(อ่านให้ครบประเด็นก่อนนะครับ แล้วมาเม้นต์ต่อยอดกันหนุกๆ)
เข้าเรื่องเลยละกัน ขี้เกียจเวิ่นเว้อให้ยืดยาวเกินจำเป็น
เพราะนี่ก็ยาวแน่ๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความคิดเห็น เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้
ประเด็นแรก ทำไมต้องใช้ "คีย์เปียโน"
เห็นหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมตัวละครในหนังอย่าง ลิน ถึงต้องใช้โค๊ดเป็น คีย์เปียโน ในการที่จะบอกคำตอบแก่เพื่อนๆ ที่ต้องการจะลอก ไม่สมเหตุสมผลเลย สะดุดตาไป ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แถมยังเสี่ยงโดนจับได้
ใครสงสัยอันนี้ลองยกมือขึ้นมาตั้งบนโต๊ะดูครับ แล้วลองทำนิ้วบอกคำตอบแบบง่ายๆ อย่างเช่น ชู 2 นิ้ว 4 นิ้ว 3 นิ้ว 1 นิ้ว แทนคำตอบ สลับวนไปเรื่อยๆ สัก 30 ครั้ง จะพบเลยว่า มันโคตรสะดุดตา ยิ่งกว่านั้นมันทำเป็นแนวราบไม่ได้เพราะคนที่อยู่มุมด้านหลังจะมองไม่เห็น แถมการยกมือให้คำตอบแบบง่ายๆ นี้ยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความสับสนในกรณีที่อาจจะเบรคหลบอาจารย์ ช่วงพักนิ้ว หรือเคลื่อนนิ้วโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่คนรับสารสับสน เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการส่งคำตอบ จนกลายเป็นพลาดเพียงครั้งเดียว ทุกข้อก็รันลำดับผิด ล้มเป็นโดมิโนยกแผง
ต่างกับการยกมือแบบเป็นคีย์ที่เหมือนจะสะดุดตา แต่เอาจริงก็ไม่สะดุดตาเท่าใหร่ ไม่เชื่อลองทำดู ทั้งองศามือต่างๆ ก็ทำได้ง่ายกว่า แล้วการกระดิกนิ้ว ก็ดูเป็นธรรมชาติของคนที่กำลังใช้ความคิด (นึกภาพตอนเราทำข้อสอบแล้วคิดอะไรไม่ออก มือนึงกุมขมับ มือนึงกรีดนิ้วลงบนโตะรัวๆ แต่ไม่ได้ส่งคำตอบให้ใครหรอก 555)
และที่สำคัญที่สุด (อันนี้เป็นเหตุผลจริงๆ ที่ต้องใช้โค๊ดลับ) คนดูหลายคนอาจจะหลงลืมไป ว่านี่ไม่ใช่การลอกข้อสอบแบบ "เพื่อนให้เพื่อนลอก" หรือก็คือ มันไม่ใช่การให้ลอกฟรีๆ นั่นเอง แต่มันเป็น "ธุรกิจการให้คำตอบ"
สมมุติ ถ้า ลิน ใช้รหัสมือง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าใจได้ ใครมันจะจ่ายเงินให้ละครับ จริงใหม? อาจจะมีคนจ่ายอยู่คนเดียว ที่เหลือจากนั้น ทุกคนก็รอดูคำตอบฟรีๆ จากมือลินได้เลย เพราะใครก็สามารถดูรู้ และเข้าใจในทันที สรุปว่า ลิน เจ๊งครับงานนี้ ไม่สามารถทำเงินได้จากการแอบบอกคำตอบ แถมตัวเองยังเสี่ยงโดนจับ นี่จึงเป็นเหตุผลว่า การให้ลอกแบบคิดเงิน จึงมีความจำเป็นต้องใช้รหัสลับที่เป็นการเฉพาะ ถึงไม่ใช้คีย์เปียโน แต่ก็ต้องใช้รหัสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ดี เพื่อป้องกันคนที่ไม่จ่ายตังส์เข้าถึงคำตอบอย่างเอิกเกริก
อย่างไรก็ดีครับ ผมว่าทางผู้สร้างก็ได้คิดถึงเรื่องนี้ไว้แล้วเหมือนกัน ว่าการใช้รหัส "คีย์เปียโน" ในเรื่องมันก็มีความยากอยู่พอสมควร มันเลยมีบทให้เอาคนที่จะเข้าคอร์ทลอก มาฝึก มาเรียน ในขณะเดียวกันก็ใส่ตัวละครที่รับไม่ไหว ไม่สามารถจำ โค๊ดเปียโน ที่ว่านี้ได้เข้ามาในเรื่องด้วย เพราะแน่นอนว่าในความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถจำมันได้ ซึ่งโดยรวมสำหรับผมก็ถือว่า โอเค มีความสมเหตุสมผลในระดับที่รับได้ ผ่าน! make sense ครับ สำหรับเรื่อง "คีย์เปียโน" เจ้าปัญหานี้
จบประเด็นแรก.
มากันที่ ประเด็นสอง ทำไมไม่ใช้ "เลขฐาน" มาย่อคำตอบ
มีคนตั้งข้อสงสัยกันมาก ที่บอกว่าถ้า ลิน เป็นคนฉลาดจริง จะใช้วิธีเลขฐานมาช่วย ย่อ หรือ บีบอัดข้อมูล อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ให้คนทั่วไปไม่งง คือ สมมุติโจทย์ 100 ข้อ คำตอบ 100 ตัว ถ้าใช้เลขฐาน 16 เข้ามาจับเพื่อย่อก็จะเหลือที่ต้องจำไปแค่ 50 ตัว / อยากให้จำน้อยลงไปอีกก็ใช้ฐาน 32 เข้ามาจับอีก / หรือถ้าจะให้ต้องจำน้อยลงไปอีกก็จะให้ใช้ฐาน 64 ซึ่งสามารถย่นย่อคำตอบ 100 ข้อ ให้เหลือเพียง 34 ตัวอักษร (เพื่อจะได้แอบจำออกมาจากห้องสอบไม่ยากนัก) แล้วเอาไปแตกข้อมูลออกมาเป็นคำตอบ 100 ข้อในภายหลัง
อธิบายให้เห็นภาพเพิ่มขึ้นอีกนิด ด้วยวิธีการที่คล้ายคลึง ทำนองเดียวกัน ทุกคนคงเคยโหลดหนังกันมาเป็นไฟล์บีบอัด สกุล .rar หรือ .zip กันใช่ไหม การย่นย่อคำตอบเป็นร้อยๆ ข้อให้เหลือเป็นตัวเลขจำนวนไม่กี่ตัวโดยเลขฐานก็คล้ายๆ การบีบอัดไฟล์แบบ .rar หรือ .zip นั่นแหละ หลักการโดยรวม คือย่อมาให้เล็ก หรือเป็นชุด เพื่อสะดวกในการจัดส่ง แล้วเอามาขยายเป็นไฟล์เต็มทีหลัง
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอนะครับ เวลาที่เพื่อน ซึ่งเป็นคนบีบอัดไฟล์ เผลออัพส่งมาให้คนอื่นโหลด โดยส่งลำดับไฟล์มาผิด สรุปคนที่โหลดมาแตกขยาย แตกไม่ได้ พัง!! อดดู อดเสียว (เอ๊ะ นี่มันหนังอัลไร)
กรณีการใช้เลขฐานมาย่อคำตอบก็เช่นกัน สมมุติจำเลขผิดตัวเดียว แต่พอเอามาขยายเป็นคำตอบเต็ม ความเสียหายมันจะไม่ใช่แค่ตัวเดียวแต่มันจะเพิ่มขึ้น ตามจำนวนฐานเลขที่คุณใช้ ยิ่งย่อให้เหลือน้อยมากเท่าไหร่ ถ้าจำมาพลาดตัวเดียว พอขยายออกมา ก็พังพินาศมากเท่านั้น / ซึ่งต่างกับวิธีการแบบโอลด์สคูล จำแบบข้อต่อข้อ ที่จำได้เท่าไหร่ก็ได้ไปเท่านั้น ผิดกี่ข้อก็ผิดตามจริง
ทีนี้เรามาลองคิดกันดูเล่นๆ
ว่า ถ้าลินใช้วิธีย่อโดยเลขฐาน 16 เพื่อย่อคำตอบ 100 ข้อให้เหลือ 50 อักษร (เพียงลำพังคนเดียว) ลินจะต้องเจออะไรบ้าง
ที่สำคัญลำดับต้นๆเลย คือ ต้องห้ามผิดเด็ดขาด เพราะอย่างที่บอก ผิดแล้วความเสียหายจะทวีคูณมากขึ้นกว่าการจำมาแบบตัวต่อตัว นอกจากจะต้องไม่ผิดแล้วต้องใช้ทั้งสติ ใช้ทั้งเวลา ในการแปลงข้อมูลกลับให้ถูกต้องที่สุด นรกอีกขั้นคือ การใช้เลขฐานมาย่อข้อมูล คุณอาจต้องจำทั้งตัวเลขและตัวอักษรสลับกัน 50 ตัว (ขณะที่การจำแบบตัว-ตัวจะจำเป็นตัวอักษร A B C D อย่างเดียว) สำหรับผมแค่คิดก็ปวดหัวแล้วครับ ผมอาจจะไม่เก่งเรื่องพวกนี้ 555
หนึ่ง ต้องจำมาไม่ให้ผิดเด็ดขาด เพราะความเสียหายมากทวีคูณ /
สอง ต้องมานั่งแตกจากโค๊ดที่จำมา กลับไปเป็นเลขฐาน 16 /
สาม จากเลขฐาน 16 แล้วก็กลับไปเลขฐาน 4 ขยายออกมาเรื่อยๆ จนได้เป็น 100 ข้อเต็ม ในขณะที่เราไม่มีแม้กระดาษจะเขียน เวลาเดียวกัน ก็ต้องจำโค๊ดแรกที่ต้องจำออกมาจากห้องสอบไว้ให้แม่น แล้วมันไม่ใช่แค่เลขและตัวอักษรแค่ 10 ตัว 5 ตัว ที่จะคิดคำนวนในหัวง่ายๆ แล้วพิมพ์ออกมาอย่างเท่ แต่เป็น
ตัวอักษรสลับกับตัวเลขถึง 50 ตัว ที่คุณจะต้องแกะออกมาเป็นเลขฐาน 16 แล้วก็ตามด้วยฐาน 4 แล้วแปลออกมาเป็นคำตอบ โดยที่ห้ามผิดทุกขั้นตอน
สมมติ ออกจากห้องสอบปุ๊บ รีบเลยเผ่นไปห้องน้ำ พิมพ์โค๊ดเลขและอักษรที่บีบอัดมาไว้ก่อนทั้ง 50 ตัว กันลืม (ห้ามผิด) / เสร็จแล้วก็คำนวนในหัว ทีละข้อ ทีละข้อ กลับเป็นเลขฐาน 16 แล้วก็รีบพิมพ์เก็บไว้กันลืม กันสับสนกับโค๊ดแรก อย่างน้อยก็ 50 ตัวเช่นกัน (แล้วก็ห้ามคำนวนผิดอีกเช่นกัน) / เสร็จแล้วแล้วก็คำนวนเทียบเคียงในหัว ทีละข้อ ทีละข้อ กลับเป็นเลขฐาน 4 อีกรอบ (แล้วก็ห้ามคำนวนผิดอีกเช่นกัน) แล้วก็รีบพิมพ์เก็บไว้กันลืม กันสับสนกับเลขฐาน 16 เสร็จแล้ว จนขั้นตอนสุดท้ายคือ คุณต้องพิมพ์ออกมาเป็นคำตอบทั้ง 100 ข้อ เพื่อส่งกลับมาไทย
สรุปกว่าจะได้คำตอบ คุณต้องมือไม้สั่น สมอง สมาธิ ห้ามแกว่ง ห้าเบลอ ห้ามงง พิมพ์ตัวอักษร 4 ชุด ชุดแรกเป็นตัวอักษรผสมเลข 50 ตัว / เทียบเคียง คลี่ออกมาด้วยฐาน 16 ชุดถัดมาพิมพ์อีก 50 ตัว / เทียบเคียง คลี่ออกมาด้วยฐาน 4 ชุดถัดมาพิมพ์อีก 50 / เสร็จแล้วคลี่พิมพ์ออกมาคำตอบสุดท้ายอีก 100 ตัว ต่อให้ทำตารางเทียบเคียงใส่กระดาษแนบไว้กับโทรศัพเลย เบ็ดเสร็จคุณต้องพิมพ์ตัวเลขอย่างน้อยออกมาในมือถือ 4 ชุด จำนวน 250 ตัว (หรือไม่งั้นก็ต้องคิดตารางที่เอาโค๊ดมาแล้ว เทียบรวดเดียวจากโค๊ดแรกแก้เป็นฐาน 16 กลับไปฐาน 4 แล้วได้คำตอบเลย ซึ่งตัวเลขที่มัดกันอยู่ก็ต้องไปแปรเป็น A B C D อยู่ดี)
ถามว่าทั้งหมดกระบวนการนี้ ถามว่าใช้เวลาเท่าไหร่ ลิน จะมีเวลาคิดคลี่คำตอบออกมาทีละชั้นไหม จะมีผิดพลาดไหม ยิ่งมาถึงห้องน้ำ มีคนขี้อยู่เต็มทุกห้อง ต้องรอคิว กว่าจะได้ไปแอบใช้มือถือที่ซ่อนไว้ทำทุกอย่างให้จบกระบวนการ จะทันเวลาไหม (แค่ในเรื่องส่งเน้นๆ แบบไม่ต้องแปรข้อมูลยังแทบไม่ทัน) 5555555555555555555555555555
หรือไม่งั้น ลิน ต้องจำมาเป็นโค๊ดดิบอย่างเดียว แล้วส่ง โค๊ดดิบ มาให้ทีมอีก 2 คนที่ไทย แก้โค๊ดเอาเอง
อาจจะทำตารางให้เทียบ รอไว้ ก็ค่อยๆ ขยายกันออกมา แต่พวกนี้เป็นเด็กฉลาดน้อย แถมเวลาบีบ มอไซต์รับจ้าง เบิ้ลเครื่องรอแล้ว ก็อาจจะพลาด อาจจะผิดได้อีก และที่สำคัญ ตอนจำออกมาจากต้นทาง เป็นโค๊ดตัวอักษร+ตัวเลข 50 ตัว ก็ห้ามผิดอยู่ดี ถึงพวกทีมงานที่ไทย ถอดแก้ข้อมูลออกมาได้ถูกต้อง ตามตาราง แต่ถ้าโค๊ดต้นทาง ผิด มันก็ผิด แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ลุกลามมากกว่าจริง ไหนจะต้องเอาไปทำโค๊ดดินสออีกที (เพราะคนที่เอาไปสอบต่อก็คงเอากระดาษคำตอบเข้าห้องสอบไม่ได้) ความเสี่ยงก็ไม่น้อยอยู่ดี
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
มอไซเดือดแล้วโว้ยยยยยย!!!
เร็วเร๊วววววววว รีบแก้โค๊ดเร็วเร๊วววววว!!
5555555555
ทีนี้ เทียบกับการใช้ความจำของคน 2 คน ที่ช่วยกันจำคนละ 50 ข้อ (ตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีตัวเลขปน)
มาถึงห้องน้ำ หัวโล่งๆ ก็ซัดเลย 50 ตัว ไม่ต้องคิดคำนวนไรหลายชั้น ข้อไหนจำมาผิดก็ผิด ข้อไหนจำมาถูกก็ถูก
วัดกันง่ายๆ สไตล์ดั้งเดิม
เห็นไหม แค่นี้เอง
คือเวลาเราดูหนัง คนดูอย่างเราดูอย่างเดียว บางทีก็ลืมเงื่อนไขต่างๆ ไป คิดไม่ครบ ไม่คิดให้รอบด้าน ก็เลยวิจารณ์เท่ๆ ได้ว่า "เฮ้ย!! ทำไม ไม่ใช่วิธีนี้ว้าาา ไม่ฉลาดเลย" แต่เวลาคนเขียนบทหนัง สร้างสถานการณ์ออกมา แล้วโยนตัวละครลงไปในสถานการณ์นั้นๆ คนเขียนบท จะต้องหยิบเอาปัจจัยรอบด้านทุกอย่าง ที่ตัวละครต้องเผชิญเข้ามาควบรวมทั้งหมด เช่น การถูกบีบด้วยเวลา ความกดดัน หรือเรื่องอื่นๆ ในทุกแง่มุม
ส่วนตัว ผมชอบครับเรื่องนี้ และรับได้ ทั้งการเลือกใช้ "คีย์เปียโน" และไม่เลือกใช้ "เลขฐาน" มาบีบอัดข้อมูล
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ผมขอหยวนๆ สบายๆ ดูหนังหนุกๆ ครับ ไม่ซีเรียส เช่น ที่มีคนตั้งคำถามกันว่า ทำไมต้องห้องผอ.? ทำไมต้องสอบในห้องสมุด ฯลฯ หยุมหยิมครับเรื่องพวกนี้ มันก็เหมือนกับการถามว่าทำไม เวลาโลกถูกรุกรานด้วยมนุษย์ต่างดาว หรืออุกกาบาต พระเอก หรือคนที่กู้โลกต้องเป็นคนอเมริกันทุกที นั่นแหละ
เพื่อนๆ มีคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ลองเม้นต์กันดู เผื่อผมตกหล่นอะไรไป
[ไม่เวิ่นเว้อ อ่านได้ไม่เซง] ที่นี่มีคำตอบ!! ทำไม ลิน ถึงต้องใช้ "คีย์เปียโน" และไม่ใช้ "เลขฐาน" มาบีบอัดข้อมูล
(อ่านให้ครบประเด็นก่อนนะครับ แล้วมาเม้นต์ต่อยอดกันหนุกๆ)
เข้าเรื่องเลยละกัน ขี้เกียจเวิ่นเว้อให้ยืดยาวเกินจำเป็น
เพราะนี่ก็ยาวแน่ๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความคิดเห็น เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้
ประเด็นแรก ทำไมต้องใช้ "คีย์เปียโน"
เห็นหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมตัวละครในหนังอย่าง ลิน ถึงต้องใช้โค๊ดเป็น คีย์เปียโน ในการที่จะบอกคำตอบแก่เพื่อนๆ ที่ต้องการจะลอก ไม่สมเหตุสมผลเลย สะดุดตาไป ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แถมยังเสี่ยงโดนจับได้
ใครสงสัยอันนี้ลองยกมือขึ้นมาตั้งบนโต๊ะดูครับ แล้วลองทำนิ้วบอกคำตอบแบบง่ายๆ อย่างเช่น ชู 2 นิ้ว 4 นิ้ว 3 นิ้ว 1 นิ้ว แทนคำตอบ สลับวนไปเรื่อยๆ สัก 30 ครั้ง จะพบเลยว่า มันโคตรสะดุดตา ยิ่งกว่านั้นมันทำเป็นแนวราบไม่ได้เพราะคนที่อยู่มุมด้านหลังจะมองไม่เห็น แถมการยกมือให้คำตอบแบบง่ายๆ นี้ยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความสับสนในกรณีที่อาจจะเบรคหลบอาจารย์ ช่วงพักนิ้ว หรือเคลื่อนนิ้วโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่คนรับสารสับสน เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการส่งคำตอบ จนกลายเป็นพลาดเพียงครั้งเดียว ทุกข้อก็รันลำดับผิด ล้มเป็นโดมิโนยกแผง
ต่างกับการยกมือแบบเป็นคีย์ที่เหมือนจะสะดุดตา แต่เอาจริงก็ไม่สะดุดตาเท่าใหร่ ไม่เชื่อลองทำดู ทั้งองศามือต่างๆ ก็ทำได้ง่ายกว่า แล้วการกระดิกนิ้ว ก็ดูเป็นธรรมชาติของคนที่กำลังใช้ความคิด (นึกภาพตอนเราทำข้อสอบแล้วคิดอะไรไม่ออก มือนึงกุมขมับ มือนึงกรีดนิ้วลงบนโตะรัวๆ แต่ไม่ได้ส่งคำตอบให้ใครหรอก 555)
และที่สำคัญที่สุด (อันนี้เป็นเหตุผลจริงๆ ที่ต้องใช้โค๊ดลับ) คนดูหลายคนอาจจะหลงลืมไป ว่านี่ไม่ใช่การลอกข้อสอบแบบ "เพื่อนให้เพื่อนลอก" หรือก็คือ มันไม่ใช่การให้ลอกฟรีๆ นั่นเอง แต่มันเป็น "ธุรกิจการให้คำตอบ"
สมมุติ ถ้า ลิน ใช้รหัสมือง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าใจได้ ใครมันจะจ่ายเงินให้ละครับ จริงใหม? อาจจะมีคนจ่ายอยู่คนเดียว ที่เหลือจากนั้น ทุกคนก็รอดูคำตอบฟรีๆ จากมือลินได้เลย เพราะใครก็สามารถดูรู้ และเข้าใจในทันที สรุปว่า ลิน เจ๊งครับงานนี้ ไม่สามารถทำเงินได้จากการแอบบอกคำตอบ แถมตัวเองยังเสี่ยงโดนจับ นี่จึงเป็นเหตุผลว่า การให้ลอกแบบคิดเงิน จึงมีความจำเป็นต้องใช้รหัสลับที่เป็นการเฉพาะ ถึงไม่ใช้คีย์เปียโน แต่ก็ต้องใช้รหัสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ดี เพื่อป้องกันคนที่ไม่จ่ายตังส์เข้าถึงคำตอบอย่างเอิกเกริก
อย่างไรก็ดีครับ ผมว่าทางผู้สร้างก็ได้คิดถึงเรื่องนี้ไว้แล้วเหมือนกัน ว่าการใช้รหัส "คีย์เปียโน" ในเรื่องมันก็มีความยากอยู่พอสมควร มันเลยมีบทให้เอาคนที่จะเข้าคอร์ทลอก มาฝึก มาเรียน ในขณะเดียวกันก็ใส่ตัวละครที่รับไม่ไหว ไม่สามารถจำ โค๊ดเปียโน ที่ว่านี้ได้เข้ามาในเรื่องด้วย เพราะแน่นอนว่าในความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถจำมันได้ ซึ่งโดยรวมสำหรับผมก็ถือว่า โอเค มีความสมเหตุสมผลในระดับที่รับได้ ผ่าน! make sense ครับ สำหรับเรื่อง "คีย์เปียโน" เจ้าปัญหานี้
จบประเด็นแรก.
มากันที่ ประเด็นสอง ทำไมไม่ใช้ "เลขฐาน" มาย่อคำตอบ
มีคนตั้งข้อสงสัยกันมาก ที่บอกว่าถ้า ลิน เป็นคนฉลาดจริง จะใช้วิธีเลขฐานมาช่วย ย่อ หรือ บีบอัดข้อมูล อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ให้คนทั่วไปไม่งง คือ สมมุติโจทย์ 100 ข้อ คำตอบ 100 ตัว ถ้าใช้เลขฐาน 16 เข้ามาจับเพื่อย่อก็จะเหลือที่ต้องจำไปแค่ 50 ตัว / อยากให้จำน้อยลงไปอีกก็ใช้ฐาน 32 เข้ามาจับอีก / หรือถ้าจะให้ต้องจำน้อยลงไปอีกก็จะให้ใช้ฐาน 64 ซึ่งสามารถย่นย่อคำตอบ 100 ข้อ ให้เหลือเพียง 34 ตัวอักษร (เพื่อจะได้แอบจำออกมาจากห้องสอบไม่ยากนัก) แล้วเอาไปแตกข้อมูลออกมาเป็นคำตอบ 100 ข้อในภายหลัง
อธิบายให้เห็นภาพเพิ่มขึ้นอีกนิด ด้วยวิธีการที่คล้ายคลึง ทำนองเดียวกัน ทุกคนคงเคยโหลดหนังกันมาเป็นไฟล์บีบอัด สกุล .rar หรือ .zip กันใช่ไหม การย่นย่อคำตอบเป็นร้อยๆ ข้อให้เหลือเป็นตัวเลขจำนวนไม่กี่ตัวโดยเลขฐานก็คล้ายๆ การบีบอัดไฟล์แบบ .rar หรือ .zip นั่นแหละ หลักการโดยรวม คือย่อมาให้เล็ก หรือเป็นชุด เพื่อสะดวกในการจัดส่ง แล้วเอามาขยายเป็นไฟล์เต็มทีหลัง
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอนะครับ เวลาที่เพื่อน ซึ่งเป็นคนบีบอัดไฟล์ เผลออัพส่งมาให้คนอื่นโหลด โดยส่งลำดับไฟล์มาผิด สรุปคนที่โหลดมาแตกขยาย แตกไม่ได้ พัง!! อดดู อดเสียว (เอ๊ะ นี่มันหนังอัลไร)
กรณีการใช้เลขฐานมาย่อคำตอบก็เช่นกัน สมมุติจำเลขผิดตัวเดียว แต่พอเอามาขยายเป็นคำตอบเต็ม ความเสียหายมันจะไม่ใช่แค่ตัวเดียวแต่มันจะเพิ่มขึ้น ตามจำนวนฐานเลขที่คุณใช้ ยิ่งย่อให้เหลือน้อยมากเท่าไหร่ ถ้าจำมาพลาดตัวเดียว พอขยายออกมา ก็พังพินาศมากเท่านั้น / ซึ่งต่างกับวิธีการแบบโอลด์สคูล จำแบบข้อต่อข้อ ที่จำได้เท่าไหร่ก็ได้ไปเท่านั้น ผิดกี่ข้อก็ผิดตามจริง
ทีนี้เรามาลองคิดกันดูเล่นๆ
ว่า ถ้าลินใช้วิธีย่อโดยเลขฐาน 16 เพื่อย่อคำตอบ 100 ข้อให้เหลือ 50 อักษร (เพียงลำพังคนเดียว) ลินจะต้องเจออะไรบ้าง
ที่สำคัญลำดับต้นๆเลย คือ ต้องห้ามผิดเด็ดขาด เพราะอย่างที่บอก ผิดแล้วความเสียหายจะทวีคูณมากขึ้นกว่าการจำมาแบบตัวต่อตัว นอกจากจะต้องไม่ผิดแล้วต้องใช้ทั้งสติ ใช้ทั้งเวลา ในการแปลงข้อมูลกลับให้ถูกต้องที่สุด นรกอีกขั้นคือ การใช้เลขฐานมาย่อข้อมูล คุณอาจต้องจำทั้งตัวเลขและตัวอักษรสลับกัน 50 ตัว (ขณะที่การจำแบบตัว-ตัวจะจำเป็นตัวอักษร A B C D อย่างเดียว) สำหรับผมแค่คิดก็ปวดหัวแล้วครับ ผมอาจจะไม่เก่งเรื่องพวกนี้ 555
หนึ่ง ต้องจำมาไม่ให้ผิดเด็ดขาด เพราะความเสียหายมากทวีคูณ / สอง ต้องมานั่งแตกจากโค๊ดที่จำมา กลับไปเป็นเลขฐาน 16 / สาม จากเลขฐาน 16 แล้วก็กลับไปเลขฐาน 4 ขยายออกมาเรื่อยๆ จนได้เป็น 100 ข้อเต็ม ในขณะที่เราไม่มีแม้กระดาษจะเขียน เวลาเดียวกัน ก็ต้องจำโค๊ดแรกที่ต้องจำออกมาจากห้องสอบไว้ให้แม่น แล้วมันไม่ใช่แค่เลขและตัวอักษรแค่ 10 ตัว 5 ตัว ที่จะคิดคำนวนในหัวง่ายๆ แล้วพิมพ์ออกมาอย่างเท่ แต่เป็นตัวอักษรสลับกับตัวเลขถึง 50 ตัว ที่คุณจะต้องแกะออกมาเป็นเลขฐาน 16 แล้วก็ตามด้วยฐาน 4 แล้วแปลออกมาเป็นคำตอบ โดยที่ห้ามผิดทุกขั้นตอน
สมมติ ออกจากห้องสอบปุ๊บ รีบเลยเผ่นไปห้องน้ำ พิมพ์โค๊ดเลขและอักษรที่บีบอัดมาไว้ก่อนทั้ง 50 ตัว กันลืม (ห้ามผิด) / เสร็จแล้วก็คำนวนในหัว ทีละข้อ ทีละข้อ กลับเป็นเลขฐาน 16 แล้วก็รีบพิมพ์เก็บไว้กันลืม กันสับสนกับโค๊ดแรก อย่างน้อยก็ 50 ตัวเช่นกัน (แล้วก็ห้ามคำนวนผิดอีกเช่นกัน) / เสร็จแล้วแล้วก็คำนวนเทียบเคียงในหัว ทีละข้อ ทีละข้อ กลับเป็นเลขฐาน 4 อีกรอบ (แล้วก็ห้ามคำนวนผิดอีกเช่นกัน) แล้วก็รีบพิมพ์เก็บไว้กันลืม กันสับสนกับเลขฐาน 16 เสร็จแล้ว จนขั้นตอนสุดท้ายคือ คุณต้องพิมพ์ออกมาเป็นคำตอบทั้ง 100 ข้อ เพื่อส่งกลับมาไทย
สรุปกว่าจะได้คำตอบ คุณต้องมือไม้สั่น สมอง สมาธิ ห้ามแกว่ง ห้าเบลอ ห้ามงง พิมพ์ตัวอักษร 4 ชุด ชุดแรกเป็นตัวอักษรผสมเลข 50 ตัว / เทียบเคียง คลี่ออกมาด้วยฐาน 16 ชุดถัดมาพิมพ์อีก 50 ตัว / เทียบเคียง คลี่ออกมาด้วยฐาน 4 ชุดถัดมาพิมพ์อีก 50 / เสร็จแล้วคลี่พิมพ์ออกมาคำตอบสุดท้ายอีก 100 ตัว ต่อให้ทำตารางเทียบเคียงใส่กระดาษแนบไว้กับโทรศัพเลย เบ็ดเสร็จคุณต้องพิมพ์ตัวเลขอย่างน้อยออกมาในมือถือ 4 ชุด จำนวน 250 ตัว (หรือไม่งั้นก็ต้องคิดตารางที่เอาโค๊ดมาแล้ว เทียบรวดเดียวจากโค๊ดแรกแก้เป็นฐาน 16 กลับไปฐาน 4 แล้วได้คำตอบเลย ซึ่งตัวเลขที่มัดกันอยู่ก็ต้องไปแปรเป็น A B C D อยู่ดี)
ถามว่าทั้งหมดกระบวนการนี้ ถามว่าใช้เวลาเท่าไหร่ ลิน จะมีเวลาคิดคลี่คำตอบออกมาทีละชั้นไหม จะมีผิดพลาดไหม ยิ่งมาถึงห้องน้ำ มีคนขี้อยู่เต็มทุกห้อง ต้องรอคิว กว่าจะได้ไปแอบใช้มือถือที่ซ่อนไว้ทำทุกอย่างให้จบกระบวนการ จะทันเวลาไหม (แค่ในเรื่องส่งเน้นๆ แบบไม่ต้องแปรข้อมูลยังแทบไม่ทัน) 5555555555555555555555555555
หรือไม่งั้น ลิน ต้องจำมาเป็นโค๊ดดิบอย่างเดียว แล้วส่ง โค๊ดดิบ มาให้ทีมอีก 2 คนที่ไทย แก้โค๊ดเอาเอง
อาจจะทำตารางให้เทียบ รอไว้ ก็ค่อยๆ ขยายกันออกมา แต่พวกนี้เป็นเด็กฉลาดน้อย แถมเวลาบีบ มอไซต์รับจ้าง เบิ้ลเครื่องรอแล้ว ก็อาจจะพลาด อาจจะผิดได้อีก และที่สำคัญ ตอนจำออกมาจากต้นทาง เป็นโค๊ดตัวอักษร+ตัวเลข 50 ตัว ก็ห้ามผิดอยู่ดี ถึงพวกทีมงานที่ไทย ถอดแก้ข้อมูลออกมาได้ถูกต้อง ตามตาราง แต่ถ้าโค๊ดต้นทาง ผิด มันก็ผิด แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ลุกลามมากกว่าจริง ไหนจะต้องเอาไปทำโค๊ดดินสออีกที (เพราะคนที่เอาไปสอบต่อก็คงเอากระดาษคำตอบเข้าห้องสอบไม่ได้) ความเสี่ยงก็ไม่น้อยอยู่ดี
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
แบร๊นนนนนน!!
มอไซเดือดแล้วโว้ยยยยยย!!!
เร็วเร๊วววววววว รีบแก้โค๊ดเร็วเร๊วววววว!!
5555555555
ทีนี้ เทียบกับการใช้ความจำของคน 2 คน ที่ช่วยกันจำคนละ 50 ข้อ (ตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีตัวเลขปน)
มาถึงห้องน้ำ หัวโล่งๆ ก็ซัดเลย 50 ตัว ไม่ต้องคิดคำนวนไรหลายชั้น ข้อไหนจำมาผิดก็ผิด ข้อไหนจำมาถูกก็ถูก
วัดกันง่ายๆ สไตล์ดั้งเดิม
เห็นไหม แค่นี้เอง
คือเวลาเราดูหนัง คนดูอย่างเราดูอย่างเดียว บางทีก็ลืมเงื่อนไขต่างๆ ไป คิดไม่ครบ ไม่คิดให้รอบด้าน ก็เลยวิจารณ์เท่ๆ ได้ว่า "เฮ้ย!! ทำไม ไม่ใช่วิธีนี้ว้าาา ไม่ฉลาดเลย" แต่เวลาคนเขียนบทหนัง สร้างสถานการณ์ออกมา แล้วโยนตัวละครลงไปในสถานการณ์นั้นๆ คนเขียนบท จะต้องหยิบเอาปัจจัยรอบด้านทุกอย่าง ที่ตัวละครต้องเผชิญเข้ามาควบรวมทั้งหมด เช่น การถูกบีบด้วยเวลา ความกดดัน หรือเรื่องอื่นๆ ในทุกแง่มุม
ส่วนตัว ผมชอบครับเรื่องนี้ และรับได้ ทั้งการเลือกใช้ "คีย์เปียโน" และไม่เลือกใช้ "เลขฐาน" มาบีบอัดข้อมูล
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ผมขอหยวนๆ สบายๆ ดูหนังหนุกๆ ครับ ไม่ซีเรียส เช่น ที่มีคนตั้งคำถามกันว่า ทำไมต้องห้องผอ.? ทำไมต้องสอบในห้องสมุด ฯลฯ หยุมหยิมครับเรื่องพวกนี้ มันก็เหมือนกับการถามว่าทำไม เวลาโลกถูกรุกรานด้วยมนุษย์ต่างดาว หรืออุกกาบาต พระเอก หรือคนที่กู้โลกต้องเป็นคนอเมริกันทุกที นั่นแหละ
เพื่อนๆ มีคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ลองเม้นต์กันดู เผื่อผมตกหล่นอะไรไป