจ์ต่าง ๆ ให้ผู้เข้าร่วมได้สนุกและมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่มากที่สุด เรื่องพลังเสียงก็เทียบกับเปิดจากยูทูบไม่ได้แน่นอนอยู่แล้ว และถึงนักร้องจะเป็นโฮโลแกรม แต่นักดนตรีก็เป็นคนจริงนะครับ ไม่ใช่เอาแบ็กกิ้งแทร็คมาเปิดดื้อ ๆ

สำหรับคอนเสิร์ต (ไม่ว่าคอนอะไร) จริง ๆ ไม่เพียงแค่ จขกท แต่ยังมีอีกหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยสัมผัสว่าการลงทุนซื้อประสบการณ์ เลยมักจะมีคำพูดแนว ๆ อยากฟังเพลงก็ซื้อซีดี หรือหาโหลดเอาก็ได้ จะเสียเงินเป็นพันไปดูคอนเสิร์ตทำไม อะไรราว ๆ นี้

แต่การได้ส่งเสียงเฮกับไปตามจังหวะเพลงพร้อมกับคนอื่น ๆ การได้ลุ้นว่าลำดับเพลงแต่ละเพลงจะสร้างฟีลลิ่งแบบไหนให้ผู้ชมได้ การได้พบปะกับคนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน (คนที่เสียเงินตั๋วคอนเสิร์ตที่ราคาไม่ใช่น้อย ๆ เข้ามา ไม่ใช่คนที่คิดซื้อมาเล่น ๆ อยู่แล้ว ถึงมีก็อาจจะน้อย ส่วนมากก็จะเป็นแฟน ๆ ที่ทุ่มเท) ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้สึกและทั้งหมดก็คือการลงทุนเพื่อซื้อประสบการณ์ที่การนั่งดูในบ้าน หน้าคอม หรือหน้าทีวี ทำไม่ได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ ต่อให้ไม่ใช่โวคาลอยด์ การไปอยู่ในพื้นที่จัดแสดงจริง ๆ เป็นอะไรที่เต็มอิ่มมากกว่าแน่นอนครับ

ถ้าไม่เคยไปคอนเสิร์ตใด ๆ มาเลยอาจจะนึกภาพไม่ออกก็จริง แต่จากที่ถามมา ลองสมมติตัวเองเป็นหนึ่งในคนที่โบกแท่งไฟในคอนเสิร์ตดูก็ได้ครับ สมมติว่าถ้าเป็นคอนเสิร์ตเพลงที่ชอบจริง ๆ อาจจะพอจินตนาการได้ว่า ประสบการณ์ที่ได้ไปยืนอยู่ที่นั้น มันจะยิ่งใหญ่กว่าดูแค่บนยูทูบแค่ไหน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่