ก่อนอื่นเลยผมต้องอธิบายก่อนว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ คืออะไร
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาแต่มีผลกระทบต่อนานาประเทศทั่วโลก และเป็นสาเหตุประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากชาติมหาอำนาจ เช่น เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ใช้วิธีแก้ไขปัญหาโดย การขยายดินแดนเพื่อใช้เป็นแหล่งทรัพยากร วัตถุดิบและฐานทางเศรษฐกิจของตน
สาเหตุของปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1929
1. ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรมีมากเกินความต้องการทำให้ราคาตกต่ำ
2. การขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
3. การชำระหนี้ค่าปฏิกรรมสงครามของประเทศผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1
4. การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา
ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1929
1. ผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในยุโรป
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดสินค้าใหญ่ของประเทศต่างๆในยุโรป เมื่อสหรัฐฯเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้การนำเข้าสินค้าลดลงและสหรัฐฯยังลดปริมาณเงินกู้และการลงทุนในยุโรปลง
2. ผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่น
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าญี่ปุ่นในตลาดโลกลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาขาดดุลการค้าอย่างหนัก ญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหาโดยการขยายดินแดน
3. ผลกระทบต่อประเทศไทย
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ค.ศ. 1929 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 ไทยประสบปัญหาการขาดดุลการค้าภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ที่มา : https://my.dek-d.com/world-chronicles/writer/viewlongc.php?id=563124&chapter=3
เป็นเพราะฝีไม้รายมืออย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่สามารถจูงใจคนทั้งประเทศ หรือ เป็นเพราะนิสัยคนเยอรมันที่ ขยัน อดทน ประหยัด เป็นต้น
แต่เท่าที่ดู เกี่ยวกับนโยบายของนาซีในช่วงนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เศรษฐกิจ เมื่อพรรคนาซีเป็นรัฐบาลใหม่ ๆ นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจที่กดดันมากที่สุด คือ อัตราการว่างงานที่สูงถึงประมาณ 30% ในตอนเริ่มต้น นโยบายเศรษฐกิจของไรช์ที่สามเป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ ดร. ยัลมาร์ ชัคท์ ประธานไรช์บังค์ (ค.ศ. 1933) และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ (ค.ศ. 1934) ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในการนำนโยบายการพัฒนาใหม่ของนาซี การกลับมาปรับให้เป็นอุตสาหกรรม และการสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ ในอดีต เขาเคยเป็นผู้ตรวจการเงินตราสาธารณรัฐไวมาร์และประธานไรช์บังค์ ในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ชัคท์เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีจำนวนน้อยที่ใช้ประโยชน์จากเสรีภาพด้านการบริหารที่เป็นผลจากการถอนเงินตราไรช์มาร์คจากมาตรฐานทองคำ เพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยต่ำ และการขาดดุลงบประมาณสูง การโยธาอย่างกว้างขวาง เช่น ออโตบาห์น การลดการว่างงาน เป็นนโยบายเงินทุนขาดดุล ผลการบริหารของรัฐมนตรีเศรษฐกิจชัคท์ทำให้อัตราการว่างงานลดลงอย่างมาก ถือว่าเร็วที่สุดในทุกประเทศระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ท้ายสุด นโยบายเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์นี้ได้รับการสนับสนุนโดยการเพิ่มอุปสงค์การผลิตของการสงคราม การเพิ่มงบประมาณทางการทหาร และเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาล ไรช์เวร์ ซึ่งเดิมมีทหาร 100,000 นายในกองทัพบก ขยายเป็นหลายล้านนาย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเวร์มัคท์ในปี 1935 ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5
เผื่อใครอยากรู้
ออโตบาห์น กับ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มีอยู่ตรงนี้นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ออโตบาห์น
ออโตบาห์น (เยอรมัน: Autobahn, พหูพจน์ Autobahnen) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึง ทางหลวงพิเศษที่จำกัดการเข้าออก ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางหลวงในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงในเยอรมนี
ในเยอรมนีและออสเตรีย กำหนดให้พาหนะที่ใช้งานออโตบาห์นได้ จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชม (37 mph) ส่วนในสวิตเซอร์แลนด์ต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 80 กม/ชม (50 mph) ส่วนขีดจำกัดความเร็วนั้น กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 130 กม/ชม (80 mph) สำหรับออสเตรีย, ไม่เกิน 120 กม/ชม (75 mph) สำหรับสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนในเยอรมนีนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีจำกัดความเร็วสูงสุด แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชม (80 mph) ยกเว้นในบางรัฐเช่น เบรเมน ที่เริ่มจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ
ทางหลวงในลักษณะเดียวกับออโตบาห์นนี้ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1929 เชื่อมระหว่างโคโลญ กับบอนน์ โดยเป็นเส้นทางคู่ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะรถยนต์ ห้ามคนเดินเท้าและรถม้า ในสมัยนั้นใช้ชื่อเรียกว่า Kraftfahrtstraße เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1932 โดยนายคอนราด อเดเนาร์ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองโคโลญ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930 ในยุคของฮิตเลอร์ ได้มีการเร่งสร้างอย่างขนานใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาประเทศ และเพื่อเป็นการสร้างงานให้กับผู้ใช้แรงงานลดอัตราการว่างงาน [6]และ มีนัยทางทหารเพื่อการขนส่งเคลื่อนย้ายกองทัพได้รวดเร็วขึ้นด้วย
ปัจจุบันโครงข่ายของออโตบาห์นในเยอรมนีมีความยาวทั้งสิ้น 12,993 กิโลเมตร (ข้อมูลปี 2016) เป็นโครงข่ายถนนขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก (2012) รองจากระบบทางหลวงอินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา และระบบทางหลวงในประเทศจีน ระบบทางหลวงในประเทศแคนาดา และ มอเตอร์เวย์ของประเทศสเปน ตามลำดับ ออโตบาห์นในเยอรมนีได้ชื่อว่าเป็นทางหลวงสายหนึ่งที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่ำที่สุด
ภาพ โครงข่ายออโตบาห์นในเยอรมนี
ออโตบาห์นหมายเลข 2
ที่มา และ รูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%99
เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์
เคนส์
เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (อังกฤษ: Keynesian Economics) คือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานจากความคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าภาครัฐสามารถรักษาอัตราเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีบทบาทที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เกิดขึ้นจากการหาคำตอบให้กับปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี ซึ่งกล่าวว่าตลาดและภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ปรากฏครั้งแรกใน The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1936
ในทฤษฎีของเคนส์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคของบุคคลหรือบริษัทอาจรวมกันออกมาเป็นผลในระดับมหภาคที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ส่วนมากเชื่อใน กฎของเซย์ ซึ่งกล่าวว่าอุปทานสร้างอุปสงค์ ดังนั้นจะไม่มีทางเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด แต่เคนส์แย้งว่า อุปสงค์รวม อาจจะมีไม่เพียงพอในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงและการสูญเสียผลผลิต นโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์นั้นเป็นผลสะท้อนจากการปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1920 และ สหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1930
เคนส์เสนอวิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการอัดฉีดรายได้และส่งผลให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนมากขึ้น จนทำให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลวนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีค่าหลายเท่าของการลงทุนครั้งแรก[1]
เคนส์ และ คลาสสิก
เคนส์ ได้ค้นหาความแตกต่างทฤษฎีของของจาก เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ซึ่งเขาได้โจมตีเกี่ยวกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ของ เดวิด ริคาร์โด้ และ ผู้ที่มีแนวความคิดเหมือนกับเขา ซึ่งรวมไปถึง จอห์น สจ๊วต มิลล์, อัลเฟรด มาร์แชล และ อาเธอร์ พิกกู
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C
อยากทราบ สำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์เคนส์ (Keynesian Economics) ให้คลิกลิงก์ตรงนี้นะครับ https://nanapolecon.wordpress.com/2011/09/02/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
แล้วถ้าประเทศไทยเจอภาวะเศรษฐกิจแบบนี้อีกรอบจะเอาตัวรอดได้ไหมครับคราวนี้?
(ปล.ไม่ได้จะตั้งประเด็นอะไรหรอกแค่สงสัยว่าถ้ามันเกิดเหตุภาวะเศรษฐกิจทำนองนี้จะทำยังไง เพราะแค่นิสัยคนเยอรมันกับไทยก็ต่างกันมากแล้ว) ขอโทษด้วยนะครับที่ซ่อนข้อความไว้ เพราะกลัวถ้าใส่ข้อมูลเยอะๆ คนจะไม่อ่านครับ ดังนั้นจึงขออภัยในความไม่สะดวกครับ
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ 1929 ปัจจัยที่เยอรมันฟื้นฟูตัวเร็วที่สุดในทุกประเทศเป็นเพราะตัวผู้นำ หรือ ประชาชนครับ?
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นเพราะฝีไม้รายมืออย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่สามารถจูงใจคนทั้งประเทศ หรือ เป็นเพราะนิสัยคนเยอรมันที่ ขยัน อดทน ประหยัด เป็นต้น
แต่เท่าที่ดู เกี่ยวกับนโยบายของนาซีในช่วงนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เผื่อใครอยากรู้ ออโตบาห์น กับ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มีอยู่ตรงนี้นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วถ้าประเทศไทยเจอภาวะเศรษฐกิจแบบนี้อีกรอบจะเอาตัวรอดได้ไหมครับคราวนี้? (ปล.ไม่ได้จะตั้งประเด็นอะไรหรอกแค่สงสัยว่าถ้ามันเกิดเหตุภาวะเศรษฐกิจทำนองนี้จะทำยังไง เพราะแค่นิสัยคนเยอรมันกับไทยก็ต่างกันมากแล้ว) ขอโทษด้วยนะครับที่ซ่อนข้อความไว้ เพราะกลัวถ้าใส่ข้อมูลเยอะๆ คนจะไม่อ่านครับ ดังนั้นจึงขออภัยในความไม่สะดวกครับ